ความวิตกกังวลของผู้หญิง มักจะก่อปัญหาและอาจทำให้เกิดเป็นโรคที่น่ากลัวอย่างโรค

Panicked และโรคซึมเศร้

ได้ง่ายๆ เพราะผู้หญิงมีสภาวะทางอารมณ์และความคิดที่ซับซ้อนกว่าผู้ชาย

ทำให้ผู้หญิงมักสับสนกับความคิดบางอย่างของตัวเอง และด้วยสารชนิดหนึ่งที่หลั่งอยู่ในสมองและการเป็นประจำเดือน ที่ทำให้ฮอร์โมนของผู้หญิงไม่สมดุลเท่าที่ควร พร้อมด้วยสภาวะแวดล้อมรอบข้างที่เป็นตัวกระตุ้น

ซึ่งถ้าคุณเป็นคนที่ชอบวิตกกังวลอยู่แล้ว ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคเหล่านี้ได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย แบบนี้ลองมาดูกันค่ะว่า เรามีความเสี่ยงที่จะเป็น

โรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ( generalized anxiety disorder )

ที่อาจจะพ่วงอาการของโรคอื่นๆ ตามมาอีกหรือไม่กันค่ะ

1. กังวลมากเกินไปทุกเรื่อง

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/54/5c/bf/545cbf53e9e13e575ed248dbe653e2eb.jpg

จุดเด่นของโรงวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ คือ คุณจะรู้สึกวิตกกังวล เครียด และตึงไปหมดทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยไม่สามารถที่จะวิเคราะห์ได้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเพียงแค่เรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ และความวิตกกังวลนั้นทำให้คุณเกิดความทุกข์ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ถือว่าคุณมีความวิตกกังวลที่มากกว่าคนปกติแน่นอน

ถ้ามีอาการนี้อย่างต่อเนื่องทุกวันตลอด 6 เดือน แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือความรู้สึกของคุณกลับ Deep หนักลงเรื่อยๆ แล้วความวิตกกังวลนี้เข้าไปรบกวนชีวิตประจำวันเมื่อไหร่ นั่นคือคุณเป็นโรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุอย่างแน่นอน

2. นอนไม่ค่อยหลับ

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/a0/4a/3c/a04a3c9553bdf9db67f3bbbda55db788.jpg

อาการนอนไม่หลับแทบจะเป็นปัญหาหลักของคนเป็นโรคนี้ ถ้าคุณมีสภาวะเสี่ยงต่อโรควิตกกังวลเกินเหตุ คุณจะมีอาการนอนไม่หลับตลอดทั้งสัปดาห์ เพราะวิตกกังวลในทุกๆ เรื่อง ซึ่งปัญหานี้จะพ่วงไปทั้งเรื่องของกายและจิตใจมากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าคุณมีอาการนอนไม่หลับ กระวนกระวาย สับสน มีเรื่องในหัวตลอดเวลา โดยที่ไม่มีเรื่องเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ แต่ก็สามารถเก็บมาคิดได้ทั้งหมด นั่นคือคุณเป็นโรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุแน่นอน

3. กลัวแบบไร้ซึ่งเหตุผล

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/9b/4b/9e/9b4b9e9525ba7ab72540b84b01ae4935.jpg

ความกลัวนั้นมีอยู่ในตัวของทุกคนก็จริง แต่คนที่เป็นโรควิตกกังวลเกินเหตุ มักจะมีอาการกลัวที่ไม่ได้มาทางจิตใจเพียงทางเดียว แต่สามารถมาจากสภาวะรอบข้างได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร สภาวะแวดล้อมรอบข้าง หรือสถานการณ์ที่กระตุ้นความกลัวต่า ๆ ก็สามารถทำให้คนที่เป็นโรคนี้กลัวขึ้นมาอย่างจับใจ โดยแทบจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตกลงกลัวอะไรกันแน่

ซึ่งความกลัวนี้ถ้ามีมากจนเกินไป ก็อาจทำให้คุณกลายเป็นคนเก็บตัว ไม่กล้าออกจากบ้าน และกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างร้ายแรงอีกด้วย

4. กล้ามเนื้อตึงหรือเป็นตะคริวบ่อยครั้ง

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/55/89/48/5589486b8e71f88617af8a508a86df2a.jpg

ความตึงเครียดที่เกิดจากความวิตกกังวล มีผลทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ มีความตึงตามไปด้วย และทำให้เกิดปัญหาเรื่องตะคริวตามส่วนต่างๆ บ่อยครั้ง

ในบางรายก็อาจจะถึงขั้นขากรรไกรค้างเมื่อเริ่มมีความวิตกกังวล ถือว่าเป็นปัญหาทางกายที่เชื่อมต่อกับจิตใจที่ค่อนข้างน่ากลัว หรือบางรายก็อาจจะออกกำลังกายไม่ได้ เพราะเมื่อออกแล้วตะคริวก็จะเกิดกับกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ทันที

5. เป็นโรคอาหารไม่ย่อยเรื้อรัง

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/51/db/d8/51dbd8e9855bf0aa1a3ee7bb0e6eb309.jpg

เมื่อเกิดความเครียดจากอาการวิตกกังวล ระบบต่างๆ ภายในร่างกายก็ย่อมต้องมีปัญหาตามมาด้วยเช่นกัน โดยในส่วนที่รับผลกระทบโดยตรง คือ ระบบการย่อยอาหารที่เริ่มจากกระเพาะอาหารและลำไส้ น้ำย่อยจะถูกสารแห่งความเครียดที่ร่างกายหลั่งออกมาทำลาย เมื่อทานอาหารเข้าไปก็จะทำให้อาหารนั้นไม่สามารถที่จะย่อยได้ตามปกติ และเมื่อโดนส่งต่อไปยังลำไส้ ก็จะทำให้ลำไส้ทำงานหนักกว่าเดิม

จนสุดท้ายก็จะเกิดอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) ทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง อึดอัด ท้องอืดท้องเฟ้อ หรืออาจทำให้ท้องร่วงได้อีกด้วย ลำไส้นั้นมีความไวต่อความเครียดทางจิตใจอย่างมาก ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุจึงมักจะเกิดปัญหาปวดท้องบ่อยครั้ง เนื่องมาจากลำไส้แปรปรวนเรื้อรังนั่นเอง

6. ตื่นตกใจง่าย

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/a1/50/78/a15078168527d0cf65bfe64090b7f536.jpg

เมื่อความกลัวมีมากจนเกินจะควบคุมได้ ความตื่นตระหนกตกใจก็เป็นเรื่องที่คุมไม่ได้แล้วเช่นกัน อาการขี้ตกใจนั้นมีได้กับทุกคน แต่คนที่เป็นโรคนี้จะตกใจได้ง่ายกว่าคนปกติ 2 เท่า เรียกได้ว่าแค่เห็นอะไรแปลกๆ ก็ตกอกตกใจชนิดร้องกรี๊ดได้ทั้งวัน

ซึ่งอาการนี้จะส่งผลกระทบทางสังคม ที่อาจทำให้เกิดปัญหาความวิตกกังวลมากกว่าเดิม และอาจทำให้กลายเป็นโรคกลัวสังคมไปในที่สุด

7. กังวลเรื่องของตัวเอง

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/1a/06/bf/1a06bf89704f7932bca81d65a7b4091e.jpg

คนที่เป็นโรควิตกกังวลเกินเหตุ เมื่อยามต้องออกจากบ้านหรือถูกเชิญไปงานเลี้ยงต่างๆ จะเกิดความเครียด กังวล และกลายเป็นความไม่มั่นใจ และมักจะรู้สึกว่าตัวเองถูกมองแบบแปลก ๆ ทุกครั้งที่ก้าวเข้ามาในงาน

ซึ่งในความเป็นจริงคนในงานอาจจะแค่มองผ่านๆ หรือไม่ได้สนใจคุณเลยด้วยซ้ำ แต่คนเป็นโรคนี้กลับไม่ได้คิดแบบนั้น และมักมองว่าตัวเองเป็นตัวประหลาดเสมอเมื่อเดินออกจากบ้านอีกด้วย

8. ตกใจเกินเหตุ

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/7d/73/08/7d7308a323f323c617b4b155ec2c7bb7.jpg

คนที่เป็นโรควิตกกังวลเกินเหตุ จะพ่วงมาด้วยอาการกลัวและตกใจง่าย เมื่อเกิดอาการตกใจก็จะมาพร้อมกับอาการทางร่างกายที่เด่นชัด คือ หัวใจเต้นเร็ว, ชาที่มือและมีเหงื่อออก, อ่อนเพลีย, เวียนศีรษะ, ปวดช่วงหน้าอก, ปวดท้อง ท้องปั่นป่วนและรู้สึกร้อนหรือเย็นมากกว่าปกติ ซึ่งถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ในช่วงที่ตกใจ ก็ถือว่าเข้าข่ายของผู้เป็นโรควิตกกังวลเกินเหตุ

คนปกติทั่วไปเมื่อยามตกใจจะไม่มีอาการที่มากขนาดเท่าที่กล่าวมาข้างต้น และตกใจเพียงไม่นานก็จะกลับมาสู่สภาวะปกติ แต่คนที่เป็นโรควิตกกังวลเกินกว่าเหตุนั้น จะมีอาการเกือบทั้งหมด โดยอาการเหล่านี้เกิดจากการเจอเหตุการณ์สะเทือนใจแบบซ้ำๆ หรือคนที่มีความหวาดกลัวกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง จนต้องหลีกเลี่ยงสถานที่และช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้นในอดีต

9. พฤติกรรมย้อนกลับ

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/7b/23/25/7b23252fd8e8a162326165c18e570a28.jpg

