ถ้าพูดถึงซีสต์ สาว ๆ อาจจะนึกถึงช็อกโกแล็ตซีสต์ที่เป็นโรคยอดฮิตของผู้หญิง แต่น้อยคนจะรู้ค่ะว่าซีสต์ก็เกิดกับผิวหนังของเราทั่วร่างกายได้ด้วย ไม่เฉพาะมดลูกเท่านั้น


ซีสต์ คืออะไร? เกิดจากอะไร?


ซีสต์ (Cyst)

หมายถึง ถุงน้ำ หรือก้อนตุ่มที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติภายในร่างกาย โดยก้อนที่โตขึ้นมานั้น ภายในอาจมีสิ่งแปลกปลอมได้หลายอย่าง อาทิเช่น อากาศ ของเหลว ไขมัน หรือเซลล์ผิวหนังเช่นกระดูก เซลล์ผม เล็บ หรือมักเป็น

https://www.honestdocs.co/foot-health

ที่ไม่ร้ายแรง

เกิดขึ้นได้ทุกส่วนตามเนื้อเยื้อของร่างกาย บริเวณที่พบบ่อย เช่น ที่เต้านมhttps://www.honestdocs.co/chalazionรังไข่ นิ้วมือ แขน ขา ไต และใต้ผิวหนังส่วนต่าง ๆ บางประเภทสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือจะมีก้อนตุ่มนูนขึ้นที่ผิวหนัง บางประเภทต้องคลำดูถึงจะสังเกตเห็น หรือบางประเภทอาจไม่ปรากฏอาการใด ๆ เนื่องจากอยู่ภายในร่างกาย ซีสต์มีหลายชนิด ประเภทที่สามารถพบได้บ่อยมีดังนี้

-

ช็อกโกแล็ตซีสต์ ( Chocolate cyst หรือ Endometriosis )

คือ ซีสต์ที่เกิดจากการที่มีประจำเดือนบางส่วนไหลออกไม่หมด มีการไหลกลับเข้าไปคั่งค้างอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเช่น มดลูก นอกมดลูก หรือรังไข่ จนเกิดเป็นถุงมาหุ้มไว้ แน่นอนว่าภายในถุงนั้น คือเยื่อบุมดลูกหรือก็คือประจำเดือนเก่า ซึ่งมีสีน้ำตาลคล้ายคล้ายช็อกโกแลต

-

เดอร์มอยด์ซีสต์ ( Dermoid cyst )

เกิดจากเซลล์ผิวหนังที่จัดวางอยู่ผิดตำแหน่งตั้ง ชนิดนี้มีส่วนประกอบเหมือนผิวหนังมากที่สุด จึงมักพบเส้นผม เล็บ กระดูก ไขมันอยู่ภายใน สามารถพบได้ในเด็ก หากพบซีสต์ชนิดนี้มักนิยมผ่าตัดออกเพื่อลดโอกาสการเติบโต

-

ฟังชันนัลซีสต์ ( Functional cyst )

คือ ซีสต์ที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปภายในร่างกาย แต่มันสามารถยุบฝ่อหายไปเองได้ เมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโต

-

กุ้งยิงเรื้อรัง ( Chalazia )

กุ้งยิง คือก้อนซีสต์ชนิดหนึ่งที่ขึ้นบริเวณเปลือกตา โดยเกิดจากท่อของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตาอุดตัน ผู้ป่วยจะเจ็บตึงและปวดบวมแผล หากซีสต์มีขนาดใหญ่มากอาจะต้องผ่าออก ไม่เช่นนั้นจะมีอุปสรรค์ต่อการมองเห็น

-

ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง ( Epidermoid Cysts )

เป็นซีสต์ที่พบได้บ่อย เกิดได้ทุกเพศทุกวัย และทุกส่วนของร่างกาย เป็นก้อนซีสต์ที่เราสามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก เพราะจะมีลักษณะปุดโปนตามผิวหนัง อย่างเช่นใบหน้า ลำคอ หน้าอก และหลังส่วนบน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากต่อมไขมันที่สร้างน้ำมันมาหล่อเลี้ยงได้รับความเสียหาย



รูปภาพ:

ที่พี่อาร์ตเป็นคือruptured epidermal cystค่ะ เป็นตุ่มก้อนใหญ่ ประมาณ 2x1 ซม. เกิดที่บริเวณรอยต่อระหว่างคอกับไหล่ข้างขวาค่ะ เป็นมาประมาณ 1-2 วันแล้วรู้สึกปวด ๆ ตึง ๆ กินยาฆ่าเชื้อก็ยังไม่หาย เอาเข็มเจาะเองก็ไม่ออก เลยต้องหาหมอค่ะ เพราะกลัวจะเป็นอะไรมากกว่านี้


วันแรกที่พบหมอ

หลังจากยื่นบัตรที่ห้องบัตร เจ้าหน้าที่บัตรก็ส่งต่อมาที่แผนกศัลยกรรม พอหมอศัลยกรรมตรวจปุ๊บ ตอนนั้นก็ยังไม่แน่ใจค่ะว่าเป็นฝีหรือซีสต์ แต่เพราะอาการมีหนองปวด ๆ หมอเลยจัดยาฆ่าเชื้อมาให้กิน 1 สัปดาห์ เพื่อให้หนองยุบ ถ้าไม่หายค่อยมาพบหมอตามใบนัดอีกครั้ง

ในขั้นนี้ต้องบอกตามความจริงนะคะว่าเป็นมากี่วัน กินยาอะไรเองบ้าง เอาเข็มเจาะเองรึเปล่า อย่าอายที่จะตอบค่ะ เพราะมีผลต่อการวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น หมอบอกพี่อาร์ตเองด้วยแหละค่ะว่าอย่ากินยาฆ่าเชื้อเองมั่วซั่ว เพราะเราไม่รู้ว่ากินถูกเชื้อรึเปล่า มาหาหมอดีแล้ว


1 สัปดาห์ผ่านไป หายปวด แต่ก้อนยังอยู่


รูปภาพ:

กินยาฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด หนองที่ปวด ๆ ก็เริ่มหายไปแล้วค่ะ แต่ก้อนแข็ง ๆ ยังอยู่ เลยต้องมาหาหมออีกครั้ง หมอคิดว่าน่าจะเป็นซีสต์ และคิดว่าหมอแผนกผิวหนังอาจจะมีเทคนิคที่ดีกว่านี้ พี่อาร์ตเลยถูกส่งต่อเคสมาที่หมอผิวหนัง

หมอผิวหนังคลำ ๆ แล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นซีสต์แน่นอนค่ะ หมอเลยนัดผ่าตัดในอีก 5 วันต่อมา ( นัดตามคิวที่ห้องผ่าตัดเล็กว่างค่ะ ) ก่อนปล่อยตัวกลับบ้าน หมอก็แนะนำให้เตรียมเงิน 300 บาท ค่าตรวจชิ้นเนื้อมาด้วยในวันผ่าตัด และให้ยาฆ่าเชื้อมากินอีก เผื่อว่าก้อนจะยุบมากกว่านี้

*สำหรับคนอื่นอาจจะมีหรือไม่มีค่าตรวจชิ้นเนื้อก็ได้นะคะ ขึ้นกับ รพ.ที่รักษา แต่สำหรับพี่อาร์ตรักษากับ รพ.วชิระภูเก็ต ซึ่งเป็น รพ.รัฐบาล ต้องส่งชิ้นเนื้อไปตรวจกับแล็บที่อื่น จึงจำเป็นต้องควักเพิ่มต่างหากในส่วนนี้ค่ะ


ผ่าตัดเล็ก เพื่อเอาก้อนซีสต์ออก

อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายมาเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลามาตามนัดผ่าตัดค่ะ ไม่ต้องอดน้ำอดอาหารนะคะ เพราะเป็นผ่าตัดเล็ก ( คือผ่าตัดเคสเล็กน้อยที่สามารถกลับบ้านได้เลย ไม่มีการนอน รพ. หรือดมยาสลบ ) พอได้นอนเตียงก็ถกเสื้อข้างที่เป็นตุ่มลงให้หมอผ่าตัดได้สะดวก

