สวัสดีค่ะ

วันนี้จะไปเที่ยวว10 โครงการหลวงโครงการส่วนพระองค์ของพ่อหลวง ร.9 ของเราทุกคน โดยโครงการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อ ส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวขาว

เพื่อเป็นการหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น

ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2512

โดยหม่อมเจ้า

ภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะประธานมูลนิธิโครงการหลวง

แต่ละสถานที่สวยมากๆ จนอยากจะพาเพื่อนๆ ไป หนาวนี้มีที่เที่ยวแน่นอนรับรองเลย มาดูกันค่ะว่าแต่ละสถานที่จะสวยขนาดไหน

1. สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

รูปภาพ:http://www.go2days.net/imgs/travel/big/Travel_20110707193944.jpgรูปภาพ:http://www.angkhangstation.com/images_slider/Travel/3.jpgรูปภาพ:http://www.siamfreestyle.com/images/content_images/attraction_images/chm/chm_att130002017.jpg

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม ทดแทนการปลูกฝิ่น  สถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง อยู่บนเทือกเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร

2. สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์

รูปภาพ:http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/3.jpgรูปภาพ:http://f.ptcdn.info/908/005/000/1370492636-047-o.jpg

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์

ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เลขที่ 202 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ราษฎรที่อาศัยบนพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงและเผ่าม้ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

มีพระราชประสงค์


ที่จะช่วยเหลือชาวเขาเหล่านั้นให้มีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง และได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่ ปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ด้วยการหันมาทำการเกษตรแบบถาวร อันเป็นที่มาของการจัดตั้ง “ สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ ” ในปี พ.ศ.2522

3. สถานีเกษตรหลวงปางดะ

รูปภาพ:http://www.bloggang.com/data/lindleyi/picture/1300277552.jpgรูปภาพ:http://f.tpkcdn.com/images-720/1e9096675284fd4eaa79a7345de8891b.jpg

สถานีเกษตรหลวงปางดะเป็นสถานีวิจัยหนึ่งในสี่ของมูลนิธิโครงการหลวง เป็นศูนย์การเรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้ผล ให้กับผู้ที่สนใจตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาศึกษาดูงาน และฝึกงานของนักศึกษา พร้อมกับการใช้พื้นที่อย่างถูกต้องบนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 45 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 50 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

1.) สถานีเกษตรหลวงซึ่งดำเนินงานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกเขตร้อน พืชผัก พืชไร่ ไม้ผลขนาดเล็ก ไม้ผลเขตหนาว ควบคู่ไปกับงานทดสอบสาธิต ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกร

2.) หน่วยวิจัยส้มโป่งน้อยซึ่งดำเนินงานเกี่ยวกับงานวิจัยส้มปลอดโรค ทดสอบสาธิตการผลิตและงานขยายพันธุ์

4. สถานีวิจัยและส่งเสริมกาแฟอราบิก้าแม่หลอด

รูปภาพ:http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/Tuk/2558/oct/21/royal/l1.pngรูปภาพ:http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/Mealod-3.jpg

สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด

เป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์สายพันธุ์กาแฟอาราบิก้าที่มีสายพันธุ์จำนวนมาก งานทดสอบสาธิตการผลิตพืชผัก/สมุนไพร ไม้ผล และฟาร์มสาธิตการเลี้ยงสัตว์เล็ก ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจนพัฒนาเป็นอาชีพอย่างยั่งยืนได้

สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด

พัฒนามาจากศูนย์วิจัยกาแฟอาราบิก้า ที่บ้านแม่หลอดซึ่งมีการปลูกกาแฟอาราบิก้า และมีการแพร่ระบาดโรคราสนิมอย่างรุนแรง พันธุ์กาแฟลูกผสม เป็นสายพันธุ์ต้านทานโรคราสนิม จากศูนย์วิจัยโรคราสนิม ของโปรตุเกส หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงพระกรุณารับไว้ในความดูแลของโครงการหลวง และได้ชื่อว่า “ สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด ” การคัดเลือกสายพันธุ์ต้านทานโรคราสนิมดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง

ที่ตั้ง

สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด ตั้งอยู่ที่บ้านแม่หลอดหมู่ 10 ตำบล สบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

5. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง

รูปภาพ:http://img.painaidii.com/images/20150622_37_1434947979_848434.jpgรูปภาพ:http://images.thaiza.com/37/37_201212200939141..jpgรูปภาพ:http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/khunwang.jpg

