1. SistaCafe
  2. สาวๆ ระวัง!! 10 สัญญาณ 'โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่' เช็คให้ดีก่อนอาการจะหนัก

สาวๆ คนไหนขี้หลงขี้ลืมหรือทำพฤติกรรมแปลกๆ แบบไม่รู้ตัวบ่อยครั้ง ระวัง!! อาจจะกลายเป็นโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ได้ ซึ่งโรคสมาธิสั้นนั้น เรามักได้ยินบ่อยครั้งว่าเกิดขึ้นกับเด็ก แต่ตอนนี้ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้แล้ว ซึ่งโรคนี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและงานที่ทำไม่น้อยเลยทีเดียว อีกทั้งความสัมพันธ์กับคนรอบข้างก็จะแย่ลงไปด้วย



แบบนี้อย่ารอช้า มา

เช็ค 10 สัญญาณเตือนก่อนจะเป็นโรคสมาธิสั้น

แบบสมบูรณ์แบบกันค่ะ



1. ขี้หลงขี้ลืมแบบสุดๆ


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F21919%2F2d985fcd-dad6-4008-9486-cfb39bc43bea.jpeg?v=20240306195704&ratio=0.748

ความขี้ลืมในบางครั้งก็ดูว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครก็เป็นได้ แต่มันจะเริ่มไม่ปกติถ้าคุณเริ่มลืมแม้กระทั่งว่าในกระเป๋ามีอะไร ทั้งที่เพิ่งเปิดดูเมื่อไม่กี่นาทีที่แล้ว โรคสมาธิสั้นจะทำให้คุณไม่มีสมาธิหรือมีความสนใจที่กระจัดกระจาย จึงทำให้เราไม่โฟกัสกับสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น บางครั้งคุณรู้ว่าของสิ่งนี้อยู่ในลิ้นชัก แต่คุณอาจกลับนึกได้ว่าอยู่บนหลังตู้เย็นแทน เป็นต้น



2. ทำอะไรนานๆ ไม่ได้

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F21919%2F193e17c0-b58b-4f87-9a2f-e6de7292b8bf.jpeg?v=20240306195705&ratio=0.666

ไม่ว่าจะเรื่องสำคัญหรือไม่สำคัญคุณก็รู้สึกว่ารอไม่ได้ ทนไม่ไหว แม้แต่การประชุมในที่ทำงาน ถึงแม้ว่าคนอื่นจะมองว่าการประชุมยาวดูน่าเบื่อถ้าหาข้อสรุปไม่ได้ แต่ก็จะไม่แสดงอาการอะไรมากนัก



แต่ผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น จะแสดงพฤติกรรมกระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข เดี๋ยวลุกเดี๋ยวยืนอยู่ตลอดเวลา ทำให้เห็นเด่นชัดว่าไม่สามารถควบคุมความเบื่อของตัวเองได้ โดยที่ตัวเองจะคิดแค่ว่าไม่สบายใจอย่างมาก และไม่ต้องการที่จะอยู่ตรงนี้นานนัก ทั้งๆ ที่เพิ่งประชุมมาได้แค่ 10-15 นาทีเท่านั้น



3. ขับรถอย่างประมาท

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F21919%2F689434e1-ee89-4d4b-b5a0-34b79562a384.jpeg?v=20240306195705&ratio=0.667

ปัญหานี้ถือว่าน่ากลัวพอสมควร คือเมื่อใดที่คุณขับรถแล้วรู้สึกว่าสมาธิไม่ได้มุ่งอยู่ที่การขับ แต่กลับไปมุ่งที่วิวข้างถนน รู้สึกสนใจต่อการสิ่งรอบข้างมากกว่าจะโฟกัสไปที่การขับรถอย่างระมัดระวัง ถ้าเป็นแบบนี้นานวันเข้าอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้อย่างง่ายดาย



ที่สำคัญปัญหานี้ยังกระทบต่อการทำงานเมื่อคุณต้องประสบออุบัติเหตุ และกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่นั่งไปกับคุณบนรถอีกด้วย



4. กลายเป็น Super Woman ขึ้นมาทันที

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F21919%2Fff11ab75-5cff-403e-a763-f2debef20ed3.jpeg?v=20240306195705&ratio=1.000

ใช่ว่าจะออกไปรบ หรือออกไปกู้โลก แต่เป็นการใช้ชีวิตประจำวันที่สุดมือโปร เพราะสามารถล้างจานแล้วหนีบโทรศัพท์คุยไปด้วย หรือมือหนึ่งก็รดน้ำต้นไม้ส่วนอีกมือก็หยิบของ ทำอะไรยังไม่ทันเสร็จก็หันมาโซเชียลต่อ



เรียกได้ว่าเป็นอาการจับจดที่ไม่สามารถโฟกัสไปที่งานใดงานหนึ่งให้สำเร็จเป็นอย่างๆ ไป ถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆ แนะนำพบแพทย์ได้เลยค่ะ



5. ทำงานหลังเลิกงานตลอด

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F21919%2F9c80a20e-4cfb-4617-8e8c-f77fb91a2ff0.jpeg?v=20240306195705&ratio=0.562

ในช่วงเวลาทำงานคุณก็มีความรู้สึกกระวนกระวายและสับสนอยู่ตลอด จนไม่สามารถที่จะจัดเรียงงานที่ทำได้ว่าควรทำอะไรก่อนหรือหลัง และไม่สามารถที่จะเข้าใจต่องานที่อยู่ตรงหน้า ทำงานไม่มีระเบียบ ไม่เป็นไปตามระบบ



และงานก็เสร็จไม่ทันเวลา จนกระทั่งเวลาหมดแล้วจึงค่อยมาเร่งงานเอาตอนเลิกงานแล้ว เป็นแบบนี้อาจทำให้มีปัญหากับที่ทำงานได้นะคะ



