1. SistaCafe
  2. 'ผ้าอนามัย' ปัญหา หรือ ธรรมชาติของผู้ที่มีมดลูกและรังไข่
ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F72835%2F89a06a69-029f-45db-a338-c2d268b16cad.jpeg?v=20240304112227&ratio=0.600

ต้องขอยกเคส ประเด็นดราม่าล่าสุด เกี่ยวกับประเด็นร้อน อย่างเรื่อง‘ ผ้าอนามัย กับ ค่าครองชีพ ‘มาพูดถึงสักหน่อย เพราะล่าสุดประเด็นนี้ได้ติดเทรนด์#แฮชแท็กในTwitterและมีคนเข้าพูดคุยและถกเถียง เกี่ยวกับประเด็นมากมายภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยความเห็นส่วนใหญต่างพากันถกไปในเรื่องของค่าใช้จ่ายในเรื่องของ‘ผ้าอนามัย’บ้างมีทั้งเข้าใจ และบ้างก็มีเห็นต่างออกไป อย่างค่าใช้จ่ายในการซื้อผ้าอนามัย ก็เป็นสิ่งที่ผู้หญิงต้องแบกรับภาระนี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วหรือถ้าเป็นไปได้ก็ควรซื้อผ้าอนามัยที่ราคาต่ำลงมา เพื่อลดค่าใช้จ่ายลงจนมีคนออกมาโต้เถียงกันไปมา ได้ลามเป็นประเด็นใหญ่โต จนกลายเป็นเหมือนการว่าใครออกมาพูดถึงเรื่องนี้ ต้องการที่มาเรียกร้องสิทธิความเป็นหญิง หรือfemininity แบบเกินเหตุหรือในทำนอง Drama Girlและกลายเป็นดราม่าที่ร้อนระอุ แบ่งแยกระหว่างชาย และ หญิงกันทั่วโซเชียล ซึ่งนี่แหละถือว่าเป็นการแบ่งแยกกันอย่างไม่เท่าเทียมที่ยังมีให้เห็นอยู่


แยกให้ถูก ‘ ประจำเดือน ‘ ธรรมชาติ ’ของผู้ที่มีมดลูก และรังไข่

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F72835%2Feff96aca-dab7-48ce-bf77-6ecaf8ed9a2c.jpeg?v=20240304112228&ratio=0.600

เรายกเรื่องนี้มาพูดไม่ได้จะมาเรียกร้อง หรือ ต้องการยกตนอยู่เหนือใคร ด้วยการดึงกายวิภาคและสรีระที่ได้รับมาตั้งแต่เกิดที่มีมาใช้ ถ้าให้พูดตามตรง ประจำเดือน ถือเป็น เรื่องธรรมชาติ ( Nature ) ของผู้ที่มีมดลูกและรังไข่ทุกคน โดยเราไม่อยากจะระบุว่า เป็นธรรมชาติของผู้หญิงเท่านั้น เพราะประจำเดือนยังเป็นธรรมชาติของผู้ใดก็ตาม ที่ไม่ว่าในปัจจุบัน เพศภาวะ ( Gender ) จะยังตรงหรือต่างกับที่ได้มาตอนเกิดหรือไม่ แต่หากตอนนี้ เค้าหรือเธอยังคงมีมดลูก รังไข่ก็ยังคงต้องหลั่งประจำเดือนออกมาโดยธรรมชาติ เช่นกัน


ที่พูดแบบนี้ก็เพราะว่า อยากจะแยกให้เห็นว่า มนุษย์ไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่คำSEX ( เพศ ) ที่เอาไว้แบ่งลักษณะทางชีววิทยาของบุคคล ที่แบ่งเป็นเพศหญิง และเพศชาย เท่านั้น (*)แต่ยังมีคำว่าGENDER ( เพศภาวะ )ที่ไม่ได้แบ่งออกเป็นแค่เพียง‘เราคือเพศหญิง’หรือ‘เธอคือเพศชาย’แต่คำว่าGENDERนั้น ยังรวมไปถึงLGBTหรือรวมไปถึงผู้ที่ไม่ระบุเพศด้วย ( non-binary )หากจะมองให้เท่าเทียมกันแล้วนั้น เราจะต้องแยกประเด็นนี้ SEX และ GENDER ให้ออก แล้วต้องทำความเข้าใจใหม่ว่าธรรมชาติ ของแต่ละ SEX ( เพศ ) มีความเป็นไปอย่างไรและต่อให้เมื่อเค้าคนนั้นมีเพศและเพศสภาวะตรงกันหรือไม่เราเองควรจะมองผ่านมุมมองของกันและกันอย่างเท่าเทียมให้มากขึ้นอีกหน่อย



