สาวๆ หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินภาวะหรืออาการ
" เท้าแบน "
มาก่อน และเชื่อว่า หลายคนแทบจะไม่เคยใส่ใจกับเท้าเท่าไหร่นัก ทั้งๆ ที่มันเป็นอวัยวะที่ถูกใช้งานมากอวัยวะหนึ่งเลยทีเดียว วันนี้
Mmayy14
จึงอยากจะพาเพื่อนๆ ชาว
SistaCafe
ทุกคนมาทำความรู้จักกับภาวะเท้าแบน ลักษณะอาการ วิธีป้องกันแก้ไข และการตรวจเช็คดูสิว่า
เอ๋!!...ตอนนี้ฉันเป็นคนหนึ่งรึเปล่าน้าาา ที่เท้าแบนน!!???

เท้าแบน...คืออะไร??
เท้าแบน
เป็นสภาวะที่
เอ็นพยุงอุ้งเท้า ที่อยู่ด้านในเท้าถูกยืดออก
จนสูญเสียการพยุงอุ้งเท้าไว้ ส่งผลให้กระดูกภายในเท้าเอียงล้มลงมาบริเวณอุ้งเท้า ทำให้เกิดเท้าแบน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. แบบยืดหยุ่น
:
ยกเท้าขึ้นจากพื้นจะพบว่า อุ้งเท้าปกติ แต่เมื่อยืนลงน้ำหนักบนพื้นแข็ง ส่วนโค้งเว้าด้านในจะลดลงหรือหายไป เกิดจากการยืน เดิน หรือวิ่งบนพื้นแข็งๆ โดยใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับสรีระ และกิจกรรม หรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ( พบได้ประมาณ 20% ของคนทั่วไป )
2. แบบยึดติด
: ไม่ว่าจะลงน้ำหนักอย่างไร เท้าก็จะแบนผิดรูปในลักษณะนั้นตลอด ( พบได้น้อย )

วิธีตรวจเช็คว่าเราเท้าแบนไหมนะ ??
1. ใช้การสังเกตจากการเดินหรือยืน
ใช้การสังเกตในขณะที่คุณเดินหรือยืน หากด้านในของเท้า
ไม่มีแนวโค้งเว้า
ก็แปลว่า คุณเท้าแบน หรือให้ลองยืนบนปลายเท้า ( เขย่งเท้า ) หากมีแนวโค้งเว้า แปลว่า ปกติ แต่ถ้าหากเท้าของคุณแบนนราบเป็นเส้นตรง นั่นหมายถึง เท้าแบน นั่นเอง

2. นำเท้าจุ่มน้ำ
ให้เอาเท้าจุ่มน้ำจนเปียกแล้วเดินในที่ที่คุณจะเห็นรอยเท้าได้อย่างชัดเจน เช่น พื้นคอนกรีต
ถ้าเห็นเป็นรูปเท้าเต็มๆ ชัดเจน ก็เป็นไปได้ว่าเท้าของคุณแบน
อย่างไรก็ดี หากเป็นเด็กก็อาจจะสังเกตเท้าแบนได้ยาก เพราะอาการจะแสดงเมื่ออายุประมาณ 10 ขวบ

เท้าแบน...มีอาการอย่างไร ??
เท้าแบนอาจไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่อาจจะทำให้กล้ามเนื้อ และเอ็นเเข็ง
จึงทำให้รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเดิน โดยคุณอาจจะปวดในบริเวณต่อไปนี้คือ
ด้านในของข้อเท้า
อุ้งเท้า
ด้านนอกของเท้า ( หมายถึงแนวตั้งแต่นิ้วก้อย )
น่อง ( ด้านหลัง )
เข่า สะโพก หรือหลัง
คนบางคนที่เท้าแบนนั้นจะพบว่า น้ำหนักตัวกระจายไปไม่สมดุล โดยเฉพาะคนที่เท้าบิดเข้าด้านในมาก ถ้าเป็นเช่นนั้น
รองเท้าของคุณก็จะสึกอย่างรวดเร็ว
เช่นเดียวกับข้อเท้า และเอ็นร้อยหวายของคุณด้วย

การใช้อุปกรณ์เสริมและปรับรองเท้า
1. ใส่รองเท้าที่เหมาะสม

ควรใส่เป็นรองเท้าที่มีลักษณะหุ้มส้น เช่น คัตชู หรือรองเท้ากีฬา ส่วนหน้าเท้ามีความกว้างพอสมควร และควรหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าแตะ
2. ใส่พื้นรองภายในเท้า

พื้นภายในรองเท้า หรือเรียกว่า " Insole " ที่เสริมบริเวณอุ้งเท้าด้านใน ( Medel Arch Support ) ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ เพื่อสั่งตัดเฉพาะแต่ละคนไป หรือบางคนอาจจะซื้อ Insole แบบสำเร็จรูปมาใช้ก็ได้ ถ้ามีภาวะเท้าแบนไม่มากหรือไม่เจ็บส้นเท้า
3. ทำกายภาพบำบัด

ในกรณีคนที่เป็นไม่มาก ไม่มีอาการเจ็บปวด สามารถกายภาพโดย
การ
สร้างความแข็งแรงบริเวณอุ้งเท้า
เช่น เดิน หรือยืนบนปลายเท้า โดยที่ส้นเท้าไม่แตะพื้นเลย อาจใช้เวลาประมาณ 5 นาที และทำทุกวัน
หรือ
ใช้วิธีนำขวดน้ำพลาสติก
ขนาด 12 หรือ 16 ออนซ์ใส่น้ำให้เกือบเต็ม นำไปแช่ตู้เย็น ( ไม่ต้องให้เป็นน้ำแข็งนะคะ ) เมื่อขวดน้ำมีความเย็นในระดับหนึ่งแล้ว ให้เอามาวางกับพื้น แล้วใช้ฝ่าเท้าคลึงไปมา ข้างละ 10 - 15 นาที ความเย็นจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี

จริงๆ แล้วเท้าเเบนไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงนัก แต่ถ้าหากเป็นแล้ว ก็อาจจะทำให้รบกวนการใช้ชีวิตอยู่ไม่น้อย
บางคนอาจจะปวดเท้าได้ง่ายเวลาเดิน ปวดเข่า ปวดหลัง เป็นต้น เพราะฉะนั้นหากเราหาทางป้องกันได้เราก็ควรป้องกัน โดยวิธีป้องกันก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่เพื่อนๆ หาเวลาว่างมา
บริหารกล้ามเนื้อเท้า
ตามวิธีที่เรานำมาฝากกันในข้างบน เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราเขยิบห่างจากอาการเท้าแบนมาทีละนิดแล้วล่ะค่า
Cr. รู้จักกับโรคเท้าแบน
http://health.kapook.com/view20295.html
Cr. วิธีง่ายๆ สำหรับหนุ่มสาวที่เผชิญกับโอกาสการเกิดปัญหา " ภาวะเท้าแบน "
http://www.schollthailand.com/index.php/article/detail/id/8
Cr.
นิตยสาร Lisa Vol.13 No.26
บทความที่เกี่ยวข้อง

DIY สครับขัดเท้าให้ 'ผิวนุ่ม' ทำเองง่ายๆ ใช้ได้ดี!
https://sistacafe.com/summaries/1656

เคล็ด (ไม่) ลับ วิธีเดินบนรองเท้าส้นสูงให้สวย
https://sistacafe.com/summaries/1512

สูตรลับเท้าเนียนนุ่ม
https://sistacafe.com/summaries/314