ทักษะการพูด การสนทนาเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ สำหรับวัยมหา'ลัยขึ้นไปจนถึงวัยทำงาน เป็นไปไม่ได้เลยที่ครั้งหนึ่งในชีวิตเราจะไม่มีการประสานงานกับใคร อย่างน้อยก็ต้องตอนที่ทำงานกลุ่มที่ออกไปสัมภาษณ์ใครต่อใครในการเก็บข้อมูลแบบลงพื้นที่เพื่อนำข้อมูลมาทำรายงาน หรือไม่ก็สัมภาษณ์งานซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการสมัครงาน เป็นธรรมดาที่จะต้องมีการเกร็งบ้าง ทำตัวไม่ถูกบ้าง ในจุดนี้เองเขาถึงมีการสัมภาษณ์แบบ" ไม่เป็นทางการ "หรือ" มีบรรยากาศเป็นกันเองมากๆ "เพื่อเป็นการผ่อนคลายระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้รับการสัมภาษณ์ แต่... ก็ใช่ว่าความเป็นกันเองจะทำให้เราทำตามใจตัวเองได้ทุกอย่างไปเสียทีเดียว ผู้ใหญ่ที่เขาดูอบอุ่น น่ารัก ภายในเขาอาจมีการตัดสินหรือประเมินบางอย่างอยู่ในใจก็ได้ ใครจะรู้

แล้วในความเป็นกันเองแต่ซ่อนมาตรฐานการตัดสินบางอย่างอยู่ เราจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง?


#1 ศึกษาข้อมูลของคนที่เราจะไปสัมภาษณ์/รับการสัมภาษณ์

รูปภาพ:https://i.kinja-img.com/gawker-media/image/upload/onqtz2hydjrofxc2dylu.jpg

สิ่งที่เราควรจะมีในมือก็คือ" ข้อมูล "เกี่ยวกับคนที่เราจะไปหาเขา เช่น ประวัติส่วนตัว, ประวัติการทำงาน, ประวัติองค์กร, วิสัยทัศน์องค์กร, ลักษณะงานที่เราไปสมัคร อะไรก็ได้ที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย อย่างน้อยก็เพื่อเป็นการทำความรู้จักกันแบบพื้นๆ เพื่อปูทางให้เราสามารถถามอะไรนอกกรอบได้ ถ้าเราไปถามเขาทั้งๆ ที่เขาก็เจอคำถามแนวนี้เป็นร้อยเป็นพันรอบแล้ว มันคงเป็นบรรยากาศที่ดูจืดชืด น่าเบื่อมากๆ


#2 เตรียมลิสต์คำถามที่น่าสนใจเอาไว้

รูปภาพ:https://livestarringyou.files.wordpress.com/2013/08/swedish-reporter-jenny-modin-chats-with-rebecca.jpg

หลังจากอ่านประวัติและเกร็ดความรู้คร่าวๆ เกี่ยวกับคนและองค์กรที่เราจะไปคุยด้วย คราวนี้ก็ลองลิสต์คำถามที่น่าสนใจ ที่เราอยากรู้หรือมันค่อนข้างนอกกรอบ ไม่ซ้ำกับคำถามพื้นๆ ที่เขาเจอบ่อยๆ แล้วท่องๆ ดู ไปถึงวันเวลาจริงจะได้ไม่รู้สึกประหม่า สติหลุด ไม่รู้จะถามอะไร


#3 ซักซ้อมท่าทางหน้ากระจกหรือหน้ากล้อง

รูปภาพ:http://www.outsidethebeltway.com/wp-content/uploads/2010/04/expert-reporter.jpg

เหมือนจะเป็นเทคนิคที่ฟังดูเชย รู้แล้วน่าาาา... แต่มันก็เป็นเทคนิคที่ใช้ได้ตลอด เพราะบางทีเราไม่รู้หรอกว่าสถานการณ์จริงเราจะออกท่าทาง ใช้มือไม้ไปยังไง มันจะรู้สึกทำตัวไม่ถูกการใช้มือไม้ประกอบท่าทางขณะสัมภาษณ์แต่พองาม ช่วยให้บรรยากาศการสัมภาษณ์มันดูราบรื่นขึ้น นุ่มนวลขึ้นดีกว่าการกุมมือหรือเหยียดตรงเฉยๆถ้าต้องสัมภาษณ์แล้วบันทึกวิดีโอ ก็ลองซ้อมกับกล้องวิดีโอ ถ้าเป็นการสัมภาษณ์สดๆ ไม่มีกล้อง ก็ใช้กระจกเป็นเครื่องมือเทสท์ตัวเองดู ... ลองทำดูนะ มันช่วยได้เยอะจริงๆ


