สวัสดีค่ะสาวๆ

Sistacafe

ปากแดงๆ จะไว้ใจได้กา ตาหวานๆ จะไว้ใจได้กา อยู่เมืองไกลจะไว้ใจได้กา บ่ใช่ข้าเจ้าจะไว้ใจได้กา

♫♪˙‿˙♫♪

แอร๊

ใครหลายๆ คนมักจะหลงเสน่ห์วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ของชาวเหนือ ที่มีทั้งความเป็นเอกลักษณ์ อ่อนช้อย และสวยงาม ทั้งการรำ การฟ้อน เครื่องดนตรี การแต่งกาย ภาษา และอีกมากมายนับไม่ถ้วน

วันนี้เราเลยจะพาสาวๆ ไปเที่ยวแบบมีความรู้

โอย ดูสวยขึ้นอีก 30%

เที่ยวสนุกแบบมีความรู้ได้ที่

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง

พิพิธภัณฑ์ทรงเรือนกาแล เรือนเมืองเหนือโบราณ ที่จะรวบรวมศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิตต่างๆ ของชาวล้านนา ให้สาวๆ ได้รู้จัก

ใจกลางกรุงเทพมหานคร บนถนนอโศกนี่เองค่ะ ไปก็ง่าย แถมได้ความรู้ด้วยน้าาา ไปดูกันเลย

ข้อมูล

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง

สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

เปิดทำการ :

วันอังคาร - วันเสาร์

เวลา :

09.00 - 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์ จันทร์ และวันนักขัตฤกษ์ )

โทรศัพท์ :

02-661-6470-3

โทรสาร :

02-2258-3491

อีเมล์ :

[email protected]

เว็บไซต์ :


http://www.siam-society.org

เฟสบุ๊ค :

The Siam Society Under Royal Patronage


การเดินทาง

รูปภาพ:

รถไฟฟ้า

BTS ลงสถานีอโศก

( ประตู 3 ทางเชื่อม BTS-MRT )

รถไฟฟ้า

MRT ลงสถานีสุขุมวิท

(ประตู 1 สยามสมาคม)

เดินเลาะทางซ้ายมาเรื่อยๆ จะเจอป้ายพิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง และร้าน BLACKCANYON COFFEE สไตล์เรือนไม้อยู่ด้านหน้า เดินตรงเข้าไปเรือนไทยด้านใน ก็ถึงแล้วววววว

Error: geo_location

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง


พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง

เรือนคำเที่ยง เป็นเรือนเครื่องสับแบบล้านนาหรือเรือนกาแลสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2391 โดยนางแซ้ดสืบเชื้อสายจากธิดาเจ้าเมืองแช่ ชาวไทลื้อจากแคว้นสิบสองปันนา ถูกกวาดต้อนมาเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ

ตามประเพณีชาวไท เรือนเป็นมรดกตกทอดจากแม่สู่ลูกสาว ลูกหลานนางแซ้ดอาศัยอยู่เรือนแห่งนี้กันมารุ่นต่อรุ่น จนปี พ.ศ. 2506คุณกิมฮ้อ นิมมานเหมินทร์เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของศิลปะล้านนาไทย จึงกลัวว่าจะสูญหายไป เลยยกเรือนเก่าแก่ของตระกูลนี้ให้อยู่ในความดูแลของ สยามสมาคมฯ สมาคมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาในซอยอโศก

โดยถอดตัวเรือนจากเชียงใหม่มาประกอบใหม่ที่กรุงเทพฯ โดยมีการเปลี่ยนผังเรือนนิดหน่อยตามพื้นที่ที่จำกัด และชื่อเรือนคำเที่ยง มาจาก ชื่อของคำเที่ยง อนุสารสุนทรแม่ของคุณกิมฮ้อนั่นเอง

รูปภาพ:รูปภาพ:รูปภาพ:

วัฒนธรรมและวิถีชีวิตล้านนา

พื้นที่ของชาวล้านนา มีตำนานว่าแต่ก่อนเคยเป็นของชาวลัวะ ซึ่งมีการบูชาไจบ้าน เรียกว่า


เสาสะก๊าง


ทำจากลำต้น ต้นไม้แกะสลักลวดลายที่มีความหมาย เช่น รูปลักษณ์ของผู้หญิง ผู้ชาย สื่อระหว่างมนุษย์และผี ประเพณีนี้มีอิทธิพลต่อชาวล้านนามาก ในแต่ละหมู่บ้านจะมีให้บูชากราบไหว้

