เมื่อความอิจฉาไม่ใช่ความเลวร้าย...เเต่เป็นเรื่องธรรมชาติ

รูปภาพ:https://www.img.live/images/2019/12/09/72377920_504757643639661_7042409556869120000_n.jpg

หากพูดถึงนิสัยบางอย่างที่นอกจากจะไม่เป็นที่ต้องการของคนในสังคมและของตัวเราเองแล้วคงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกเสียจาก“ความอิจฉาริษยา”ที่นอกจากจะกัดกร่อนจิตใจตนเองให้เกิดความร้อนรุ่มแล้วยังเป็นเหมือนดั่งไฟที่ลุกลามไปยังผู้อื่นอีกด้วย...


สวัสดีเพื่อนๆทุกคนค่ะวันนี้...Pinky_Bonbons...อยากจะมานำเสนอหัวข้อทางด้านอารมณ์ที่เกี่ยวกับอารมณ์ขั้นพื้นฐานของมนุษย์เราที่แน่นอนว่ามีกันทุกคน...และแม้จะเป็นเรื่องเบสิกพื้นฐานแต่กลับเป็นเรื่องยากที่จะทำใจยอมรับกับตัวเองนะคะว่าบางที่เรากำลังเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นนั้นความรู้สึกบางอย่างที่ก่อตัวขึ้นก็คืออารมณ์ความ...อิจฉาริษยา...นั่นเอง


เนิ่นนานมาแล้วที่ความอิจฉาแฝงอยู่ใน...DNA...ของพวกเราและถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษของเราแบบรุ่นสู่รุ่น...ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ในสมัยที่เรานั้นยังคงใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ถ้ำอยู่...เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน...ความอิจฉาไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ที่พึ่งมีและเกิดขึ้นในยุคนี้เท่านั้นแต่ในสมัยก่อนบรรพบุรุษของเราก็มีเช่นกัน...การที่จะขึ้นเป็นจ่าฝูงได้นั้นต้องเกิดสู้รบแย่งชิงกันไม่เฉพาะเรื่องการผสมพันธุ์เท่านั้น...แต่รวมไปถึงการหาอาหารอีกด้วย...การจะขึ้นเป็นจ่าฝูงหือผู้นำกลุ่มนอกจากจะต้องผสมพันธุ์กับเหล่าบรรดาเพศเมียในกลุ่มได้มากที่สุด...มีลูกมากที่สุดจะต้องมีร่างงกายที่ใหญ่และกำยำมากที่สุดอีกด้วยจึงจะได้ขึ้นเป็นจ่าฝูงและผู้นำของกลุ่ม...กระบวนการระหว่างการต่อสู้นี้ล้วนเกิดจากแรงขับของร่างกายตามธรรมชาติและของความอิจฉาริษยาเกิดการแย่งชิงเพื่อการอยู่รอดทั้งสิ้น

รูปภาพ:https://www.img.live/images/2019/12/09/photo-1492112007959-c35ae067c37b.jpg

ความอิจฉาเป็นแรงขับ(Motive)ของสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของตัวมนุษย์เองมาช้านาน แม้ในปัจจุบันการแย่งชิงเพื่อเอาตัวรอดจะไม่ได้แสดงออกแบบโจ่งแจ้งเช่นสมัยดึกดำบรรพ์ที่ผ่านมา แต่ความอิจฉาริษยาและสัญชาตญาณแห่งการแย่งชิงมันก็ไม่เคยหายไปไหน...วิธีการถูกปรับเปลี่ยนให้นุ่มนวลและแยบยลยิ่งขึ้น...ในปัจจุบันเราไม่อาจจะทราบหรือสัมผัสได้ถึงความอิจฉาริษยาของผู้อื่นเลยด้วยซ้ำหากผู้ที่กำลังรู้สึกถึงมันไม่พูดหรือแสดงท่าทีใดใดออกมา


