1. SistaCafe
  2. ร้อนจนซึมเศร้ามีจริงเหรอ!? ชวนมารู้จัก " Summer Depression " คืออะไร อันตรายแค่ไหน!?

มีใครรู้สึกว่าร่างกายเหนื่อย ๆ ไม่อยากจะทำอะไรเลยบ้างไหมคะ?ช่วงนี้เปิดโซเชียลไปทางไหน ก็เจอคนเป็นเหมือนกันหมดเลยนะคะ คือรู้สึกเพลีย ๆ เหนื่อย ๆ ไม่มีแรงจะทำอะไร รู้สึกว่าหมดแรง บางคนก็รู้สึกแย่ หดหู่เพิ่มเข้าไปด้วยทุกอย่างดูห่อเหี่ยวและแย่ลงไปหมดเลย จนอดสงสัยไม่ได้ว่ามันเป็นเพราะอะไร และแล้วเราก็ได้เจอคำตอบค่ะ มันคือ" S.A.D ( Seasonal Affective Disorder ) หรือโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล "นั่นเอง ซึ่งช่วงนี้ก็เป็นช่วงหน้าร้อน เขาก็เลยเรียกกันว่า" Summer Depression "นะคะ แต่อาการมันมีอะไรบ้าง สาเหตุมาจากอะไร อันตรายรึเปล่า รักษาได้ไหม ถ้าอยากรู้ก็มาส่องด้านล่างนี้กันเล้ย!!!~



ชวนชาวซิสรู้จัก " S.A.D และ Summer Depression " ให้มากขึ้น ♥


• S.A.D คืออะไร? •

อย่างที่บอกเลยนะคะว่ามันย่อมาจาก


Seasonal Affective Disorder

หรือโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลโดยมันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาลเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นฤดูใบไม้ร่วง ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว แต่ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นกับฤดูหนาวนะคะ เพราะฤดูหนาวช่วงกลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน บวกกับว่ามีอากาศที่หนาวเย็นอีกก็เลยทำให้หลาย ๆ คนเกิดความรู้สึกเหงาและเศร้ามากขึ้น ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคนอีกร้อยละ 10 ที่มีอาการซึมเศร้าในช่วงหน้าร้อน ( Summer Depression )รวมไปถึงคนที่อยู่ในประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรด้วยค่ะ อย่างประเทศอินเดียเขาก็มีคนเป็นซึมเศร้าในช่วงหน้าร้อนกันเยอะ โดยการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเขาสันนิษฐานว่าที่เป็นแบบนี้ก็เพราะน่าจะเกิดจากอากาศที่ร้อนมากเกินไป ความชื้นและเวลาที่เปลี่ยนแปลงก็เลยทำให้คนเป็นซึมเศร้ากันเยอะนั่นเองค่า


• สาเหตุที่ทำให้เกิด S.A.D คืออะไร? •

สาเหตุที่แท้จริงตอนนี้ทางการแพทย์ก็ยังไม่ทราบนะคะ แต่ก็คาดว่าคงเป็นเพราะช่วงกลางวันมีแสงแดดที่ร้อนมาก ๆ จนอาจจะส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตและร่างกาย รวมไปถึงพวกฮอร์โมนต่าง ๆ ต่างทั้งเซโรโทนิน (Serotonin) ที่เป็นสารสื่อประสาทในสมองมีหน้าควบคุมอารมณ์ ถ้าได้รับแสงแดดที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปมันก็อาจจะส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยควบคุมการนอนด้วย ถ้ามันมีระดับที่สูงก็มีโอกาสที่จะทำให้ง่วงนอนและเซื่องซึมจนเกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้ และก็ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่สามารถเป็น S.A.D ได้ง่ายกว่าคนอื่น ๆคือเพศสรีระหญิงจะพบได้มากกว่าเพศสรีระชาย, วัยผู้ใหญ่, ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและไบโพลาร์, คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้าหรือ S.A.D ตลอดจนผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้-ไกลจากเส้นศูนย์สูตรมากเกินไป


