เอกสารสำคัญ (สิ่งที่จำเป็น ที่ต้องเตรียมเอาไว้ให้พร้อมก่อนขึ้นเครื่องบิน)

เอกสารที่ต้องแสดง

บัตรโดยสาร, หนังสือเดินทาง, บัตรขาออก

1. หนังสือเดินทาง (Passport) ณ วันที่เดินทางต้องไม่หมดอายุ และยังใช้ได้อย่างน้อยอีก 6 เดือน พร้อมวีซ่าสำหรับเข้าประเทศนั้นๆ

รูปภาพ:http://www.skeducation.com/v2/contents/images/passport.jpg

2. บัตรโดยสาร (Boarding Pass) โดยปกติต้องมีทั้งไปและกลับ เพราะบางประเทศจะขอให้แสดงก่อนเข้าประเทศ เพื่อเป็นการยืนยันว่าคุณกลับประเทศไทยแน่นอน

รูปภาพ:http://www.matze-man.de/wp-content/uploads/2012/01/Air_Asia_Boarding_Pass.jpg

ในกรณีที่เราได้จองตั๋วเครื่องบินกับสายการบินหรือเอเจนซี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้เราพิมพ์ Itinerary หรือ E-Ticket ติดตัวไปขึ้นเครื่องด้วย ใบ Itinerary หรือ E-Ticket ยังไม่ใช่ตั๋วที่ขึ้นเครื่องได้เลย เราจะต้องผ่านกระบวนการเช็คอินเพื่อยืนยันว่าเรามาถึงสนามบินพร้อมขึ้นเครื่อง

รูปภาพ:http://f.ptcdn.info/428/020/000/1403500899-2014062312-o.jpgรูปภาพ:http://f.ptcdn.info/311/014/000/1389352793-Untitled1-o.jpg

ในกรณีที่ใช้บัตรเครดิตชำระค่าตั๋วเครื่องบิน ทางสายการบินอาจขอดูบัตรเครดิตใบนั้น ควรที่จะพกบัตรเครดิตใบนั้นไปด้วย)

3. บัตรขาออก (ต.ม.6) จะได้รับตอนไป check in

รูปภาพ:http://suvarnabhumiairport.com/uploads/profiles/0000000001/filemanager/files/immigration_card_departure%281%29.jpg

4. บัตรประชาชน

ควรมาก่อนเวลา 1.30 - 2 ชั่วโมง

ควรจะกะเวลาให้ไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ก่อนขึ้นเครื่องอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะคิวจะยาวและมีเวลาอีกเยอะสำหรับขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

- มีเวลาสำหรับตรวจตราเอกสาร

- มีเวลาเข้าคิว เช็คอิน และรับบัตรขึ้นเครื่อง (Check-in)

- มีเวลาผ่านด่านตรวจคนเข้าออกจากประเทศไทย

- มีเวลาแลกเงิน

- มีเวลาร่ำลา หรือโทรศัพท์ก่อนขึ้นเครื่อง

- มีเวลาเดินสำรวจร้านค้าปลอดภาษี สำหรับขาช้อบปิ้ง

- มีเวลาเข้าห้องน้ำ ทำธุระส่วนตัวสำหรับคนที่มักจะตื่นเต้นง่าย

- สุดท้ายมีเวลาเดินหาประตูขึ้นเครื่อง

ตรวจสอบเที่ยวบิน

สามารถตรวจสอบหมายเลขเคาน์เตอร์เช็คอินได้ที่ บอร์ดแสดงสถานะเที่ยวบินผู้โดยสารขาออก (Departure Flight Board) หรือ สามารถตรวจสอบสถานะเที่ยวบินผ่านระบบออนไลน์

รูปภาพ:http://blog.rmi.org/Content/Images/departureboard.jpg

เช็คอิน

รูปภาพ:http://www.airport-ostrava.cz/UserFiles/Image/fotky_2011/check-in.jpg

1. ไปที่เคาน์เตอร์ของสายการบินช่องผู้โดยสารระหว่างประเทศ เพื่อทำการเช็คอินโหลดกระเป๋า โดยจะต้องใช้ Itinerary หรือ E-Ticke + หนังสือเดินทาง

2. เราจะได้ใบ ตม. เปล่าๆ มาคนละใบ + บัตรโดยสาร ให้ตรวจสอบความถูกต้อง ชื่อ - นามสกุล ที่นั่ง เกต และเขียนข้อมูลลงในใบ ตม. ให้เรียบร้อย (สำหรับคนไทยจะกรอก 2 หน้า บัตรขาออก และ บัตรขาเข้า การกรอกนั้นให้กรอกด้วยปากกาสีน้ำเงิน หรือ สีดำ กรอกเป็นภาษาอังกฤษช่องละ 1 ตัวอักษร ข้อมูลที่กรอกจะต้องตรงกับ Passport หากเขียนผิดสามารถใช้ลิควิดลบ หรือขีดฆ่าตัวอักษร แล้วเขียนใหม่ได้)

