สวัสดีค่ะชาวซิสสสส!สำหรับหัวข้อประจำวันที่เราจะมาเมาท์มอยกันในวันนี้ขอเอาใจวัยรุ่นยุคใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานกันสักหน่อยค่ะ เพราะช่วงนี้กระเเสคนรุ่นใหม่ไม่ทนงานมันมาเเรงเกินจะต้าน จนเกิดคำนึงที่เพื่อน ๆ น่าจะคุ้นหูกันอยู่ในช่วงนี้กับ“job hopper”ซึ่งทางเราในฐานนะที่เป็นคน GEN Y เลยอยากจะขออาสาพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักศัพท์ที่เขาตีตราว่าคนรุ่นใหม่กันสักหน่อย

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/a1/e7/ce/a1e7ceb88aa9d1ba62e637571c9a601c.jpg

“job hopper” คืออะไร ?

สำหรับคำศัพท์คำนี้ถ้าจะให้เเปลตรงตัวก็หมายความถึงการย้ายงานบ่อย กระโดดไปงานนั้นที งานนี้ที ซึ่งหากจะเเทนเป็นตัวบุคคลก็หมายถึงคนรุ่นใหม่เเบบเรา ๆที่ย้ายงานอยู่บ่อย ๆจนถูกมองว่าไม่มีความอดทน ไม่ทนงาน อะไรนิดนึงก็ลาออก ซึ่งเป็นความคิดกับคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมากเพราะทำไมเราต้องทนทำในสิ่งที่ไม่ชอบ หรือไม่ใช่ด้วย ?

ทำไม “job hopper” ถึงกลายมาเป็นกระเเสในโซเชียล ?

สำหรับประเด็นของเรื่องราวนี้ก็เกิดจากมี HR ในบริษัทเเห่งหนึ่งได้ออกมาระบายความในใจถึงผู้สมัครรายหนึ่งว่าในCV หรือ resume มีการย้ายงานบ่อยมาก จนทำให้ถูกปฎิเสทงานอยู่บ่อยครั้งเเละถูกเรียกว่าเป็น “job hopper” ซึ่งเเน่นอนว่าเมื่อมีประเด็นนี้เกิดขึ้น มุมมอง เเละความคิดที่เเตกต่างกันของคนเเต่ละเจนเนอเรชั่นก็เริ่มเกิดขึ้น

ซึ่งเมื่อพูดมาถึงตรงนี้ เเน่นอนว่าวัยรุ่นเเบบเราย่อมมองว่า “job hopper” ไม่ได้ผิดอะไร เป็นเพียงเพราะเราต้องการหาสิ่งที่ชอบ เเละอยากทำ เเต่ในทางกลับกันผู้ใหญ่บางคนมองว่านี่ข้อข้อเสียของ GEN Yครั้งนี้ทางเราจึงขอพูดทั้งสองเเง่มุมในประเด็นข้อดี-ข้อเสียของการเป็น “job hopper” กันบ้างค่ะ

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/e6/ee/ba/e6eeba3f2a9c4fb064172a4987b6c391.jpg

ข้อดีของการเป็น “job hopper”

ได้เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว :อย่างที่เราทราบกันค่ะเพื่อน ๆ ว่าการย้ายงาน หรือการหางานใหม่ ต้องเป็นงานที่ดีกว่าเดิม ซึ่งคำว่าดีในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเเค่ตัวงานเพียงอย่างเดียวนะคะ เเต่ตัวเงินก็ต้องดีกว่าเดิมด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่หากมีการย้ายงานผู้สมัครจะขอเงินเดินเพิ่มจากเดิมได้ถึง 20-30 % เลยทีเดียว

ได้ค้นหาตัวเอง ไม่เสียเวลาชีวิต :การใช้เวลาในรั้วมหาลัย 4 ปี อาจไม่ได้หมายความว่าคณะที่เราเลือกจะเป็นอาชีพเดียว เเละอาชีพสุดท้ายของเราไปตลอดชีวิต เพราะฉนั้นชีวิต คือ การเดินทางถ้าไม่ชอบก็เเค่ไป ถ้ารู้สึกว่าใช่ก็พยายามเรียนรู้ต่อไป

ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ :อย่างที่บอกว่า การได้ไปที่ใหม่ ๆ ตัวงานมันก็ต้องดีกว่าเดิม น่าพึงพอใจกว่าเดิม ซึ่งมันก็ทำให้เราได้มีเวลาในการเรียนรู้ทักษะ ๆ ใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/34/02/91/3402911a8f66dbb36bcdc2cddf3c2cb1.jpg

ข้อเสีย “job hopper”

บริษัทไม่ประทับใจ :ในทุกบริษัทมีการทำงานที่เป็นขั้นตอน รวมไปถึงการหาคนทำงานด้วยเช่นกันกว่าจะได้คนที่ถูกใจไม่ใช่เรื่องง่า เพราะฉนั้นถ้าเพื่อน ๆ เป็นผู้ที่ถูกเลือก เเต่สุดท้ายทำได้ไม่นานเเล้วลาออก มันก็เหมือนไปเพิ่มภาระงาน เเละความกดดันในการหาคนใหม่อีกเพราะถ้าหาใหม่เเล้วจะมันใจได้อย่างไรว่าจะไม่วนลูปเหมือนเดิม

เรียนรู้หลายอย่างเเต่ไม่ได้เก่งสักอย่าง :เเม้เราจะได้เรียนรู้เยอะ เเต่ถ้าเปลี่ยนงานบ่อย ๆ ก็ต้องยอมรับว่าทักษะเหล่านั้นอาจยังไม่ใช่ข้อมูลที่เพียงพอในการต่อยอด อาจต้องใช้เวลามากกว่าคนที่ทำงานมานาน

ถูกคาดหวัง :เพราะทุกครั้งที่ย้ายงานเงินเดือนเพิ่มขึ้นดังนั้นหากทำงานได้ไม่สมเงินเดือนที่มากตาม มันก็อาจจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่พอใจได้เหมือนกัน

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/3d/be/88/3dbe88b891c793a13b17503d563ad71a.jpg

เเละทั้งหมดนี้คือข้อมูลของ“job hopper”ที่เราอยากจะนำเสนอเพื่อน ๆ ในหลายมุมมอง เเต่อย่างไรก็ตาม เพื่อน ๆ มีสิทธิที่จะตัดสินใจได้เองหมดทุกอย่าง เเต่ก็อย่าลืมพิจารณารายละเอียด เเละมานั่งถามตัวเองให้ดีก่อน อย่าพึ่งวู่วามจะดีที่สุดน้า