ถ้าพูดถึงการออกทริปแต่ละที แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใช้เงินก้อนพอประมาณ ไม่ว่าจะเที่ยวในประเทศ ต่างประเทศ ไปคนเดียว หรือไปกับคนอื่นด้วย"ค่าใช้จ่ายแห่งความสุข"มันย่อมบานตะไทกว่าการกินอยู่ตามปกติทั่วไปที่เราคุ้นเคยแน่นอน แต่จะให้เที่ยวกันแบบอดอยากเพื่อเซฟค่าใช้จ่าย มันก็ดูจะแปลกไปหน่อยเพราะถ้าเราไปเที่ยวแล้วทรมานตัวเอง สู้นอนอยู่บ้านเฉยๆ ไม่สบายใจ สบายกระเป๋ากว่าหรอ?

เราเที่ยวแบบประหยัด แต่ได้รับความสะดวกสบายทั้งที่พักและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ ของแบบนี้มันต้องมีทริคในการวางแผนสักหน่อย

#1 วางแผนกันก่อนว่าเราไปเที่ยวกันกี่คน?

รูปภาพ:http://cometrend.com/wp-content/uploads/2016/05/01-tourist-ts.jpg

นี่คือสิ่งแรกที่ควรคำนึงก่อนตั้งคำถามว่า"ไปไหนกันดี"แต่ขอบอกก่อนว่าการเลือกจำนวนคนนั้น ไม่ได้แปลว่ายิ่งน้อยคน จะยิ่งประหยัดค่าใช้จ่าย แต่เพื่อความสะดวกในการวางแผนเลือกประเภทที่พัก ประเภทการเดินทาง ( ทางรถโดยสาร, ทางเครื่องบิน, ทางรถไฟ ฯลฯ ) และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่เหมาะสมกับตัวเอง ( และคนอื่น ) มากที่สุดต่างหากล่ะ

#2 แพลนล่วงหน้าสำหรับการเดินทางไม่ต่ำกว่า 3 เดือนขึ้นไป

รูปภาพ:http://ohsobeautifulpaper.com/wp-content/uploads/2010/10/these-are-things-2011-travel-calendar2.jpg

พอเลือกได้แล้วว่าจะไปเที่ยวคนเดียวหรือเที่ยวกับใคร คราวนี้ก็แพลนไว้ในปฏิทินเลยว่าจะไปเที่ยวที่ไหนในช่วงเดือนไหนดี โดยอิงจากช่วงที่สายการบิน low cost จัดโปรโมชั่น หรือช่วงที่โรงแรมในเว็บไซต์รับจองโรงแรมพากันจัดโปรโมชัน เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างแล้วมาเฉลี่ยหาเวลาที่เหมาะสม ( แต่อย่าเพิ่งจองตั๋วเครื่องบินและที่พักทันที เอาแค่เปิดเว็บเพื่อหาเวลาที่เหมาะสมมากาปฏิทินคร่าวๆ ก่อน )ระยะปลอดภัยที่สุดแก่สภาพคล่องทางการเงินควรวางแผนล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 3 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 6 เดือนเพราะทริปที่วางไว้อาจส่อแววล่มได้ ด้วยเพราะใกล้วันจริงแล้วเกิดเปลี่ยนใจกันบ้าง ติดงานกะทันหันบ้าง หรือที่ร้ายที่สุดคือโปรโมชันที่จองไว้มีการเปลี่ยนแปลง (เพิ่มราคาหรือถูกยกเลิก)

#3 เลือกประเภทที่พักให้ดี

รูปภาพ:http://www.engtest.net/UserFiles/Image/111111111111111111/introduction.jpg

ที่พักในบ้านเราจะไม่ค่อยมีปัญหาเท่าต่างประเทศ เพราะเดี๋ยวนี้ถูกและดีก็มีเกลื่อนมาก และบางทีก็สามารถวอล์กอินไปดูสภาพห้องล่วงหน้าได้ แต่สำหรับต่างประเทศเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสภาพจริงจะเป็นยังไง อีกทั้งที่ราคาถูกสุดที่เอามาขายผ่านเว็บไซต์ที่เป็นนายหน้าอีกที มันก็ยังไม่ถูกมากซะทีเดียว บวกภาษีและเซอร์วิสชาร์จไปอีกก็เกือบพันหรือปริ่มพันนิดๆ ต่อคืน

ทริคในการเลือกที่พักให้ได้ราคาถูกและดีตรงใจที่สุด

- เข้าไปดูตามเว็บไซต์ที่เป็นนายหน้ารับจองโรงแรม เช่น agoda.com booking.com traveloka.com หรือเว็บที่เปรียบเทียบราคาของนายหน้าแต่ละเจ้า เช่น tripadvisor.com แล้วเปรียบเทียบประเภทที่พักและราคาที่เหมาะสมกับเรา

- เห็นราคาถูกที่สุดอย่าเพิ่งตาโต ลองเช็คเงื่อนไขให้ละเอียดอีกที เช่น ห้องเดี่ยวในโฮสเทลบางที่แพงกว่าห้องเดี่ยวในโฮเทล, ห้องเดี่ยวในโรงแรมบางที่ราคาถูกที่สุดแต่บังคับให้จองพร้อมจ่าย, ห้องเดี่ยวในโรงแรมบางที่ถูกที่สุดแต่พักได้คนเดียว, ห้องเดี่ยวในโรงแรมบางที่ราคาที่เราเห็นถูกสุดนั้นยังไม่รวมค่าภาษีและเซอร์วิสชาร์จ