ข้อควรระวัง

ด้านบนสุดให้กรอกนามสกุลก่อน แล้วตามด้วยชื่อ คนไทยมักจะเขียนด้วยความคุ้นเคยขึ้นต้นด้วยชื่อก่อน

ตรวจหนังสือเดินทาง

หลังจากเช็คอิน และ กรอกใบ ตม. เสร็จเรียบร้อยแล้วให้เดินหาป้ายตรวนังสือเดินทาง (Passport Control) แล้วเดินไปตามป้ายเข้าประตูตรวจหนังสือเดินทาง ญาติ และ เพื่อนที่มาส่งจะส่งได้ถึงแค่ตรงนี้

การออกนอกประเทศจะต้องให้ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ตรวจประวัติว่าเป็นบุคคลที่สามารถออกนอกประเทศได้ ปัจจุบันมีการตรวจหนังสือเดินทางอยู่ 2 แบบ

4.1 ช่องตรวจอัตโนมัติ (Automatic Channel) เป็นช่องขนาดเล็กให้ผู้เดินทางเข้าไปได้ทีละคน ให้เราทำตามขั้นตอน (มีคนช่วยแนะนำ) เมื่อเสร็จแล้วประตูช่องจะเปิดให้เอง มีการบันทึกข้อมูลการออกนอกประเทศที่แถบบันทึกในเล่ม Passport แต่จะไม่มีตราประทับให้เห็น ในขั้นตอนนี้จะถูกเก็บใบ ตม. ส่วนบัตรขาออก (ในสนามบินสุวรรณภูมิจะใช้ช่องตรวจอัตโนมัติเกือบทุกคน)

รูปภาพ:http://mpics.manager.co.th/pics/Images/558000000932801.JPEG

4.2 ช่องตรวจโดยใช้เจ้าหน้าที่ ให้เข้าไปทีละคน ยื่น Passport ให้กับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะเช็คประวัติและลงตราประทับออกนอกประเทศลง Passport และเก็บใบ ตม. ส่วนบัตรขาออก (สนามบินดอนเมืองส่วนมากจะเป็นช่องตรวจโดยใช้เจ้าหน้าที่)

รูปภาพ:http://mpics.manager.co.th/pics/Images/558000000932801.JPEG

สแกนสัมภาระ

นำกระเป๋าผ่านเข้าเครื่อง X-Ray เพื่อนำไปเช็คอินซึ่งเป็นกระเป๋าที่เราจะฝากไปเก็บใต้ท้องเครื่องบิน ต้องดูให้แน่ใจว่ากระเป๋าที่เราโหลดไปใต้ท้องเครื่องนั้น จะไม่มีของจำเป็นที่จะต้องหยิบใช้ระหว่างเดินทางเพราะจะไม่สามารถรื้อออกมาได้อีก ส่วนของที่อยู่ในกระเป๋ากางเกง กระเป๋าเสื้อให้หยิบออกมาวางในตระกร้าให้หมด แล้วเดินผ่านประตูตรวจจับโลหะ รับสัมภาระคืน

(โดยสัมภาระต้องมีขนาดไม่เกิน 56 ซม. x 45 ซม. x 25 ซม. โดยสัมภาระต้องมีขนาดไม่เกิน 56 ซม. x 45 ซม. x 25 ซม.)

รูปภาพ:http://www.hflight.net/forums/uploads/monthly_09_2014/post-35496-0-15481000-1410589429.jpg

รอขึ้นเครื่อง

ถ้ามีเวลาเหลือก่อนเครื่องอาจจะหาอะไรกิน แวะเดินเล่นช้อปปิ้ง Duty Free ได้ จากนั้นก็ไปขึ้นเครื่องตามเกตที่ระบุไว้ใน Boarding Pass ก่อนเวลา Boarding Time ระหว่างรอขึ้นเครื่องให้สังเกตจอหน้าเกตว่าเป็น Flight ที่เราบินหรือเปล่า เพราะบางครั้งอาจมีการเปลี่ยนเกต ทางที่ดีควรไปถึงหน้าประตูก่อนเครื่องขึ้นอย่างน้อย 30-40 นาที เร็วกว่านั้นได้ยิ่งดี จะได้ไม่พลาด

รูปภาพ:https://www.gva.ch/en/Portaldata/1/Resources/images/shopping/photos/duty-free_01.jpg

7) ขึ้นเครื่อง

ก่อนเครื่องออกจะมีเจ้าหน้าที่เรียกขึ้นเครื่อง เจ้าหน้าที่จะขอดู Passport พร้อม Boarding Pass และฉีก Boarding Pass ส่วนของสายการบินออก คืนส่วนที่เหลือให้เรา

