1. SistaCafe
  2. รู้จักกับโรคซึมเศร้า ภัยเงียบใกล้ตัวของทุกคน!!

สวัสดีค่ะสาวๆSistaCafe

วันนี้เราขอพาสาวๆ มารู้จักกับโรคซึมเศร้า โรคที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกไป และรายล่าสุดก็คือเชสเตอร์ เบนนิงตันนักร้องนำวงLinkin Parkซึ่งตัดสินใจลาโลกนี้ด้วยเหตุผลของโรคซึมเศร้าเช่นกัน จะเห็นได้ว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคที่ไกลตัวของเราเลย และที่สำคัญใครๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ มาดูกันดีกว่าว่าโรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร และเรากำลังป่วยโรคนี้อยู่หรือไม่


สาเหตุของโรคซึมเศร้า

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F28302%2F9772df74-2968-4e29-9121-ddf6680a41be.jpeg?v=20240306161139&ratio=0.667

-พันธุกรรมส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เป็นบ่อย หรือเป็นๆ หายๆ เกิดจากกรรมพันธุ์ ( พ่อหรือแม่ป่วยโรคนี้ )

- สารเคมีในสมองอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ป่วยโรคซึมเศร้าก็คือสารเคมีในสมองของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ ซีโรโทนีนและนอร์เอพิเนฟรินลดต่ำลง

- ลักษณะนิสัยก็มีส่วนทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่น คนที่มองโลกในแง่ลบ คนที่เห็นตัวเองไม่ดีเท่าคนอื่น คิดถึงอดีตตนเองที่เป็นด้านลบ หากว่าเผชิญกับภาวะวิกฤติของชีวิต เช่นเลิกกับคนรัก ตกงาน แล้วไม่ได้มีคนที่คอยให้ความช่วยเหลือทางใจก็อาจเป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน


อาการที่บ่งบอกว่าเราอาจเป็นโรคซึมเศร้า

1. รู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้ซึมเศร้ากับทุกอย่าง

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F28302%2F6134522e-2476-4a4e-b5d0-6995de96051f.jpeg?v=20240306161139&ratio=0.697

อาการเบื่อหน่ายทุกคนก็ต้องมี อาการซึมเศร้ายิ่งต้องมีเข้าไปอีก แต่อาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเนี่ยจะแตกต่างไปจากของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าก็คืออาการจะเป็นต่อเนื่องและยาวนาน บางครั้งอาจเศร้าติดต่อกันราวสองอาทิตย์ “ โดยไม่เว้นพักเลยสักวัน ” โรคซึมเศร้ายังรวมไปถึงภาวะจมเตียง คืออยากนอนนิ่งๆ อยู่บนเตียง ไม่อยากทำอะไรหรือทำสิ่งใด แม้แต่ไปเที่ยวก็หายได้แค่สักพัก จากนั้นอารมณ์ซึมเศร้าก็กลับมาอีกครั้ง



2. ไม่เพลิดเพลินกับกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เคยทำอยู่

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F28302%2F95e7f121-631e-4d08-99da-16285b9dec2f.jpeg?v=20240306161140&ratio=0.666

อีกหนึ่งอาการบ่งบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้าคือ การเบื่อหน่ายกิจกรรมที่ตัวเองเคยชอบทำ เช่นอ่านหนังสือ ฟังเพลง เล่นเกมออนไลน์ สิ่งเหล่านี้แม้ว่าจะเคยเป็นความเพลิดเพลิน แต่สุดท้ายแล้วก็กลับเบื่อหน่ายไปได้ แต่อาการเบื่อหน่ายกิจกรรมต่างๆ นั้นก็จะต้องติดต่อกันประมาณสองอาทิตย์เช่นกันนะคะ



3. ระบบการกินผิดปกติ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F28302%2F6fb2bc75-ac8e-4fb8-88c3-5ff791c45998.jpeg?v=20240306161140&ratio=0.798

การที่ระบบการกินผิดปกติ ได้แก่ บางคนอาจจะไม่อยากทานอะไรเลย หรือบางคนอาจจะทานมากเกินไปจนอ้วนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหากว่าเรามีอาการแบบนี้ติดต่อกันสองสัปดาห์ ก็ต้องพิจารณาตัวเองแล้วค่ะ



4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินพอดี

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F28302%2F8ad7b660-ebc3-4b7f-8fbc-9ed17dea9e90.jpeg?v=20240306161140&ratio=0.500

อีกหนึ่งอาการที่บ่งบอกคือการนอนไม่หลับ หรือบางคนก็นอนหลับตลอด ซึ่งอาการเหล่านี้สัมพันธ์กับความคิด ความรู้สึกของเรา บางคนนอนหลับเพราะอยากหนีจากโลกความเป็นจริง ในขณะที่คนป่วยโรคซึมเศร้าบางคนนอนไม่หลับเพราะวิตกกังวล คิดทุกเรื่องไปราวกับไร้ที่สิ้นสุด



5. อ่อนเพลีย

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F28302%2Ff8e72500-ba64-4551-aee4-a9301a2ad83b.jpeg?v=20240306161140&ratio=0.666

อาการอ่อนเพลีย อาจจะมาคู่กับการใจลอย ตัดสินใจอะไรไม่ได้ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้การทำงานของเราเสื่อมประสิทธิภาพลง รวมไปถึงการเรียนเองก็เช่นกัน เมื่อไม่มีสมาธิการเรียนก็กลายเป็นเรื่องยากไปได้เลยค่ะ



6. รู้สึกว่าเราไร้ค่า

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F28302%2Fbf9890f5-965e-4aa2-99fc-a7eb972fa168.jpeg?v=20240306161140&ratio=0.669

บางคนอาจจะคิดไปว่าตัวเองไร้ค่า หรือคิดเรื่องอยากตายขึ้นมาได้ ซึ่งนั่นก็เป็นอาการของโรคซึมเศร้านั่นเองค่ะ หากว่าเรารู้สึกอยากตาย นั่นเป็นสัญญาณชี้ชัดว่าเราอาจจะต้องรักษาอย่างจริงจังก่อนจะสายเกินไป



สัญญาณที่บ่งบอกว่าเราอาจเป็นโรคซึมเศร้า อาจจะต้องสังเกตตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้ติดต่อกันเกินสองอาทิตย์หรือไม่ด้วยนะคะ  หรืออาจจะทำแบบคัดกรองผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก่อนก็ได้เช่นกันค่ะ


หากว่าทำแล้วมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า รีบไปพบจิตแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ วันนี้ขอลาไปก่อนค่ะ บ๊ายบาย



เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้