สวีดัด สวัสดีค่าสาวๆSistaCafeชาวโซเชียลเน็ตเวิร์คทุกคน !!

ตอนนี้น่ะ มันเป็นยุคของโลกออนไลน์! ยิ่งถ้าในสังคมคนเมือง ใครไม่เล่นโซเชียลออนไลน์เลย ไม่ได้ถือว่าเชยนะ แต่น่าจะมาจากนอกโลก -_-


เพราะตอนนี้ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมต่อกับเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ยูทูปและเว็บไซต์ต่างๆ จนโลกทั้งโลกแทบจะอยู่ในฝ่ามือเราแล้ว อะไรๆ ก็ต้องอัปเดตเทรนด์ ติดตามข่าวสารตลอดเวลา เพราะแค่ 1 นาทีก็เปลี่ยนชีวิตได้นะเออ!

จึงไม่แปลกที่วัยรุ่นสมัยนี้ มีพฤติกรรมสไลด์หน้าจอมือถือเป็นกิจวัตร อยู่ว่างๆ ได้ไม่เกิน 5 นาที ต้องขอพิมพ์แชทคุยกับเพื่อน อ้าวคนนี้เด้งมา อ้าวคนนั้นเข้ามาไลก์ เฮ้ยรอไม่ได้ ต้องกด ต้องส่ง ต้องแชร์ ต้องรีทวีต ไปๆ มาๆ เริ่มรู้สึกว่านิ้วแข็งๆ อ้าวเฮ้ย ไม่เหมือนที่คุยกันไว้นี่หน่าาา เป็น" โรคนิ้วล็อก "ซะงั้นอ่ะ!!! T^T

ใครที่เริ่มมีปัญหานี้ เข้ามาค่ะเข้ามา เพราะเราจะพาพวกเธอมาทำความรู้จักกับ

" โรคนิ้วล็อก ( Trigger Finger ) "

ทั้งสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการและวิธีรักษา แม้จะไม่ได้เป็นในเร็วๆ นี้ แต่รู้ไว้ก่อนก็ดีกว่าไม่ใช่เหรอ เพราะงั้น เลื่อนลงมาอ่านกันเลยค่าาา!

' โรคนิ้วล็อก ' คืออะไร

รูปภาพ:http://www.drsachintapasvi.com/images/patient_info/hand_wrist_elbow/hwe8.jpg

โรคนิ้วล็อก ( Trigger Finger )เป็นชื่อเรียกอาการที่นิ้วมือนิ้วใดนิ้วหนึ่งงอในท่าที่ผิดปกติ เมื่อเธอพยายามจะแกะนิ้วให้กลับมาตรงเหมือนเดิม กลับมีเสียงร้าวๆ เหมือนไกปืนดีด และแน่นอนว่าเจ็บ!โรคนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อ เกิดการอักเสบเล็กๆ ด้านในนิ้วมือที่ล้อมรอบเส้นเอ็นอยู่ ( นิ้วที่งอไม่เข้านั่นแหละ ) เมื่ออาการกำเริบ นิ้วจึงเกิดอาการ " ล็อก " และงอค้างอยู่ ไม่เด้งกลับ เพราะเส้นเอ็นอักเสบและบวมนั่นเอง

ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง" มากๆ "ต่อการเป็นโรคนี้คือคนที่ทำงานหรือมีงานอดิเรกในการใช้นิ้ว ใช้มือซ้ำๆ ไม่ว่าจะบีบ จับ เขียน พิมพ์ เช่น ครู แม่บ้าน คนที่ทำสวนที่ใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้บ่อยๆ พนักงานพิมพ์เอกสาร เป็นต้นมักจะพบได้เยอะในผู้หญิงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน การรักษาก็จะแตกต่างออกไป แล้วแต่ความรุนแรงของโรคค่ะ

อาการของ ' โรคนิ้วล็อก '

รูปภาพ:https://instagram.fbkk5-6.fna.fbcdn.net/t51.2885-15/e35/13298208_892749560871721_1517500274_n.jpg

อาการของโรคนี้มีหลายระดับมากค่ะ ตั้งแต่เพิ่งเป็น ระดับเบาๆ จนถึงนิ้วล็อกรุนแรงถาวรไปเลย ( น่ากลัวไปอี๊ก! )  ดังนี้เลยค่ะ> นิ้วมือแข็งทื่อ โดยเฉพาะหลังตื่นนอนในช่วงเช้าๆ> เวลาขยับนิ้วจะรู้สึกว่ามีเสียงเป๊าะแป๊ะ หรือเสียงกระทบกันดังกริ๊กๆ เหมือนไกปืนลั่น> ช่วงฐานของนิ้วมือที่มีอาการ จะเกิดอาการบวมเป็นก้อนนิ่มๆ ขึ้นมา> นิ้วมืองอแล้วล็อก บางครั้งงอๆ อยู่ก็เด้งตรงผึง! ขึ้นมาทันที

