สวัสดีค่าา สาวๆSistaCafeสาย' รักษ์ 'โลกทุกคน ヽ(o^ ^o)ノในยุคนี้ที่ปัญหาโลกร้อน ( Global Warming ) เริ่มเป็นภัยมืดที่ใกล้ตัวเราเข้ามาทุกที ทั้งมลภาวะ สิ่งแวดล้อม ฤดูกาลที่เริ่มแปรปรวน สัตว์น้ำบางชนิดใกล้สูญพันธุ์ ขยะเพิ่มสูงขึ้นจนจะล้นโลกและยังมีอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้น คือสัตว์ทะเลที่ตายเป็นจำนวนมากเพราะเผลอไปกิน' พลาสติก 'ที่ลอยอยู่กลางทะเลมากมายซึ่งมาจากการจัดการขยะที่ไม่ดี และการที่ผู้คนทั่วไปยังไม่มีความรู้ในการ' แยกขยะพลาสติก 'ให้เหมาะสมเท่าที่ควรนั่นเองในเอเชีย สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น ก็เริ่มนำร่องการแยกขยะกันแล้ว มีถังขยะแยกประเภทวางอยู่ทั่วไป มีกฎหมายการทิ้งขยะชัดเจน เอาจริง ซึ่งไทยก็ใกล้จะก้าวตามไปเร็วๆ นี้ แต่เพราะเป็นเรื่องใหม่สาวๆ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ถ้าอยากแยกขยะ แล้วจะเริ่มจากอะไร วันนี้เราจึงมาให้ความรู้เรื่อง 7 ประเภทพลาสติก ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อแยกขยะและนำไปรีไซเคิลได้อย่างถูกต้อง ^^จะมีประเภทไหนบ้างเราไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ
7 ประเภทพลาสติก ฝึกแยกขยะ พลาสติกง่ายๆ แค่ทำความเข้าใจ
พลาสติกมีประโยชน์มากมาย แต่ถ้าไม่หาวิธีจัดเก็บหรือแยกทิ้งให้ถูกวิธีก็จะเกิดปัญหารุงรังมากระทบเราและคนอื่นๆ ต่อได้ไม่จบไม่สิ้น เพราะงั้นเรามารู้จักประเภทของพลาสติกกัน เวลาทิ้งพลาสติกจะได้แยกได้อย่างถูกต้อง ช่วยโลกกันคนละนิดละหน่อย คนละไม้ละมือนะคะซิส
1. โพลีเอทิลีน เทอร์ฟะธาเลต (Polyethylene Terephthalate : PETE)
เริ่มกันกับประเภทแรก ที่คาดว่าสาวซิสน่าจะเจอในชีวิตประจำวันมากที่สุด ได้รับมาเกือบทุกวัน หรือกลายมาเป็น
' ขยะพลาสติก '
มากที่สุดนั่นเอง เพราะ
พลาสติก PETE มักนำมาใช้ผลิตขวดเครื่องดื่มที่ไม่ใช่ประเภทแอลกอฮอล์ เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม หรือขวดน้ำมันพืชค่ะ
คุณสมบัติของ
PETE
จะเป็น
พลาสติกโพลีเมอร์ใส มองเห็นสิ่งที่อยู่ภายในได้ชัดเจน เนื้อเหนียว มีความทนทานต่อแรงกระแทก ป้องกันการแพร่ผ่านของก๊าซได้ดี
สัญลักษณ์รีไซเคิลคือ ' หมายเลข 1 '
หากแยกขยะแล้วนำไปรีไซเคิล :
จะนำกลับไปผลิตซ้ำเป็น
ขวดเครื่องดื่ม ขวดน้ำยาซักผ้า ฟิล์มใส หรือนำไปทำเป็นเส้นใยทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์ในหมอน เป็นต้น
2. โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High-density Polyethylene : HDPE)
ประเภทที่สอง ก็ยังเป็นพลาสติกที่พบบ่อย บางคนได้รับมาทุกวันในชีวิตประจำวัน
พลาสติก ' HDPE ' มักมาในรูปแบบขวดนมเพื่อยืดอายุนมให้อยู่นานขึ้น ขวดเครื่องสำอางต่างๆ เช่น รองพื้น ครีม ขวดแชมพู ขวดแป้งเด็ก ขวดน้ำยาทำความสะอาด รวมไปถึงถุงพลาสติก ถังขยะ ถังบรรจุสารเคมี เช่น ถังน้ำมันรถนั่นเอง
คุณสมบัติของ
HDPE