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง

ก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ.2525 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านขุนวาง เป็นครั้งแรก ได้ทอดพระเนตรเห็นว่า บริเวณนี้ยังมีพืชเสพติดอยู่มาก ควรจะส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่มีรายได้ทัดเทียมหรือดีกว่าปลูกฝิ่น โดยเริ่มดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมด้านไม้ผลเป็นลำดับแรก ต่อมาได้ทำการขยายผลการดำเนินงานไปในด้านไม้ดอก งานพัฒนาและส่งเสริมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป ปัจจุบันศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง มีพื้นที่รับผิดชอบดำเนินงาน 499 ไร่ ครอบคลุม 7 หมู่บ้าน

ที่ตั้ง

ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

6. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย

รูปภาพ:http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/Kanoi-1.jpgรูปภาพ:http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/Kanoi.jpg

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรชาวเขาเผ่ามูเซอ บ้านแกน้อย ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่   เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2523 ทรงทราบถึงปัญหาของราษฎรซึ่งคล้ายคลึงกับหมู่บ้านชาวเขาอื่น ๆ ทางภาคเหนือของประเทศ จึงทรงมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือราษฎรเหล่านี้ ต่อมาเดือนมีนาคม พ.ศ. 2523   หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี   ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการหลวง จึงได้มอบหมายให้นายจิตติ ปิ่นทอง และคณะอาจารย์จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับสนองพระราชดำริ

ดำเนินงานในโครงการหลวงแกน้อยขึ้น

ที่ตั้ง

บ้านแกน้อย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

7. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก

รูปภาพ:http://www.paiduaykan.com/province/north/chiangmai/pic/huailuk.jpgรูปภาพ:http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/Hungluk-2.jpg

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2521   ชาวเขาเผ่าม้งได้อพยพจากบ้านบ่อเหล็ก อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่  มาอยู่ที่บ้านห้วยลึก เนื่องจากพื้นที่ทำกินเดิมไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกและยื่นฏีกาถวายต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อขอพระราชทานที่ดินทำกิน ปี 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีรับสั่งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เข้าไปช่วยเหลือชาวเขา ด้วยทรงเกรงว่าชาวเขาจะบุกรุกป่าและต้นน้ำลำธารมากยิ่งขึ้น จึงได้ร่วมกับกรมป่าไม้พิจารณาพื้นที่ทำกินที่บ้านห้วยลึก ให้แก่ราษฎรชาวเขา

ที่ตั้ง

ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

8. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ

รูปภาพ:http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/Monnger-2.jpgรูปภาพ:http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/Monnger1.jpg

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ

ก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2528 โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง จากการรับสั่งให้เจ้าหน้าที่เดินทางสำรวจสภาพพื้นที่ ซึ่งมีชาวเขาเผ่าม้งอาศัยอยู่ด้วยการถางพื้นที่ป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่นและพืชอื่นๆ แผนพัฒนาจึงได้ถูกกำหนดขึ้นให้สอดคล้องกับความต้องการของชาวเขาด้วยการส่งเสริมให้ปลูกพืชทดแทนฝิ่น โดยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน

9.ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์

รูปภาพ:http://images.thaiza.com/37/37_201310250952191..jpgรูปภาพ:http://www.paiduaykan.com/province/north/chiangmai/pic/watchan.jpg

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์

ปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรชาวเขาในเขตหมู่บ้านวัดจันทร์ ทราบถึงความทุกข์ยากของชาวเขาในพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาชนเผ่ากะเหรี่ยง โดยทำนาในพื้นที่ลุ่มระหว่างหุบเขา มีการถางป่าทำไร่เลื่อนลอยในที่ดอน เส้นทางคมนาคมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต จึงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาบ้านวัดจันทร์ และหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ครอบคลุมพื้นที่ 17 หมู่บ้าน

ที่ตั้ง

ตำบลวัดจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

10. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง

รูปภาพ:http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/maesarieng-3.jpgรูปภาพ:http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/maesarieng-1.jpg

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง เดิมเป็นพื้นที่ดำเนินงานส่วนหนึ่งของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย ต่อมาได้แยกพื้นที่ดำเนินงานออกมาตั้งเป็นศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง เมื่อ ปี พ.ศ. 2536 เนื่องจากพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย อยู่ห่างไกล และกว้างขวางมากครอบคลุมพื้นที่ 2 เขตอำเภอ คือ อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง จึงได้แยกพื้นที่ดำเนินงานในส่วนของอำเภอแม่สะเรียงออกมาเป็นศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง

ที่ตั้ง

ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

10 โครงการหลวง ในฤดูหนาวที่เราแนะนำมานี่ นับว่าเป็นโครงการที่เหมาะแก่การไปเยี่ยมชมธรรมชาติ บรรยากาศในฤดูหนาวมากๆ เลยค่ะ  และยังเหลือโครงการหลวงอีกหลายแห่งเลยที่น่าสนใจและน่าเที่ยวชม หวังว่าเพื่อนๆ คงถูกใจนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง