.

Zero Wasteไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่แค่อาจจะดูไกลตัวในบ้านเราที่เราอยากทำที่นี่ให้เป็นแบบนี้ เพราะเราอยากพิสูจน์ว่าZero Waste มันเป็นไปได้จริง แค่เราเริ่ม คนอื่นก็จะเริ่มตาม

,

พอได้ยินคำว่า

Zero Waste

เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนเลยค่ะที่อาจยังไม่เข้าใจความหมายของคำๆ นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิด Zero Waste กับสังคมไทย เรียกว่ายังไม่เป็นที่แพร่หลายจนพูดได้ว่าแทบจะกลายเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับบางกลุ่มคนด้วยซ้ำ

ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว Zero Waste ถูกนำมาใช้ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก

เราได้รู้จัก

แนวคิด Zero Waste

ด้วยความบังเอิญ จากการเปลี่ยนที่นอนเพื่อหลบหนีเมืองกรุงไปพักผ่อนในช่วงที่อากาศหนาวที่สุดในรอบหลายปีที่

“ Machill Home ”ฟาร์มสเตย์เล็กๆ ในจังหวัดนครปฐม

แรกพบสบตาเราถูกใจในความน่ารักของบ้านมาชิวที่ให้ความรู้สึกเหมือนเคลื่อนย้ายตัวเองไปนอนเล่นในฟาร์มสเตย์ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น บรรยากาศธรรมชาติซึ่งรายล้อมไปด้วยสีเขียวจากต้นไม้ , แปลงผักออร์แกนิค และความสดชื่นจากบึงน้ำที่โอบล้อมพื้นที่นี้อยู่ รวมไปถึงไฮไลท์อย่างบ้านพักที่ถูกออกแบบได้อย่างอบอุ่นเป็นกันเอง ชวนให้ใครหลายคนอยากมาทิ้งตัว

รูปภาพ:

ความประทับใจที่ดูจะฉาบฉวยของเรานั้นเปลี่ยนไปเมื่อได้เริ่มบทสนทนากับคุณกุ้ง และคุณเกล้าคู่รักเจ้าของ Machill Homeที่ออกมาต้อนรับเราด้วยตัวเอง คุณเกล้าเล่าว่า“ ก่อนแขกทุกคนจะมาเยี่ยมบ้านเรา ต้องมีข้อตกลงที่จะไม่ทำให้เราและเขาผิดใจกันก่อน เราก็อยากรับแขก แต่ก็อยากให้แขกมาหาเราโดยเข้าใจในสิ่งที่เราเป็นด้วย หากยอมรับได้ค่อยโอนเงินจอง ”คุณเกล้าอธิบายถึงตัวตนของ บ้านมาชิวต่อว่าMachill Home เป็น Zero Waste ฟาร์มสเตย์ ที่พยายามใช้ชีวิตโดยการลดขยะและใช้พลาสติกให้น้อยที่สุด พวกเขาอยู่ด้วยการจัดการขยะที่เกิดขึ้นกันเองฉะนั้นข้อห้ามที่ผู้มาเยือนต้องทำความเข้าใจก็คือบ้านมาชิวไม่อนุญาตให้นำพลาสติกที่ย่อยสลายยาก ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง หรือสิ่งของที่จะกลายเป็นขยะมาเข้าพัก

แต่คุณกุ้งและคุณเกล้าก็ใช่ว่าจะบังคับหรือมีการปรับเงินใดๆ หากแขกนำพลาสติกเข้ามานะคะ เพียงแค่ขอความร่วมมือและสร้างกฎเป็นแรงจูงใจให้ผู้ที่มาพักเล็กๆ ว่า“ หากมาแล้วไม่ทิ้งขยะที่ย่อยสลายไม่ได้เอาไว้ ทางบ้านมาชิวก็จะคืนค่าทำความสะอาดให้ 500 บาท ”เป็นมิตรกับโลกแล้วยังเป็นมิตรกับกระเป๋าตังค์แขกที่มาพักอีกด้วย

รูปภาพ:

.

