"สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ" ดอลลี่เชื่อว่าคงเป็นประโยคยอดฮิตของใครหลาย ๆ คนแน่นอน พอจะเดาออกใช่มั้ยคะว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร

ติ๊กต่อก~


ใช่แล้ววว! เรื่องการเงินนั่นเอง T^T

ใกล้ช่วงสิ้นเดือนทีไรก็เหมือนจะสิ้นใจทู้กที แต่บางคนไม่ต้องรอให้ถึงสิ้นเดือน แค่ต้นเดือน กลางเดือนก็สิ้นใจได้แล้วเหมือนกัน ;-; เศร้าเวอร์ แล้วอย่างงี้จะอยู่รอดจนถึงสิ้นเดือนมั้ยเนี่ย มาค่ะ ! ดอลลี่จะเป็นตัวแทนหมู่บ้านช่วยทุกคนจากปัญหานี้เองด้วย

วิธีจัดการเงินเดือน

ปัญหาเงินไม่พอใช้

จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยให้เรารอดพ้นจากวิกฤติทางการเงินครั้งนี้ ตามไปดูกั้น !

*୨୧ ┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈ ୨୧*

7 วิธีจัดการเงินเดือน ให้อยู่รอดถึงสิ้นเดือน

วิธีจัดการเงินเดือน ที่ 1. ใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้

รูปภาพ:

วิธีแรกสำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาเงินไม่พอใช้ ควรทำมากที่สุดก็คือ

การใช้จ่ายให้น้อยลงค่ะ !

เพราะ

สาเหตุหลักของการมีเงินไม่พอใช้ เกิดจากการใช้จ่ายที่เกินตัว มากเกินความจำเป็น

ทำให้รายจ่ายของเราพุ่งสูงจนมากกว่ารายรับนั่นเอง พูดง่าย ๆ เราจะต้องใช้เงินน้อยกว่าเงินที่หาได้ ถ้าหากเพื่อน ๆ ไม่ยอมปรับแก้ที่ตรงนี้ ก็จะเกิดปัญหาเงินหมุนไม่ทัน วนลูปแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทุกเดือน กลายเป็นฝันร้ายประจำเดือนซะอีก

สำหรับวิธีลดรายจ่ายก็ง่ายมากเวอร์ เพียงแค่เพื่อน ๆ ทำการจดลิสต์ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของแต่ละเดือนเอาไว้ ค่าใช้จ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นและสามารถตัดออกไปได้ก็ควรทำ

หรือหากสรุปได้ข้อมูลออกมาพบว่าค่าใช้จ่ายจำเป็นยังมากกว่าหรือใกล้เคียงกับรายรับของเรา ก็อาจจะต้องหารายได้เพิ่มมากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น การหางานพิเศษ ทำพาร์ทไทม์ เป็นต้น

วิธีจัดการเงินเดือนที่ 2. เมื่อมีรายได้ ต้องรู้จักออม

รูปภาพ:

วิธีจัดการปัญหาเงินไม่พอใช้ข้อถัดมาที่ดอลลี่อยากให้ทำคือ

การเก็บออมเงินค่ะซิส !

หลังจากที่เพื่อน ๆ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้มีความสมดุลกันแล้ว การเก็บออมเงินจึงเป็นสิ่งที่ควรทำมากที่สุด

โดยให้เริ่มต้นตั้งเป้าหมายการออมก่อนเป็นอันดับแรก

คิดว่าเราจะออมเงินไปเพื่ออะไร และ

แบ่งการออมเงินออกเป็นหลายส่วนตามความต้องการของเรา

เช่น ออมเงินไว้สำหรับการท่องเที่ยว ออมเงินไว้สำหรับของที่อยากได้ ออมเงินไว้ซื้อของให้คนรัก เป็นต้น เพียงเท่านี้เมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้จ่ายส่วนใดก็สามารถนำเงินในส่วนนั้นที่ออมออกมาใช้ได้ตามความต้องการ โดยไม่ไปกระทบกับเงินหลักและเงินส่วนอื่น ๆ นั่นเอง

วิธีจัดการเงินเดือนที่ 3. ออมแล้ว ก็ออมอีกได้ !

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/eb/00/59/eb00590eeee63d0a3dee05507bc674fb.jpg

หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าอะไรคือการที่บอกให้ออมแล้ว ถึงต้องออมอีก เพราะในยุคปัจจุบัน

การออมแบบทั่วไปถือว่าไม่ได้ผลสักเท่าไหร่นัก หากเจอวิกฤติหรือเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว

อาจจะทำให้เรากลับมาประสบกับปัญหาทางการเงินได้ ยกตัวอย่างเช่น การเกิดสถานการณ์โควิดครั้งล่าสุดที่ทำให้หลากหลายธุรกิจล้มลง เพราะไม่มีเงินสำรองมากพอ รวมถึงมนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเก็บออมไม่มากพอ เมื่อตกงาน ขาดรายได้ก็ทำให้เงินที่ออมเอาไว้หมดลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้นแล้วการเตรียมความพร้อมด้วยการออมเงินให้มากขึ้นจึงเป็นอีกวิธีที่จะทำให้เราหลุดจากปัญหาเงินไม่พอใช้ ท

างที่ดีควรออมเงินอย่างน้อย 1 ใน 4 ของรายได้ต่อเดือนนะคะซิส ฮึบ !