รูปภาพ:http://www.airticket-fare.com/wp-content/uploads/2011/07/EMIRATES-EK-AIR_05.jpg

ออกเดินทาง

เมื่อขึ้นไปอยู่บนเครื่องแล้วให้นั่งตามหมายเลข สังเกตง่ายๆ จะติดอยู่บริเวณที่เก็บสัมภาระ หากหาไม่เจอสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ได้ เก็บสัมภาระไว้ในช่องด้านบนได้ ส่วนของมีค่าให้เก็บไว้กับตัว จากนั้นก็คาดเข็มขัดนิรภัย ปรับพนักเก้าอี้ตั้งตรง เปิดม่านบังแสง ปิดโทรศัพท์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ดูสาธิตการใช้อุปกรณ์ฉุกเฉิน ที่บนเครื่องบิน เจ้าหน้าที่จะแจกใบ ตม. ของประเทศที่เราจะไปให้เรากรอกข้อมูล ในบางประเทศอาจจะมีใบศุลกากรให้กรอกเพิ่มอีก 1 ใบ เช่นญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ให้กรอกบนเครื่องให้เรียบร้อยก่อนถึงจุดหมายปลายทาง

รูปภาพ:http://images.thaiza.com/118/118_20131203142221..jpg

ถึงจุดหมายปลายทาง

รูปภาพ:http://www.uel.ac.uk/wwwmedia/uelwebsite/contentassets/images/pan-2col700x250/Airport-arrivals-700x250.jpg

เดินตามป้าย Arrivals หรือ Immigration เตรียมเข้าด่าน ตม. ของประเทศนั้น ให้เตรียม Passport + ใบ ตม. ของประเทศนั้นไว้รอตรวจให้พร้อม เสร็จจาก ตม. ก็ไปรับกระเป๋าที่เราโหลดมา มองหาชื่อเที่ยวบินในป้ายของแต่ละสายพานแล้วไปรอรับกระเป๋าที่ช่องนั้น หลังจากได้กระเป๋าอย่าลืมสำรวจความถูกต้อง ว่าเป็นกระเป๋าของตัวเองหรือเปล่า มีส่วนไหนแตกเสียหายหรือไม่ หากเกิดความเสียหายสามารถขอเคลมกับทางสายการบินได้ตามความเป็นจริง ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยดีก็ออกจากอาคารผู้โดยสารได้เลย

- คนที่ไม่มีสิ่งของจะต้องแสดง ให้ออกทางช่องเขียว

- คนที่มีสิ่งของต้องแสดง เช่น นำเข้าสินค้าปริมาณมากในเชิงพานิชย์ ให้ออกทางช่องแดง

รับกระเป๋าเดินทาง

รูปภาพ:http://www.copybook.com/media/airport/profiles/check-in-equipment-baggage-handling-systems/migrated/images/Barcelona-Airport-Baggage-Carousel.jpg

เสร็จจาก ตม. จะเป็นทางไปรับกระเป๋าที่เราโหลดมา ให้มองหาชื่อเที่ยวบินในป้ายของแต่ละสายพาน หรือที่หน้าจอรวม แล้วไปรอรับกระเป๋าที่ช่องนั้น หลังจากได้กระเป๋าแล้วให้สำรวจความถูกต้องของกระเป๋าเดินทางว่าเป็นของตัวเองหรือเปล่า ดูว่ากระเป๋ามีส่วนไหนแตกเสียหายหรือไม่ ในกรณีที่เสียหายสามารถขอเคลมกับทางสายการบินได้ตามความเป็นจริง แต่ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยดี ก็เดินออกจากอาคารผู้โดยสารได้เลย

- คนที่ไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (Customs Nothing To Declare) ให้ออกทางช่องเขียว

- คนที่มีสิ่งของต้องสำแดง (Customs Goods To Declare) เช่นนำเข้าสินค้าปริมาณมากในเชิงพานิชย์ ให้ออกทางช่องแดง

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นเครื่อง

Itinerary = ใบรายละเอียดการเดินทาง เรามักจะได้ใบนี้หลังจากที่เราซื้อตั๋วเครื่องบินทางอินเตอร์เนต

Air Ticket = ตั๋วเครื่องบิน

E-Ticket = ตั๋วเครื่องบินแบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบกระดาษ A4 ทางสายการบินหรือเอเจนซี่จะส่งให้หลังจากการจองเสร็จสมบูรณ์ ตั๋วชนิดนี้ไม่สามารถใช้ขึ้นเครื่องได้เลย ต้องไป check in ที่สนามบินในวันเดินทางเสียก่อน ถึงจะได้ตั๋วจริง