“ ถามว่าพื้นที่ตรงนี้มีคนมาคอยรับขยะไหม ก็มีนะ แต่ว่ารับแล้วมันไปไหนล่ะ ?รับไปแล้วก็ไม่พ้น landfill เลย ไม่มีการคัดแยกอะไรแน่นอนแต่เรามองให้มันยาวไปกว่านั้น มองภาพว่าขยะมันไปไหนต่อจากที่เคยทิ้งหน้าบ้านแล้วจบก็เลยรู้สึกว่าเราต้องเริ่มรับผิดชอบขยะตัวเอง

.

Zero Waste หรือแนวคิดขยะเป็นศูนย์พูดง่ายๆ ก็คือการใช้ชีวิตอย่างไรให้ลดการเกิดขยะน้อยที่สุด เป็นแนวคิดที่ส่งเสริมให้นำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดปริมาณของเสียหรือขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ให้เหลือน้อยลงหลักการง่ายๆ ของ Zero Waste ก็คือ

- Avoidหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะที่ยากต่อการกำจัด

- Reduceลดการซื้อ การใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะ

- Reuseการนำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วนำกลับมาใช้งานใหม่

- Recycleการนำวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

รูปภาพ:รูปภาพ:

จุดเริ่มต้นของบ้านมาชิวกับแนวคิด Zero Waste เริ่มมาจากตัวของคุณเกล้าเองก่อนเธอเริ่มง่ายๆ อย่างการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกซึ่งเกิดจากความขี้เกียจในการจัดการกับถุงพลาสติกจำนวนมาก เพราะการรับถุงพลาสติกจากร้านค้าต่างๆ มานั้นก็ต้องมานั่งพับนั่งเก็บ ด้วยความขี้เกียจเก็บก็เลยเลือกที่จะไม่รับมาเลยดีกว่า เธอบอกต่อว่า“ จุดเปลี่ยนคือตอนย้ายมาอยู่ที่นี่ เราเจอถุงพลาสติกมากกว่า 80% ของพื้นที่ครัวในบ้านเก่า ช็อคมากแบบไม่เอาแล้วไม่อยากนั่งเก็บนั่งสะสม เลิกรับถุงพลาสติกถาวรเลย แล้วพอย้ายมาอยู่ที่บ้านมาชิวเราต้องไปทำเรื่องให้รถขยะมาเก็บขยะ รถจะมาเก็บจากถังหน้าบ้านถังเดียว ก็มานั่งคิดว่า แล้วยังไงต่อทิ้งหน้าบ้านรวมกันแล้วมันไปไหน ? ก็ไม่พ้น landfil จากที่เคยทิ้งหน้าบ้านแล้วจบ ก็มองยาวขึ้น เช่น ถ้าใส่เศษอาหารทิ้งในถุงพลาสติกมันก็จะเน่า แต่ถ้าเรานำเศษอาหารมาทำปุ๋ยแทนล่ะ ดินก็จะดีเราก็จะสามารถปลูกผักเองได้ มีอาหารกินโดยไม่ต้องซื้อ ”

จากประกายเล็กๆ วันนั้นทำให้คุณเกล้าตระหนักไปถึงผลที่ใหญ่ขึ้นและเริ่มที่จะหันมาใส่ใจในสิ่งแวดล้อม หันมาทำความเข้าใจในแนวคิด Zero Waste ด้วยการทำทุกอย่างให้ง่ายและสมดุลกันคุณเกล้าจึงเริ่มชักชวนคนรอบตัวอย่าง คุณกุ้ง รวมไปถึงคุณพ่อและคุณแม่ ให้รู้จักแนวคิด Zero Wasteและเริ่มทำจากสิ่งง่ายๆ อย่าง การงดรับถุงพลาสติก , ใช้กล่องอาหารและแก้วน้ำของตนเอง รวมไปถึงเริ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ประกอบอาหารกินเอง เรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยการพึ่งพาตนเองในแบบที่ไม่เบียดเบียนใคร

รูปภาพ:

c

“ แรกๆ คนรอบตัวเราก็ยังไม่เก็ท แต่หลังๆ ทุกคนก็พยายามจะเข้าใจ

มันเลยทำให้เรามองภาพ Machill Home ที่เป็นแบบนั้นด้วย

อยากให้คนที่มาพักเข้าใจ ใส่ใจ และรู้จักรับผิดชอบขยะของตนเอง

เลยเป็นที่มาของคอนเซ็ปต์ Zero Waste ฟาร์มสเตย์ในบ้านมาชิว ”

.