วิธีจัดการเงินเดือนที่ 4. แบ่งสัดส่วนทางการเงินอย่างชัดเจน

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/8b/27/f7/8b27f75273fc583423392b45e50a7c63.jpg

สำหรับวิธีจัดการปัญหาเงินไม่พอใช้ข้อที่ 4 คือ

การรู้จักแบ่งสัดส่วนทางการเงินอย่างชัดเจน

หลังจากที่เพื่อน ๆ เริ่มต้นปรับลดรายจ่าย เริ่มเก็บออมเงิน ถือว่าผ่านมาครึ่งทางแล้วนะคะ และเพื่อเป็นการบอกลาการหมุนเงินไม่ทัน เงินหมดตั้งแต่ต้นเดือน

สิ่งที่ควรทำลำดับถัดมาคือการแบ่งรายรับออกเป็น 6 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

1. เงินออม

- เงินที่แบ่งออกมาเพื่อเก็บออมโดยเฉพาะ และจะไม่นำไปใช้อย่างเด็ดขาดหากยังไม่ถึงเป้าหมายและตรง ตามจุดประสงค์ของตนเอง

2. ค่าใช้จ่ายจำเป็น

- ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายในทุก ๆ เดือน

3. หาความรู้ให้ตัวเอง

- เงินสำหรับการหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง เช่น การซื้อหนังสือ ลงคอร์สเรียน

4. เพื่ออนาคต

- เงินสำรองสำหรับตอนเกษียณ เงินสร้างครอบครัว

5. ให้รางวัลตัวเอง

- เงินที่ไว้ใช้จ่ายในการซื้อสิ่งของที่อยากได้

6. แบ่งปัน

- เงินสำหรับการซื้อของขวัญให้คนรัก เงินบริจาค

วิธีจัดการเงินเดือนที่ 5. จดบันทึกรายรับ-รายจ่ายในทุก ๆ วัน

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/1e/5f/c5/1e5fc55b58408f4199e91e4d1c6ac1e3.jpg

มาถึงข้อสุดท้ายกันแล้วกับ

การจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายในทุก ๆ วัน


เพื่อเป็นการฝึกวินัยทางการเงินให้กับตนเอง อีกทั้งยังเป็นวิธีที่เราจะสามารถดูย้อนหลังได้ว่าปัญหาทางการเงินของเราเกิดจากตรงไหนบ้าง

ถือว่าเป็นการอุดรูรั่วของปัญหาเงินไม่พอใช้นั่นเองค่ะ อาจจะเน้นไปที่การจดด้วยสมุด หรือหากใครที่ไม่ชอบการเขียน ในปัจจุบันก็มีแอปพลิเคชันไว้สำหรับจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย น่ารัก น่าจดบันทึกเวอร์

วิธีจัดการเงินเดือนที่ 6. ฝึกความยับยั้งชั่งใจในการใช้จ่าย

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/7f/60/34/7f6034a09baa99866badf0af2cebc107.jpg

ดอลลี่เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องมีช่วงเวลาที่เกิดกิเลสครอบงำจิตใจ ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็อยากได้นั่นได้นี่ไปซะหมด ยอมรับว่าดอลลี่เองก็เป็นค่ะ แหะ ๆ แต่ทว่าถ้าเรามีเงินเหลือ หรือไม่เดือดร้อน การได้ช้อปปิ้งก็คงเป็นอะไรที่มีความสุขมาก แต่ถ้าอยู่ในช่วงสถานการณ์ทางการเงินคับขันถึงขั้นไม่เหลือที่จะนำไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้ เมื่อเราเลือกที่จะใช้จ่ายตามใจตัวเองไปแล้ว สิ่งที่ตามมาก็จะเป็นความทุกข์ใจมากกว่าสุขใจค่ะ

ดังนั้นแล้วอยากให้เพื่อน ๆ แยกให้ออกระหว่าง ' ความจำเป็น ' กับ ' ความอยากได้ ' เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังนะคะ

วิธีจัดการเงินเดือนที่ 7. ลดการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็น

รูปภาพ:

มาที่ข้อสุดท้ายกันแล้วค่ะ กับ

การลดการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็น

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะเคยได้ยินคำว่า การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่จริงแท้และแน่นอน เมื่อเราไม่มีหนี้ ก็จะเกิดความสบายใจ สามารถใช้จ่ายโดยไม่ต้องกังวลถึงภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และยิ่งหากอยู่ในสถานการณ์ที่เงินไม่พอใช้ อาจจะทำให้เพื่อน ๆ เกิดการสร้างหนี้โดยไปหยิบยืมจากผู้คนรอบตัว หรือกู้เงินทั้งในและนอกระบบ ดอลลี่บอกเลยค่ะว่า

การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้เป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ สุดท้ายแล้วจะเป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายที่เกินตัวแก่เราไม่จบไม่สิ้น

ดังนั้นหากไม่จำเป็นจนถึงที่สุด ไม่ควรเป็นหนี้เด็ดขาดนะคะซิส

*୨୧ ┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈ ୨୧*

จบไปแล้วกับ

วิธีจัดการเงินเดือน

เป็นยังไงกันบ้างคะ ไม่ยากเลยใช่มั้ย ? ล้วนเป็นวิธีที่เราก็เริ่มทำได้ง่ายๆ เลยนะ เพียงแค่อาศัยความอดทน ความมีวินัย และการยับยั้งชั่งใจบ้าง เพียงเท่านี้ปัญหาการที่เงินหมุนไม่ทัน ใช้เงินแบบเดือนชนเดือนก็จะหมดไป นอกจากจะดีกับเราในวันนี้แล้ว ยังดีต่ออนาคตของเราเช่นเดียวกันนะคะ สำหรับวันนี้ดอลลี่ก็ต้องขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่กับสาระดีดีแบบนี้ที่

https://sistacafe.com/

ได้อีกในครั้งหน้า

บ๊าย บาย~


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

https://sistacafe.com/summaries/91727

https://sistacafe.com/summaries/93469

https://sistacafe.com/summaries/96298

https://sistacafe.com/summaries/93513

https://sistacafe.com/summaries/95030