ปัญหาเรื่องการปวดตา หรือเมื่อยล้าสายตาจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ เป็นปัญหาที่เราพบได้บ่อยๆ ในสมัยนี้ค่ะ อาจจะเป็นการทำงานมากเกินไป หรือการโหมดูซีรีย์ที่มากเกิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็อาจเป็นสาเหตุได้ทั้งนั้น โดยดวงตาของเราเป็นอวัยวะที่ต้องทำงานแทบจะตลอดทั้งวันและมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น วันนี้นู๋กบจึงมีวิธีที่จะมาพักสายตา และการถนอมสายตามาฝากกันค่ะ
1. กระพริบตาให้บ่อย
เมื่อเราทำงานอยู่หน้าจอคอมพ์ฯ หรือมีแสงเข้าตาเรามากๆ ดวงตาของเราจะแห้งค่ะ ดังนั้นเพื่อให้มีน้ำหล่อเลี่ยงดวงตาอยู่อย่างสม่ำเสมอ เราจึงควรที่จะกระพริบตาให้บ่อยกว่าปกติ เวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน
2. หลับตาหรือพักสายตาบ้าง
เมื่อเราทำงานไปสักพักจนรู้สึกว่า เหนื่อยล้าสายตาแล้ว เราควรที่จะพักหลับตาเพื่อให้ดวงตาของเราได้ผ่อนคลายบ้าง แต่หากว่าเพื่อนๆ กะไม่ถูกว่าควรจะพักเมื่อไหร่ นู๋กบแนะนำว่า ควรจะพักทุกๆ 1 หรือ 2 ชั่วโมง / ครั้ง ค่ะ โดยการหลับตาสัก 5 - 10 นาที จะช่วยผ่อนคลายสายตาเราได้ แต่หากว่า กลัวเผลอหลับไปล่ะก็ นู๋กบแนะนำว่าลองเปลี่ยนบรรยากาศโดยการออกไปเดินข้างนอก หรือมองรอบๆ และหาสิ่งที่เป็นสีเขียว เช่น ต้นไม้ ใบหญ้าก็เป็นการพักสายตาได้เหมือนกัน
3. ปรับความสว่างของหน้าจอให้เหมาะสม
จอที่สว่างเกินไปจะทำให้ตาของเราระคายเคืองได้ง่าย แต่ถ้าจอที่มืดเกินไปเราจะต้องเพ่งเพื่อทำการมอง ดังนั้นเราควรปรับแสงให้พอดีๆ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของที่ทำงานของเรา เพื่อให้ดวงตาของเราไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไปค่ะ
4. ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่
ในการทำงาน จะทำให้เราไม่ต้องเพ่งมากเกินไป แต่ถ้าหากว่า กลัวกระทบกับการพิมพ์งาน หรือการทำงานละก็เราสามารถใช้วิธี Zoomเพื่อให้เห็นในระยะใกล้ขึ้นได้ค่ะ
5. ทานอาหารบำรุงสายตา
ทานผักหรือผลไม้ที่มีวิตามิน A เยอะๆ เนื่องจากวิตามิน A นั้นมีส่วนช่วยในการทำงานของสายตา และบำรุงสายตาของเราได้ค่ะ โดยผักและผลไม้ที่มีวิตามิน A เยอะ ก็เช่น ผักตำลึง คะน้า บล็อกโคลี่ แครอท มะม่วง ส้ม เป็นต้น
หวังว่าบทความเล็กๆ นี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์บ่อยๆ นะคะ สำหรับวันนี้นู๋กบลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่นะค้าา บะบายย
ตาดี มีตา มานี่! ดูอาหารดีดีบำรุงสายตา
https://sistacafe.com/summaries/72
Credit : วิธีพักสายตาเวลาใช้คอมนานๆ
http://www.dek-d.com/lifestyle/23134/
Credit : 10 วิธีถนอมสายตา หน้าจอคอมพิวเตอร์
http://bangna.co.th/knowledge/knowledge_0001.html