หน้าฝนเป็นช่วงฤดูกาลที่เรียกได้ว่าเยี่ยมยอด ยอดเยี่ยมสุดๆ เพราะเป็นช่วงที่ทั้งเย็นสบาย ทำให้อยากนอนฟังเสียงฝนเพลินๆ ไป แต่นั้นก็ไม่ใช่กับทุกคนที่จะชอบเพราะต่างคนต่างต้องใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป หากใครที่ได้มีโอกาสใช้เวลานอนในวันที่ฝนตกคือลาภอันประเสริฐแต่หน้าฝนนั้นก็ไม่ได้พัดพานำเอาแค่สายฝนและความชุ่มฉ่ำมาเพียงเท่านั้นยังหอบเอาโรคภัยมาฝากกับทุกคนอีกด้วยหากเราไม่ระวังตัว เพราะช่วงหน้าฝนนั้นจะค่อนข้างมีอากาศที่แปรปรวนมาก เดี๋ยวร้อน ผ่านไปสักพักก็หนาว จึงอาจจะทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบจากสิ่งนั้นทันที โดยเฉพาะกับโรคภูมิแพ้ที่มักพบกันได้อย่างทั่วหลาย ฉะนั้นเมื่อรู้แล้วเรามาหาวิธีเตรียมพร้อมเพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือกับโรคภูมิแพ้กันดีกว่า
ภูมิแพ้ หนึ่งในอาการที่มากับสายฝน รวมเรื่องที่ต้องรู้และวิธีรับมือกับสิ่งนี้
ศ.พญ.ดร.อรพรรณ ได้กล่าวไว้ว่า ในหน้าฝนมีสารที่ก่อภูมิแพ้เยอะมากเนื่องจากความชื้นโดยเฉพาะพวกไรฝุ่นที่ชื่นชอบอากาศชื้น นอกจากนี้ยังมีเชื้อราหรือสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน เช่น ฝุ่นที่อยู่เกาะตามเครื่องใช้ในบ้าน และการติดเชื้อไวรัสของคนที่เป็นภูมิแพ้สามารถติดและเป็นหวัดได้ง่าย ดังนั้นในหน้าฝนสิ่งที่เราทุกคนมักจะเจอในคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ คืออาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจกำเริบเช่น อากาศชื้นอาจทำให้มีอาการจาม คัดจมูก มีน้ำมูกหรือว่าหากเราได้รับเอาฝุ่นเชื้อราในบ้านก็จะเกิดอาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจได้ บางคนก็จะมีอาการหอบง่าย ไอง่ายในตอนกลางคืน บางคนพอฝนตกก็จะมีน้ำมูก คัดจมูก รวมไปถึงอาการนอนกรนดังนั้นเราต้องระวังไม่ให้เกิดอาการภูมิแพ้กำเริบด้วย อาจจะเป็นการใช้ยาอย่างต่อเนื่องทุกวัน ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ สำหรับคนที่ไม่เคยเป็นภูมิแพ้ ศ.พญ.ดร.อรพรรณ กล่าวอีกว่า สามารถมีโอกาสที่จะเป็นได้เพราะโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้แล้ว พวกสภาพแวดล้อมเองก็มีผลอย่างมากต่อการเป็นโรคภูมิแพ้เช่นกัน
ภูมิแพ้ กับสาเหตุของการเกิดอาการ
เส้นขนสัตว์เลี้ยงจะมีช่วงที่สัตว์เลี้ยงนั้นมีการผลัดขน โดยเฉพาะช่วงอากาศที่กำลังเปลี่ยนยิ่งทำให้ขนหลุดร่วงมากกว่าปกติ ส่งผลให้อาจเกิดเป็นภูมิแพ้ได้ ซึ่งที่จริงแล้วสาเหตุของการแพ้ขนสัตว์ไม่ได้มาจากเส้นขน แต่มาจากโปรตีนในน้ำลายและสะเก็ดรังแคที่เกาะติดเส้นขน จะอยู่ในช่วงที่สุนัขหรือแมวสะบัดขน ก็ทำให้สารก่อภูมิแพ้ลอยกระจายไปในอากาศ และติดตามพื้นผิวสัมผัสได้
ละอองเกสรเป็นสิ่งที่ลอยมากับฝน ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าละอองเกสรของพืชมักจะหายไปในเวลาที่ฝนตกแต่ความจริงแล้วนั้น Dr.Stanley Schwartz แพทย์แผนกแห่งหน่วยโรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ University at Buffalo ในนิวยอร์ก ได้ออกมาอธิบายว่า ละอองเกสรสามารถแตกตัวได้เมื่อกระทบกับเม็ดฝน และกระจายไปในอากาศเมื่อฝนหยุดตก นอกจากนี้แพทย์ด้านภูมิแพ้ยังกล่าวว่าละอองพืชเป็นอันตรายสำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืบด้วย
ภูมิแพ้ จะแบ่งตามระบบอาการ
โรคภูมิแพ้ หากแบ่งตามระบบที่มีอาการ จะสามารถแบ่งได้อย่างง่าย 5 ประเภท คือ1. ภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจเช่น อาการจาม น้ำมูก คัดจมูก ไอเรื้อรัง หายใจหอบ และเหนื่อยง่าย2. ภูมิแพ้ทางผิวหนังเช่น มีผื่นแดง คัน และผิวแห้ง3. ภูมิที่ขึ้นตาเช่น อาการตาแดง คันตา และน้ำตาไหล4. ภูมิแพ้ในระบบทางเดินอาหารเช่น อาการท้องเสียง่ายเวลาแพ้อาหารหรืออาเจียน และถ่ายเป็นเลือด5. ภูมิแพ้ในหลายระบบเช่น การมีอาการภูมิแพ้ทั้งผิวหนัง ทั้งทางเดินหายใจ เป็นต้น
ภูมิแพ้หน้าฝน กับเช็กลิสต์สังเกตอาการ
ทั่วไปคนที่เป็นโรคภูมิแพ้จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือช่วงที่มีฝนตกอาการมักจะคล้ายกับภูมิแพ้ทั่วไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เมื่อเราอยู่ในจุดที่เสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้ โดยอาการของโรคภูมิแพ้หน้าฝนจำแนกเป็น 2 ระดับดังนี้อาการทั่วไป• คัดจมูก น้ำมูกไหล• ไอ จาม
ภูมิแพ้หน้าฝน มัดรวมวิธีการป้องกัน
• ปิดประตูและหน้าต่างขณะฝนตกเพื่อป้องกันละอองเกสร สปอร์เชื้อรา และฝุ่นที่มากับลมที่ลอยเข้ามาในบ้าน• ตรวจเช็กพยากรณ์อากาศ และพยากรณ์ดัชนีคุณภาพอากาศ(Air Quality Index) ซึ่งนอกจากค่าฝุ่น PM 2.5 ยังสามารถที่จะตรวจเช็กอุณหภูมิและความชื้นได้ สามารถเช็กผ่านแอปพลิเคชันเพื่อติดตามการอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ หรือล่วงหน้าได้• หมั่นทำความสะอาดบ้านโซฟา พรม โดยเฉพาะบริเวณใต้เตียง ใต้ตู้ และใต้ผ้าม่าน ที่เป็นแหล่งสะสมของพวกฝุ่นละออง รวมไปถึงซักเครื่องนอนให้สะอาดอยู่เสมอ• ตรวจสอบคุณภาพอากาศในห้องหรือในบ้านเป็นประจำอาจจะใช้เป็นเครื่องวัดคุณภาพอากาศ ที่มีความเสถียรและแม่นยำ โดยสามารถวัดได้ทั้งปริมาณฝุ่น อุณหภูมิ ความชื้น รวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเตรียมรับมือหรือป้องกันสภาพอากาศที่สามารถเป็นภัยต่อสุขภาพได้• รักษาระดับความชื้นภายในบ้านให้อยู่ในช่วง 30-50% อย่างเหมาะสม• สามารถนำเครื่องฟอกอากาศมาติดไว้ในบริเวณห้องของเราได้เพื่อนำมากรองฝุ่นที่จะก่อตัวเป็นสารก่อภูมิแพ้ในหน้าฝน เช่น ละอองเกสร ไรฝุ่น สปอร์เชื้อรา สะเก็ดรังแคจากสัตว์ รวมถึงไวรัส เพื่อให้บ้านมีความปลอดภัยขึ้น
