" กลิ่น " เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาแต่มีอิทธิพลทั้งต่อตัวเราและคนรอบตัวบางครั้งการได้กลิ่นบางกลิ่นก็ทำให้เราหวนย้อนถึงความทรงจำในอดีต และบางกลิ่นก็ทำให้เรานึกถึงบางสถานที่แม้ตัวเราจะไม่ได้ไปเยือนได้เช่นกัน
และถ้าพูดถึงกลิ่น ก็คงจะขาด" น้ำมันหอมระเหย "ไปไม่ได้ ซึ่งเดี๋ยวนี้คนก็นิยมมีติดบ้านกันไว้ เพราะเค้าช่วยเพิ่มกลิ่นหอมในห้อง พร้อมทั้งขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ได้ดีสุดๆ แต่ไหน ใครบ้าง? ที่รู้ว่าจริงๆ แล้วน้ำมันหอมระเหย เค้าไม่ได้มีดีแค่ความหอมนะเธ้อออเพราะเค้าอัดแน่นด้วยคุณประโยชน์ แถมยังพลิกแพลงไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมได้อีกด้วยวันนี้ซิสพาไขความลับน้ำมันหอมระเหย กับประโยชน์ที่มีมากกว่าความหอม พร้อมแล้ว ตามซิสมา!
ชีวิตของพืชก็ไม่แตกต่ำงจำกคนเรำที่ต้องเจอมรสุมชีวิต และอุปสรรคต่ำง ๆ ในกำรด้ำรงชีวิต เช่น ต้องต่อสู้กับแมลง เชื้อโรค และศัตรูพืชต่ำงๆ ต้องเผชิญกับแสงแดดจัด ควำมแห้งแล้ง น้้ำท่วม มลพิษ ตลอดจนกำรขำดสำรอำหำร กำรถูกรุกรำนเบียดเบียนจำกพืชชนิดอื่น โดยที่พืชไม่อำจเคลื่อนย้ำยตัวเอง หนีไปได้ จึงต้องมีกำรสร้ำงสำรหอมระเหยที่มีสรรพคุณในกำรแก้ปัญหำ เช่น ฆ่ำเชื้อ ต้ำนอนุมูลอิสระ ปรับสมดุลธำตุ และอื่น ๆ อีกมำกมำย นอกจำกนี้พืชยังสร้ำงกลิ่นหอมเพื่อล่อแมลงให้มำช่วยผสมเกสรเพื่อ กำรขยำยพันธุ์ และใช้ในกำรสื่อสำรระหว่ำงพืชด้วยกันด้วย
⊹ ⊹ ⊹ ⊹ ⊹ ⊹ ⊹⊹ ⊹ ⊹
ใครบอกว่าเกิดเป็นพืชมันสบาย บอกเลยว่าไม่จริงค่ะสาว!
เพราะความจริงแล้วชีวิตของพืชก็ต้องเจออุปสรรคต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตไม่ต่างจากคนเลย ไม่ว่าจะต้องต่อสู้กับแมลง และศัตรูพืชต่างๆ ไหนจะความแห้งแล้ง ตลอดจนการขาดสารอาหาร และด้วยความที่พืชเค้าไม่สามาถเคลื่อนย้ายตัวเองไปไหนมาไหนได้ จึงต้องมีการสร้างสารหอมระเหยขึ้นมา
" น้ำมันหอมระเหย ( Essential Oils ) " คือน้ำมันที่พืชผลิตขึ้นตามธรรมชาติ
เก็บไว้ตามส่วนต่าง ๆ เช่น กลีบดอก ใบ เกสร รากหรือเปลือกของลำต้น
เพื่อป้องกันตัวเองจากแมลงที่เป็นศัตรู หรือบางพืชก็สร้างขึ้นมาไว้ล่อแมลงเพื่อช่วยในการผสมพันธุ์
เวลาที่ได้รับความร้อนอนุภาคเล็ก ๆ ของน้ำมันหอมเหล่านี้จะระเหยออกมาเป็นกลุ่มไอ ทำให้เราได้กลิ่นหอมอบอวลนั้น
พืช (ส่วนต่ำงๆ) แต่ละชนิดจะมีปริมำณของน้้ำมันหอมระเหยมำกน้อยแตกต่ำงกัน และกำรสกัดอำจต้องใช้วิธีที่แตกต่ำงกัน ปัจจัยหลำยที่เป็นตัวก้ำหนดรำคำของน้้ำมันหอมระเหยก็คือ ปริมำณวัตถุดิบที่ใช้ ควำมยำกง่ำยในกำรปลูก พื้นที่เพำะปลูก และอื่น ๆ • พืชที่สำมำรถสกัดน้้ำมันหอมระเหยออกมำได้ง่ำยและมีปริมำณมำก ก็จะมีรำคำถูก เช่น ส้ม ตะไคร้ ยูคำลิปตัส เปปเปอร์มินท์ จะมีรำคำอยู่ที่ประมำณลิตรละ ไม่เกิน 2,000-8,000 บำท • พืชที่มีปริมำณน้อยและต้องใช้วัตถุดิบปริมำณมำกในกำรสกัดน้ำน้้ำมันหอมระเหยออกมำ ก็จะมีรำคำแพงมำกขึ้นไปตำมล้ำดับจนอำจจะถึงหลักแสนบำท เช่น กุหลำบ คำโมไมล์ มะลิ ลีลำวดี ดอกบัว ไม้จันทน์ กฤษณำ “น ้ำมันกุหลำบ 1 กิโลกรัม จะต้องใช้กลีบกุหลำบถึง 4-5 หมื่นกิโลกรัม”
