สวัสดีค่าสาวซิสทุกคนน
สำหรับในบทความนี้เรากลับมาชวนเพื่อน ๆ เมาท์มอยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกันอีกแล้ว และในบทความนี้เราขอมาเปิดประเด็นเรื่องของโรคซึมเศร้ากันหน่อยดีกว่า
เนื่องจากว่าในสังคมและการใช้ชีวิตในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมหรืออะไรหลาย ๆ อย่างผลักดันให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ง่ายมาก
ยิ่งเดี๋ยวนี้มีข่าวเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าออกมารายวันเลยทีเดียว
ในบทความนี้เราเลยจะชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าให้มากขึ้นอีกหน่อย
ถ้าเกิดว่าคนใกล้ตัวของเรามีอาการนี้เหมือนกันล่ะ จะดูแลยังไง?
ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะในบทความนี้นอกจากเราจะชวนเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้ากันแล้ว
เรายังมีคำแนะนำสำหรับคนใกล้ชิดผู้ป่วยโรคนี้มากฝากกันด้วย
เอาเป็นว่าเราลองตามไปดูกันดีกว่าเรา
ควรจะปฏิบัติตัวหรือดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างไร
ถึงจะแฮปปี้ทั้งสองฝ่ายค่า
♡มาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้ากันสักหน่อย♡
ก่อนที่เราจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ เราคิดว่าเราควรจะทำความรู้จักโรคนี้ให้เข้าใจเพิ่มขึ้นกันอีกสักหน่อย
โรคซึมเศร้าคือโรคทางอารมณ์เกิดจากเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
ทั้งเรื่องของฮอร์โมนผิดปกติ กรรมพันธุ์ หรือในเรื่องของสภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์
ต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยพบเจอ
ซึ่งอาการของโรคซึมเศร้าจะ
ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างมาก อย่างเช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ สิ้นหวัง วิตกกังวล รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขกับชีวิต
และที่สำคัญคือผู้ป่วยจะไม่สามารถรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญได้ดีพอ

สิ่งที่เราควรปฎิบัติต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
1. อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย
อย่างที่บอกว่าอาการผู้ป่วยซึมเศร้าอย่างหนึ่งคือเขาไม่สามารถรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้ดีพอ เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราจะช่วยเหลือเขาได้นั่นก็คือ
การยอมรับและรับฟังปัญหาของเขาอย่างเข้าใจนั้นเองค่ะ ถ้าหากว่าเรายังมองว่าปัญหาของเขาเป็นเรื่องเล็กน้อย
เลยละเลยไม่ใส่ใจ แถมยังคอยบอกกับพวกเขาว่าคิดมากไปรึเปล่า
การกระทำแบบนี้อาจจะกลายเป็นการทำร้ายผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแบบไม่รู้ตัวก็ได้ค่ะ
2. อย่ามัวแต่คิดว่าต้องรักษาเขาให้หาย
จากการที่เราได้ศึกษาโรคนี้มาบ้าง เรารู้สึกว่าโรคนี้เป็นโรคทางอารมณ์ที่เซนซิทีฟอยู่พอสมควร การที่เราจะรักษาหรือเยียวยาจิตใจของใครสักคนหนึ่ง น่าจะต้องใช้เวลาอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นถ้าเกิดว่า
เราพยายามผลักดันให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นเหมือนเดิมโดยเร็วอาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกดดันและเครียดเกินไปทางที่ดีควรจะให้เวลาให้ผู้ป่วยได้ฟื้นฟูตัวเอง ไปพร้อมกับให้ความรักและความห่วงใยต่อผู้ป่วย
ให้มาก ๆ เท่านั้นเองค่ะ
3. อย่าบังคับให้ผู้ป่วยต้องมีความสุขอยู่ตลอดเวลา
ขนาดคนทั่วไปยังมีหลายอารมณ์ในวันเดียวเลยถูกมั้ยคะ
แล้วยิ่งเขาเป็นผู้ป่วยทางด้านอารมณ์อีกแบบนี้ แน่นอนว่าอารมณ์ของเขาต้องไม่คงที่อยู่แล้ว
การที่เราพยายามทำให้เขามีความสุข ทำตัวสดใสอยู่ตลอดเวลาอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้บ้าง
แต่บางทีก็อาจจะกลายเป็นการทำร้ายเขาทางอ้อมด้วยเหมือนกัน เพราะ
ถ้าเกิดว่าผู้ป่วยจัดการกับอารมณ์ของเขาไม่ได้ แล้วเรายิ่งพยายามทำให้เขามีความสุขมากขึ้นจะกลายเป็นว่าทำให้เขารู้สึกโดนบังคับหรือกำลังฝืนทำ
อยู่นั่นเองค่ะ

4. เปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูดบ้าง
สำหรับเราเรารู้สึกว่าสิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องการ ก็แค่ใครสักคนหนึ่งที่คอยรับฟังพวกเขาอย่างเข้าใจในวันที่พวกเขาไม่สามารถจัดการอารมณ์เมื่อเผชิญปัญหาเหล่านั้นได้
การที่เขาได้พูดหรือระบายออกมาบ้างอาจจะทำให้สบายใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นในบางครั้งที่พวกเขาระบายเรื่องเศร้าออกมาเราไม่ควรหลีกเลี่ยงหรือพยายามเปลี่ยนเพราะกลัวว่าพวกเขาจะดาวน์หรือหดหู่
แค่รับฟังเขาอย่างเข้าใจก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วค่ะ
5. พยายามเข้าใจความรู้สึกของพวกเขา
อย่างที่หลาย ๆ ข้อได้บอกเราเสมอว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษ
เพราะฉะนั้นเราไม่ควรที่จะเพิกเฉยต่อปัญหาของพวกเขาสิ่งที่ควรทำคือการตั้งใจรับฟังอย่างให้เกียรติในความคิดของเขา
ถึงแม้ว่าบางทีเหตุผลของเขามันอาจจะค่อนข้างไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไรก็ตาม
6. อย่าทิ้งพวกเขาไปไหน
อย่างที่เคยไปว่าโรคซึมเศร้าคือโรคที่เซนซิทีฟต่อความรู้สึกมาก ๆ ในบางครั้งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกดาวน์หรือหดหู่เมื่ออยู่คนเดียวและแน่นอนว่า
พวกเขาไม่สามารถจัดการกับปัญหาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ดีพอ ไม่แน่ว่าในตอนที่พวกเขาอยู่คนเดียวเขาอาจจะคิดหรือตัดสินใจทำอะไรที่ส่งผลร้ายต่อตัวเขาเองได้สิ่งที่เราควรทำก็คือคอยอยู่ข้าง ๆ พวกเขาเสมอ
พยายามทำให้พวกเขามั่นใจว่าเมื่อพวกเขาพบเจอกับปัญหาจะมีเราคอยรับฟังเสมอ

7. ชวนออกไปเปิดหูเปิดตาบ้าง
โดยปกติแล้ว
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะเก็บตัวเงียบ ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อารมณ์ของพวกเขาดาวน์ลงได้ด้วย เพราะฉะนั้นเราควรพยายามให้พวกเขาออกมาจากที่เดิม ๆ สิ่งเดิม ๆ
ด้วยการชวนทำออกไปทำกิจกรรมข้างนอกบ้าง เพื่อให้เขารู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ หรือภูมิใจเมื่อได้ทำในสิ่งที่เขาชอบ หรือได้ทำอะไรใหม่ ๆ ได้สำเร็จ
8. รักตัวเราเอง ใส่ใจตัวเราเองให้มาก ๆ
เราเคยได้ยินมาว่าก่อนจะรักคนอื่น เราต้องรักตัวเองให้เป็นก่อน เพราะถ้าเรายังรักตัวเองไม่มากพอ ยังไม่ได้รู้สึกภูมิใจในตัวเองในสิ่งที่ตัวเองเป็นหรือกระทำ
เราก็คงไม่สามารถเผื่อแผ่ความรักหรือพลังบวกส่งต่อไปให้ใครได้เหมือนกัน และ
การดูแลผู้ป่วยโรคซีมเศร้าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยบางทีเราอาจจะดาวน์ไปตามผู้ป่วยก็ได้ ดังนั้นสิ่งสำคัยคือเราควรดูแลจิตใจตัวเองให้แข็งแรงด้วยนั่นเองค่ะ
♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡ ♡
และนี่ก็เป็น
คำแนะนำส่วนหนึ่งสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ที่เราได้นำมาฝากเพื่อน ๆ ในบทความนี้ค่ะ
เราหวังว่าบทความนี้ของเราจะช่วยให้เพื่อน ๆ เข้าใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นอีกนิดนะคะ
และหลังจากที่เราได้อ่านคำแนะนำเหล่านี้มาแล้ว
เรารู้สึกว่าสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับการดูและผู้ป่วยเลยก็คือความรักและความเอาใจใส่นั่นเองค่ะ
คอยรับฟังเมื่อพวกเขาเกิดปัญหาที่ไม่สามารถจัดการเองได้
ทำให้เขารับรู้ว่าพวกเขาไม่ได้อยู่คนเดียว เราคิดว่านี่แหละคือสิ่งที่ดีที่สุดในการดูแลจิตใจของผู้ป่วยซึมเศร้าด้วยเหมือนกันค่า
และสำหรับวันนี้เราขอตัวลาไปก่อนดีกว่า แล้วเจอกันใหม่คราวหน้า บ้ายบายค่า
cr. 8 วิธีช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้ผล
https://bit.ly/33sipKu
cr. ทำความรู้จักโรคซึมเศร้า
https://www.honestdocs.co/most-common-psychiatric-disorders
cr. โรคซึมเศร้า
https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/depression