6. ขัดจังหวะการพูดของคนอื่นตลอดเวลา

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F21919%2F62eb3e4d-3d32-4de5-a095-37df1019e845.jpeg?v=20240306195705&ratio=1.333

การพูดคุยกันคือการรับฟังอีกคนหนึ่งพูดให้จบ แล้วเราจึงค่อยโต้ตอบจึงจะเป็นเรื่องที่ปกติ แต่ผู้ที่เป็นสมาธิสั้นจะไม่สามารถรอให้ใครพูดจบได้ จึงมักจะขัดจังหวะการพูดของคนอื่น ชอบพูดแทรก พูดผ่ากลางวง หรือไม่ก็แย่งคนอื่นพูด ไม่สามารถที่จะรอให้คนอื่นพูดได้ หรือถ้าต้องเจรจาอะไรก็จะรีบพูดแบบกลัวคนอื่นแย่งพูดอยู่ตลอดเวลา



ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความไม่มีสมาธิในตัวเองอย่างมาก และอาจพาให้กลายเป็นที่รังเกียจของเพื่อนร่วมงานอีกด้วย



7. ของบนโต๊ะทำงานกระจัดกระจาย


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F21919%2F0d94a468-c1fa-47fc-b441-6b3f37c1bf39.jpeg?v=20240306195705&ratio=0.624

เวลานั่งทำงาน ลองดูให้ดีว่าบนโต๊ะทำงานของเรามีอะไรบ้าง ถ้าบนโต๊ะมีโดนัทที่กัดทิ้งไว้ 1 ชิ้น มีกาแฟร้อนที่วางไว้จนเย็น มีงานที่วางกระจายเป็นจุดๆ แล้วไม่มีชิ้นไหนเสร็จเลยสักชิ้นบ้างหรื อไม่



สาเหตุเกิดมาจากคุณคิดงานทีเดียวพร้อมกันทั้งหมด แล้วสุดท้ายก็กลายเป็นมานั่งเหม่อแทนที่จะทำงาน หรือหยิบโทรศัพท์มาโซเยลอย่างเดียวแบบลืมไปแล้วว่ายังมีงานไม่เสร็จอีกหลายงานเลยทีเดียว




8. คิดว่าเวลาช้ากว่าปกติทุกวัน

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F21919%2Fba29fbb9-7aea-40f8-8b7c-241b29f441df.jpeg?v=20240306195705&ratio=0.666

เมื่อใกล้ถึงเวลาพักเที่ยงหรือเลิกงานช่วงเย็น คุณมักจะมองที่นาฬิกาแล้วคิดว่าช้าจัง? ซึ่งคนที่ไม่ได้เป็นโรคสมาธิสั้นก็อาจคิดแบบนี้ แต่มันจะไม่ปกติเพราะคนเป็นสมาธิสั้นจะคิดว่ามันช้ามาก ช้าจนจะทนไม่ไหว และจะนั่งจับจ้องนาฬิกาแบบไม่สามารถทำอะไรได้เลยจนกว่าจะถึงเวลานั้น ๆ ซึ่งในขณะที่รอก็จะแสดงอาการสับสน วุ่นวายใจออกมาชัดเจน





9. พยายามจะทำอะไรสักอย่างแต่ก็ไม่สำเร็จ


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F21919%2Ff063f275-e461-44fe-bd1c-76292e0f8b51.jpeg?v=20240306195705&ratio=0.667

สำหรับคนที่มีปัญหาสมาธิสั้น เมื่อพยายามจะทำอะไรแล้วก็มักจะไม่สำเร็จเสมอ เช่น ต้องการอ่านหนังสือเล่มโปรดให้เสร็จภายใน 1 อาทิตย์ แต่เมื่อหยิบมาอ่านได้ 5 นาทีก็เหม่อ เมื่อได้ยินเสียงอะไรก็จะหยุดอ่านแล้วไปสนใจเสียงนั้นทันที



หรืออ่านได้ 30 วินาที ก็ลุกไปดื่มน้ำ กลับมานั่งอ่านหนังสือได้อีก 5 นาที แล้วก็ลุกไปทำอย่างอื่นต่อ จนในที่สุดก็ลืมและอ่านไม่จบอยู่ดี เป็นต้น



10. ผิดพลาดเรื่องเล็กๆ น้อยๆ บ่อยมาก

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F21919%2Fe7244d09-f502-4baf-a5cf-4086fac8cc84.jpeg?v=20240306195705&ratio=0.667

เรื่องเล็กน้อยใครๆ ก็ผิดได้ แต่ถ้าผิดเล็กน้อยจริงๆ แต่ซ้ำซาก ไม่เคยจำ เช่น เขียนคำเดิม ๆ ผิดตลอดทั้งที่รู้ เขียนหัวอีเมล์ส่งผิดคน แล้วก็ยังคงส่งผิดคนเหมือนอีกหลายครั้งทั้งที่รู้ หรือละทิ้งรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในช่วงประชุมเป็นประจำ เรื่องเหล่านี้ถ้าบ่อยครั้งมากจนเกินไป ก็อาจทำให้ชีวิตการทำงานสั้นเอาง่ายๆ เลยนะคะ



ถ้าสาวๆ คนไหนตรวจสอบแล้วมีตรงทั้ง 10 พฤติกรรมนี้ ไม่ต้องตกใจหรือกังวลใจมากเกินไป เพราะสามารถที่จะเข้ารับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์ด้านการรักษาโรคสมาธิสั้น พร้อมทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถหายขาดและทำให้ทุกอย่างกลับมาดีขึ้นได้อย่างแน่นอน



สำหรับวันนี้ขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ค่ะ

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้