1. SistaCafe
  2. จะเที่ยวดันป่วยซะงั้น! 10 อาการที่ซิส 'นักเดินทาง' ต้องเจอ! พร้อมวิธีแก้ไข เพื่อให้ทริปสนุกมากขึ้น


Hello!ซิสผู้รักการเดินทางทั้งหลาย!!!เชื่อว่าในนี้จะต้องมีซิสที่เป็นนักเดินทาง และรักการออกไปท่องเที่ยวในยามว่างกันอย่างแน่นอนซึ่งซิสคงรู้กันดีใช่ไหมคะว่า การเดินทางในแต่ละครั้ง สามารถสร้างอาการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยต่างๆ ให้กับร่างกายเราได้ ดังนั้นคงไม่ดีแน่ถ้าต้องเดินทางไปร่วมกับความรู้สึกเจ็บป่วยเหล่านี้วันนี้จึงขอรวม10 อาการเจ็บป่วย ที่คนชอบเดินทางต้องเจอและวิธีแก้ไขแบบเบื้องต้นเพื่อทำให้ทุกทริปของซิสมีความปลอดภัยและสร้างความสุขไปตลอดการเดินทาง

1. ปวดข้อ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F69444%2F369523a1-ec4c-4f61-9048-daa4a725939a.jpeg?v=20240304174036&ratio=0.667

การเดินทางที่ต้องนั่งเครื่องบินเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง ย่อมทำให้เกิดปัญหาปวดข้อได้ง่าย โดยเฉพาะข้อเข่าที่ต้องนั่งงอติดต่อกันหลายชั่วโมง

ยิ่งถ้าต้องเดินทางไปยังประเทศที่อยู่อีกซีกโลก ก็ยิ่งต้องนั่งนานขึ้น แถมต้องมีต่อเครื่องกันอีก นอกจากนี้ยังแถมมาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อ เพราะร่างกายแทบไม่ได้ขยับเช่นกัน ถ้าปล่อยไว้นานปัญหานี้อาจเรื้อรังและสร้างความทรมานให้กับซิสนักเดินทางได้



ดังนั้นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือการลุกมาเคลื่อนไหวตัวเองบ่อยๆ โดยลุกเดินไปเข้าห้องน้ำ หรือหาจังหวะยกขาขึ้น-ลงบ้าง รวมไปถึงการเดินไป-มาระหว่างทางเดินบนเครื่องสักครู่ หรือถ้าไม่สะดวกจริงๆ ก็ลองใช้ท่าบริหารแบบออฟฟิศซินโดรมที่ทำบนเก้าอี้ได้เลย

ก็จะช่วยทำให้อาการปวดเบาบางลง และช่วยลดความเสี่ยงอาการปวดเหล่านี้ได้ดีเลยทีเดียว



.



2. การอักเสบของหลอดเลือด

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F69444%2F61d9ac1d-f0f9-4303-af16-656af8662804.jpeg?v=20240304174036&ratio=0.750

การอักเสบของหลอดเลือด หรือโรคหลอดเลือดเล็กอักเสบ

ที่เกิดขึ้นได้ทั้งกับซิสวัยกระเตาะ และวัยผู้ใหญ่ที่ต้องเดินทางบ่อยครั้ง โดยเริ่มแสดงอาการออกมาเป็น

ผื่นหรือจุดช้ำบนผิวหนัง จากนั้นก็จะเริ่มปวดตามข้อ มีอาการบวมตามที่ต่างๆ บนร่างกาย ปวดท้อง อาเจียน และถ้าอาการหนัก ก็อาจทำให้เลือดออกในช่องท้องได้เลยทีเดียว

ส่วนมากจะเกิดจากการที่ร่างกายปรับไม่ทันสภาพอากาศ และเกิดขึ้นกับพื้นที่หนาวเย็นได้ง่าย แต่ก็อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพราะโรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง หายเองได้ใน 1 สัปดาห์ เพียงแต่ถ้าเกิดในขณะที่กำลังเดินทาง ก็คงรู้สึกไม่สบายใจอย่างแน่นอน!



