1. SistaCafe
  2. รู้ไว้ดีกว่าเยอะ! เช็ก " สีของประจำเดือน " บอกถึงภาวะสุขภาพอะไรบ้าง? พร้อมวิธีใช้ผ้าอนามัย ให้ถูกหลักสุขอนามัย


ฮัลโหลซิสสส



สำหรับบทความนี้เราจะ

ชวนซิสมาเมาท์มอยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกายกันสักหน่อย

แต่ก่อนจะเข้าเรื่องขอถามก่อนเลยว่ามีใครอยู่ในช่วงนั้นของเดือนบ้างรึเปล่าเอ่ย?

สำหรับคนที่มีประจำเดือนคงพอเข้าใจ ว่าการเป็นประจำเดือนแต่ละที มันมีรายละเอียดยิบย่อยให้ใส่ใจเยอะแยะมากมาย




ทั้งเรื่องของระยะเวลาการเป็นประจำเดือน เรื่องปริมาณวันมามากหรือมาน้อย หรือ


เรื่องของสีประจำเดือนก็สำคัญเหมือนกัน เพราะสามารถบ่งบอกถึงโรคต่างๆ หรือภาวะสุขภาพร่างกายของเราได้ด้วย


บทความนี้เลยจะชวนเพื่อน ๆ มา

ทำความรู้จักกับประเดือนที่หลายคนเคยชินให้มากขึ้น รวมไปถึงวิธีใช้ผ้าอนามัยที่ถูกหลักสุขภาพอนามัย

จะเป็นยังไงลองตามไปดูกันเลยดีกว่า



ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย



ในช่วงมีประจำเดือน ร่างกายจะหลั่งเลือดดีในร่างกายออกมาพร้อมกับเยื่อบุพื้นผิวโพรงมดลูกผ่านทางช่องคลอด โดยเลือดประจำเดือนที่แตกต่างกันไปนั้นมีตั้งแต่สีแดงสดไปจนถึงสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำที่เกิดจากการที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน รวมถึงสีที่คุณไม่คาดคิดอย่างสีส้ม สีชมพู หรือสีเทา

ทั้งนี้ มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อสีของเลือดประจำเดือน ทั้งการทำงานของฮอร์โมน อายุของเลือด และการติดเชื้อ ลองมาสังเกตกันดูว่าประจำเดือนกำลังบอกอะไรคุณอยู่


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F91793%2F26728519-98f2-4b5f-955b-c53b18c7decc.jpeg?v=20240313163333&ratio=1.000

ชวนทำความเข้าใจเกี่ยวกับประจำเดือน


สีประจําเดือนบอกอะไรประจำเดือน เกิดจากการสลายตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก ยิ่งเลือดอยู่ในมดลูกนาน สีประจำเดือนก็จะค่อย ๆ เข้มขึ้น เนื่องจากการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเป็นเวลานาน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและภาวะสุขภาพอาจส่งผลต่อสีและเนื้อสัมผัสของประจำเดือนได้ โดยสีของประจำเดือนอาจบ่งบอกภาวะทางสุขภาพได้ดังนี้


เมื่อก่อนเราเคยเข้าใจว่าประจำเดือนคือเลือดเสีย เลือดไม่ดีที่ร่างกายขับออกมา แต่ความจริงแล้วประจำเดือน

เกิดจากร่างกายหลั่งเลือดดีออกมา พร้อมกับเยื่อบุพื้นผิวโพรงมดลูกผ่านทางช่องคลอด

บางทีอาจจะมีปริมาณมากน้อยไม่เท่ากัน และสีประจำเดือนแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่สีแดงเข้มไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม

ซึ่งสีประจำเดือนก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงานของฮอร์โมน อายุของเลือด หรืออาการติดเชื้อ



ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F91793%2F59eaa5a0-6839-475d-91a8-b2b042d75f6f.jpeg?v=20240313163333&ratio=0.883ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F91793%2Fdf549047-eeea-465b-ac38-065bc14bfa5a.jpeg?v=20240313163334&ratio=0.667

ปริมาณของประจำเดือนแบบไหนถือว่าปกติ ?