เป็นเวลาช้านานและหลายชั่วอายุคนที่ความอิจฉามีบทบาทต่อสังคมมนุษย์...ปัจจุบันเราจะตัวอย่างหรือแม่แบบความอิจฉาริษยาผ่านในงานวรรณกรรมต่างๆข่าวสารและต้นเหตุขออาชญากรรมรายวันทั่วโลกและผ่านทางจอทีวีมากมาย...ตัวร้ายในละครนั้นที่ซึ่งมักจะแสดงออกผ่านตัวละครที่เป็นผู้หญิงที่จะมาพร้อมความอิจฉาริษยาเสมอและข้อนี้เองที่ทำให้เราคิดละเข้าใจกันไปว่าแน่นอนแล้วว่า...เมื่อเรามีอารมณ์อิจฉานั้นแปลว่าเราเป็นคนไม่ดี...ความอิจฉากลายเป็นสัญลักษณ์ของความเลวร้าย...เป็นสิ่งเลวร้ายและเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม บวกกับศาสนาและความเชื่อประจำชาติของเราก็ไม่ได้สนับสนุนความอิจฉาริษยาแต่กลับต่อต้าน...ไม่อนุญาตให้เราได้รู้สึกถึงมันหรือแกระทั่งหยิบยกมาตั้งคำถามเพื่อทำความเข้าใจด้วยซ้ำ...และเมื่อหากมีใครสักคนพูดถึงความอิจฉาหรือใครกำลังอิจฉาใครสักคน...ผู้ที่ถูกตราหน้าเป็นคนขี้อิจฉาจะถูกตัดสินว่าเป็นคนนิสัยไม่ดีโดยทันที


ซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ให้คำอธิบายเกี่ยวกับความอิจฉาริษยาว่า...ความอิจฉาจัดอยู่ในหมวดของสัญชาตญาณแห่งความตาย...(Death instinct)...โดยสัญชาตญาณแห่งความตายที่มีบทบาทมากที่สุดเห็นจะเป็นความก้าวร้าว(aggression)ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนเป็นแรงขับที่จะทำให้คนๆหนึ่งมีพฤติกรรมในรูปแบบของการ...ทะเลาะเบาะแว้ง...แข่งขัน...ต่อสู้ เอาชนะ...อิจฉาและแย่งชิง...สัญชาตญาณแห่งความตายนี้ทำให้เกิดแรงขับที่จะผลักดันให้บุคคลเกิดพฤติกรรมที่นำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

รูปภาพ:https://www.img.live/images/2019/12/09/photo-1553465528-5a213ccc0c7b.jpg

วิทยาศาสตร์บอกกับเราว่าความอิจฉาคือสัญชาตญาณที่ติดตัวเรามาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์และจะคงอยู่แบบนี้ตลอดไป...ความอิจฉาอาจคงอยู่ตลอดไปชั่วชีวิตของคนคนหนึ่งแต่จะไม่สม่ำเสมอ...จะไปๆมาๆ...เป็นๆหายๆอิจฉามากอิจฉาน้อยแล้วแต่เหตุผลและปัจจัยของแต่ละบุคคล...อารมณ์อิจฉาไม่มีหมอที่ไหนรักษาอาการขี้อิจฉาของคนไข้ที่มีอาการขี้อิจฉานี้ได้หาย...หากจะให้นับจำนวนผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคขี้อิจฉานี้ก็คงต้องเหมารวมมนุษย์ทั่วโลกเลยก็ว่าได้


ความอิจฉาคือความปรารถนาและเป็นรากของความทุกข์ทั้งสิ้น


ศาสนาบางศาสนาบอกกับเราว่าความอิจฉาเป็นเหมือนเปลวไฟที่ร้อนรุ่ม...มันพร้อมจะเผาตนเองและคนอื่นให้มอดไหม้ลงเป็นจุนโดยไม่เหลือเศษซากให้มานั่งไยดีอะไร...บางศาสนาบอกว่าความอิจฉาลึกๆแล้วคือความปรารถนาที่อยากจะได้อยากจะดีอยากจะเป็น...ต้องการเป็นในสิ่งที่ตัวเองไม่มีวันได้เป็นแต่คนอื่นได้เป็น...ฉะนั้นแล้วในแง่มุมของศาสนาความอิจฉา=ความปรารถนาและเป็นรากของความทุกข์ทั้งสิ้น


วิทยาศาสตร์บอกว่าความอิจฉารักษาไม่ได้เพราะเป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้มา


ศาสนาบอกกับเราว่าความอิจฉาทำให้เกิดความทุกข์...และเราต้องดับทุกข์


ส่วนตัวผู้เขียนไม่เชื่อว่าความทุกข์จะดับได้แต่เชื่อว่า...เราสามารถยอมรับและเข้าใจกับมันได้


ความอิจฉา = สิ่งไม่ดี, สิ่งเลวร้าย, อารมณ์ในด้านลบ

รูปภาพ:https://www.img.live/images/2019/12/09/photo-1474901879171-d6f34b3a99b0.jpg