Boarding Pass = บัตรโดยสาร / ใบผ่านขึ้นเครื่อง

Departure Time = เวลาเครื่องออก

Boarding Time = เวลาขึ้นเครื่อง

Departing = เครื่องออกจาก (สนามบิน) / เวลาออก

Arriving = เครื่องถึงที่หมาย (สนามบิน) / เวลาถึง

ข้อห้าม

การเดินทางโดยเครื่องบินมีข้อห้ามหลายอย่าง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร ผมจะพูดถึงกฎทั่วไปของทุกสายการบิน ส่วนกฎของแต่ละสายการบิน เช่นน้ำหนักกระเป๋าถือขึ้นเครื่อง จำนวนสัมภาระติดตัว ฯลฯ ให้ดูได้จากเวบไซต์ของสายการบิน ควรศึกษาก่อนขึ้นเครื่อง

รูปภาพ:http://www.emagtravel.com/wp-content/uploads/2014/04/air_prohibit1.jpg

1.  ห้ามนำของเหลวถือขึ้นเครื่องเกินชิ้นละ 100 ml (ml, cc, g ให้ถือเป็นค่าเดียวกัน) หากมีความ จำเป็นต้องนำของเหลวติดตัวไปด้วยเช่นพวกแชมพู สบู่เหลว ให้ใช้วิธีแบ่งใส่ขวดเล็กๆ หรือถุงใสที่มี ปริมาตรไม่เกิน 100 ml โดยวิธีนี้เราสามารถนำของเหลวติดตัวรวมกันแล้วไม่เกิน 1,000 ml ขนาดของ ของเหลวจะยึดจากฉลากบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก เช่น ครีม ที่ฉลากติดไว้ว่า 120 ml ถึงแม้ว่าจะใช้ไป แล้วครึ่งหนึ่งก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ เพราะปริมาตรที่ฉลากระบุไว้เกิน 100 mlของเหลวที่มีปริมาณเกินที่ระบุไว้จะต้องถูกทิ้งขยะ แต่ในกรณีของเหลวโหลดเป็นสัมภาระใต้ท้องเครื่องจะไม่จำกัดปริมาณ

2. ห้ามนำของมีคม วัตถุไวไฟ อาวุธ ถือขึ้นเครื่อง เช่นกรรไกร มีด คัทเตอร์ ดอกไม้ไฟ ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจเจอจะต้องถูกทิ้งขยะ

3. น้ำหนักกระเป๋า – สัมภาระขึ้นเครื่อง สายการบิน Air asia ให้นำกระเป๋าถือขึ้นเครื่องได้ 1 ใบ น้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม ขนาดไม่เกิน 56×36x23 cm สำหรับกระเป๋าถือของผู้หญิงหรือกระเป๋ากล้องสามารถนำติดตัวไปได้โดยไม่นับว่าเป็นสัมภาระ, สายการบิน Nok Air (Nok Economy) ให้โหลดกระเป๋าได้คนละ 15 กิโลกรัม

สิ่งของต้องห้าม

รูปภาพ:http://www.emagtravel.com/wp-content/uploads/2014/09/inter-boarding19.jpg

การที่จะบอกถึงขั้นตอนการขึ้นเครื่องบิน ขอบอกสิ่งของต้องห้ามก่อน จะได้ไม่เผลอนำขึ้นเครื่องไปประเทศปลายทาง การนำสิ่งของต้องห้ามเข้าประเทศนั้นอาจเป็นการทำผิดกฎหมาย อาจต้องรับโทษทั้งจำ หรือ ปรับ หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิต

1. อาวุธปืน กระสุน ประเทศสิงคโปร์ถือว่าการมีอาวุธปืนในครอบครองมีโทษร้ายแรงมาก

2. ยาเสพติดให้โทษ ไม่ว่าจะเข้าประเทศไหน ก็ถือว่ามีความผิดร้ายแรง ยิ่งประเทศสิงคโปร์มีโทษถึงประหารชีวิต

3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ในปริมาณที่เกินกว่าบริโภคเอง จัดเป็นสินค้าที่ถูกควบคุมปริมาณการนำเข้า จะต้องถูกปรับ ในแต่ละประเทศจะมีปริมาณแตกต่างกันไป โปรดศึกษาข้อมูลก่อนที่จะนำสิ่งเหล่านั้นเข้าประเทศ

4. สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เสื้อผ้า กระเป๋าของก๊อป ของปลอม ในประเทศโซนยุโรปมีกฎหมายลิขสิทธิ์ การใช้กระเป๋าหลุยปลอม หรือสินค้าปลอมยี่ห้ออื่นๆ ก็มีโทษ แต่ประเทศในโซนเอเชียไม่มีกฎหมายนี้

5. สื่อลามกอนาจาร

บทความที่เกี่ยวข้อง