ถ้าเกิดอาการเพียงเล็กน้อย ให้แก้ไขด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเรื่อยๆ ตลอดการเดินทาง หรือถ้าไปพบแพทย์มาก่อนแล้ว ก็ให้เตรียมยารักษาติดตัวมาด้วย

แต่ถ้าอยู่ในสภาวะที่รุนแรง แนะนำให้ทำประกันก่อนการเดินทาง และรีบแจ้งทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องบิน เพื่อให้ซิสได้รับการดูแล และการรักษาเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีนะคะ



.


3. แพ้อาหาร

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F69444%2F54c1c3bb-73d8-4b34-984c-1c02a8a0a4db.jpeg?v=20240304174036&ratio=0.629

อาการแพ้อาหาร

ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นแม้กระทั่งบนเครื่องบิน โดยเฉพาะอาหารของทางสายการบินที่เสิร์ฟบนเครื่อ ทั้งอาหารหลักและอาหารว่าง

ซิสนักเดินทางคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า เรื่องนี้ต้องแจ้งทางพนักงานบนเครื่องบินให้ทราบชัดเจน เพื่อให้ซิสได้อาหารที่เหมาะสม เพราะถ้าฝืนทานอาหารที่ตัวเองแพ้แบบไม่บอกใคร ก็คงจะรู้ตัวใช่ไหมคะว่ามีสิทธิ์ช็อกหมดสติหรือเสียชีวิตได้ง่ายๆ

แต่ถ้าไม่รู้จริงๆ ว่าตัวเองจะแพ้อะไรบ้าง แต่ทานเข้าไปแล้วเกิดอาการเหล่านี้ก็ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินทันที คือ



1. เกิดอาการคันยิบๆ บนผิวหนังทุกส่วนแบบผิดปกติ คันแม้กระทั่งในช่องปากและอวัยวะภายใน


2. เกิดอาการบวมที่บริเวณใบหน้า, ดวงตา, ปาก, คอ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอาการบวมนี้จะชัดเจนมาก


3. หายใจลำบาก เหมือนมีอะไรมาตันที่คอ กลืนน้ำลายลำบากขึ้น


4. เกิดลมพิษขึ้นทั่วทั้งร่างกายแบบเฉียบพลัน


5. ปวดท้องรุนแรง ท้องเสียหลายครั้ง ปวดท้องหนักจนต้องอาเจียน และมีปัญหาเวียนศีรษะเพิ่มมาด้วย

สำหรับผู้ที่มีภาวะเริ่มรุนแรงจะมีอาการใจสั่น รู้สึกวิตกกังวลสูงแบบเฉียบพลัน และอาจถึงขั้นช็อกหมดสติอย่างรวดเร็ว



ดังนั้นถ้าเริ่มมีทั้ง 5 อาการที่ระบุนี้ ก็ควรรีบแจ้งทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องให้เร็วที่สุด ที่สำคัญคือถ้ารู้ว่าตัวเองแพ้อาหารได้ง่าย ก็ควรเตรียมยาแก้แพ้ที่สั่งจ่ายจากแพทย์ติดตัวตลอดเวลา



4. น้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ Meniere’s disease

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F69444%2Feba25f23-a6e4-454d-b9dc-cc7213d887dd.jpeg?v=20240304174036&ratio=1.000

น้ำในหูไม่เท่ากัน

ถือว่าเป็นโรคยอดฮิตของคนที่เดินทางบ่อยครั้ง เพราะช่วงเวลาที่เครื่องขึ้นและลงนั้น จะมีแรงกดอากาศสูง จึงถือว่าเป็นตัวกระตุ้นอาการชั้นดีเลยก็ว่าได้

โดยจะมีอาการเสียงดังอยู่ในหู เวียนศีรษะแบบรุนแรง รู้สึกแน่นภายในหู หูอื้อ เหงื่อออกร่วมกับอาการวิงเวียน รวมไปถึงอาการปวดหูและปวดศีรษะที่คล้ายกับไมเกรน