ทำไมเราถึงต้องยกประเด็นเรื่อง ผ้าอนามัย เป็นเรื่องใหญ่

ถ้าให้มองย้อนกลับไป แม้ว่าในอดีตจะมีการประดิษฐ์สิ่งที่มาซึมซับประจำเดือน หลากหลายรูปแบบ และแตกต่างกันไปอย่าง ผู้หญิงสมัยอียิปต์ใช้เยื่อไม้ปาปิรุส ( Papyrus )  ผู้หญิงกรีกและโรมันใช้ผ้าสำลี ( Lint ) พันรอบแกนไม้เล็กๆผู้หญิงญี่ปุ่นใช้กระดาษนุ่มๆ เช่น กระดาษสา ผู้หญิงพื้นเมืองอเมริกัน ( Native American ) ใช้ผิวหนังควายห่อหุ้มด้วยหญ้ามอส ผู้หญิงไทยนิยม ‘ขี่ม้า’ นั่นคือใช้ผ้าขี้ริ้วหรือผ้าซิ่นเก่านุ่มทบพันหลายชั้นลอดระหว่างขา คาดด้วยเข็มขัดหรือเชือก นอกจากนั้นยังใช้เสื้อผ้าเก่า ผ้าขี้ริ้ว ผ้าฝ้าย ขนสัตว์ ผ้าทอ ไหมพรมถัก หญ้าแห้ง มาเป็นแผ่นซึมซับประจำเดือน (**)


แต่สำหรับปัจจุบันแล้ว เราไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่า สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นมาตรฐานกลางที่ใช้เพื่อซึมซับประจำเดือนและใช้กันสากลทั่วโลก นั่นก็คือ‘ ผ้าอนามัย ( sanitary napkin ) ’แต่เหตุใดผ้าอนามัยจึงกลายของไม่จำเป็น และจัดอยู่ในหมวด‘ สินค้าฟุ่มเฟือย ’อีกทั้งยังถูก‘ผลักให้มาเป็นภาระของผู้ที่มีมดลูกและรังไข่ ’ให้ต้องก้มหน้ารับผิดชอบด้วยตัวเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพียงผู้เดียว


แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่เพียงแค่ ประเทศไทยที่มีดราม่า เรื่องผ้าอนามัย อย่าง ประเทศในแทบยุโรปเองก็ต้องเผชิญกับ ปัญหานี้เหมือนกัน เนื่องจากรัฐบาลเก็บภาษีจากผ้าอนามัย ทำให้ผ้าอนามัย ในแถบยุโรปมีราคาที่สูงมากหรือรวมไปถึง ประเทศอินเดียเองผ้าอนามัยยังถือเป็นของที่เข้าไม่ถึงได้ทั่วไป (***) โดยมีสถิติออกมาว่า มีเพียง 12 เปอร์เซ็นต์จากประชากรหญิงในอินเดียวทั้งหมดกว่า 335 ล้านคนเท่านั้นที่มีกำลังซื้อผ้าอนามัย โดยอีกเปอร์เซ็นต์ที่เหลือจะใช้เป็นการประดิษฐ์ผ้าอนามัยใช้กันเองอยู่


เราจึงเห็นว่า เรื่องนี้ ที่อาจจะถูกใครหลายคนมองเป็น ปัญหา ดราม่าเล็ก ๆ ของหญิงสาว ( ซึ่งขอยกเว้นไว้สำหรับคนที่เข้าใจไว้ด้วยนะคะ ) แต่จริงๆ เรื่องนี้ ควรถูกยกมาพูดให้ ทั่วถึงในวงกว้าง และในมุมมองที่เท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่เพียงปิดปัญหาว่าเป็นเพียง Girls ‘s Drama แล้วยังคงกลายเป็นภาระให้การผู้ที่มีมดลูกและรังไข่รับผิดชอบด้วยตัวเองอยู่เช่นเดิม


ผ้าอนามัย คือ ปัจจัย 4 ที่ขาดไม่ได้ ของผู้ที่มีมดลูกและรังไข่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์