จะโดดเด่นที่
สีสวย มีความหนาแน่นสูง แข็งแรง แต่โปร่งแสงน้อยกว่า PETE ทนกรดและด่าง ทนสารเคมีได้ และป้องกันการแพร่ผ่านของความชื้นได้ดี สัญลักษณ์รีไซเคิลคือ ' หมายเลข 2 '
หากแยกขยะแล้วนำไปรีไซเคิล :จะนำมาผลิตซ้ำเป็นฟิล์ม บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ขวดใส่น้ำยาซักผ้า ขวดน้ำมันเครื่อง ลังพลาสติก ม้านั่งพลาสติก ท่อ พาเลท ถังน้ำมัน ไม้เทียม หรือกล่องขนาดใหญ่เป็นต้น
3. โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride : PVC)
ประเภทที่สาม ชื่อน่าจะคุ้นหูสาวๆ ที่สุดกับคำว่า
' ท่อพีวีซี ', ' กระเป๋าพีวีซี '
เพราะ
PVC
เป็นพลาสติกที่มักนำมาใช้
ผลิตท่อน้ำประปา สายยางใส ฟิล์มห่ออาหาร แผ่นพลาสติกทำประตู หน้าต่าง กระเบื้องห้องน้ำ วงกบ กระเป๋าหนังเทียม ฉนวนหุ้มสายไฟ ขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ รวมไปถึงอุปกรณ์การแพทย์
ด้วยค่ะ
พลาสติก
PVC
เป็น
พลาสติกใส มีความแข็งแรงสูง ไอน้ำและอากาศสามารถซึมผ่านได้พอสมควร แต่ป้องกันไขมันซึมเข้าได้ดี สัญลักษณ์รีไซเคิลคือ ' หมายเลข 3 '
หากแยกขยะแล้วนำไปรีไซเคิล :
จะนำมา
ผลิตซ้ำเป็นท่อน้ำประปา ข้อต่อ รองเท้า กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป
เป็นต้น
#saveโลกแบบสวยๆ ด้วยถุงผ้า ลดพลาสติกไปโดยปริยาย
https://sistacafe.com/summaries/72929
ถุงพลาสติกไม่ใช้ ใช้ถุงผ้าดีกว่า! ส่อง “สีถุงผ้า” เสริมดวงประจำวันเกิด ใช้แล้วเฮง มีแต่รวยกับรวย!
https://sistacafe.com/summaries/73870
4. โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low-density Polyethylene : LDPE)
ประเภทที่สี่ สาวๆ หลายคนน่าจะซื้อและทิ้งถังขยะทุกวัน โดยมองข้ามไปว่ามันก็คือพลาสติกชนิดหนึ่ง
LDPE
จะปรากฎอยู่ในรูปของ
ถุงใส่อาหารแช่แข็ง อาหารฟรีซทั้งหลาย ถุงใส่ขนมปัง แผ่นฟิล์ม ถุงใส่ของ/ห่อของ และสายหุ้มทองแดงค่ะ
พลาสติก
LDPE
เป็น
พลาสติกชนิดโปร่งแสง อ่อนนิ่ม ปริมาตรสูงแต่ความหนาแน่นต่ำ คุณสมบัตินิ่มและใส สัญลักษณ์รีไซเคิลคือ ' หมายเลข 4 '
หากแยกขยะแล้วนำไปรีไซเคิล :
จะนำไป
ผลิตซ้ำเป็นกระเป๋า น้ำยาประสานคอนกรีต ท่อ แผ่นฟิล์ม ถังขยะ ถุงดำใส่ขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์
เป็นต้น
5. โพลีโพรพิลีน (Polypropylene : PP)
ประเภทที่ห้า เป็นพลาสติกที่เรามักเจอคู่มากับเครื่องดื่ม ที่ปัจจุบันนี้รณรงค์ให้ใช้แบบกระดาษหรือเยื่อไผ่แทน เพราะพลาสติก
PP
มักมาในรูปแบบ
หลอดดูด และยังนำไปทำเป็นภาชนะบรรจุอาหาร ถัง ตะกร้า กระบอกน้ำ ขวดบรรจุยา ถุงร้อน ฝาขวด บานพับ หรือฉนวนไฟฟ้าก็ได้
พลาสติก
PP
โดดเด่นในเรื่องของจิ๋วแต่แจ๋ว เพราะ
มีน้ำหนักเบาที่สุดใน 7 ประเภท แต่ก็ยังแข็งแรง ทนทานสูงทั้งต่อแรงกระแทก ความร้อน น้ำมันและสารเคมี สัญลักษณ์รีไซเคิลคือ ' หมายเลข 5 '
หากแยกขยะแล้วนำไปรีไซเคิล :
จะนำไป
