สวัสดีค่ะสาวๆ

SistaCafe

วันนี้เราพาไปเอาใจสาวๆ สายฮิปอีกแล้ว วันนี้อยู่กันที่ชุมชนเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา อย่าง

ชุมชนกุฎีจีน

ค่ะ ที่นี่เป็นชุมชนเล็กๆ ประกอบไปด้วยหลายเชื้อชาติและศาสนา แต่ถึงแม้จะเป็นชุมชนเล็กๆ แต่มีสิ่งที่น่าสนใจเพียบ พูดเลยย บรรยากาศจะเป็นอย่างไร ไปดูกันดีกว่าค่าาาา


รูปภาพ:

ข้อมูล

พิพิธภัณฑ์กุฎีจีน

เปิด : วันอังคาร - อาทิตย์

เวลา : 09.30 -18.00 น.

การเดินทาง

รถโดยสารสาธารณะ :

สาย 56,9,43,3,6,40,42 จอดหน้าโรงเรียนศึกษานารี เดินต่อเข้าซอยกุฎีจีน

เรือ :

ท่าราชินีข้ามมาท่าวัดกัลยา


รูปภาพ:

กุฎีจีน

ชุมชนกุฎีจีน

ชุมชนเก่าแก่เล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ความเป็นมาไม่ธรรมดาเลย มีประวัติมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ชาวกุฎีจีนเป็นการผสมผสานระหว่าง 3 เชื้อชาติ 3 ศาสนา เพราะเดิมทีเป็นชุมชนที่รวบรวมไพร่พลหลังกรุงศรีอยุธยาแตก มีทั้งชาวไทย ชาวจีน ชาวโปรตุเกส ที่อพยพมา แต่มาถึงรุ่นปัจจุบัน เชื้อสายชาวโปรตุเกสก็ไม่ค่อยเหลือเค้าความเป็นตะวันตกแล้วล่ะค่ะ


รูปภาพ:

ชุมชนกุฎีจีน

เป็นชุมชนเล็กๆ ที่อาศัยกันอยู่แบบเครือญาติค่ะ ประชาชนส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิค โดยมี

โบสถ์ซางตาครู้ส

เป็นศูนย์กลางของชุมชน และนอกเหนือจากโบสถ์บริเวณรอบๆ เป็นที่ตั้งศาสนสถานมากมายอย่าง


วัดกัลยาณมิตรวรวิหาร ศาลเจ้าเกียงอันเกง และ มัสยิดบางหลวง

ค่ะ ทางเดินในชุมชนจะเป็นซอยเล็กๆ แต่ตามกำแพงเต็มไปด้วย Street Art มากมาย ใครเป็นสายฮิปต้องมาเดินถ่ายเลยย


รูปภาพ:รูปภาพ:รูปภาพ:

โบสถ์ซางตาครู้ส

โบสถ์คาทอลิค ศูนย์กลางชมชนกุฎีจีน เป็นโบสถ์แบบนีโอคลาสิคผสมเรเนอซองส์ แห่งแรกของฝั่งธนบุรีค่ะ ก่อตั้งโดยบาทหลวงโกเบ กอรร์ ผู้นำชาวโปรตุเกสในยุคนั้น สร้างขึ้นบนพื้นที่พระราชฐานของพระเจ้าตากสินมหาราช สวยมากๆ แต่เสียดายตอนไปโบสถ์ปิดแล้ว T_____T


รูปภาพ:

ของขึ้นชื่อที่

ชุมชนกุฎีจีน

ได้แก่

ขนมฝรั่งกุฎีจีน

นั่นเองค่ะ  ขนมโบราณอายุกว่า 200 ปี เป็นลูกผสมระหว่างขนมจีนกับขนมฝรั่ง เพราะตัวขนมมีต้นตำรับมาจากชาวโปรตุเกสที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทย ส่วนหน้าขนมเป็นของจีน  ใช้วัตถุดิบเพียงสามอย่าง คือแป้ง ไข่ และน้ำตาล โรยด้วยลูกเกด ลูกพลับ ฟักเชื่อม และน้ำตาลทราย จากความเชื่อของชาวจีนที่ว่า กินฟักเชื่อมแล้วจะร่มเย็น กินน้ำตาลทรายจะมั่งคั่งไม่รู้จบ เหมือนน้ำตาลที่นับเม็ดไม่ได้


รูปภาพ:

เดินตรงเข้าไปสุดซอยจะพบกับ

พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน

เป็นบ้านไม้สีขาวหลังกะทัดรัด


ด้านบนจัดแสดงความเป็นมาของชาวกุฎีจีน เรื่องราวของสยาม - โปรตุเกส การเข้ามาเยือน บุคคลสำคัญ ส่วนด้านล่างเป็นร้านกาแฟ บรรยากาศชิลล์ๆ ขอบอกว่าที่นี่สร้างขึ้นจากทุนส่วนตัวของเจ้าของบ้านเองเลย เพื่อต้องการเปิดให้ความรู้กับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม อย่างไรก็อย่าลืมไปอุดหนุนอาหารและกาแฟกันนะคะ


รูปภาพ:รูปภาพ:รูปภาพ:รูปภาพ:รูปภาพ:รูปภาพ:รูปภาพ:

เมื่อออกจากซอยกุฎีจีนกันแล้ว เราลัดเลาะมาตามริมแม่น้ำ จนมาพบกับ

บ้านวินด์เซอร์

เรือนมะนิลา ประดับประดาด้วยไม้ฉลุ

มรดกตกทอดของตระกูลวินด์เซอร์ ซึ่งเป็นตระกูลคหบดีที่มีบทบาทสำคัญในชุมชนกุฎีจีน เช่น การจัดตั้งห้าง วินด์เซอร์หรือห้างสี่ตา เป็นเจ้าแรกที่ทำการค้าขายกับต่างประเทศ เห็นครั้งแรกคือสวยสะดุดตามากๆ แต่ก็แอบขนลุกเบาๆ เพราะว่าเป็นบ้านโบราณขนานแท้ ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น


รูปภาพ:

ถัดจากบ้านวินด์เซอร์มาไม่ไกล เราก็จะพบกับ

ศาลเจ้าเกียนอันเกง

ศาลเจ้าแบบสถาปัตยกรรมจีนในสมัยราชวงศ์เชง ของชาวจีนฮกเกี้ยน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ประดิษฐานพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม ด้านในห้ามถ่ายรูปเด็ดขาดเลยนะคะ


รูปภาพ:รูปภาพ:

เป็นอย่างไรบ้างคะสาวๆ ที่

ชุมชนกุฎีจีน

เนี่ย มีอะไรให้เราได้แวะเที่ยวตั้งหลายอย่าง แถมได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันของชุมชนที่เป็นลูกผสมจากสามเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมด้วยนะ ว่าสุดท้ายแล้วพวกเขาก็พึ่งพาอาศัยกันอยู่แบบเครือญาติ คนในชุมชนก็น่ารักมากๆ เรียกได้ว่าที่นี่เป็นที่ที่น่าสนใจ ที่แอบหลบอยู่ในหลืบของกรุงเทพที่หนึ่งเลยล่ะค่ะ ไว้คราวหน้าเราจะพาสาวๆ ไปเที่ยวคนเดียวแบบไม่ง้อใครกันทีไหนอีก โปรดรอติดตามด้วยนะคะ