#4 จ่ายแบบทะยอยจ่ายทีละก้อน ทีละเดือน

รูปภาพ:http://www.globalmousetravels.com/wp-content/uploads/2015/04/mytravelcash11.jpg

ถ้าไม่สามารถรับภาระแบบจ่ายทั้งค่าที่พัก ค่าตั๋ว ครั้งเดียวจบได้ ควรเลือกจ่ายทีละอย่างทีละเดือน เช่น เดือนนี้จองตั๋วเครื่องบินแล้วจ่าย เดือนต่อไปค่อยจองที่พักแล้วจ่าย แบบนี้จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาไปได้เยอะมาก

หมายเหตุ

- ค่าตั๋วเครื่องบิน ถ้าจองแล้วต้องจ่ายทันทีภายใน 24 ชั่วโมง หากไม่จ่าย ถือว่าตั๋วนั้นเป็นอันยกเลิกไป เราต้องหาตั๋วไฟล์ทใหม่ทีหลัง

- ที่พักที่จองผ่านเว็บไซต์ที่เป็นนายหน้า จะมีทั้งประเภทจองแล้วต้องจ่ายทันที (ตัดผ่านบัตรเครดิต/เดบิต) และประเภทจองแล้วจ่ายทีหลังได้

- หากเป็นที่พักเล็กๆ ตามต่างจังหวัด สามารถโทรไปต่อรองการจองและจ่ายโดยตรงได้ (โดยรวมแล้วเขาจะถามวันเวลาที่เข้าพัก จำนวนคนที่พัก วิธีที่สะดวกจ่าย หากจ่ายผ่านธนาคารอย่าลืมเก็บสลิปไว้เป็นหลักฐานในวันที่มาเข้าพัก)

#5 เงินสำหรับค่ากินค่าเที่ยว อย่างน้อยเตรียมล่วงหน้า 1 เดือนจะปลอดภัยดี

รูปภาพ:http://ipsosasiapacific.com/wp-content/uploads/sites/3/2015/04/british-passport-money-euros-cash-travel-notes-coins-change_64289701.jpg

เงินสำหรับวันเดินทางจริงเป็นก้อนสุดท้ายในบรรดาเงินสำหรับทริปทั้งหมดถัดจากการจองตั๋วเครื่องบินและค่าที่พัก แต่ก็ใช่ว่าจะเบาบางมากๆ จนไม่ต้องคิดอะไรมากเลย ถึงจะเป็นลำดับสุดท้ายก็ควรเก็บล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนขึ้นไป เพราะเราจะต้องไปกิน ไปเที่ยวในที่ที่ไม่ใช่บ้านเราที่คุ้นเคย มันอาจมีแพงบ้างตามประสาราคานักท่องเที่ยว หรือถูกจนล่อตาเราให้หลงซื้อเยอะๆ บ้างเป็นเรื่องธรรมดา

อย่าลืมกดเงินสดหรือแลกเงินก่อนออกไปเที่ยว เพราะการกินใช้ส่วนใหญ่ต้องควักเงินสดกันทั้งนั้น หากเราต้องไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสุดๆ อย่างเช่น หาที่กดตู้กดเงินหรือยอมจ่ายผ่านบัตร บางทีมันแพงกว่าราคาปกติ เพราะมีการบวกค่าธรรมเนียมไปด้วย

#6 ทำการบ้านด้วยการหาอ่านบทความรีวิว

รูปภาพ:http://culinary.tourwestamerica.com/wp-content/uploads/2016/01/food-traveler.jpg

วางแผนค่ากิน ค่าเที่ยวล่วงหน้า ด้วยการหาอ่านรีวิวเกี่ยวกับสถานที่ที่เรากำลังจะไป ย่านไหนของกินราคาถูก ย่านไหนการคมนาคมสะดวก ย่านไหนควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัยและเพื่อเซฟค่าใช้จ่าย การอ่านจากประสบการณ์คนอื่นที่เขาเคยไปก่อนเราจะช่วยชีวิตของเราได้มากๆ เลยทีเดียว

#7 ดูแลรักษาตัวเองให้ดี

รูปภาพ:http://www.nwnavigator.com/wp-content/uploads/2016/01/Oregon-food-traveler.jpg

ปิดล็อคกระเป๋าตังค์อีกชั้นด้วยการวางแผนการเดินทาง / กิน / เที่ยวแต่ละวันให้ดี อีกทั้งทำทุกทางเพื่อดูแลตัวเองไม่ให้เจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดความผิดพลาดอะไรในระหว่างเดินทาง เพราะค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่เกิดจากเหตุการณ์เฉพาะหน้าอาจทำให้งบบานปลายกว่าเดิมได้

อ้อ! อย่าช็อปเพลินล่ะ เพราะนอกจากเปลืองเงินจ่ายฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ อาจต้องควักเงินจ่ายซื้อน้ำหนักเพิ่มในกรณีที่เราขึ้นเครื่องบินขากลับด้วยนะ ...

แค่นี้ก็เที่ยวกันแบบชิลๆ ได้แล้ว ขอให้เที่ยวกันให้สนุกค่า

บทความที่เกี่ยวข้อง