สวัสดีค่ะสาวๆ
Sistacafe
ปากแดงๆ จะไว้ใจได้กา ตาหวานๆ จะไว้ใจได้กา อยู่เมืองไกลจะไว้ใจได้กา บ่ใช่ข้าเจ้าจะไว้ใจได้กา
♫♪˙‿˙♫♪
แอร๊
ใครหลายๆ คนมักจะหลงเสน่ห์วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ของชาวเหนือ ที่มีทั้งความเป็นเอกลักษณ์ อ่อนช้อย และสวยงาม ทั้งการรำ การฟ้อน เครื่องดนตรี การแต่งกาย ภาษา และอีกมากมายนับไม่ถ้วน
วันนี้เราเลยจะพาสาวๆ ไปเที่ยวแบบมีความรู้
โอย ดูสวยขึ้นอีก 30%
เที่ยวสนุกแบบมีความรู้ได้ที่
พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง
พิพิธภัณฑ์ทรงเรือนกาแล เรือนเมืองเหนือโบราณ ที่จะรวบรวมศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิตต่างๆ ของชาวล้านนา ให้สาวๆ ได้รู้จัก
ใจกลางกรุงเทพมหานคร บนถนนอโศกนี่เองค่ะ ไปก็ง่าย แถมได้ความรู้ด้วยน้าาา ไปดูกันเลย
ข้อมูล
พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง
สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
เปิดทำการ :
วันอังคาร - วันเสาร์
เวลา :
09.00 - 17.00 น.
( หยุดวันอาทิตย์ จันทร์ และวันนักขัตฤกษ์ )
โทรศัพท์ :
02-661-6470-3
โทรสาร :
02-2258-3491
อีเมล์ :
เว็บไซต์ :
http://www.siam-society.org
เฟสบุ๊ค :
The Siam Society Under Royal Patronage
การเดินทาง

รถไฟฟ้า
BTS ลงสถานีอโศก
( ประตู 3 ทางเชื่อม BTS-MRT )
รถไฟฟ้า
MRT ลงสถานีสุขุมวิท
(ประตู 1 สยามสมาคม)
เดินเลาะทางซ้ายมาเรื่อยๆ จะเจอป้ายพิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง และร้าน BLACKCANYON COFFEE สไตล์เรือนไม้อยู่ด้านหน้า เดินตรงเข้าไปเรือนไทยด้านใน ก็ถึงแล้วววววว
พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง
พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง
เรือนคำเที่ยง เป็นเรือนเครื่องสับแบบล้านนาหรือเรือนกาแลสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2391 โดยนางแซ้ดสืบเชื้อสายจากธิดาเจ้าเมืองแช่ ชาวไทลื้อจากแคว้นสิบสองปันนา ถูกกวาดต้อนมาเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ
ตามประเพณีชาวไท เรือนเป็นมรดกตกทอดจากแม่สู่ลูกสาว ลูกหลานนางแซ้ดอาศัยอยู่เรือนแห่งนี้กันมารุ่นต่อรุ่น จนปี พ.ศ. 2506คุณกิมฮ้อ นิมมานเหมินทร์เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของศิลปะล้านนาไทย จึงกลัวว่าจะสูญหายไป เลยยกเรือนเก่าแก่ของตระกูลนี้ให้อยู่ในความดูแลของ สยามสมาคมฯ สมาคมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาในซอยอโศก
โดยถอดตัวเรือนจากเชียงใหม่มาประกอบใหม่ที่กรุงเทพฯ โดยมีการเปลี่ยนผังเรือนนิดหน่อยตามพื้นที่ที่จำกัด และชื่อเรือนคำเที่ยง มาจาก ชื่อของคำเที่ยง อนุสารสุนทรแม่ของคุณกิมฮ้อนั่นเอง



วัฒนธรรมและวิถีชีวิตล้านนา
พื้นที่ของชาวล้านนา มีตำนานว่าแต่ก่อนเคยเป็นของชาวลัวะ ซึ่งมีการบูชาไจบ้าน เรียกว่า
เสาสะก๊าง
ทำจากลำต้น ต้นไม้แกะสลักลวดลายที่มีความหมาย เช่น รูปลักษณ์ของผู้หญิง ผู้ชาย สื่อระหว่างมนุษย์และผี ประเพณีนี้มีอิทธิพลต่อชาวล้านนามาก ในแต่ละหมู่บ้านจะมีให้บูชากราบไหว้