หมอจะฉีดยาชารอบ ๆ แผล แล้วทำการเจาะ ๆ กรีด ๆ ค่ะ ไม่เจ็บเลย แต่จะรู้สึกตึง ๆ หนึบ ๆ เหมือนหมอกำลังเอาไม้อะไรงัด ๆ ผิวเราอยู่ ใช้เวลาเกือบชั่วโมง ก้อนซีสต์ 2x1 ซม. ของพี่อาร์ตก็ออกมาเรียบร้อย แล้วทำการเย็บแผลเป็นอันเสร็จพิธี

ก่อนกลับบ้าน หมอก็สรุปค่ะว่าเป็นซีสต์จริง ๆ เดี๋ยวจะส่งชิ้นเนื้อที่ผ่าไปให้แล็บยืนยันอีกครั้ง และกำชับให้เราอย่าให้แผลโดนน้ำ อย่ายกของหนัก เดี๋ยวแผลปริ ระหว่างรอนัดหมอในอีก 7 วัน ก็ควรมาล้างแผลแบบวันเว้นวันด้วย


ตัดไหม ปิดเคส


รูปภาพ:

นัดครั้งสุดท้าย หมอจะดูแผลหลังผ่าตัดไปแล้ว ทำการตัดไหม พร้อมทั้งแจ้งผลแล็บให้ทราบค่ะ

ซึ่งผลแล็บก็ออกมาเป็นเอกฉันท์กับหมอ ยืนยันว่าก้อนที่เกิดขึ้นกับพี่อาร์ตคือก้อนซีสต์จริง ๆ และในเคสที่พี่อาร์ตตัดออกไปนั้น เป็นชิ้นเนื้อที่อักเสบแล้วมันแตกเองเละแล้วค่ะ ไม่เหมือนก้อนซีสต์ที่ยังไม่แตก ที่ผ่าออกมาแล้วจะเป็นก้อนเดียวกันสมบูรณ์ ( ถอนออกมาได้แบบทั้งยวงจริง ๆ ) นั่นก็แปลว่า ในเคสของพี่อาร์ตนี้ ถึงหมอตัดออกไปเยอะแล้ว ก็ยังพอจะหลงเหลือเศษเสี้ยวฝังในเนื้อเราบ้าง มีโอกาสจะเกิดขึ้นอีก

เรื่องที่น่าเสียใจก็คือ ไม่มีวิธีป้องกันค่ะ เพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง แต่เรื่องที่น่าดีใจบ้างก็คือ พอเกิดขึ้นแล้ว ก็มีวิธีรักษาคือผ่าตัดออกได้ ( สาว ๆ คนไหนคลำผิวแล้วเจอก้อนอะไรใต้ผิวหนัง เสียเวลาไปตรวจสักนิดก็ดีนะคะ )


รูปภาพ:

ผลแล็บออกมาแล้ว ยืนยันค่ะว่าเป็น ruptured epidermal cyst และหมอยังแนะนำก่อนปิดเคสอีกค่ะว่า หลังจากนี้แผลจะเป็นคีรอยด์ ให้ทายาอย่าง dermatrix ultra หรือยา hiruscar หลอดเหลือง เพื่อบรรเทาแผลคีรอยด์ไม่ให้นูนมากค่ะ และหลังจากนี้ 2 สัปดาห์ อย่าเพิ่งยกของหนัก เพราะหมอผ่าลงไปค่อนข้างลึก มีการเย็บชั้นในด้วย เดี๋ยวแผลปริ หากมีเกิดขึ้นอีก ก็รีบมาหาหมอได้อีกจ้า



สรุปแล้ว พี่อาร์ตใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการรักษาซีสต์ที่คอที่โรงพยาบาลค่ะ และเนื่องจากใช้สิทธิบัตรทองในการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลรัฐ จึงเสียค่าบริการครั้งละ 30 บาทเอง ( ยกเว้นค่าแล็บที่ต้องควักจ่ายเองต่างหาก )

จากประสบการณ์นี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสาว ๆ ไม่ให้กลัวโรคผิวหนังชนิดนี้นะคะ หมั่นสำรวจตัวเองไว้ค่ะ หากเป็นแล้วอย่ารีรอที่จะพบแพทย์ อาการเล็กน้อยบางอย่าง ถ้าไม่รีบรักษา ระวังจะเป็นหนักกว่าเดิมนะคะ รักษาสุขภาพกันด้วยค่ะสาว ๆ ขอให้สุขภาพแข็งแรงกันทุกคนเลยจ้า ^^