อารมณ์ลบๆนั้นไม่ได้มีแค่ความอิจฉาหรอกนะคะแต่ยังรวมไปถึง...อารมณ์แห่งความโกรธความเกลียดอีกด้วย...น่าแปลกที่ว่า...เรากล้าเอ่ยปากบอกคนใกล้ตัวหรือคนสนิทเมื่อเรามีอารมณ์โกรธและเกลียดใครบางคน...เราแสดงมันให้พวกเขาเห็นได้อย่างไม่ละอาย...แต่เมื่อเรากำลังอิจฉาเรากลับไม่กล้าเอ่ยปากต่อคนอื่นหรือแม้กระทั่งยอมรับกับตนเองจริงๆว่า...เรากำลังอิจฉานะ...เมื่อความอิจฉาไม่ใช่ความเลวร้าย...จริงอยู่ที่ว่าเมื่อเรารู้สึกว่าเรากำลังอิจฉาใครบางคนเราจะรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง...เรายอมรับความโกรธ...ความเกลียดที่เกิดขึ้นในใจเราได้...แต่เราไม่ยอมความอิจฉา ไม่อนุญาตให้ความอิจฉามีพื้นที่ในชีวิตของเรา...เราพยายามผลักไสหรือสะบัดหัวลืมมันไปไม่ยอมรับความอิจฉาว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและมองว่ามันเป็นสิ่งเลวร้ายที่จะต้องรีบกำจัดไปให้พ้นๆ...เป็นสิ่งที่จะให้คนอื่นทราบไม่ได้ว่าเรากำลังรู้สึกถึงมันอยู่


“เลียขาเจ้านายนะสิถึงได้เงินเดือนขึ้นแบบนี้”


“ก็ไม่เห็นว่าจะสวยขึ้นเลยนิ นี่ทำมาแล้วหรอ”


“ฉันไม่ได้อิจฉานะ...แต่ฉันเกลียดที่นางมั่นหน้าเกินไป”


“ไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นสิ่งนี้ (Born to be) แต่ที่มีวันนี้ได้เพราะ wanna be ล้วนๆ”


“ใช้ไอโฟนสิบเอ็ดเงินเดือนก็แทบจะไม่พอยาไส้...ลืมกำพืดรากเหง้าของตัวเอง”


เชื่อว่าเพื่อนๆคงได้ยินประโยคเหลี้มาบ้าง...อาจจะผ่านโซเชียลมีเดีย...ละครทีวี...หรือแม้กระทั่งในชีวิตจริง...เหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่เข้าข่ายว่ากำลังอิจฉา...การกัดเซาะคนอื่นให้รู้สึกว่าเขาดีไม่พอเพื่อคลี่คลายคลายความรู้สึกและความสบายใจของตนเอง...บางคนใช้คามดีเป็นโล่เพื่อพูดถึงคนอื่นในทางไม่ได้...ลดระดับความสุขของผู้อื่นให้ลงมาอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าความสบายใจของตนเอง...การพูดแบบนี้แน่นอนว่าทำให้ผู้พูดรู้สึกดีขึ้น...รู้สึกดีกับตัวเองทันตา จริงๆแล้วเรื่องของอารมณ์นั้นไม่ได้มีผิด..ถูก..ดี..หรือไม่ดี..เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้เสมอ..แล้วไม่ใช่ความผิดใคร..อารมณ์อิจฉาจะไม่คงอยู่กับเราสม่ำเสมอและตลอดไปจะเป็นๆหายๆ..ไปๆมาๆ บางช่วงก็อิจฉามากบางช่วงก็อิจฉาน้อย

รูปภาพ:https://www.img.live/images/2019/12/09/photo-1478380967566-2721c6568d8a.jpg

