1. SistaCafe
  2. ติดหน้าจอเกินไปไหมเธอ! 'โรคตาแห้ง' โรคอินเทรนด์ในหมู่วัยรุ่น

สวัสดีค่า สาวๆSistaCafeที่น่าร้ากกกกก ทุกคน ><



กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความสุขภาพ ถ้าพูดถึงยุคนี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องคิดถึงเป็นอันดับต้นๆ คือเนื่องจากเทคโนโลยีด้าน IT สมัยนี้พัฒนาเร็วแบบก้าวกระโดด มีทั้งคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป มือถือแบบทัชสกรีน ไวไฟ 3G 4G และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จึงส่งผลให้โซเชียลดังๆ อย่างเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไอจี ยูทูป เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เสียแล้ว อัปเดตเทรนด์กันรัวๆ วินาทีเดียวก็ห้ามพลาดนะคะซิส!



แต่สไลด์ไปสไลด์มา แชทเพลินๆ เล่นเกมออนไลน์จนถึงตีสองตีสาม ( บางรายก็เล่นจนฟ้าสว่างคาตา -_- ) ก็เริ่มรู้สึกแสบตา ตาแห้งแปลกๆ บางทีตาแดงไม่รู้ตัวซะงั้น ไม่ต้องแปลกใจไปค่ะ เธอกำลังประสบกับ" โรคตาแห้ง "แน่แล้วล่ะ



เห็นแบบนี้ โรคนี้ " ฮิต " ในหมู่วัยรุ่นไทยสมัยนี้เลยล่ะค่ะ เพราะทุกคนต่างก็สนใจหน้าจอ โดยไม่รู้ว่าแสงที่ส่องออกมาจากจอนั้น อันตรายกว่าที่คิด!  เริ่มสนใจแล้วล่ะสิ ว่าโรคนี้เป็นยังไง อาการเป็นแบบไหน และต้องรักษายังไง เพราะฉะนั้น เราไปอ่านกันเลยดีกว่า โกโก!



' โรคตาแห้ง ' คืออะไร

' โรคตาแห้ง 'เกิดจากการที่ดวงตาไม่ผลิตน้ำตาออกมาหล่อเลี้ยงดวงตามากเพียงพอ หรือ หรือน้ำหล่อเลี้ยงตาเหือดแห้งเร็วกว่าที่ควรจะเป็นบางครั้ง อาการตาแห้งก็มาพร้อมกับการอักเสบ บวมแดงบริเวณดวงตาด้วย ถ้าไม่รักษาก่อนเวลาอันควร เธอจะเริ่มปวดตา เป็นฝีที่ตา มีแผลเป็นบริเวณกระจกตา และอาจจะสูญเสียการมองเห็นบางส่วนไป แต่ไม่ต้องห่วง ส่วนใหญ่จะไม่ไปถึงขั้น ' ตาบอด ' ค่ะ

อาการตาแห้ง ส่งผลให้ทำกิจกรรมต่างๆ ลำบากขึ้น เช่น ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือเป็นเวลานานๆ ตาสู้สภาพอากาศแห้งๆ ได้น้อยลงเช่น อากาศข้างในเครื่องบิน เป็นต้น

' โรคตาแห้ง ' มีกี่ชนิด ??


1.

Aqueous tear-deficient dry eye

คือ ต่อมน้ำตาไม่ผลิตสารน้ำที่เป็นส่วนประกอบตรงกลางของน้ำตาได้มากพอ ทำให้ผลิตน้ำตาได้ลดลง



2.


Evaporative dry eye


คือการที่ต่อมไขมันที่อยู่บริเวณตาไม่สามารถผลิตส่วนประกอบชั้นนอกของน้ำตาได้ ทำให้น้ำตาระเหยเร็วกว่าปกติ



อาการตาแห้ง อาจเกี่ยวข้องกับสาเหตุต่างๆ ดังนี้



- การอักเสบที่พื้นผิวดวงตา ต่อมน้ำตา หรือเยื่อบุดวงตา

- โรคที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำตา- มีการสร้างพังผืดที่ดวงตา ซึ่งจะพบในผู้ป่วยไทรอยด์ที่ตาถลน ตาโปนออกมา

- ผ่าตัดศัลยกรรมพลาสติก ทำให้เปลือกตาเปิดกว้างเกินไป



อาการของ ' โรคตาแห้ง '

- รู้สึกแสบๆ ร้อนๆ ที่ดวงตา- รู้สึกเหมือนมีทรายอยู่ในดวงตา- เมื่อตาแห้งมากๆ น้ำตาจะไหลออกมาเยอะมากจนผิดปกติ- รู้สึกเหนียวๆ ที่ดวงตา- ดวงตาบวมแดง เจ็บตา- ตามืดเบลอ โฟกัสไม่ได้บ่อยๆ- เปลือกตาหนักอึ้ง- รู้สึกเศร้าแต่กลับร้องไห้ไม่ออก น้ำตาไม่ไหล- ใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่สบายตา

- เริ่มอ่านหนังสือ จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือทำกิจกรรมที่ใช้สายตาได้น้อยลงเรื่อยๆ- เมื่อยตา

*หากเริ่มมีอาการใดอาการหนึ่งต่อไปนี้ รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน ก่อนที่ดวงตาจะเสียหายอย่างถาวรนะจ๊ะ*

สาเหตุ

โรคตาแห้งมีทั้งแบบและค่ะ ดังนี้> เป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้, ยาแก้โรคเกี่ยวกับจมูก, ยากล่อมประสาท, ยาลดความดันเลือด, ยาแก้โรคพาร์กินสัน, ยาคุมกำเนิดและยาต้านโรคซึมเศร้า

> การเป็นโรคผิวหนังบนเปลือกตา หรือรอบๆ เปลือกตา ทำให้ตาแห้งได้ค่ะ> เป็นโรคเกี่ยวกับต่อมในเปลือกตา เช่น ความผิดปกติของต่อม meibomian


> สาวๆ ที่กำลังตั้งครรภ์ มีโอกาสเป็นโรคตาแห้งได้



> สาวๆ ที่กำลังทำฮอร์โมนบำบัด เช่น รับเอสโตรเจนอยู่



> หลังจากทำ ' เลสิก ' อาการนี้จะเป็นต่อเนื่อง 3-6 เดือน แต่บางรายก็อาจนานกว่านั้น



> เกิดจากสารเคมีและความร้อน ทำให้เกิดแผลเป็นบริเวณเปลือกตา



> โรคภูมิแพ้



> กะพริบตาไม่บ่อยเท่าที่ควร เช่น จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกมนานเกินไป



> ได้รับวิตามินไม่มากพอ / ได้รับวิตามินมากเกินไป



> ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติ



> กระจกตาอักเสบ เช่น เปลือกตาปิดไม่สนิทในขณะนอนหลับ เป็นต้น



ใครที่มีปัจจัยเสี่ยงจะเป็น ' โรคตาแห้ง ' มากที่สุด


แม้ว่ากลุ่มคนสูงอายุ มักจะเป็นโรคตาแห้งกันบ่อยๆ แต่อันที่จริงโรคนี้เกิดได้กับคนทุกวัยเลยล่ะค่ะ  โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่นสมัยนี้ที่มักมีชีวิตติดหน้าจอมือถือ หน้าจอโทรทัศน์ตลอดเวลาเมื่อแสงจากหน้าจอส่องที่ตาตลอดไม่หยุดพัก บวกกับกะพริบตาไม่บ่อยพอ ก็มีความเสี่ยงจะเป็นโรคตาแห้งสูงมากๆ ค่ะ

วิธีรักษา ' โรคตาแห้ง '

การรักษาโรคตาแห้ง ขึ้นอยู่กับสาเหตุค่ะ เพราะสามารถรักษาได้หลากหลายวิธีมากๆ ดังนี้> ยาแก้อักเสบชื่อ Cyclosporine ซึ่งเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ชนิดเดียวที่รักษาตาแห้งได้ ช่วยบรรเทาความเสียหายของกระจกตา ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตาให้ผลิตมากขึ้น ลดอาการตาแห้ง อาจใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ใช้ 2 ครั้ง / วัน เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เต็มที่> สารสเตียรอยด์หยอดตา หากเป็นโรคตาแห้งขั้นรุนแรง ทำให้ตาอักเสบลดลง> ถ้ากินยาแล้วตาแห้ง แพทย์อาจสั่งยาตัวอื่นให้ ที่ไม่ส่งผลข้างเคียงให้ตาแห้งค่ะ

> ถ้าตาแห้งเพราะคอนแทคเลนส์ ให้เปลี่ยนชนิดเลนส์ หรือลดจำนวนชั่วโมงการใส่ หรือถ้าตาแห้งขนาดหนัก ก็ควรงดใส่ไปยาวๆ เลยค่ะ> การผ่าตัดเพื่อปิดรูระบายในดวงตา ( drainage holes ) ซึ่งวิธีนี้ทำให้น้ำตาที่ผลิตออกมาระเหยยากขึ้น และหล่อเลี้ยงดวงตาได้นานขึ้นค่ะ

> อาหารเสริมก็สำคัญ! แพทย์อาจแนะนำอาหารช่วยบำรุงดวงตา เช่น ปลาทูน่าที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ( โดยเฉพาะ DHA และ EPA ) จึงช่วยลดการระคายเคืองดวงตาได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น การสั่งอาหารเสริมหรือวิตามินใดๆ มากิน ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชียวชาญเท่านั้นนะคะ

จะรักษา ' โรคตาแห้ง ' เองได้ไหม ทำยังไงบ้าง?

ไม่ต้องผ่าตัด เธอก็รักษาโรคตาแห้งตามอาการได้ค่ะ! ดังนี้> ใช้น้ำตาเทียม เจล หรือยาขี้ผึ้งซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวด แสบตาได้ชั่วคราว ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงตาออกมาตามธรรมชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เลี่ยงน้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ถ้าเธอต้องหยอดมากกว่า 4 ครั้ง / วัน เพราะอาจเกิดอันตรายกับดวงตาได้ค่ะ> .ใส่แว่นสายตา / แว่นกันแดดที่ปิดใบหน้าได้พอดี หรือมีขอบข้างๆ ช่วยปกป้องดวงตา ไม่ให้น้ำตาระเหยเร็วเกินไป> หากอยู่ในที่ร่ม ใช้เครื่องกรองอากาศ กรองฝุ่นออกก็ช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ ใช้เครื่องทำความชื้นเพื่อให้อากาศไม่แห้งเกินไป ไม่อยู่ในพื้นที่แห้งๆ นานเกินไป> ไม่ทำกิจกรรมที่ใช้ตาอย่างหนักเป็นเวลานานๆ พักสายตาเป็นระยะๆ ก็ทำให้โรคตาแห้งบรรเทาอาการรุนแรงลงค่ะ

=======================



จบลงไปแล้วกับโรคฮิตติดเทรนด์ของวัยรุ่น ' โรคตาแห้ง ( Dry Eyes ) ' ที่มักจะเกิดกับคนที่จ้องหน้าจอเป็นเวลานานๆ อาจจะดูไม่อันตรายมาก ไม่ถึงขั้นตาบอด แต่คงไม่มีใครอยากปวดตา แสบตาทุกวัน และต้องหยอดน้ำตาเทียมตลอดเวลาหรอกนะ จริงไหมล่ะ T T



เพราะฉะนั้น หาวิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้แต่แรกดีกว่า เช่น พักสายตาก่อนทำกิจกรรมที่ใช้สายตาอย่างหนัก หยอดน้ำตาเทียมให้ตาชุ่มชื้น ใส่คอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมกับดวงตา หากเป็นคอนแทคใส แนะนำให้เลือกแบบที่ค่าอมน้ำสูงๆ จะทำให้ตาไม่แห้งไวค่ะ



ดวงตาของเรามีคู่เดียว ต้องถนอมและรักษาไว้ให้ดีๆ นะคะ จะได้มีดวงตาคู่สวยอยู่กับเราไปนานๆ ^^ แล้วพบกันใหม่คราวหน้า บ๊ายบาย



=======================


เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้