เครื่องจักสานชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำ เรียกว่า
ไซ
ไซมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีรูปลักษณ์ต่างกันออกไปตามประโยชน์การใช้สอย แต่ชนิดของสัตว์ที่จะจับ

สี
และลายผ้าของชาวล้านนาจะแตกต่างไปตามผู้ทอ แต่ละครอบครัวจะมีสูตรและเคล็ดลับที่เป็นความลับ มีการส่งต่อจากแม่สู่ลูกสาวในแต่ละรุ่น วัสดุที่ใช้ย้อมผ้าส่วนใหญ่จะมาจากธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ ราก ใบ ผล เมล็ด ฯลฯ
ชาวล้านนาทำกิจกรรมทอผ้าใต้ถุนบ้าน เนื่องจากสามารถเป็นงานอดิเรกและบรรยากาศปลอดโปร่ง นิยมทอผ้า ซิ่น และ
ตุง
มีความเชื่อกันว่า ตุงนั้นเป็นเครื่องสักการะ พบเห็นได้ตามภาคเหนือ ใช้วัสดุได้ทั้ง ผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ด้าย ขึ้นอยู่กับพิธีกรรม


ขึ้นมาบนเรือนชั้นสอง ด้านขวาจะพบ
เติ๋น
หรือ ลานอเนกประสงค์ ใช้ทำกิจกรรม รับรองแขก รับประทานอาหาร และยังเป็นที่ แอ่วสาว อีกด้วย เพราะหญิงสาวมักจะมานั่งทำงานเล็กๆ น้อยๆ บริเวณนี้ แล้วหนุ่มๆ ก็มาแอ่วหา ขายขนมจีบ โดยอยู่ในสายตาผู้ใหญ่ และริมขอบชานเรือน จะมีหม้อน้ำดื่มวางไว้มุมใดมุมนึง เรียกว่า
ฮ้านน้ำ


บรรยากาศด้านในเรือน
ก่อนที่เราจะข้ามประตูจากส่วนเติ๋น ไปห้องนอน เงยหน้าไปด้านบนประตูจะเจอ
หำยนต์ หรือ หัมยนต์
คือแผ่นไม้แกะสลักอยู่ในกรอบเหนือประตูห้องนอน เป็นความเชื่อของชาวล้านนาว่าช่วยปกป้องสิ่งชั่วร้าย ด้านในจะเป็นห้องนอน ภายในห้องนอนนี้จะจัดแสดง ตั้งแต่ ห้องนอนแบบชาวล้านนา ที่ผู้หญิงล้านนาจะต้องเย็บเองเป็นตั้งแต่หมอน ผ้าห่ม ฯลฯ , เสื้อผ้า ผ้าซิ่นตีนจก ที่ผู้หญิงล้านนาจะต้องปักเย็บใส่เองทุกคน , เครื่องประดับ , อาวุธ และเครื่องรางของขลัง มากมาย
เรือนนอน



ครัว


ยุ้งข้าว


เป็นอย่างไรคะสาวๆ ที่
พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง
นอกจากจะอยู่ในกรุงเทพ ไปง่าย เดินทางสะดวกแล้ว ยังได้ความรู้อีกด้วยนะคะ เพราะประเทศของเรามีวัฒนธรรมที่ดีงาม เป็นเอกลักษณ์และมีคุณค่ามากมายให้ลูกหลายช่วยธำรงรักษา เด็กรุ่นใหม่อย่างเราๆก็ไม่ควรที่จะละเลยสิ่งเก่า ไปรับแต่ของใหม่ใช่ไหมล่ะคะ
เราสามารถพัฒนามันควบคู่ไปกับความทันสมัยได้ตามกาลเวลา ขอแค่อย่าทิ้ง
" ความเป็นไทย "
ในแต่ละพื้นภาคไว้ข้างหลังก็พอ ไว้ครั้งหน้าเราจะไปเที่ยวที่ไหนกันอีก โปรดรอติดตามชมกันด้วยนะคะ วันนี้ขอตัวไปก่อน สวัสดีค่า