ภาวะสมองเสื่อม หรือDementiaคือ ภาวะที่มีปัญหาด้านความจำบกพร่องร่วมกับมีอาการอื่น ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาการอื่นๆ เช่น นึกคำพูดไม่ออก บวกลบเลขง่ายๆ ไม่ได้ ความสามารถในการตัดสินใจสื่อสารแย่ลง ไม่สามารถทำอะไรที่ง่ายที่เคยทำประจำ เช่น ติดกระดุมเสื้อเองไม่ได้

พฤติกรรมหรือบุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นต้น ภาวะบางอย่างอาจมีอาการความจำไม่ดีแต่ไม่จัดว่าเป็นภาวะสมองเสื่อม เช่น โรคซึมเศร้า การอดนอน ความเครียด จนขาดสมาธิในการจดจำ

โรคสมองเสื่อมแบ่งเป็น 2 แบบ

- แบบที่รักษาให้หายได้

- แบบที่รักษาให้หายไม่ได้

คนที่สงสัยว่าจะมีอาการสมองเสื่อมควรพบแพทย์ทางระบบประสาท เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุที่สามารถรักษาได้ โรคในกลุ่มนี้ เช่น เนื้องอกในสมอง โรคไทรอยด์ โรคติดเชื้อ โรคขาดสารอาหารบางชนิด เป็นต้น สำหรับสมองเสื่อมจากสาเหตุที่รักษาไม่หายนั้น สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคอัลไซเมอร์ นั่นเอง นอกนั้นก็เป็นโรคทางสมองอื่นๆ ที่พบได้รองลงไป เช่น หลอดเลือดสมองตีบ หรือเป็นทั้งอัลไซเมอร์และหลอดเลือดสมองตีบร่วมกัน เป็นต้น

อาการที่สำคัญของโรคสมองเสื่อม

- ความจำเสื่อมโดยเฉพาะความจำระยะสั้น- ไม่สามารถทำสิ่งที่เคยทำได้- มีปัญหาในการใช้ภาษา- มีปัญหาในการลำดับ ทิศทาง และเวลา- สติปัญญาด้อยลง- วางของผิดที่ผิดทาง- อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย รวดเร็ว- บุคลิกเปลี่ยนแปลงไป- อาจมีอาการหลอน เช่น เห็นภาพหลอน

สาเหตุ

1. การเสื่อมสลายของเนื้อสมองโดยไม่ทราบตัวการที่ชักนำทำให้เซลล์สมองตาย พบว่ามีสารสะสมในเซลล์สมองที่ เรียกว่า B-Amyloid ทำให้เซลล์สมองนั้นสลายตายไปและไม่มีเซลล์สมองใหม่ขึ้นมาทดแทน ทำให้สมองที่เหลืออยู่ไม่สามารถทำงานได้ดีอย่างเดิม โรคที่มีลักษณะความผิดปกติแบบนี้ คือ อัลไซเมอร์

2. ปัญหาหลอดเลือดสมอง เมื่อคนที่อายุมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั้งตัวมากบ้างน้อยบ้างตามแต่พันธุกรรม อาหารการกินและพฤติกรรมต่างๆ ของแต่ละคน การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีไขมันมาสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขรุขระ ไม่เรียบและตีบลง ซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่สมบูรณ์ เนื้อสมองบางส่วนจะค่อยๆ ตายไป ทำให้ความสามารถในการทำงานของสมองลดลง

3. การติดเชื้อในสมอง ถ้ามีการติดเชื้อในสมองจะเกิดการอักเสบจะทำให้เซลล์สมองบางส่วนตายไป เช่น โรคซิฟิลิส  HIV

วัณโรคและไวรัสบางชนิด เช่น โรควัวบ้า4. เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน B1,B12 ,Folic Acid เช่น ผู้ป่วยที่ดื่มสุรามาก5. การแปรปรวนของระบบเมตาบอลิกของร่างกาย เช่น การทำงานของต่อมไร้ท่อบางชนิดผิดปกติไป โดยเฉพาะต่อมไทรอยด์ ทำงานมากหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของสมองทั้งสิ้น6. การกระทบกระเทือนที่สมอง7. เนื้องอกในสมอง8. สมองเสื่อมเกิดจากโพรงน้ำในสมองขยายใหญ่ขึ้นจากน้ำเลี้ยงสมองคั่งจนเบียดเนื้อสมองทำให้ทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีการซอยเท้าก้าวสั้นๆ ปัสสาวะราด เข้าห้องน้ำไม่ทันร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม เมื่อมีอาการน่าสงสัยควรปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติเพิ่มเติมและตรวจร่างกายรับการทดสอบภาวะความจำ หากผลตรวจน่าสงสัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือดทั่วไป เพื่อคัดแยกโรคต่างๆ ที่มีผลต่อความจำ หรือ ทำให้สมองเสื่อม แพทย์อาจทำการตรวจปัญหาที่เกิดขึ้นในสมองโดยการถ่ายภาพสมองโดยเครื่อง MRI บางรายอาจได้รับการตรวจเพิ่มเติมด้วย MRA ( ภาพหลอดเลือดสมอง )

รูปภาพ:

แนวทางการป้องกันโรคสมองเสื่อม

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด2. ระวังการให้สารที่อาจเกิดอันตรายกับสมอง เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยา ที่ไม่จำเป็น3. ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น งดสูบบุหรี่4. การฝึกสมองและพยายามทำกิจกรรมที่ได้ใช้สมองอย่างสม่ำเสมอ หรือ กิจกรรมทางสังคมอย่างน้อยให้มีกิจกรรมกับคนในครอบครัว5. การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ6. ตรวจเช็คสุขภาพปีละ 1 -2 ครั้ง7. ระมัดระวังอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ศีรษะ8. หลีกเลี่ยงความเครียด

การดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม

1. ช่วยทำกิจกรรมประจำวันให้ผู้ป่วย การจัดวางของใช้ของผู้ป่วยให้เป็นที่มองหาง่าย ติดปฏิทินใบใหญ่ ให้ผู้ป่วยทำเครื่องหมายกากบาทเมื่อผ่านไปแต่ละวัน ทำป้ายเตือนความจำ2. ลดปัญหาในการสื่อสารและการใช้ภาษาพูดคุยกับผู้ป่วย ใช้คำถามตรงๆ ไม่ซับซ้อน3. เมื่อผู้ป่วยมีอาการระแวงและกล่าวโทษผู้อื่น ไม่ควรโต้เถียง  ควรพูดคุยด้วยความนุ่มนวล และเบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมอื่น4. นอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่สำคัญ ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย  ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายในตอนกลางวัน5. ดูแลการรับประทานยาให้ถูกต้อง ถ้าผู้ป่วยจัดยากินเอง จะมีความผิดพลาดสูงได้


รายละเอียดเพิ่มเติม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Call Center :


0-2487-2000 (เวลา 08:00 – 22.00 น.)

E-mail :

[email protected]

Website :

http://thonburihospital.com/2015_new

FB :https://www.facebook.com/thonburihospitalclub

IG :

https://www.instagram.com/thonburi_hospital