ผู้ที่มีปัญหาวิตกเกินเหตุที่เกิดจากการต้องสูญเสียคนรักไปแบบกะทันหัน มีบาดแผลทางใจที่ยากจะลืมเลือน หรือการถูกเยาะเย้ย ล้อเลียน หรือกดดันจากสังคม ถือว่าเป็นเรื่องที่รุนแรงอย่างมากของคนเป็นโรคนี้ เพราะจะทำให้จมอยู่กับเหตุการณ์เดิมๆ ซ้ำซากทุกวัน

และพฤติกรรมของคนเหล่านี้ก็จะย้อนกลับไปสู่สิ่งที่เขาจำได้เพียงเท่านั้น โดยไม่สนใจโลกภายนอก และอาจทำให้ความคิดไหลลงกลับสู่วัยเด็กได้อีกด้วย

10. เริ่มเพ้อฝัน

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/68/ca/f9/68caf94f928e419f963a7f83640c23a6.jpg

ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลมักจะชอบตัดสินตัวเอง หรือมักจะวิตกกังวลอย่างมาก เมื่อตัวเองทำอะไรผิดพลาดไปที่ถึงแม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม ก็มักจะโทษว่าตนเองบกพร่อง ใช้ไม่ได้ และทำงานไม่มีคุณภาพหรือขาดมาตรฐาน ผู้ที่เป็นโรคนี้จึงมักจะวิตกกังวลเสมอก่อนจะออกจากบ้าน เพราะจะต้องตรวจดูตัวเองให้ละเอียดเสียก่อนว่าไม่มีข้อบกพร่องใด ๆ ให้กังวลซึ่งผู้หญิงบางคนที่เป็นโรควิตกกังวลเกินเหตุ ก็อาจจะใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมงเพื่อแต่งหน้าให้สวยที่สุดก่อนออกจากบ้าน แต่ถ้าแต่งออกมาไม่ถูกใจอีก ก็อาจลบและลงเครื่องสำอางใหม่แบบไม่สนเวลาอีกด้วย

11. พฤติกรรมบีบบังคับ

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/39/3c/07/393c07981889111a4899a9dbd2ca62a1.jpg

ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลเกินเหตุจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำซ้อนและชอบบีบบังคับตัวเอง เช่น บอกตัวเองว่าจะต้องทำทุกอย่างให้ถูกต้องแบบซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า หรือถ้าต้องล้างมือ ก็จะล้างมือไปเรื่อยๆ เป็นพฤติกรรมที่ซ้ำซ้อนไปมาตลอดทั้งวัน

ซึ่งผู้เป็นโรควิตกกังวลมักจะต้องพบกับปัญหาเหล่านี้ จนกลายเป็นความสับสนวุ่นวายตลอด 3-4 วัน หรือจะเป็นจนกว่าจะแก้ปัญหาต่างๆ ได้สำเร็จ แล้วอาการถึงจะดีขึ้น

12. สงสัยตัวเองตลอดเวลา

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/564x/3f/33/8e/3f338e19a92611f3d421f96dbeeb327a.jpg

ความสงสัยเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนเป็นโรควิตกกังวลมักสร้างขึ้นมาเพื่อถามตัวเองเสมอ เช่น " ทำไมฉันถึงเป็นแบบนี้? " หรือ " ฉันรักเขาได้มากกว่าเขารักฉันหรือไม่? " คำถามของคนเป็นโรคนี้มักจะเกี่ยวกับชีวิตที่เป็นอยู่และอัตลักษณ์ของตัวเอง เรียกได้ว่าความคิดเหล่านี้ถ้าเกิดกับคนธรรมดาก็สามารถตอบตัวเองได้ และคิดว่าคำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่ไร้สาระอย่างมากอีกด้วยแต่สำหรับคนเป็นโรควิตกกังวลเกินเหตุนั้น คำถามเหล่านี้ถือว่ายิ่งใหญ่และมีความสำคัญมากเลยทีเดียว

ถ้าสาวๆ

SistaCafe

กำลังรู้สึกว่าตัวเองตกอยู่ในสภาวะที่น่ากลัวของโรควิตกกังวลเกินเหตุ ก็สามารถที่จะเข้ามาเช็คอาการทั้ง 12 แบบนี้ได้เลยค่ะ ถ้ามีอาการที่มากเกินกว่า 6 ข้อ ก็แนะนำว่าควรปรึกษาจิตแพทย์ และดูแลตัวเองให้ดี

มีปัญหาก็พยายามพูดคุยกับคนรอบข้างที่ไว้ใจได้ เพื่อลดความตึงเครียด รับประทานอาหารมีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็เชื่อได้ว่าอาการเหล่านี้จะดีขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งถ้ารักษาตัวเองดีๆ โรคนี้ก็จะไม่น่ากลัวอย่างที่คิดและหายขาดได้ด้วยนะคะ  สู้ๆ นะคะสาวๆ