สารกันบูด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ผู้คนตระหนักถึงสิ่งรอบตัวมากขึ้น หันมาใส่ใจกับการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การซื้อและจบอีกต่อไปถ้าเราได้ลองออกไปเดินห้างสรรพสินค้า รับรองว่าจะต้องเห็นป้ายโชว์หราหน้าผลิตภัณฑ์ว่า ซิลิโคนฟรี พาราเบนฟรีบ้าง ล่อตาล่อใจว่าแบรนด์นี้ใส่ใจดีจัง แต่เรามั่นใจได้แค่ไหนว่าสิ่งที่เราคิดว่าไม่มีแล้วดีเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้ หรือแท้จริงแล้วเป็นเพียงการหลอกลวงให้ผู้บริโภคเกิดความกลัว ?ยิ่งทุกวันนี้มีความเชื่อผิดๆมากมายที่ถูกส่งต่อกันจนหลายคนเชื่อว่าเป็นความจริง นับครั้งไม่ถ้วนที่เราเริ่มแยกแยะไม่ได้ว่าอะไรผิดหรือถูก วันนี้ซิสจึงอยากมาเล่าอีกด้านของหนึ่งในส่วนผสมตัวดังที่โดนเบลมว่าแย่ ว่าแท้จริงแล้วไม่มีพาราเบนแล้วดีกว่าจริงหรือเปล่า

พาราเบนคืออะไร?

• broad spectrum of activity against yeasts, molds and bacteria; • chemical stability (for a wide temperature interval and pHs ranging from 4.5 to 7.5); • inertness; • low degree of systemic toxicity; • low frequency of sensitization; • sufficient water solubility (enabling to obtain effective concentration); • relatively safe use; • low costs of production; • no perceptible odor or taste: • not causing changes in consistency or coloration of products [

รูปภาพ:

พาราเบนคือสารเคมีซึ่งมักใช้เป็นสารกันบูดในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ต้นกำเนิดการใช้พาราเบนเริ่มต้นครั้งแรกในช่วงกลางปี ​​ค.ศ. 1920 จนต่อมาถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการเครื่องสำอางหรือยา รวมทั้งสินค้าโภคภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในทุกครั้งที่เราเปิดใช้ผลิตภัณฑ์ก็ถือเป็นการเชื้อเชิญให้เหล่าจุลินทรีย์เข้ามาทักทาย พวกจุลินทรีย์ตัวร้ายจะเข้ามายึดครองทำตัวเป็นเจ้าของสกินแคร์ของเรา ทั้งที่ไม่ได้ช่วยเสียเงินซื้อซักแดงเดียว เพื่อแก้ปัญหาตรงนี้จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องใส่สารกันเสียลงในสกินแคร์ ช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้ใช้ได้นาน ๆ นั่นเอง นอกจากจะป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์แล้วยังช่วยปกป้องตัวผู้บริโภคจากอันตรายได้ด้วยนะ

เดาว่าหลายคนก็คงสงสัยแล้วทำไมพาราเบนถึงฮิตในหมู่ผู้ผลิตกันจังล่ะ?นั่นก็เป็นเพราะจุดเด่นของพาราเบนคือ สามารถคงอยู่ได้ในช่วง pH ที่กว้างตั้งแต่ 3 - 8 ในขณะที่สารตัวอื่นอาจคงอยู่ได้ในสภาวะกรดหรือเบสอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่มีกลิ่นรบกวน และไม่ทำปฏิกิริยากับส่วนผสมอื่น สะดวกต่อการทำผลิตภัณฑ์ซักตัวนึงขึ้นมา

ชนิดของพาราเบน

one chemical with ‘bad press’ is replaced by a new chemical with less data.”

รูปภาพ:

พาราเบนที่เรามักเห็นกันเป็นประจำส่วนใหญ่จะเป็นMethylparabenPropylparabenButylparabenหลายครั้งที่สารกันบูดตัวอื่น ๆ นิยมใช้คู่กับพาราเบน เนื่องจากสารกันเสียที่เราใส่ลงไปบางชนิดจะป้องกันได้เพียงแบคทีเรีย บางชนิดจะกันได้แค่จำพวกเชื้อรา การผสมร่วมกับพาราเบนเข้าด้วยจึงสามารถป้องกันจุลินทรีย์หลากหลายชนิดได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น

dvertised as “green” products, supposedly containing fewer and less harmful synthetic compounds than conventional products. By using these products, consumers are allegedly exposed to fewer harmful compounds (

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0045653522005124#bib20

). The most effective way for manufacturers to communicate the green status to potential consumers is by indicating it on the label. Words like “natural,” “organic,” or “without artificial preservatives” are used on product labels to persuade buyers to purchase the product. However, these terms are largely unregulated, with few parameters and no standardization (

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0045653522005124#bib11

;

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0045653522005124#bib41

). While some producers are truthful, others have employed green labels as a marketing strategy

อันตรายจากพาราเบน

มาถึงหัวข้อที่เป็นประเด็นฮอตพาราเบนอันตรายจริงไหม?เพราะได้ยินมาว่าพาราเบนจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสืบพันธ์ุได้ ทำให้ฮอร์โมนเกิดความปั่นป่วน และส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ รวมถึงความผิดปกติในครรภ์

พาราเบนไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด!งานวิจัยฉบับหนึ่งกล่าวว่าหนูทดลองได้รับสาร Butylparaben ในระหว่างการตั้งครรภ์ และพบว่าพาราเบนส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ของหนูแต่รู้หรือไม่ว่าหนูพวกนี้ได้รับพาราเบนในปริมาณสูงมากผ่านทางปากโดยตรงติดกันหลายวัน ซึ่งแตกต่างจากที่เราใช้สกินแคร์กันในแต่ละวันหลายเท่า เพราะปกติเราแค่ทาลงบนผิวเท่านั้น และไม่ได้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากเท่ากับทางปากแน่ ๆ !นอกจากนั้นเพื่อช่วยเรียกความมั่นใจกันอีกนิดอย.และคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคของสหภาพยุโรปก็ได้ทำการรับรองว่าหากใช้พาราเบนในปริมาณที่กำหนดก็ไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ

ปริมาณพาราเบนที่ใช้ได้คือเท่าไหร่?

พาราเบนใช้ได้ถ้าไม่เกินลิมิตข้อบังคับ!คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคของสหภาพยุโรป ( The European Union’s Scientific Committee on Consumer Safety ) พิจารณาการใช้MetylparabenและEtylparabenในเครื่องสำอาง ปลอดภัยที่ระดับความเข้มข้นสูงสุด (0.4 เปอร์เซ็นต์สำหรับพาราเบนตัวเดียวหรือรวมกับสารกันบูดตัวอื่นแล้วปริมาณรวมไม่เกิน 0.6เปอร์เซ็นต์) และการใช้Propylparabenปลอดภัยที่ความเข้มข้นสูงสุด0.14 เปอร์เซ็นต์

เสียโอกาสใช้สกินแคร์ดีๆ เพราะพาราเบนฟรีไปกี่ครั้ง?

รูปภาพ:

จากกระแสสังคมเรื่องพาราเบนฟรีทำให้บริษัทเครื่องสำอางหลายแห่งใช้โอกาสนี้ป่าวประกาศว่าสินค้าของตัวเองปราศจากพาราเบนเรียกความเชื่อมั่นจากผู้บริโภค ซึ่งแท้จริงแล้วสิ่งที่บริษัททำอาจเป็นเพียงการ "greenwashing" ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกเมื่อบริษัททำการตลาดว่า " พาราเบนฟรี " และโฆษณาว่าตัวเองเป็นคลีนบิวตี้โดยที่แท้จริงแล้วกลับมีส่วนผสมสังเคราะห์อื่น ๆ อยู่แทน ซึ่งการแบนพาราเบนและหันไปเลือกสารกันเสียชนิดอื่นที่มีข้อมูลรีเสิร์ชน้อยกว่า อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือระคายเคืองต่อผิวหนังได้มากกว่าหรือไม่ต่างจากพาราเบนด้วยซ้ำ

หลายครั้งที่มีข้อแนะนำว่าถ้าอย่างนั้นก็เลือกสารกันบูดจากธรรมชาติแทนซะสิแต่ความจริงแล้วประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่ใส่สารกันบูดประเภทนี้จะมีอายุการใช้งานสั้น เมื่อเทียบกับพาราเบนที่ยืดอายุได้ถึงราวๆ สองปี และสารกันบูดจากธรรมชาตินั้นต้องใช้ปริมาณที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับพาราเบนที่ใช้ในปริมาณที่น้อยมาก ( ซึ่งการใช้ใส่ในปริมาณสูงๆ มักทำให้เกิดอาการแพ้ตามมา ) และถึงแม้จะใส่ในปริมาณที่สูงแต่สารกันบูดจากธรรมชาติก็ไม่สามารถป้องกันจุลินทรีย์ได้อย่างครอบคลุมได้อย่างพาราเบน

รูปภาพ:

แทนที่จะเลือกพาราเบนฟรี❌ ลองเปลี่ยนเป็น#ฟรีพาราเบนจากคำเคลมทางการตลาดแทน เพราะปัจจุบันทางอย.ยังคงหาคำตอบว่าสุดท้ายแล้วพาราเบนมีผลต่อสุขภาพจริงหรือไม่ แต่จากหลักฐานเท่าที่มีอยู่ตอนนี้ระบุว่าพาราเบนไม่มีอันตรายหากอยู่ในปริมาณที่ข้อบังคับกำหนดเพราะฉะนั้นก็อย่าพึ่งแพนิคเกินไปน้า

หรืออาจจะลองถามตัวเองง่ายๆ ว่าคุ้มไหมที่จะเสี่ยง หลีกเลี่ยงสารกันบูดที่มีงานวิจัยรับรองจำนวนมากอย่างพาราเบนเพื่อไปเลือกสารกันบูดชนิดอื่นที่มีงานวิจัยรองรับความปลอดภัยน้อยกว่า และอาจจะมีผลข้างเคียงอีกมากที่ยังไม่ถูกค้นพบ นี่อาจจะเป็นสิ่งที่เราต้องลองชั่งน้ำหนักและตัดสินใจเอาเองนะคะ(◡‿◡)

Designer :kidasindahouse

Writer :BabyPeachy