#4 แต่งกายแต่งหน้าโทนสีสุภาพ

รูปภาพ:http://www.outsidethebeltway.com/wp-content/uploads/2010/04/expert-reporter.jpg

ถึงแม้งานนั้นจะไม่ได้บังคับว่าเราต้องแต่งเป็นแพทเทิร์นสาวออฟฟิศ ใส่สูท ใส่กระโปรง สวมรองเท้าคัทชู  แต่ก็ควรจะรู้กาลเทศะด้วยตนเองว่า" การแต่งตัวสุภาพไว้ก่อน คือการให้เกียรติคนอื่น "บางทีที่เขาไม่ได้ระบุไว้แน่ชัด เขาก็อาจจะกำลังทดสอบความสุภาพของเราอยู่ก็ได้ ใครจะรู้ ดังนั้น ถึงแม้นัดนี้จะเป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่เป็นทางการ ก็ขอให้แต่งตัวแต่งหน้าในโทนสีสุภาพไว้ก่อน งดเว้าแหว่ง เสื้อยับ รองเท้าแตะ หรืออะไรที่แฟชันจ๋าเกินไปรักสวยรักงามได้แต่ให้มันพอดีๆ หน่อยเนอะ


#5 ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ

รูปภาพ:https://www.thewrap.com/wp-content/uploads/2016/01/JenniferLawrencereporter.jpg

ยิ้มคือเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่ช่วยลดความประหม่าลงได้เยอะ อีกทั้งยังเป็นการโปรยเสน่ห์ให้คนที่พบเห็นด้วย เรียกได้ว่า" จะเกิดอะไรขึ้น ให้ยิ้มเข้าไว้ "ก็ไม่ผิดนัก


#6 ถ้าเขาให้แสดงความคิดเห็น โปรดพูดตามความจริง อย่าโกหกเพื่อเอาใจใคร

รูปภาพ:https://calibergroup.files.wordpress.com/2010/09/reporterinterview.jpg

อย่าโกหกเพื่อเอาใจใครหรือเพื่อจะได้งาน ควรใช้ความจริงใจ ซื่อตรงในการสื่อสารเสมอ เพราะอีกฝ่ายเขาดูออก อันไหนที่ไม่รู้ก็ยอมรับตรงๆ ว่าไม่รู้แล้วขอให้เขาชี้แนะ ยังดีกว่าแถไปเรื่อย ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว ซึ่งมันดูแล้วน่าหมั่นไส้มากกว่าน่าเอ็นดูอีกนะ


#7 ขออนุญาต/ขอบคุณ/ขอโทษ พูดให้ชินปาก

รูปภาพ:http://www.sportsonearth.com/assets/images/8/8/4/84943884/cuts/erinandrews_8cbjgnvm_hj7mm7dx.jpg

ต่อให้ผู้ใหญ่หรือคนที่คุยกับเราคนนั้นให้ความเอ็นดู ความเป็นกันเองขนาดไหน เราก็ต้องอย่าลืมมารยาทเป็นหลัก ควรกล่าวขอบคุณเมื่อมีใครทำอะไรให้ ขอโทษเมื่อต้องล่วงเกินโดยไม่ตั้งใจ และขออนุญาตเมื่อต้องถามหรือพูดอะไรก็ตามที่เป็นเชิงล้วงลึกมากๆ


#8 ไปมาลาไหว้

รูปภาพ:http://f.ptcdn.info/738/011/000/1383558810-411572-o.jpg

การไหว้ยังเป็นวัฒนธรรมไทยที่น่ารัก น่าเอ็นดูแก่ผู้พบเห็นเสมอ อย่านึกจะไปก็หายไป นึกจะมาก็มาดื้อๆ ควรไหว้เพื่อเป็นการทักทายและบอกลากันเสมอ และเพื่อแสดงว่าเราให้เกียรติ ให้ความสำคัญกับคนรอบข้าง จะไปจะมาก็ยังนึกถึงกันไว้


อาจมีเทคนิคปลีกย่อยกว่านี้เป็นเทคนิคส่วนบุคคล แต่ขอเน้นอีกทีค่ะว่าเรื่องมารยาทสำคัญเสมอ ถึงแม้การพูดคุยกันจะให้ความเป็นกันเอง ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เกรงใจกัน ไม่มีมารยาทต่อกันเนอะ มารยาทดีมีชัยไปกว่าครึ่งจริงๆ ค่ะ คอนเฟิร์มเลย


บทความที่เกี่ยวข้อง