น้ำมันหอมระเหย ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น เพราะมีประโยชน์หลายอย่าง
1. ด้านอาหาร (Food) น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงถูกนิยมน้ำมาเป็นสารกันเสียทั้งในผัก ธัญพืช ซีเรียล
2. ด้านการเกษตร (Agriculture)น้ำมันหอมระเหยนิยมนำมาใช้ประโยชน์ใน ด้านของการเกษตร คือ ใช้เป็นยาต้านแมลง เชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย
3. ด้านเครื่องสำอาง (Cosmetics) น้ำมันหอมระเหยนิยมนำมาใช้เพื่อเป็น สารกันเสียตามธรรมชาติในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งมีประสิทธิภาพช่วยลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ และยังนิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมในสกินแคร์ เพื่อให้ความชุ่มชื่นและลดเลือนริ้วรอย
4. ด้านการรักษา (Treatment) นอกจำกเรื่องของความหอมแล้ว น้ำมันหอมระเหย ยังถูกนำมาใช้ในการรักษาได้สารพัดอาการป่วย ตามคุณสมบัติของพืชนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันหอมระเหยคาโมมายล์ มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ต้านการแพ้ รักษาและลดอาการคัดจมูก น้ำมันหอมระเหยจากส้มหวาน มีฤทธิ์ในการฆ่ำเชื้อ ใช้เป็นยากล่อมประสาท ยาขับลม แก้ท้องอืด
≡ ชนิดการสกัดน้ำมันหอมระเหย ≡
ซึ่งมนุษย์เราก็หัวหมอ ขอหยิบเอาน้ำมันหอมระเหยจากพืชมาลองใช้บ้าง และวิธีสกัดให้ได้น้ำมันหอมระเหยก็จะมีหลากหลายรูปแบบด้วยกันเลย หลักๆ จะประกอบไปด้วย
➊กลั่นด้วยไอน้ำ➋สกัดโดยใช้ไขมัน➌สกัดด้วยตัวทำละลาย➍ใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวภายใต้ความดันสูง
น้ำมันหอมระเหยถูกนำมาใช้ในเชิงจิตบำบัด โดยหลักการก็คือการที่เราสูดดมกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยเข้าไป กลิ่นหอมจะส่งผลต่อระบบประสาท ส่งสัญญาณไปยังสมอง หลั่งฮอร์โมนต่างๆ ออกมา ผลที่ได้คือกลิ่นหอมช่วย กระตุ้นการทำงานของสมองบางอย่างที่แตกต่างออกไป บางกลิ่นช่วยให้รู้สึกสงบ บ้างรู้สึกผ่อนคลายความเครียดหรือกระปรี้กระเปร่า บรรเทาความวิตกกังวล เป็นต้น
≡ ความแตกต่างระหว่างน้ำมันหอมระเหยกับน้ำหอม ≡
น้ำมันหอมระเหยนำมาหยดลงเครื่องพ่นอโรม่าเพื่อสร้างบรรยากาศหอม ผ่อนคลาย เป็นที่ยมนำมาใช้สถานที่ต่างๆ เช่น ในบ้าน ห้องทำงาน ห้องพักผู้ป่วยในโรงพยาบาล ห้องพักในโรงแรม หรือสปา
ถึงจะมีกลิ่นเหมือนกันแต่จริงๆ แล้วต่าง!ใช่แล้วค่ะ เรากำลังพูดถึงน้ำมันหอมระเหยกับน้ำหอมกันอยู่ เพราะจริงๆ แล้วเค้ามีคุณบัติที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และหลายๆ คนก็อาจจะยังแยกไม่ออกหรือไม่เคยรู้เลย เอาเป็นว่าเดี๋ยวเรามาลองแยกความแตกต่างของทั้งสองตัวไปพร้อมๆ กันเลย
