รูปภาพ:

1. กองทุนประกันสังคม

เป็นกองทุนที่เป็นหลักประกันแก่ผู้ประกันตนว่าจะได้รับประโยชน์ทดแทนเมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต รวมไปถึงกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงาน และชราภาพ โดยเงินสมทบนี้จะมีการจ่ายเข้ากองทุน 3 ส่วนด้วยกัน นั่นคือ จากลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล ซึ่งผลประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพนี้จะได้รับเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

● ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ : กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน

● ได้รับเงินบำนาญชราภาพ : กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนขึ้นไป

ตัวอย่าง :

กรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ( มนุษย์เงินเดือน ) ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยเดือนสุดท้ายสูงสุดที่ 15,000 บาท สมทบครบ 180 เดือน ( 15 ปี ) จะได้รับบำนาญเดือนละ 3,000 บาททุกเดือน และหากสมทบเกิน 180 เดือน ( 15 ปี ) ก็จะได้เงินบำนาญเพิ่มปีละ 225 บาท ( รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.sso.go.th/wpr/

)

2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ( PVD )เป็นกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้าง จัดตั้งขึ้นร่วมกันด้วยความสมัครใจ ส่งเสริมให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ ออกจากกงาน หรือทุพพลภาพ แหล่งเงินออมจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบ่งได้เป็น 4 ส่วนดังนี้

รูปภาพ:

โดยเงินจากกองทุนทั้ง 4 ส่วนนี้ ลูกจ้างจะได้รับเมื่อพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกกองทุน กรณีออกจากงานอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือพ้นสภาพจากเหตุทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต เงินจากกองทุนดังกล่าวจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีทั้งจำนวน แต่หากเราออกจากงานก่อนอายุครบ 55 ปี เพื่อนๆ ควรนำเงินที่ได้รับดังกล่าวไปลงทุนต่อใน RMF for PVD เพื่อเป็นแหล่งเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ และจะได้รับยกเว้นภาษี

3. กองทุนรวมส่งเสริมการออมระยะยาว ( SSF ) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( RMF )ทั้ง 2 กองนอกจากจะส่งเสริมการออมระยะยาว เป็นแหล่งเงินออมเพื่อการเกษียณแล้ว การลงทุนในกองทุน ทั้ง 2 กองนี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และยังได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนอีกด้วย

รูปภาพ:

4. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ( กบข. )

เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการมีลักษณะใกล้เคียงกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานเอกชน

ระกอบไปด้วยเงิน 4 ส่วนนั่นคือ เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย เงินประเดิม

โดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุนเพื่อขยายดอกผลตามนโยบายที่ประกาศไว้ และเมื่อข้าราชการซึ่งก็คือสมาชิกกองทุนสิ้นสุดสมาชิกภาพ เช่น เกษียณอายุราชการเมื่ออายุครบ 60 ปี ก็จะสามารถเลือกรับเงินกองทุน เป็นบำเหน็จหรือบำนาญไว้ใช้หลังเกษียณได้ ( รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.gpf.or.th/thai2019/Index/index.php?lang=th&size=n&pattern=n

)

5. กองทุนการออมแห่งชาติ ( กอช. )

คือ กองทุนการออมภาคสมัครใจที่รัฐจัดให้กับแรงงานนอกระบบที่มีอายุตั้งแต่ 15-60 ปี ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการบำเหน็จบำนาญอื่นของรัฐ หรือเป็นผู้ประกันตน ม.40 ทางเลือก 1 ได้มีเงินเก็บออมไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ โดยจะได้รับสิทธิเงินบำนาญรายเดือนขั้นต่ำ 600 บาท เมื่อส่งเงินออมสะสม 13,200 บาท/ปี อย่างน้อย 10 ปี ซึ่งหากส่งเงินสะสมในระยะเวลาที่มากกว่า 10 ปี เงินบำนาญรายเดือนก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ( รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.nsf.or.th/

)

จะเห็นนะคะว่า กองทุนที่เป็นแหล่งเงินออมเพื่อการเกษียณมีอยู่หลายกองให้เลือกลงทุนได้ ตามอาชีพหรือความสมัครใจแต่ไม่ว่าจะกองทุนไหนล้วนแต่ส่งเสริมให้เราเห็นความสำคัญของการมีเงินเก็บออมไว้ใช้หลังเกษียณ…อ่านบทความนี้จบแล้ว ก็อย่าลืมเลือกลงทุนในกองทุนเพื่อการเกษียณที่เหมาะกับตัวเราน้า หวังว่าเพื่อนๆ ทุกคนจะมีความสุขกับชีวิตเมื่อเกษียณทุกคนค่ะ

อ่านคอนเทนต์ทางด้านการเงิน การลงทุนดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญได้ที่ KKP Advice Center คลิกhttps://kkpadvicecenter.kiatnakin.co.th/th/home