ซึ่งการที่ได้ยินได้ว่า‘ผ้าอนามัย’กลายเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยไม่ต่างกับการบอกว่า การมีประจำเดือน คือ เรื่องไม่จำเป็นแต่จะให้กลั้นเอาไว้ หรือจะลองให้ปล่อยไหลโดยไม่ใช้ผ้าอนามัยทุกๆ เดือน เพราะต้องละทิ้งของฟุ่มเฟือยเหมือนการละทิ้งตามหลักพระพุทธศาสนาล่ะก็ คงดูแย่เสียยิ่งกว่าเดิม นั่นก็เพราะคงไม่มีใครอยากเห็นประจำเดือนของคนอื่นหรอก จริงมั้ย ? และก็อาจส่งผลต่อการเสี่ยงติดเชื้อโรค และเกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้เช่นกัน


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F72835%2Fed05b89f-f552-408d-afff-b8ed67fa36d3.jpeg?v=20240304112228&ratio=0.867

ลองคิดคำนวณเล่นๆ ตีเป็นตัวเงิน สำหรับการต้องซื้อ ผ้าอนามัยใช้ตลอดชีวิตเฉลี่ยผ้าอนามัยราคากลางๆ ตกชิ้นละ 8 บาท 1 วันใช้ประมาณ 4 ชิ้น = 32 บาท 1 เดือน ประจำเดือนมาเฉลี่ย 5 วัน = 160 บาท 1 ปี = 1900 บาท วัยเจริญพันธุ์ 35 ปี = 66500 บาทบวกลบค่าครองชีพ ค่าใช่จ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมๆ แล้วอาจจะอยู่ที่ราวๆ 100,000 + บาท / ต่อคน


ถ้าหากใครยังคิดว่า

ผ้าอนามัย คือ ของฟุ่มเฟือยอยู่ล่ะก็

ยังอยากให้คิดใหม่ เพราะคงไม่มีใครอยากเสียเงินหลักแสน ไปกับ ของฟุ่มเฟือยแบบเสียเปล่า อย่าง การซื้อผ้าอนามัย แน่นอน และอย่างที่บอกว่าความจริงแล้ว

ประจำเดือน

ก็คือ ธรรมชาติของกลไลของร่างกายมนุษย์ ทึ่ไม่สามารถบังคับหรือสั่งให้หยุด หรือ สั่งให้มา ได้ตามใจชอบได้ ซึ่งการหลีกเลี่ยงไม้ใช่ผ้าอนามัยที่ทำได้ยาก และอาจจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย หรือจะให้ต้องมาจำกัดหรือลดจำนานผ้าอนามัยลง ก็ทำไม่ได้เช่นกัน



________________________________________________


เราจึงขอเป็นอีกกระบอกเสียงเล็กๆ แม้จะเบาแค่ไหนก็ตาม แต่อยากส่งต่อข้อเท็จจริงของธรรมชาติของผู้ที่มีมดลูกและรังไข่นี้ให้คนทุกคนได้เข้าใจได้ตรงกัน ไม่ว่าจะ เพศไหน ฐานะไหน หรือลำดับขั้นไหน เราอยากให้ย้อนกลับมาคิดและมองถึงเรื่องประเด็นนี้ให้เท่าเทียมกันซึ่งเพียงแค่วันนี้คนที่ได้อ่านลองเริ่มเปิดความคิดให้กว้างขึ้น เข้าใจความเป็นธรรมชาติของ เธอ = ฉัน และร่วมหาวิธีการแก้ปัญหากันมากกว่า ที่จะเลือกใช้วิธีการพ่นด่า หรือประชดประชันกัน แบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลดีที่ตามมาได้ในไม่ช้าแน่นอน


อย่างที่บอกในบทความนี้เราไม่ได้จะมาเรียกร้องเพื่อสิทธิของผู้หญิงแค่อยากมาเล่าเรื่องและแตกประเด็น เพื่อให้ทุกคน ไม่ว่าทั้งเพศชาย หญิง หรือไม่ว่าจะ LGBTQ ก็ตาม ได้เห็นภาพและมุมมองในแบบที่เท่าเทียมกันมากขึ้นและเราเองก็พร้อมที่จะเรียนรู้ยินดีรับฟังมุมมองของทุกกลุ่มเช่นกัน และคุณล่ะ คิดเห็นกับประเด็นนี้อย่างไร ?


ขอบคุณแหล่งข้อมูล

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้