สวัสดีค่ะสาวๆ วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกเรื่องโรคซึมเศร้ากันต่อ จากตอนที่แล้วเราพาไปรู้จักโรคซึมเศร้า เพราะโรคซึมเศร้าเป็นโรคใกล้ตัวกว่าที่คิด ใครจะไปรู้ว่าวันหนึ่ง คนใกล้ตัวคุณอาจจะเป็นก็ได้นะคะวันนี้เราเลยรวมวิธีดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและการปฏิบัติตัวให้ผู้ป่วยรู้สึกดี มีวิธีใดบ้างมาดูกัน

ชวนคุยบ้าง

รูปภาพ:http://www.masqueles.com/wp-content/uploads/2015/02/Girls-talking.jpg

หากว่าคนใกล้ตัวของเราป่วยโรคซึมเศร้า อาการที่ชัดเจนก็คือการซึม เนือย ไม่พูดไม่จา สิ่งที่เราควรทำก็คือปล่อยให้เขาได้อยู่คนเดียวบ้าง แต่อาจต้องคอยสังเกตอาการอยู่เงียบๆ แต่ไม่ควรที่จะปล่อยให้อยู่คนเดียวนานเกินไป

เราอาจจะสังเกตว่าคนใกล้ตัวของเรามีอาการที่ดีขึ้น ก็อาจจะชวนคุยในสิ่งที่เขามีความสนใจอยู่ หากเขาชอบดาราคนนี้ ก็อาจจะเปิดรูปให้ดู หรือคุยถึงหนังสือที่เขาเคยชอบฟังนั่นเองค่ะ ซึ่งเราควรดูด้วยว่าเขาเนี่ยมีความต้องการจะคุยในเรื่องยาวๆ หรือเปล่า หากว่าไม่มีอารมณ์คุยเรื่องยาวๆ ก็ควรพักไว้ก่อน

สิ่งที่สำคัญก็คือพยายามอย่ากระตุ้นหรือคาดหวังกับเขามากเกินไป เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกแย่หากว่าเขาไม่สามารถคุยกับตัวเราอย่างที่เราพยายามชวนคุยกับเขาค่ะ

หากผู้ป่วยพูดถึงการตาย

รูปภาพ:http://i.telegraph.co.uk/multimedia/archive/01978/girls-talking_1978668a.jpg

อาจจะมีบางครั้งที่ผู้ป่วยพูดถึงเรื่องการตาย หรือการสั่งเสีย ในทำนองที่ว่าหากไม่มีเขาแล้ว ให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ โดยปกติเราอาจจะรู้สึกใจเสียหรือใจแป้ว โดยบอกว่าอย่าพูดอย่างนี้นะ!! ซึ่งคำพูดนี้เป็นคำพูดที่ไม่ควรใช้ค่ะ

เพราะว่าเมื่อคนป่วยได้ยินเราพูดว่า “ อย่าพูดแบบนี้ ” เขาก็จะไม่เล่าอะไรให้เราฟังเลย แถมอาจจะเก็บปัญหาความกลัดกลุ้มใจไว้คนเดียว ทั้งที่ความจริงแล้วการพูดถึงเรื่องความตายอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เขาได้ระบายออกมา มันเป็นมุมมองหรือความคิดของคนป่วยในชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งการถามกลับจะทำให้คนป่วยได้เล่าถึงความคับข้องใจได้นั่นเอง

คำว่าอย่าคิดมาก คือคำต้องห้าม

รูปภาพ:https://www.inovasee.com/wp-content/uploads/2017/06/dimanfaatkan-teman.jpg

หากผู้ป่วยปรึกษาปัญหาชีวิต การพูดว่า

“ อย่าไปคิดมาก ”

หรือว่า

" อย่าทำแบบนี้ "

คนข้างหลังจะเดือดร้อน แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้ตั้งใจรับฟังปัญหาของเขาค่ะ เขาก็จะคิดโทษตัวเองว่าเขาเป็นเหลวไหล ไม่ได้เรื่อง อ่อนแอ ขี้แพ้ ซึ่งยิ่งผลักดันให้เขาเก็บปัญหานี้ไว้เงียบๆ คนเดียว หรือผู้ป่วยบางคนมักจะบอกว่าไม่กล้าเล่าให้คนรอบข้างฟังเพราะคิดว่าเหมือนกับเป็นการโยนปัญหาให้คนอื่นๆ

ซึ่งทางที่ดีเราซึ่งเป็นใกล้ชิดจะต้องพยายามทำหน้าที่เป็นผู้รับฟัง แต่ไม่ใช่ผู้ให้คำแนะนำ เพราะหากเราแนะนำไปแล้วผู้ป่วยทำตามไม่ได้ก็จะยิ่งรู้สึกเบื่อหน่ายมากขึ้นไปอีก

อย่าเป็นฝ่ายพูด จงเป็นฝ่ายฟัง

รูปภาพ:http://cdn.skim.gs/image/upload/v1456339377/msi/women-consoling-friend_udikoq.jpg

สิ่งที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องการมากที่สุดก็คือการมีคนที่รับฟังเขาได้อย่างแท้จริง ดังนั้นหากว่าใครที่มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ในครอบครัว คุณก็ควรกระตุ้นให้เขาได้เล่าปัญหาให้คุณได้ฟังบ้าง แต่หากว่าเขาเล่าปัญหาให้คุณฟังแล้ว ก็อย่าพยายามแนะนำหรือชี้ทางให้กับเขามากเกินไป ควรกระตุ้นให้อีกฝ่ายได้เล่าให้ได้มากที่สุด เพราะเมื่อเขาได้พูดคุยปัญหาหรือความทุกข์ที่อยู่ในใจ ปัญหาของเขา ความทุกข์ของเขาก็จะเบาบางลงนั่นเองค่ะ


อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่แต่ที่บ้าน

รูปภาพ:https://cdn.pixabay.com/photo/2015/05/21/09/56/desktop-776870_960_720.jpg

การพาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าออกไปเที่ยวเปลี่ยนบรรยากาศบ้างจะทำให้จิตใจของผู้ป่วยแจ่มใสและสดชื่นขึ้นได้ดีมาก เนื่องจากว่าการอยู่ในสภาวะแวดล้อมเดิมๆ อาจจะทำให้เขาจมและคิดอยู่แต่เรื่องที่เขากำลังรู้สึกเครียดหรือกดดัน ดังนั้นพาเขาออกมาเปลี่ยนบรรยากาศจะดีกว่า ไม่จำเป็นต้องไปเที่ยวไกลๆ แค่พาออกมานั่งร้านกาแฟเงียบๆ หรือชวนไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะ ได้เห็นต้นไม้ใบหญ้าเขียวๆ หรือเห็นผู้คนออกมาใช้ชีวิตประจำวัน ก็ทำให้ผู้ป่วยไม่จมกับตนเองค่ะ

หากว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการป่วยที่ดีขึ้นแล้ว เราอาจจะชวนเขามาทำกิจกรรมกลางแจ้ง อย่างเช่นการชวนไปออกกำลังกาย ไปลองทำกิจกรรมใหม่ๆ หรือชวนไปหาอะไรอร่อยๆ ทานก็ได้ หากทำได้แบบนี้หากรักษาร่วมกับการพบจิตแพทย์ด้วย รับรองได้ว่าอาการป่วยจะดีขึ้นแน่นอน

วันนี่ลาไปก่อนค่ะ บ๊ายบาย