> บางครั้งงอแล้วดึงให้ตรงไม่ได้เลย ถ้าดึงได้ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก

* โรคนี้มักเกิดที่ "นิ้วโป้ง", " นิ้วกลาง" และ "นิ้วนาง" เป็นพิเศษ บางครั้งก็เป็นได้หลายๆ นิ้วในเวลาเดียวกัน หรือเป็นสองมือพร้อมกันก็มี T^T มักเกิดบ่อยๆ ช่วงเช้า ระหว่างที่กำสิ่งของไว้แน่นๆ หรือตอนกำลังดึงนิ้วให้ตรงค่ะ

เมื่อไหร่ที่ควรไปหาหมอได้แล้ว

ถ้าเธอรู้สึกว่าตรงข้อต่อนิ้วมือแข็งๆ หรือกำมือได้ไม่เต็มที่ ก็ควรไปปรึกษาหมอเพื่อบอกอาการ และทำการประเมินผลทางกายภาพ ถ้าข้อต่อเริ่มแสบ บวมแดง รีบไปหาหมอทันที เพราะนั่นหมายถึงว่า เธอน่าจะติดเชื้อแล้วล่ะค่ะ!

สาเหตุในการเป็น ' โรคนิ้วล็อก '

รูปภาพ:http://2.bp.blogspot.com/-oe7BIFNT_h4/UT-F-bK8pzI/AAAAAAAAHOI/5ncRCUzHWpo/s640/tf1.PNG

สาเหตุทางกายภาพเลยก็คือ ปกติแล้วเส้นเอ็นจะเป็นเส้นๆ เพื่อยึดกล้ามเนื้อให้ติดกับกระดูก เส้นเอ็นแต่ละเส้นจะถูกหุ้มไว้ด้วยปลอกหุ้มเอ็น แต่โรคนิ้วล็อกเกิดขึ้นเมื่อปลอกหุ้มเอ็นเกิดการติดเชื้อ ทำให้ระคายเคืองและอักเสบ ทำให้ขัดขวางการยืดขยับนิ้วมือแบบปกติ หรือเส้นเอ็นไม่ยืดหยุ่นนั่นเองถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจเกิดแผลเป็น นิ้วมือหนาบวมและเกิดก้อนขึ้น และจะยิ่งทำให้ขยับนิ้วได้ยากขึ้นไปอีก หนักๆ เข้าอาจชาจนเหยียดตรงไม่ได้เลยล่ะค่ะ

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็น ' โรคนิ้วล็อก '

รูปภาพ:https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/736x/31/d1/5e/31d15e891790fd9aee81a6d92b9635be.jpg

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็น " โรคนิ้วล็อก " ได้ มีดังนี้...> กำสิ่งของบางอย่างแน่นๆ และบ่อยๆ ซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งอาชีพบางอย่างจำเป็นต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น คนทำสวนกับกรรไกรตัดใบไม้ พนักงานพิมพ์เอกสารที่ต้องพิมพ์ทั้งวันทั้งคืน หรืออาชีพกราฟฟิกดีไซน์ที่ต้องใช้เมาส์กดคลิกนานๆ บ่อยๆ เป็นต้น( สาวนักแชทที่ใช้คอมพิวเตอร์จนดึกดื่นก็ต้องระวังนะจ๊ะ! )ยิ่งทำนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อกมากขึ้นเท่านั้น

>ปัญหาสุขภาพบางอย่า เช่น โรคเบาหวาน โรคไขข้ออักเสบก็ยิ่งเป็นโรคนิ้วล็อกได้ง่ายขึ้น

> โรคนี้เป็นได้ง่ายหากเธอเป็น" ผู้หญิง "เพราะไม่ค่อยเจอหนุ่มๆ เป็นโรคนี้สักเท่าไหร่ค่ะ

วิธีรักษา ' โรคนิ้วล็อก '

รูปภาพ:http://pad3.whstatic.com/images/thumb/6/6d/Cure-Trigger-Finger-Step-9-Version-2.jpg/728px-Cure-Trigger-Finger-Step-9-Version-2.jpg

การรักษามีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาในการป่วยค่ะ มีคร่าวๆ ดังนี้รักษาด้วยยา> ยาต้านการอักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เช่น ไอบูพรอเฟ่น ( ibuprofen ) หรือนาพรอกเซ่น ( naproxen ) ยาเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการปวด เจ็บนิ้วได้ แต่อาจไม่ค่อยช่วยลดอาการบวมของปลอกหุ้มเอ็นนะจ๊ะรักษาด้วยการบำบัด> พักการใช้นิ้วมือ อย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ เลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้นิ้วกำซ้ำๆ บ่อยๆ หรือการใช้เครื่องจักรที่ต้องใช้นิ้วกดตลอดทั้งวัน