ส่วนใหญ่แล้วจะพบได้มากในผู้หญิงวัยทำงานอายุช่วง 30-60 ปี และผู้ที่เดินทางบ่อยก็มักจะประสบปัญหาโรคนี้อยู่ไม่น้อยเช่นกัน


วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด คือ การพกพายารักษาจากแพทย์ติดตัวไปด้วย เมื่อเกิดอาการให้รีบนอนหงาย ไม่ดื่มเครื่องดื่มและไม่ทานอาหารใดๆ ทั้งสิ้น เคลื่อนไหวตัวให้น้อยที่สุด หรือถ้าอาการหนักขึ้นโดยไม่มียาติดตัวมาด้วย ให้รีบแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินทันที!

.

5. ปวดไมเกรนรุนแรง

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F69444%2F46f14b58-2961-4016-a9f8-318ed02fa7f9.jpeg?v=20240304174036&ratio=0.923

อาการปวดไมเกรน

คือ อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์

โดยจะมีลักษณะปวดศีรษะเพียงด้านในด้านหนึ่ง, ปวดหู, ปวดขมับ, ปวดกระบอกตา และอาจลุกลามไปปวดช่วงคอกับบ่าได้อีกด้วย เมื่อต้องปวดบนเครื่องบินหรือในขณะเดินทาง จะยิ่งทำให้รู้สึกทรมานมาก บางรายอาจถึงขั้นมีอาการอาเจียนร่วมด้วย



ดังนั้นจึงควรพกพายารักษาอาการไมเกรนติดตัวไว้อยู่เสมอ ถ้ามีอาการก่อนเดินทางก็ควรรีบทานยาทันที เมื่อขึ้นเครื่องบินแล้วให้พักผ่อน หลับตาแล้วผ่อนคลาย และถ้าต้องอยู่ในจุดที่มีคนใส่น้ำหอมหรือโคโลญจน์ที่มีกลิ่นรุนแรงจนคุณทนไม่ไหว ให้ลองพูดคุยกับผู้โดยสารคนอื่นๆ เพื่อขอเปลี่ยนที่

แต่ทางที่ดีที่สุดคือควรแจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินทราบทันที

.

6. เจ็ตแล็ก (Jet Lag)

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F69444%2F17c2be8c-ed9d-4149-88da-69afff304af3.jpeg?v=20240304174036&ratio=0.667

โรคยอดฮิตของคนเดินทาง คือ

โรคเจ็ตแล็ก ( Jet Lag )

ที่เกิดจากความผิดปกติของการนอนและการเดินทาง โดยเฉพาะช่วงเดินทางข้ามเขตเวลาโลก

ร่างกายที่เคยชินเวลาเดิมๆ ก็จะเริ่มปรับตัวได้ยากกับเวลาแบบใหม่ จึงเกิดเป็นอาการนอนไม่หลับ หรืออาจจะอ่อนเพลียมากจนนอนมากเกินไป จึงขาดสมาธิและสมรรถภาพของร่างกายลดลง ปวดเมื่อยและล้าไปทั่วร่างกาย มีอาการปวดหัว วิงเวียนศีรษะ คิดแบบสับสน มึนงง เหงื่อไหลง่ายทั้งที่อากาศเย็น รวมไปถึงมีสภาวะอารมณ์หงุดหงิดง่าย เกรี้ยวกราด และวิตกกังวลมากกว่าปกติร่วมด้วย



ส่วนมากผู้ที่มีอาการนี้จะหายได้เองภายใน 2-3 วัน แต่ถ้าต้องมีการเดินทางอย่างต่อเนื่อง ก็อาจทำให้อาการแย่ลง จึงควรพบแพทย์ก่อนการเดินทางทุกครั้ง

นอกจากนี้ยังสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการพาตัวเองไปเจอแสงแดดอ่อนๆ ในเขตเวลาใหม่, ปรับตารางเวลาการนอนและการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายต้องทรุดหนักกว่าเดิม

.

7. โรคไทรอยด์อักเสบ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F69444%2Ff6bdb78e-1396-4078-bf47-c982c39f0463.jpeg?v=20240304174036&ratio=0.500

ต่อมไทรอยด์อักเสบ

เป็นหนึ่งในโรคที่สามารถกำเริบระหว่างเดินทางได้ โดยเฉพาะช่วงที่ร่างกายต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ, ความเครียด, พักผ่อนน้อย

ดังนั้นถ้ารู้ตัวว่ามีความเสี่ยงต่อโรคนี้ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์และทำการรักษาก่อนการเดินทาง พร้อมพกพายาส่วนตัวที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอ

นอกจากนี้ก่อนเดินทางควรดูแลตัวเองตามแพทย์สั่งให้ดีที่สุด เพียงเท่านี้คุณก็จะไปเที่ยวได้สบายใจมากขึ้น


.

8. หอบหืด

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F69444%2F97d1ffd1-3f83-419c-88ae-332665fffde7.jpeg?v=20240304174036&ratio=0.562

หอบหืด

เป็นอีกหนึ่งโรคที่น่าเป็นห่วงเมื่อต้องเดินทางไกล ดังนั้นจึงควรระมัดระวังตัวให้ดี เพราะอาการมักจะกำเริบได้บ่อยเมื่อต้องเจอสภาวะอากาศแปรปรวนหรือเปลี่ยนแบบฉับพลัน ที่สำคัญคือคนที่เป็นหอบหืดจะไวต่อสารกระตุ้นต่างๆ , สารเคมี หรือแม้แต่น้ำหอม



โดยอาการของโรคจะเริ่มจากหายใจติดขัด หายใจลำบาก หายใจแล้วมีเสียงวื้ดๆ เพราะอากาศเข้าสู่ปอดได้น้อย และอาจนำพาไปสู่อันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรพกพายาฉีดพ่นติดตัวอยู่เสมอ

ก่อนเดินทางควรตรวจสุขภาพให้ดี ปรึกษาแพทย์ และออกกำลังกายเบาๆ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น

.

9. ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F69444%2Fba558790-8c40-4e85-806d-47302d5ddd9b.jpeg?v=20240304174036&ratio=0.806

กลุ่มอาการ

ปวดกล้ามเนื้อเริ้อรัง

มักเกิดกับผู้ที่ต้องเดินทางบ่อยครั้ง เพราะด้วยการที่ต้องนั่งนานๆ หรือขยับตัวได้น้อยบ่อยครั้ง แม้จะได้ลงไปเดินยืดเส้นยืดสายเมื่อถึงที่หมายแล้วบ้าง แต่ถ้าต้องมีการเดินทางเรื่อยๆ อย่างลงเครื่องบินแล้วไปต่อรถยนต์อีกเป็นชั่วโมง เมื่อต้องเจอแบบนี้บ่อยครั้งย่อมเกิดเป็นการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โดยมีอาการที่ชัดเจน คือ



1. ปวดแบบร้าวลึกที่ส่วนของกล้ามเนื้อ บางครั้งก็ปวดตลอดเวลา แต่บางครั้งก็อาจจะปวดเวลาที่ส่วนนั้นๆ ต้องทำงาน เมื่อโดนกระตุ้นแล้วจะรู้สึกปวดมาก


2. ปวดกล้ามเนื้อจนรู้สึกชาและทำให้การนอนหลับยากขึ้น เพราะถูกอาการปวดรบกวน


3. ปวดแบบร้าวลึกไปถึงกระดูก ทำให้การเดินหรือการใช้ชีวิตยากลำบาก ซึ่งถ้าปวดมาถึงระดับนี้แนะนำให้รีบพบแพทย์โดยด่วน



การปวดในลักษณะต่างๆ จะเพิ่มระดับมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งตัวแล้วลุกลามไปสู่กระดูกได้

ดังนั้นถ้าเริ่มมีอาการปวดก่อนการเดินทางหรือกลับมาแล้วก็ควรรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ แต่ถ้าเป็นในระหว่างการเดินทาง ให้ออกกำลังกายเบาๆ ด้วยวิธีการยืดกล้ามเนื้อ คือ



1.ประสานมือทั้ง 2 ข้าง แล้วยืดไปข้างหน้า จากนั้นให้ยกขึ้นเหนือศีรษะแล้วโยกสลับซ้าย-ขวา


2.ประสานมือทั้ง 2 ข้าง แล้วชูขึ้นเหนือศีรษะ พร้อมโยกช่วงลำตัวซ้าย-ขวาสลับกัน โดยให้ลำตัวตึงมากที่สุด

.

10. อาการติดเชื้อท้องถิ่น

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F69444%2Fed290eac-5af4-475e-b9ab-c6d03c247a93.jpeg?v=20240304174036&ratio=0.667

อีกหนึ่งเรื่องน่ากลัวของนักเดินทาง คือ

การติดเชื้อจากประเทศที่ไปท่องเที่ยว

เพราะแต่ละประเทศและแต่ละท้องถิ่นย่อมมีพาหะนำเชื้อโรคที่แตกต่างกันออกไป  นักเดินทางอย่างเราๆ จึงไม่มีทางรู้ว่าตัวเองว่าต้องไปเผชิญกับเชื้อแบบไหน และอะไรที่เป็นปัจจัยทำให้เราติดเชื้อนั้นๆ ได้ง่ายกว่าคนอื่น

ดังเช่นข่าวไม่นานมานี้ที่มีหญิงไทยคนแรกเป็นโรคลายม์ เพราะติดเชื้อจากสัตว์ดูดเลือดชนิดเห็บจากประเทศตุรกี จนทำให้ตัวเองอยู่ในภาวะโคม่าและความจำขาดหายไปบางช่วง

แต่โชคดีที่แพทย์ไทยสามารถรับมือกับโรคนี้ได้ทันเวลา ไม่เช่นนั้นก็อาจเสียชีวิตได้ ถ้าซิสไม่อยากจะเป็นหนึ่งในผู้โชคร้ายที่ได้รับเชื้อมาเป็นของฝาก ควรทำตามคำแนะนำดังนี้



1. ศึกษารายละเอียดของโรคและเชื้อต่างๆ ในประเทศและท้องถิ่นของประเทศที่คุณกำลังจะเดินทางไปท่องเที่ยวเสมอ พร้อมพกพายารักษาอาการเบื้องต้นไปด้วย และรักษาความสะอาด ล้างมือทุกครั้งเมื่อต้องจับสิ่งของสกปรกและอาบน้ำหลังจากออกไปเที่ยวทุกวัน


2. พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ขอคำแนะนำ และฉีดยาป้องกันต่างๆ ก่อนการเดินทาง


3. เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อต่างๆ ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อที่ติดมาลุกลามตัวคุณจนถึงชีวิต และไม่ลุกลามมาติดคนในประเทศ



การเดินทางท่องเที่ยวถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมในชีวิต

แต่ถ้าซิสต้องการไปอย่างมีความสุข สนุกสนานกับสิ่งที่ได้พบเจอ ก็ควรระมัดระวังเรื่องโรคต่างๆ และการติดเชื้อที่อาจมากับการเดินทางให้มาก การเข้าพบแพทย์เพื่อการตรวจร่างกายก่อนการเดินทางจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำ ยิ่งถ้าซิสมีโรคประจำตัวอยู่แล้วก็ยิ่งต้องเตรียมให้พร้อมทั้งการพบแพทย์และการพกพายารักษาให้เพียงพอต่อการเดินทาง


และอย่าลืมที่จะทำประกันต่างๆ เพื่อให้ซิสได้รับการรักษาที่ต่างประเทศอย่างทันท่วงที โดยไม่จำเป็นต้องสูญเสียเงินจำนวนมากอีกด้วย



เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับบทความนี้ ถ้าชอบก็ฝากกดไลก์! กดแชร์! เพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน แล้วมาเจอกันบทความหน้านะคะซิสที่รัก บายจ้าาา



เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้