ผลิตซ้ำเป็นกล่อง กระถางต้นไม้ ถังหมักปุ๋ย แผ่นกรุผนัง กล่องแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนในรถยนต์ กันชนรถ กรวยน้ำมันรถ ไม้กวาดพลาสติก แปรงพลาสติก
เป็นต้น
6. โพลีสไตรีน (Polystyrene : PS)
ประเภทที่หก สาวๆ อาจไม่ได้รับมาใช้ทุกวัน แต่ก็ยังถือว่าเป็นพลาสติกที่เจอบ่อยพอสมควร เพราะพลาสติก
PS
จะถูกนำไป
ผลิตเป็นกล่องโฟมใส่อาหาร กล่องใสใส่ขนมที่ต้องระวังแตก กล่องซีดี ถ้วย จาน รวมไปถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
พลาสติก
PS
โดดเด่นที่
คุณสมบัติโปร่งใส เปราะ บาง แตกง่าย แต่ทนต่อกรดและด่างได้ดี สามารถผลิตขึ้นรูปต่างๆ ได้ง่าย ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอสมควร จึงไม่เหมาะกับการเป็นภาชนะที่ต้องปลอดความชื้น แต่เหมาะกับใส่ของที่แตกง่าย สัญลักษณ์รีไซเคิลคือ ' หมายเลข 6 '
หากแยกขยะแล้วนำไปรีไซเคิล :จะนำไปผลิตซ้ำเป็นไม้สังเคราะห์ กรอบรูป ช้อน ไม้บรรทัด ไม้แขวนเสื้อ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องใช้สำนักงานต่างๆเป็นต้น
7. พลาสติกอื่น ๆ (Other)
ประเภทสุดท้าย คิดว่าสาวซิสคงไม่ค่อยได้รับชิ้นใหม่ๆ มาใช้ทุกวัน นานๆ จะมีของใหม่ที แต่ก็ควรเรียนรู้ไว้หากจะนำไปทิ้ง หรือมีโอกาสได้แยกขยะในองค์กรใหญ่ที่มีขยะหลายแบบ เพราะ
พลาสติกยังมีประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 6 ประเภทด้านบน ซึ่งนำไปทำเครื่องเขียนต่างๆ เช่น ปากกา ขวดนมเด็กบางชนิด หมวกนิรภัย ไฟจราจร ป้ายโฆษณา
พลาสติกชนิดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอีก 6 ประเภทนั้น จะมาอยู่ในประเภทนี้ทันที คุณสมบัติหลักๆ คือนำไปหลอมใหม่ หรือรีไซเคิลได้ สัญลักษณ์รีไซเคิลคือ ' หมายเลข 7 ' ค่ะ
หากแยกขยะแล้วนำไปรีไซเคิล :
จะนำไป
ผสมกับพลาสติกชนิดอื่นๆ เพื่อทำเป็นท่อนอต ล้อ พาเลท เฟอร์นิเจอร์ใช้กลางแจ้ง
เป็นต้น
====================
อ่านข้อมูลคร่าวๆ ของพลาสติกในชีวิตประจำวันทั้ง 7 ประเภทแล้ว หวังว่าสาวซิสจะพอแยกขยะ เพื่อนำไปรีไซเคิลได้ระดับหนึ่งแล้วเนอะ >< หากต้องทิ้งนอกบ้านก็เลือกทิ้งถังขยะที่มีการแยกชนิดขยะไว้แล้ว ก็จะดีมาก หรือหากเก็บกลับบ้านนำไปรีไซเคิลเอง ก็ล้างทำความสะอาด ลอกฝา ลอกฉลากออก พับให้บี้แบนแล้วแยกประเภทให้เรียบร้อยก่อนนำไปทิ้ง เท่านี้ก็ช่วยโลกของเราได้อย่างละนิดแล้ว เพราะ ' ภาวะโลกร้อน ' คืบคลานเข้ามาทุกที สาวยุคใหม่อย่างพวกเรา มาช่วยลดปริมาณขยะ ลดการทำร้ายโลกกันนะคะ เพื่ออนาคคของคนรุ่นหลังที่ต้องอยู่กับโลกนี้อีกยาว ^___^
Cr. 7 ประเภทพลาสติก ใช้แล้วควรแยกก่อนทิ้ง เพราะเอาไปรีไซเคิลต่อได้ [kapook.com]
https://erc.kapook.com/article09.php
Cr. 7 ประเภท พลาสติกที่รีไซเคิลได้ [sd.ac.th]
https://www.sd.ac.th/main/?p=5353
Cr. 7 พลาสติกรีไซเคิล ช่วยลดปริมาณขยะโลก [fafacompany.com]
https://www.fafacompany.com/7-%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A5/