> ใช้น้ำแข็ง / ถุงน้ำร้อนประคบเรื่อยๆ ตลอดทั้งวัน หรือแช่มือในน้ำอุ่นหลังตื่นนอนก็ได้> เข้าเฝือกอ่อน บางรายอาจต้องใส่เผือกตอนนอน เพื่อให้นิ้วมือไม่งอมากเกินไป ติดต่อกันประมาณ 6 สัปดาห์ เพราะเฝือกที่นิ้วจะช่วยไม่ให้เส้นเอ็นทำงานหนัก ป้องกันไม่ให้นิ้วงอช่วงนอนหลับจนล็อกไม่รู้ตัว และทำให้เจ็บข้อต่อนิ้วมากเมื่อตื่นนอนค่ะ

> ทำกายบริหารนิ้ว หมอจะช่วยแนะนำท่ายืดกล้ามเนื้อแขน มือและนิ้วมืออย่างง่ายๆ ให้ทำ ซึ่งช่วยให้ขยับ เคลื่อนไหวนิ้วมือได้ง่ายขึ้น

รักษาด้วยการผ่าตัด *หากอาการรุนแรงมาก และทำตามวิธีข้างต้นไม่ได้ผล*> ฉีดสารสเตียรอยด์ที่บริเวณใกล้ๆ หรือฉีดเข้าไปในปลอกหุ้มเอ็น เพื่อลดอาการอักเสบ ทำให้เส้นเอ็นยืดหยุ่นอีกครั้ง เป็นการผ่าตัดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ใช้ได้ผลกับผู้ป่วยปกติที่ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง 90% ( ถ้าเป็นเบาหวานอาจได้ผลแค่ครึ่งเดียว และต้องฉีดซ้ำอีกรอบค่ะ )> การใช้อุปกรณ์ที่มีปลายแหลม เช่น ปลายเข็มฉีดยา หรือเครื่องมือเฉพาะทางการแพทย์แทงผ่านผิวหนังแล้วทำการสะกิด จะช่วยทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนที่ได้สะดวกขึ้น ซึ่งอาจทำโดยใช้แสงอัลตร้าซาวนด์ เพื่อให้เห็นปลายเข็มใต้ผิวหนัง ทำให้ไม่ทำลายเส้นเอ็นหรือรบกวนเนื้อเยื่อใกล้เคียง

> เข้าทำการผ่าตัดใหญ่  เพื่อตัดและปรับเส้นเอ็นให้ยืดหยุ่นสะดวกขึ้น ต้องเข้าห้องผ่าตัดและอาจเกิดผลข้างเคียงคือติดเชื้อได้ ใช้ในกรณีที่อาการรุนแรงจนขยับนิ้วไม่ได้แล้วค่ะ

=======================

จบลงไปแล้วนะคะกับการแนะนำเจ้าโรค " นิ้วล็อก " ให้สาวๆ ได้รู้จักกัน เริ่มกลัวกันบ้างแล้วหรือยัง =[]=! แม้โรคนี้จะไม่ใช่โรครุนแรงอย่างมะเร็ง หรือเกิดอาการช็อค ต้องเข้าโรงพยาบาลด่วนอะไรแบบนั้น แต่ก็เป็นภัยเงียบที่เป็นทีละเล็กทีละน้อย พอสะสมมากๆ เข้าก็ขยับนิ้วไม่ได้ จนถึงขั้นบวม ชาจนต้องผ่าตัดเลยนะเธอ และอวัยวะอย่างมือเนี่ย มันไม่มีมือสองให้เปลี่ยนเสียด้วยสิ -_-

ทางที่ดี เราควรลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ด้วยการถนอมมือของเรา ไม่หิ้วของหนักเกินไป หรือถ้าต้องแบกจริงๆ ให้ใช้ผ้าหุ้มรองไว้ ให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือแทนข้อต่อนิ้ว ถ้าต้องจับเครื่องมือใดๆ ให้ใส่ถุงมือเพื่อทุ่นแรง พักมือเป็นระยะๆ ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อนิ้วมือบ้าง สาวนักแชททั้งหลาย ก็พักเวลาหน้าคอม หน้ามือถือไปทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ล้างจาน เล่นกับเจ้าตูบ หรือดูหนังบ้างก็ได้ค่ะ เพื่อมือสวยๆ จะได้อยู่กับเราไปนานๆ ^^

สำหรับวันนี้ มอลล่าเค้กคงต้องลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่คราวหน้านะคะ บ๊ายบาย

=======================