★ น้ำมันหอมระเหย ( Essential oil )เจ้าตัวนี้เค้าจะได้มาจากส่วนต่างๆ ของพืช และจะมีกลิ่นหอมธรรมชาติตามพืชชนิดนั้นๆ เลย จุดเด่นของเค้าก็คือ การมีฤทธิ์ทางชีวภาพ หรือเรียกว่าการมีคุณสมบัติที่ดีต่อร่างกาย อาจจะเป็นการช่วยผ่อนคลาย หรือบางชนิดอย่างคาโมมายล์ก็ช่วยลดการอักเสบได้ แต่ข้อเสียจะเป็นการที่เค้าระเหยค่อนข้างง่ายเลยอาจจะติดทนน้อยกว่าน้ำหอม
★ น้ำหอม ( Fragrance )ตัวนี้ส่วนใหญ่จะเกิดมาจากการสังเคราะห์จากเคมี และเค้ามีกลิ่นหอมที่ได้จากการปรุงแต่งโดยเคมีนั่นเอง ข้อดีคือติดทนนาน มีกลิ่นค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นดอกไม้ ผลไม้ วู้ดดี้ เป็นต้น แต่จุดด้อยคือจะให้แค่ความหอมเท่านั้น ให้ความจรรโลงใจ แต่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรต่อร่างกายอย่างการใช้น้ำมันหอมมีระเหย
1.2 ใช้กับเตาต้ม หรือเตาอโรม่าแบบจุดเทียน
มี 2 แบบด้วยกันคือแบบใช้ความร้อนจากหลอดไฟฟ้า และจากเทียนไลท์ หลักการของเตาแบบนี้ก็คือ ใช้ความร้อนทำให้น้ำมันหอมระเหยลอยตัวขึ้นไปกระจายตัวในอากาศ ส่งกลิ่นหอมได้ใน เวลาอันรวดเร็วเลยค่ะ เตาต้มหรือเตาอโรม่าด้วยขนาดที่เล็กกว่า และใช้ความร้อนในการระเหย จึงส่งกลิ่นหอมนานน้อยกว่าเครื่องกระจากกลิ่น หรือเครื่องพ่นไอน้ำนั่นเองค่ะ
≡ น้ำมันหอมระเหย ทำอะไรได้บ้าง? ≡
นอกจากน้ำมันหอมระเหยก็มีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ อีกมากมายเลยค่ะ เค้าเลยถูกนำมาดัดแปลงใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมและได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ตัวอย่างเช่น
➊เครื่องสำอาง ( Cosmetics )น้ำมันหอมระเหยเค้าจะช่วยลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ได้จึงนิยมนำมาใช้เพื่อเป็นสารกันเสียตามธรรมชาติในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และยังนิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมในสกินแคร์ เพื่อให้ความชุ่มชื้น
➋อาหาร ( Food )น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย จึงถูกนิยมนำมาใช้เป็นสารกันเสีย
➌การเกษตร ( Agriculture )นอกจากนั้นน้ำมันหอมระเหยก็ยังนิยมนำมาใช้เป็นยาต้านแมลง เชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย
➍การรักษา ( Treatment )มักนิยมนำมาใช้ในเชิงของการบำบัดด้านอารมณ์และจิตใจเป็นส่วนใหญ่
≡ กลิ่นช่วยบำบัดความเครียดยังไง? ≡
ซิสขออธิบายเพิ่มเติมจากที่เราพูดถึงกันไปว่าน้ำมันหอมระเหยช่วยในการบำบัดอารมณและจิตใจกันซักนิด หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า
" อโรมาเธอราพี ( Aromatherapy ) "
กันมาบ้าง ซึ่งมันแปลว่า
การบำบัดด้วยกลิ่นจากพืชที่มีกลิ่นหอม
นั่นเอง แล้วทุกคนคิดว่ากลิ่นหอมช่วยได้จริงไหม? หรือจริงๆ แล้วเป็นเราที่คิดไปเอง? ซิสพร้อมไขความลับให้แล้วจ้าว่า
เป็นเรื่องจริง!