ภูมิแพ้ เรื้อรัง สู่โรคหอบหืด
เราอาจจะประมาทกับสิ่งที่เรียกว่า " ภูมิแพ้หน้าฝน "เพราะคิดว่าประเทศไทยมีช่วงอาการร้อนยาวนานมากกว่าหน้าฝน แต่ในความเป็นจริงนั้น แต่ละปีหน้าฝนในประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยมากถึง 200 วัน หรือเกินครึ่งปี ด้วยสาเหตุนี้อาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ขึ้นมาได้ง่าย หากว่าเรานั้นไม่รีบจัดการกับตัวปัญหาหรือต้นตอที่ช่วยลดอาการการเป็นภูมิแพ้ที่ลอยอยู่ในอาการได้ ก็อาจจะทำให้เราเป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรังได้ในอนาคต ซึ่งจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจพร้อมที่เราต้องหาทางรับมือมากขึ้นไปอีก เมื่อต้องเผชิญโรคภูมิแพ้ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ก็สามารถที่จะพัฒนาไปเป็นโรคหอบหืดหรือไซนัสอักเสบ ซึ่งเป็นอาการที่ค่อนข้างจะรุนแรงมากกว่าภูมิแพ้ปกติ ทั้งทำให้หลอดลมเกร็ง มีเสมหะมาก หายใจมีเสียงวี้ด ไอหนักในช่วงกลางคืน และเหนื่อยหอบง่าย ถ้าเรานั้นไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กที่ระบบทางเดินหายใจยังทำงานไม่สมบูรณ์ พ่อแม่ที่มีลูกมีความเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นจากสภาพแวดล้อม ลักษณะการใช้ชีวิต หรือพันธุกรรม จึงควรรีบหาวิธีป้องกันตั้งแต่ต้นเพื่อไม่ให้เด็กเล็กเผชิญกับภูมิแพ้ นอกจากนี้นั้นภูมิแพ้ยังส่งผลต่อชีวิตประจำวันด้วย ทั้งยังรวมไปถึงส่งผลต่อการเรียน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือโรงเรียนนั่นเอง
ต้องรีบหาวิธีรับมือเพื่อดูแลสุขภาพตัวเองกันโดยด่วน! เพราะฝนนั้นเรียกได้ว่าทั้งดีและมีสิ่งไม่ดีตามมาด้วย สิ่งที่สำคัญที่ควรพึงกระทำเลยคือการกำจัดต้นตอของปัญหาอย่างพวกไรฝุ่น เชื้อรา ละอองเกสร หรืออาจจะเป็นขนสัตว์ พวกนี้ก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เรานั้นเกิดเป็นอาการภูมิแพ้ในหน้าฝนขึ้นมาได้ ฉะนั้นเราควรที่จะหลีกเลี่ยงและรับมือเตรียมพร้อมให้ดีที่สุด
Cr. ภูมิแพ้หน้าฝน ป้องกันได้อย่างไร?
https://iqualityair.com/allergies-worsen-during-rainny-season/
Cr. เรื่องควรรู้กับ ' ภูมิแพ้ ' ที่มาพร้อมหน้าฝน
https://tu.ac.th/thammasat-280965-med-expert-allergy-rainy-season
บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด
โรคที่มาพร้อมหน้าฝน ภัยเงียบที่ทุกคนต้องระวัง
https://sistacafe.com/summaries/95555
ทอนซิลอักเสบ เกิดจากอะไร? ชวนรู้วิธีรักษาและจะป้องกันยังไงได้บ้าง
https://sistacafe.com/summaries/95197
โรคมือเท้าปาก ภัยใกล้ตัวที่ต้องระวังในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร รักษายังไงได้บ้าง?
https://sistacafe.com/summaries/95144