• โดยทั่วไป S.A.D มีอาการยังไงบ้าง? •

หลายคนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่าเอ๊ะ... แล้วแบบนี้เราเสี่ยงหรือเราเป็นไปแล้วรึยังจะสังเกตได้ยังไง มาดูตามลิสต์นี้ได้เลยค่า1. รู้สึกเศร้า หมดหวัง ไร้ค่าเป็นเวลานาน2. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงจะทำอะไรเลย3. ความกระตือรือร้น หรือความสนใจในสิ่งที่ตัวเองเคยชอบลดน้อยลง4. ไม่มีสมาธิ จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ ไม่ได้5. เก็บตัว ไม่ออกไปพบเจอหรือคุยกับใคร6. รู้สึกอยากอาหารน้อยลงหรือกินมากกว่าเดิม ติดกินหวานและกินแป้งมากขึ้น7. อยากนอนตลอดเวลาหรือมีปัญหาการนอนไม่หลับ8. เริ่มมีความคิดอยากจะทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายทั้ง 8 ข้อมีทั้งข้อที่เกิดได้ทั่วไปในแต่ละช่วงฤดูแต่เมื่อผ่านไปมันจะค่อย ๆ ดีขึ้นนะคะ เช่น ฤดูร้อนเรารู้สึกซึมเศร้ามาก แต่พออากาศเริ่มเย็นขึ้นก็ไม่เป็นแล้ว แบบนี้ก็คืออาจจะเป็นแค่ระยะสั้น ๆ สามารถหายเองได้แต่ถ้าผ่านไปหลายฤดูแล้วก็ยังเป็นแบบนี้อยู่ อันนี้แนะนำให้ลองเข้าปรึกษากับทางจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญดูนะคะ เพราะว่าอาจจะมีอาการซึมเศร้าที่ไม่ใช่เฉพาะช่วงเวลาแล้ว


• S.A.D อันตรายรึเปล่า? •

อ่านมาจนถึงตรงนี้หลายคนอาจจะรู้สึกกลัว ๆ หวั่น ๆ ใช่ไหมละคะ คืออาการซึมเศร้าในช่วงที่เกิดตามฤดูกาลอย่างSummer Depressionเนี่ยมันจะเกิดแล้วหายไปค่ะ อย่างช่วงนี้ที่อากาศร้อนจัด แสงจ้ามันก็อาจจะยังมีอาการอยู่บ้าง บางคนอาจจะเพลียเฉย ๆ บางคนอาจจะง่วงง่ายขึ้น บางคนอาจจะไม่มีแรงใจจะทำอะไรเลยแต่เดี๋ยวเมื่ออากาศเริ่มเย็นลงเราก็จะเริ่มดีขึ้นค่ะแต่! ถ้ามันยังไม่ดีขึ้นไม่แฮปปี้ ยังเพลีย ยังเหนื่อย นอนมากเกินไปหรือนอนไม่หลับ กินน้อยไปหรือกินมากไปอันนี้ต้องไปพบคุณหมอหรือจิตแพทย์ให้ไวเลยนะคะ เขาจะได้รักษาเราได้อย่างถูกต้องถูกวิธีด้วย


• การรักษา S.A.D ทำยังไงได้บ้าง? •

ถ้าพูดถึงการรักษาอย่างจริงจังก็สามารถทำได้ 3 วิธีค่ะ


1. รับประทานยา


2. ทำการบำบัดจิตใจ : เป็นการมาปรับวิธีคิด พฤติกรรมเพื่อรับมือกับภาวะซึมเศร้า


3. ทำการบำบัดด้วยแสง : เป็นการใช้เครื่องฉายแสงที่จำลองมาจากพระอาทิตย์วันละ 1 ชั่วโมงแต่การรักษาแบบเบื้องต้นหรือการเตรียมตัวรับมือกับอาการซึมเศร้าเวลาอากาศเปลี่ยนแปลงก็มีเหมือนกันนะคะ1. พยายามหากิจกรรมทำไม่ให้ตัวเองว่าง จะออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือดูทีวีเพลิน ๆ ก็ได้นะคะ2. ออกไปเที่ยวบ้าง เดินห้าง เที่ยวทะเล ไปน้ำตก ฯลฯ จะได้ไม่อุดอู้3. ทานอาหารที่มีประโยชน์ กินผักและโปรตีนเยอะ ๆ เพราะจะทำให้เซเรโทนินทำงานอย่างเหมาะสม แล้วก็จะลดอาการซึมเศร้าลงไปได้4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามนอนให้เป็นเวลา5. หมั่นสังเกตอาการ อารมณ์ของทั้งร่างกายและจิตใจเสมอ ๆ ว่ามีอะไรผิดปกติรึเปล่าลองปรับตามนี้ดูน้า ถ้าทำได้ก็เชื่อว่าอาการซึมเศร้าจะลดลงแน่นอนค่ะ ♥



ก็ได้รู้จักอาการ S.A.Dกันมากขึ้นแล้วเนอะ ว่ามันเป็นยังไง อันตรายไหม แล้วก็รักษายังไงได้บ้าง ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนเลยนะคะ เอาไปปรับใช้กันได้ แล้วก็ขอให้ทุกคนอาการดีขึ้น ๆ น้า ยังไงก็ฝากกดไลก์ กดแชร์ด้วยนะคะเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ จะได้รู้ว่าทำไมช่วงนี้ถึงมีอาการแปลก ๆ ไปจากเดิม ส่วนตอนนี้เราต้องบ๊ายบายทุกคนไปก่อนถ้าไม่อยากพลาดคอนเทนต์จากเราก็ฝากกดติดตามด้วยนะค้า บ๊ายบาย ♥


เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้