แม้แต่สุนัขและแมวหรือเด็กก็ไม่อาจปฏิเสธอารมณ์นี้...แน่นอนว่าค่านิยมในปัจจุบันด้วยความที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ...คนส่วนมากนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ก็จะมีความคิดเห็นและมุมมองต่อความอิจฉาว่าเป็นอารมณ์ที่เราไม่ควรจะต้องรู้สึกถึงมัน...หรือยอมรับมัน...ไม่อนุญาตให้เกิดขึ้นในความคิดทั้งของตนเองและผู้อื่น...แต่ในความเป็นจริงแล้วอารมณ์ของมนุษย์ถูกจำแนกขึ้นทั้งสิ้น..11..อารมณ์และความอิจฉาก็เป็นหนึ่งในนั้นในหนังสือ...General...Psychologyพบว่ามนุษย์มีรากความอิจฉาอยู่ในวัยเด็กเราจะเริ่มมีความรู้สึกอิจฉาเมื่อมีอายุ...1..ปี..5...เดือนหรือประมาณ...18...เดือนหลังจากที่ลืมตาดูโลก...นั่นแสดงให้เห็นว่าความอิจฉาเป็นเรื่องปกติ เป็นอารมณ์ปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน...เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อนๆคนไหนที่กำลังรู้สึกถึงมัน...ก็อย่าพึงก่นด่าหรือตีโพยตีพายไปว่าตัวเองเป็นคนไม่ดี...ขาดซึ่งวุฒิภาวะและศีลธรรมอันดีงามเลยนะคะ...ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไรและ...ใครๆก็เป็นกัน...


สิ่งที่เราต่อต้าน...จะอยู่นานขึ้นเสมอ


สิ่งที่เรายอมรับ...จะดับไปอย่างรวดเร็ว


Cr: ขุนเขา

เมื่อความอิจฉาไม่ใช่ความผิดอะไร...อาจทำให้ร้อนรุ่มแต่จะทำความเข้าใจกับมันอย่างไรดีละ??

หลายๆคนอาจจะเคยเข้าใจมาว่าความอิจฉาไม่ใช่สิ่งไม่ดี...ไม่ใช่ความผิดอะไรหรือความผิดของใครทั้งสิ้น...แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความอิจฉาอาจส่งผลบางอย่างต่อร่างกายและจิตใจของผู้ที่กำลังรู้สึกอย่างแน่นอน...ซึ่งทางกายนั้นอาจจะทำให้ปวดหัว...ปวดท้อง...คลื่นไส้อันเนื่องมาจากความเครียดเพราะคอร์ติซอลหลั่ง...แม้ความอิจฉาไม่ใช่สิ่งที่ผิดหรือไม่ดีแต่ก็ส่งผลทางกายได้เช่นกัน...เมื่อรู้เช่นนี้แล้วการรู้ให้ทันอารมณ์ของตนเองและการพยายามทำความเข้าใจกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักถึงเป็นอย่างยิ่ง


แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากที่เราจะรู้สึกยินดีไปกับความสำเร็จของผู้อื่นโดยเฉพาะคนใกล้ตัว...นักจิตวิทยาพบว่าเราจะรู้สึกอิจฉาคนใกล้ตัวมากกว่าดาราเซเลปคนดัง...เช่น..บิลล์..เกตส์...เขาอาจรวยมากแต่เราก็รู้สึกเฉยๆอาจจะชื่นชมยินดีไปความสำเร็จขของเขาด้วยซ้ำแต่ถ้าหากเป็นคนใกล้ตัวเพื่อนหรือญาติพี่น้องคนรู้จักหากเราพบว่าเขามีความสุขมากกว่ามีเงินมากกว่ามีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จมากกว่าเราจะยิ่งอิจฉาได้เร็วขึ้น

แต่ยังไงๆเหรียญก็มีสองด้านเสมอ...หากเราสามารถทำความเข้าใจและยอมรับมัน...ความอิจฉาก็จะกลายเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่เราให้เราก้าวต่อไป...และอาจก้าวไปได้ไกลกว่าจุดที่เรายืนอยู่ในปัจจุบัน...ความอิจฉาเป็นแรงขับเคลื่อนได้แต่ไม่ใช่แรงขับเคลื่อนที่ดีเสมอไป...เราอาจรู้สึกรวดร้าวเมื่อรู้สึกถึงความอิจฉาที่กำลังเกิดขึ้นในใจของตัวเอง...แต่อีกด้านอีกมุมหนึ่งความอิจฉามันกลับทำให้เราทะเยอทะยานมากขึ้น


รูปภาพ:https://www.img.live/images/2019/12/09/72773850_536366586935523_4840765971834601472_n.jpg


ทำความเข้าใจกับความอิจฉาอย่างไรให้ร้อนรุ่มน้อยที่สุดและใช้ระยะเวลาน้อยที่สุด




ความรู้สึกอิจฉาอาจทำให้รู้สึกสกปรกและแย่กับตัวเอง...มันกัดกร่อนจิตใจเหลือเกิน...ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นแท้จริงแล้วล้วนเกิดจากความรู้สึกที่เรารู้สึกว่า...ตัวเองยืนอยู่ในจุดที่ต่ำกว่าคนอื่น...จึงพยายามสรรหาคำพูดต่างๆเพื่อลดคุณค่าความสุขของผู้อื่นให้เหลือเท่าหรือน้อยกว่าคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองมีอยู่...จริงๆมันก็เป็นการคิดให้ตัวเองสบายใจอย่างหนึ่ง...แต่การแก้ปัญหาจริงๆอาจไม่ใช่การสนับสนุนความคิดเช่นนี้แน่น่อน


1.ยอมรับความแตกต่าง


You never get what they have at that moment,but you get have your moment in which no one can take it away from you.