รูปภาพ:

เครื่องจักสานชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำ เรียกว่า

ไซ

ไซมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีรูปลักษณ์ต่างกันออกไปตามประโยชน์การใช้สอย แต่ชนิดของสัตว์ที่จะจับ

รูปภาพ:

สี

และลายผ้าของชาวล้านนาจะแตกต่างไปตามผู้ทอ แต่ละครอบครัวจะมีสูตรและเคล็ดลับที่เป็นความลับ มีการส่งต่อจากแม่สู่ลูกสาวในแต่ละรุ่น วัสดุที่ใช้ย้อมผ้าส่วนใหญ่จะมาจากธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ ราก ใบ ผล เมล็ด ฯลฯ

ชาวล้านนาทำกิจกรรมทอผ้าใต้ถุนบ้าน เนื่องจากสามารถเป็นงานอดิเรกและบรรยากาศปลอดโปร่ง นิยมทอผ้า ซิ่น และ

ตุง

มีความเชื่อกันว่า ตุงนั้นเป็นเครื่องสักการะ พบเห็นได้ตามภาคเหนือ ใช้วัสดุได้ทั้ง ผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ด้าย ขึ้นอยู่กับพิธีกรรม

รูปภาพ:รูปภาพ:

ขึ้นมาบนเรือนชั้นสอง ด้านขวาจะพบ

เติ๋น

หรือ ลานอเนกประสงค์ ใช้ทำกิจกรรม รับรองแขก รับประทานอาหาร และยังเป็นที่ แอ่วสาว อีกด้วย เพราะหญิงสาวมักจะมานั่งทำงานเล็กๆ น้อยๆ บริเวณนี้ แล้วหนุ่มๆ ก็มาแอ่วหา ขายขนมจีบ โดยอยู่ในสายตาผู้ใหญ่ และริมขอบชานเรือน จะมีหม้อน้ำดื่มวางไว้มุมใดมุมนึง เรียกว่า

ฮ้านน้ำ

รูปภาพ:รูปภาพ:

บรรยากาศด้านในเรือน


ก่อนที่เราจะข้ามประตูจากส่วนเติ๋น ไปห้องนอน เงยหน้าไปด้านบนประตูจะเจอ

หำยนต์ หรือ หัมยนต์

คือแผ่นไม้แกะสลักอยู่ในกรอบเหนือประตูห้องนอน เป็นความเชื่อของชาวล้านนาว่าช่วยปกป้องสิ่งชั่วร้าย ด้านในจะเป็นห้องนอน ภายในห้องนอนนี้จะจัดแสดง ตั้งแต่ ห้องนอนแบบชาวล้านนา ที่ผู้หญิงล้านนาจะต้องเย็บเองเป็นตั้งแต่หมอน ผ้าห่ม ฯลฯ , เสื้อผ้า ผ้าซิ่นตีนจก ที่ผู้หญิงล้านนาจะต้องปักเย็บใส่เองทุกคน , เครื่องประดับ , อาวุธ และเครื่องรางของขลัง มากมาย

เรือนนอน

รูปภาพ:

รูปภาพ:

รูปภาพ:

ครัว

รูปภาพ:

รูปภาพ:

ยุ้งข้าว

รูปภาพ:

รูปภาพ:

เป็นอย่างไรคะสาวๆ ที่

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง

นอกจากจะอยู่ในกรุงเทพ ไปง่าย เดินทางสะดวกแล้ว ยังได้ความรู้อีกด้วยนะคะ เพราะประเทศของเรามีวัฒนธรรมที่ดีงาม เป็นเอกลักษณ์และมีคุณค่ามากมายให้ลูกหลายช่วยธำรงรักษา เด็กรุ่นใหม่อย่างเราๆก็ไม่ควรที่จะละเลยสิ่งเก่า ไปรับแต่ของใหม่ใช่ไหมล่ะคะ

เราสามารถพัฒนามันควบคู่ไปกับความทันสมัยได้ตามกาลเวลา ขอแค่อย่าทิ้ง

" ความเป็นไทย "

ในแต่ละพื้นภาคไว้ข้างหลังก็พอ ไว้ครั้งหน้าเราจะไปเที่ยวที่ไหนกันอีก โปรดรอติดตามชมกันด้วยนะคะ วันนี้ขอตัวไปก่อน สวัสดีค่า