เพราะน้ำมันหอมระเหยถูกนำมาใช้ในเชิงจิตบำบัด โดยหลักการก็คือ
➊การที่เราสูดดมกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยเข้าไป โมเลกุลของกลิ่นหอมเข้าสู่ร่างกายผ่านรูจมูก
➋กระตุ้นเซลล์ประสาทที่รับรู้ด้านกลิ่นในโพรงจมูก
➌ส่งไปยังสมองส่วนที่ศูนย์ควบคุมการเรียนรู้ ความจำ อารมณ์
➍กระตุ้นให้สั่งการไปที่ระบบต่อมไร้ท่อ เพื่อหลั่งสารที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึก เช่น ปล่อยฮอร์โมนเอนโดฟิน ( Endorphins ), เอนเคฟาลิน ( Enkephalin ), เซโรโทนิน ( Serotonin ) ทำให้เรารู้สึกสงบ เยือกเย็น ผ่อนคลาย
สรุปว่าผลที่ได้คือน้ำมันหอมระเหยจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองกลิ่นหอมบางกลิ่นก็ช่วยทำให้เรารู้สึกสงบ บ้างก็รู้สึกผ่อนคลายความเครียดหรือกระปรี้กระเปร่า บรรเทาความวิตกกังวลเป็นต้น
≡ วิธีใช้น้ำมันหอมระเหย ≡
สำหรับใครที่ต้องการความหอมไปพร้อมๆ กับการผ่อนคลายและการดูแลร่างกาย ก็ลองนำน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบไปลองทำตาม
ส่วนวิธียอดนิยมในการใช้น้ำมันหอมระเหยก็คือ นำมาหยดลงเครื่องพ่นอโรมาแบบต่างๆ เพื่อสร้างบรรยากาศหอม ผ่อนคลาย ในสถานที่ต่างๆเช่น ในบ้าน ห้องทำงาน ห้องพักในโรงแรม หรือสปา หรือใครที่มีอาการนอนไม่หลับหรือหลับยาก ก็ลองวิธีนี้ได้เอาน้ำมันหอมระเหยมาหยดใส่เครื่องพ่นไอน้ำ ตั้งไว้บริเวณหัวนอนก็ช่วยให้เราผ่อนคลาย หลับได้ง่ายขึ้นได้เหมือนกันน้า
✿ ใช้กับเครื่องกระจายกลิ่น หรือเครื่องพ่นไอน้ำ ( Humidifier )วิธีใช้ก็แค่หยดน้ำมันหอมระเหย ลงในน้ำเปล่าบนเครื่อง เราสามารถปรับสัดส่วนของน้ำมันหอมระเหยได้ตามความต้องการเลยค่ะ จากนั้นเปิดเครื่องกระจายกลิ่น ละอองของน้ำมันหอมระเหยจะแตกตัวเป็นละอองขนาดเล็กลอยขึ้นไปในอากาศ และส่งกลิ่นหอมอบอวล
✿ ใช้กับเตาต้ม หรือเตาอโรมาแบบจุดเทียนวิธีใช้แบบเตาก็คือการใช้ความร้อนทำให้น้ำมันหอมระเหยลอยตัวขึ้นไปกระจายตัวในอากาศ ส่งกลิ่นหอม แต่เตาต้มหรือเตาอโรมาเค้าจะขนาดเล็กกว่าเครื่องพ่นไอน้ำ และใช้ความร้อนในการระเหย จึงอาจจะส่งกลิ่นหอมนานน้อยกว่า และการกระจายตัวของกลิ่นหอมในอากาศก็อาจจะไม่มากเท่านั่นเองค่ะ
∩――――∩ || ∧ ヘ || || (* ´ ー`) ZZzz |ノ^⌒⌒づ` ̄ \ ( ノ ⌒ ヽ \ \ || ̄ ̄ ̄ ̄ ̄|| \,ノ||
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⢀⢀⡀⠀⢀⣠⣤⣤⣤⣀⡀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀ ⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⣀⣤⠶⠚⠋⡿⠟⠋⠉⠉⠉⠉⠉⠉⠉⠛⠳⢶⣤⡀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀ ⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⢀⣴⠞⠋⠀⢴⡄⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠈⠻⣏⠛⠳⢦⣄⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀ ⠀⠀⠀⠀⠀⢀⣀⣤⠶⠛⠁⠀⠀⢀⡾⠑⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠑⠀⠀⠀⠙⠻⣦⡀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀ ⠀⣀⣤⡴⠞⠛⠉⠀⠀⠀⠀⠀⢠⡿⠁⠀⣠⣤⣄⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⢸⡀⠀⠀⠀⠈⠻⣦⡀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀ ⣠⡟⠁⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⢸⡁⠀⠤⣍⠉⠉⠀⣤⣀⣤⡀⢀⠀⠀⠀⠶⠷⣦⠀⠀⠈⣧⠀⠀⠀⠀⠀⠈⠻⣦⡀⠀⠀⠀⠀⠀ ⣿⠁⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⣤⡾⣷⡀⠀⠙⠀⠀⢀⣬⣿⣿⡿⣿⡁⠀⠀⠀⡀⠀⠠⢤⠀⣿⡀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠈⠛⢷⣄⠀⠀⠀ ⠸⣆⠀⠀⠀⠀⠀⠀⣀⣤⠾⠋⠂⠊⠛⠶⢦⣴⠾⣿⡚⠷⣼⣿⠟⣹⣦⣀⠀⠑⠀⠀⢀⣴⠟⣧⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠙⢷⣆⠀ ⠀⠙⠻⠶⠤⠴⠾⠛⠋⠀⠀⠀⠀⠀⠀⢀⣾⢁⣴⣟⠻⢦⡤⠼⢿⡏⠉⠻⣷⢶⣟⠛⣏⣁⡀⠙⣧⡀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⢻⠄ ⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠻⣿⠛⠻⢟⣛⣛⣶⣾⢿⣄⠀⠘⠋⢿⡟⠋⠉⠛⢶⣌⠻⢦⣀⠀⠀⠀⠀⠀⢀⣴⡟⠀ ⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⢰⡏⢠⣀⡀⠀⢉⣄⡀⠀⠈⠀⠀⠀⠘⣷⠀⢠⡄⠀⢹⡆⠀⠉⠛⠛⠲⠒⠚⠛⠁⠀⠀ ⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⣿⡁⠾⠏⢻⣤⡟⠉⢻⣆⠀⠀⠀⠀⠀⣿⠛⠛⠁⠀⣼⠇⠂⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀ ⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠹⣷⠀⠀⢸⣿⠀⠀⠀⢹⡀⠀⠀⢀⣴⠿⢦⣤⣴⠾⠃⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀ ⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠙⠻⠶⠟⠻⠷⠶⠶⠿⠷⠾⠚⠋⠁⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
พิเศษสุดๆ ซิสแอบเอาทริควิธีใช้น้ำมันหอมระเหยเพิ่มเติมมาแจกให้ด้วย
♡ ใช้นวดผ่อนคลาย: เลือกใช้น้ำมันหอมระเหยมานวดลงบนผิวหลังอาบน้ำ จะช่วยบำรุงให้ผิวชุ่มชื้น ไม่แห้งกร้าน
♡ ใช้ผสมกับสครับ: น้ำมันหอมระเหยสามารถนำมาผสมกับสครับ เพื่อช่วยให้มีกลิ่นหอมติดผิว และช่วยเพิ่มการบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นดูสุขภาพดีได้ด้วยเหมือนกัน
⊹ ⊹ ⊹ ⊹ ⊹ ⊹ ⊹⊹ ⊹ ⊹
ในวันที่เรารู้สึกเหนื่อยจากการเรียน อ่อนล้าจากการทำงานหนัก หรือมีความเครียดสะสมการที่ได้สูดกลิ่นหอมๆ ของน้ำมันหอมอาจไม่ใช่วิธีรักษาความเครียดหรือความอ่อนล้าได้หายขาด แต่ก็สามารถช่วยบรรเทา ทำให้เรารู้สึกสงบ สบายใจและผ่อนคลายขึ้นได้เหมือนกันสำหรับใครที่กำลังเผชิญกับความเหนื่อยล้าอยู่ล่ะก็ ลองหาน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบมาลองใช้กันได้น้า
⊹ ⊹ ⊹ ⊹ ⊹ ⊹ ⊹⊹ ⊹ ⊹
:kidasindahouse
Writer:
Cr. Essential Oil
https://www.sciencedirect.com/topics/agricultural-and-biological-sciences/essential-oil
Cr. Essential Oils
https://www.niehs.nih.gov/health/topics/agents/essential-oils/index.cfm
Cr. What Are Essential Oils, and Do They Work?
https://www.healthline.com/nutrition/what-are-essential-oils
Cr. Aromatherapy: Do Essential Oils Really Work?
https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/aromatherapy-do-essential-oils-really-work
Cr. “น้ำมันหอมระเหย” ความหอม ที่พรั่งพร้อมคุณประโยชน์
http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/research/poster/kps65/kukps2565-03.pdf