คุณมีวันได้ในสิ่งที่เขามี...ณ...โมเมนท์นั้น...แต่คุณเองก็มีโมเมนท์ของคุณไม่ว่าใครๆก็ไม่สามารถมีเหมือนคุณได้


จริงๆแล้วความรวดร้าวที่กัดกร่อนและเกิดขึ้นในจิตใจ มีสาเหตุมาจากการเปรียบเทียบ...การเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น...ที่ซึ่งถูกเลี้ยงดูมาต่างกันเติบโตในสภาวะแวดล้อมสังคมและครอบครัวที่แตกต่างกัน...ความสามารถต่างกันและไม่ยอมรับว่า...เราและเขานั้นมีความแตกต่าง...และการไม่ยอมรับที่จะทำความเข้าใจนั้นจึงเราเจ็บปวด


2. โฟกัสในสิ่งที่ตัวเองมี


เมื่อยอมถึงเหตุผลการได้การดีของคนอื่นอย่างท่องแท้แล้ว...ก็กลับมาโฟกัสในสิ่งที่ตัวเองมีแล้วเร่งพัฒนาตนเองให้บรรลุเป้าหมายนั้น...เช่น...เพื่อนของคุณอาจไม่ได้ตั้งเรียนในรายวิชาจิตวิทยาเลยแต่เขากลับได้เกรดเอ...ซึ่งต่างจากคุณเองที่อ่านหนังสือและหาข้อมูลเป็นสองเท่าคุณกลับได้ซีบวกเท่านั้น...ซึ่งไม่ยุติธรรมเลยใช่ไหมละ...แต่หากพูดถึงการนำมาใช้...แม้ว่าคุณอาจไม่ได้เกรดเอ...แต่ความมุ่งมั่นตั้งใจของคุณนั้นเต็มเปี่ยมความรู้ที่เต็มแมกซ์คุณสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปต่อยอดเขียนบทความหรือคอลัมน์ลงบนเว็บไซส์เพื่อหารายได้เสริมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

รูปภาพ:https://www.img.live/images/2019/12/09/72423555_683034198854759_2141830616339972096_n.jpg

3.เรียนรู้ว่าชีวิตเขาที่ดีกว่านั้นเพราะอะไร


หากเรากำลังเกิดความรู้สึกนี้อยู่...ไม่อยากให้เพื่อนๆรีบไปตัดสินว่าเป็นสิ่งดีหรือไม่ดี...ให้ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนว่ากำลังรู้สึกถึงมันนะและมันเกิดขึ้นแล้ว...จากนั้นค่อยๆพินิจพิจารณาถึงเหตุและผลว่าสิ่งที่คนอื่นเขามีแล้วเราไม่มี...เขาได้มายังไง?...เขาต้องแลกอะไรไปบ้างซึ่งมันอาจจะเป็น...หยาดเหงื่อ...หยดน้ำตา...แรงงาน...ศักดิ์ศรี...เวลาของครอบครัว...เวลาส่วนตัว...เวลาในชีวิต แล้วอะไรที่ทำให้เราไม่มีอย่างเขา...และหากเราอยากได้ในสิ่งที่เขาได้นั้น...เราจะยอมแลกเหมือนที่เขาแลกหรือเปล่า


แม้ว่าในปัจจุบันภาพของคนขี้อิจฉาจะยังถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่ดี...เป็นสิ่งไม่ดีในสังคม...เป็นความสกปรกเลวร้ายแต่แล้วมันก็เป็นหนึ่งในสิบเอ็ดอารมณ์ที่ธรรมชาติให้มา...ความอิจฉามีกันทุกคนแต่สิ่งที่ทำให้คนแตกต่างนั้นก็คือการเลือกที่จะแสดงออกและยอมรับที่จะทำความเข้าใจกับมันว่าความอิจฉาคือเรื่องปกติ...ที่สามารถเกิดขึ้นและหายไปได้กับทุกๆคน