เมื่อคุณเกล้าและคุณกุ้งเริ่มเปิดบ้าน Machill Home ต้อนรับผู้มาเยือน

หัวใจหลักของฟาร์มสเตย์แห่งนี้ก็คือEco-friendly

เริ่มตั้งแต่การเลือกที่ดินที่ต้องโอบล้อมด้วยธรรมชาติแต่ยังคงใกล้ตัวเมืองให้พอเดินทางสะดวก

รวมไปถึงบ้านพักที่ก่อสร้างในลักษณะ“บ้านดินประยุกต์”ซึ่งคุณกุ้งเป็นผู้เสนอไอเดียและลงมือสร้างบ้านดินด้วยตัวเอง


โดยคุณสมบัติพิเศษของบ้านดินคือจะให้ความเย็นตลอดวันแม้อากาศจะร้อนก็ตาม

เนื่องจากผนังดินเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี แต่บ้านดินจะคลายความร้อนออกในช่วงเย็น ที่บ้านมาชิวเจอมีกฎให้เปิดแอร์หลัง 20.00 น. เพื่อให้บ้านดินคลายความร้อนออกซะก่อนเพื่อไม่ให้แอร์ฯ ทำงานหนักและสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น

รูปภาพ:

การมาพักผ่อนที่บ้านมาชิวสิ่งแรกที่ทุกคนจะได้รับคือแก้วน้ำประจำตำแหน่งให้พกพาไว้ใช้ตลอดการเข้าพัก รวมไปถึงในบ้านพักก็ยังมีข้าวของเครื่องใช้รักษ์โลกที่ย่อยสลายได้ง่ายวางไว้ให้ใช้ได้ฟรีๆ ไม่ว่าจะเป็น สำลี คอตตอนบัด และยาสีฟันแบบเม็ด

อีกความน่ารักก็คือคุณเกล้า คุณกุ้งจะชวนแขกพูดคุยแลกเปลี่ยนและทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีจัดการขยะ รวมไปถึงแนวคิด Zero Waste เหมือนได้เปลี่ยนบรรยากาศมานอนพักนั่งพูดคุยในบ้านเพื่อนโดยที่ทั้งสองจะคอยช่วยเหลือและพาเราทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเต็มใจ ทั้ง เก็บผักปลอดสารสดๆ จากแปลง ทำพิซซ่าโฮมเมด รวมไปถึงเตรียมมื้ออาหารเย็นแบบฟาร์มดินเนอร์อีกหนึ่งไฮไลท์ของบ้านมาชิวที่ไม่ควรพลาด

รูปภาพ:รูปภาพ:

“ การเดินทางให้อะไรกับเราเสมอ ”คือประโยคสั้นๆ ที่คุณเกล้าพูดกับเรา คงเหมือนกับการเดินทางมาหาบ้านมาชิวในครั้งนี้ ที่นอกจากจะได้พักผ่อนชาร์ตพลังชีวิตอย่างเต็มที่แล้วเรายังได้รับแรงบันดาลใจและพลังบวกในเรื่องสิ่งแวดล้อมกลับมาอย่างเอ่อล้นเช่นกันเราแอบตั้งมั่นในใจเล็กๆ กับตัวเองว่าจะลองงดรับถุงพลาสติกนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป คงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ยืนยันคำพูดของคุณเกล้าได้หนักแน่นว่าZero Waste เป็นไปได้จริง แค่เราเริ่ม คนอื่นก็จะเริ่มตาม

ปล. ลองแวะไปใช้ชีวิตแบบเป็นมิตรกับโลกขึ้นอีกนิดที่บ้านมาชิวกันดูนะ :)

รูปภาพ: