-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แต่ในอีกมุมที่หลายคนอาจมองข้าม นั่นคือเรื่องความไม่แน่นอนของรายได้ ที่อาจมีเข้ามาเป็นช่วง ไม่สม่ำเสมอเหมือนคนทำงานประจำ ดังนั้น หากเราเป็นฟรีแลนซ์ ที่ตอนนี้กำลังมีรายได้ก้อนโตเข้ามา การวางแผนจัดการทางการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญ มีอะไรบ้าง เราไปติดตามกับบทความนี้ไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

1. ควรมีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินเพราะรายได้ไม่สม่ำเสมอ

สำหรับฟรีแลนซ์ ควรแบ่งเงินไว้อย่างน้อย 12 เท่าของรายจ่ายที่จำเป็นและเงินจำนวนนี้ ควรเปิดบัญชีเก็บออมแยกออกจากบัญชีใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อให้แน่ใจว่าเงินก้อนนี้ จะถูกนำมาใช้ในยามฉุกเฉินเท่านั้น เพราะรายได้ของมนุษย์ฟรีแลนซ์มีความแตกต่างจากมนุษย์เงินเดือนทั่วไป บางคนก็รับเงินก้อนตามโปรเจกต์ บางคนรับเงินเป็น Incentive ตามยอดขายของลูกค้า บางคนรับเงินแค่ก้อนเดียว ก็สามารถใช้ชีวิตไปได้ทั้งปี แต่บางครั้งหากเจอโปรเจกต์ล่าช้า รายได้ที่ได้รับก็ล่าช้าตาม ดังนั้น การวางแผนจัดการเงินสดสำรองฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก

2. จดบัญชีรายรับรายจ่าย

ข้อนี้สำคัญมาก หลายคนอาจมองข้าม เพราะคิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เคยทำกันมาตั้งแต่วัยเด็ก แต่จริงๆ แล้วมีประโยชน์อย่างมากในการบริหารการเงินส่วนบุคคล โดยอาจเริ่มจากการคำนวณรายจ่ายคร่าวๆ ของตัวเองออกเป็นรายเดือนหรือรายปี โดยจัดเป็นหมวดหมู่ ดังนี้

รูปภาพ:

การจดบัญชีรายรับรายจ่ายและแยกรายการออกเป็นหมวดหมู่ข้างต้น จะทำให้เราเห็นภาพการใช้จ่ายของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น เห็นสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองว่าเป็นอย่างไร เงินส่วนใหญ่เหลือหรือขาด และหากขาด รายจ่ายส่วนแรกที่เราควรลดนั่นคือ รายจ่ายผันแปร เพราะเป็นรายจ่ายที่ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้จ่ายที่อาจก่อหนี้ขึ้นโดยไม่รู้ตัว เช่น หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้นอกระบบ และเป็นรายจ่ายที่หากปรับลดจะกระทบกับสถานะทางการเงินของเราน้อยที่สุด

รายจ่ายส่วนการออมและลงทุน เป็นรายจ่ายที่คนส่วนใหญ่มีค่อนข้างน้อย เพราะบางคนมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว บางคนมองว่าไม่มีความรู้เพียงพอ จึงไม่ได้ให้ความสนใจ แต่ทราบหรือไม่ว่าการลงทุนสามารถทำให้มนุษย์ฟรีแลนซ์อย่างเราๆ ถึงเป้าหมายทางการเงินได้ ไม่ว่าจะเป็นการมีเงินเก็บเพื่อการเกษียณ การวางแผนภาษี หรือการมี Passive Income เข้ามาในบัญชีแม้ไม่ได้มีโปรเจกต์หรืองานเข้ามา

3. จ่ายประกันตนเองกับประกันสังคมและทำประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยง

ฟรีแลนซ์เป็นอาชีพที่มีข้อแตกต่างจากมนุษย์เงินเดือนอย่างหนึ่ง นั่นคือสวัสดิการที่ได้รับ มนุษย์เงินเดือนอาจมีสวัสดิการประกันกลุ่ม ซึ่งใช้ชำระค่ารักษาพยาบาลได้ หรือการมีประกันสังคมภาคบังคับ ที่ช่วยทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์กรณีว่างงาน หรือกรณีชราภาพ เป็นต้น หรือบางบริษัทอาจมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ( PVD ) ซึ่งเป็นแหล่งเงินออมเพื่อการเกษียณที่สำคัญดังนั้น มนุษย์ฟรีแลนซ์จึงไม่ควรมองข้ามการเตรียมพร้อมจ่ายประกันตนเองกับประกันสังคมและการทำประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น

• ประกันสังคมมาตรา 40 สำหรับฟรีแลนซ์ ซึ่งมีให้เลือกถึง 3 ทางเลือก ดังนี้

รูปภาพ:

• การซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ช่วยลดภาระรายจ่ายในเรื่องค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย ซึ่งปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่มีราคาสูงมาก หรือช่วยลดเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นทั้งกับตัวเราเองหรือกับคนที่เรารัก

• กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( RMF ) แม้ฟรีแลนซ์จะไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เหมือนมนุษย์เงินเดือน แต่ฟรีแลนซ์ก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ซึ่งเป็นกองทุนส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ และสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

จะเห็นได้ว่า ฟรีแลนซ์แม้เป็นอาชีพอิสระ ก็สามารถสร้างมั่นคงทางการเงินได้ หากเรามีการวางแผนที่ดี มีการเตรียมเงินสดสำรองฉุกเฉินอย่างเพียงพอ จดบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อทราบสถานะทางการเงินของตนเอง และไม่ลืมที่จะป้องกันความเสี่ยงด้วยการจ่ายประกันตนเองกับประกันสังคมและการทำประกัน เพียงง่ายๆ 3 ข้อนี้ เราก็จะเป็นมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่มีความมั่งคั่งทางการเงินได้แล้วค่ะ

อ่านคอนเทนต์ทางด้านการเงิน การลงทุนดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญได้ที่ KKP Advice Center คลิกhttps://kkpadvicecenter.kiatnakin.co.th/th/home