ประจำเดือนสีแดงสด

สีประจำเดือนสีแดงสดเป็นสัญญาณที่ดี บ่งบอกถึงว่าเรามีสุขภาพที่ปกติแข็งแรง แต่ก็ต้องหมั่นตรวจเช็กร่างกายเป็นประจำด้วยนะคะ อ่านต่อได้ที่https://www.wongnai.com/articles/period-blood-color?ref=ct


ปริมาณและระยะการเป็นประจำเดือนที่ถือว่าปกติ โดยปกติแล้ว

ควรมาประมาณ 3 - 5 วัน หรือไม่ควรเกิน 7 วัน

ปริมาณประจำเดือนที่ออกมา

ในแต่ละวันไม่ควรเกิน 80 ซีซี

หรือเทียบจากการเปลี่ยน

ผ้าอนามัยที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น ประมาณ 4 แผ่น

ต่อวัน



สีประจำเดือนบอกอะไรเราบ้าง ?



อย่างที่ได้บอกไปว่า

สีของประจำเดือนเข้มอ่อนแตกต่างกัน เกิดจากการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเป็นเวลานาน

รวมไปถึงประจำเดือนสีแปลก ที่

มักจะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการติดเชื้อ สีของประจำเดือนเลยสามารถบ่งบอกถึงช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น และภาวะสุขภาพของซิสได้ด้วย

ว่าแล้วก็ลองตามไปเช็กกันดีกว่าว่าสีประจำเดือนแบบไหน บ่งบอกภาวะสุขภาพอะไรบ้าง



ประจำเดือนสีแดงเข้ม หรือสีน้ำตาล: มักพบในช่วงวันแรกของประจำเดือนหรือช่วงที่คุณกำลังจะหมดประจำเดือนเนื่องจาก เป็นเลือดสีแดงปกติที่มีปริมาณน้อยซึ่งอยู่ในมดลูกเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงใกล้หมดประจำเดือนจะเป็นสัญญาณที่สื่อว่ามดลูกและช่องคลอดของคุณกำลังถูกทำความสะอาดและเตรียมพร้อมสู่เดือนถัดไป

ประจำเดือนสีแดงเข้ม ถือว่าเป็นปกติในช่วงวันมามาก สาเหตุมาจากสภาพอากาศหรือความร้อนที่ส่งผลให้มดลูกทำงานหนักมากขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดออกมามากกว่าปกติ 


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F91793%2F6c4cb752-a292-4eaf-b497-71f9ae6cd31f.jpeg?v=20240313163334&ratio=0.748


ประจำเดือนสีแดงสด

ประจำเดือนสีน้ำตาลดำ

ประจำเดือนสีน้ำตาลดำ หรือสีดำ เป็นประจำเดือนที่ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี เพราะเป็นการขับเลือดเก่าที่ค้างอยู่ในมดลูกออกมา ซึ่งประจำเดือนสีน้ำตาลดำนั้นจะอยู่ในช่วงวันแรกของการมีประจำเดือน วันมามาก หรือแม้กระทั่งวันสุดท้ายของการมีประจำเดือนได้ค่ะ อ่านต่อได้ที่https://www.wongnai.com/articles/period-blood-color?ref=ct



สำหรับ

ประจำเดือนสีแดงสด

เป็นสีประจำเดือนปกติทั่วไป เมื่อมีประจำเดือนสีแดงสด ซิสสามารถโล่งใจเกี่ยวกับสุขภาพได้ในระดับนึงเลย

เพราะประจำเดือนสีแดงสด บ่งบอกถึงภาวะสุขภาพที่ดี เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเรามีสุขภาพปกติดี มีร่างกายแข็งแรง แต่ยังไงก็ควรหมั่นตรวจเช็กสุขภาพร่างกายเป็นประจำด้วยอีกทางนะคะ จะได้มีสุขภาพแข็งแรงยืนยาว





ประจำเดือนสีแดงเข้มหรือสีน้ำตาล

ประจำเดือนสีชมพู: เกิดจากเลือดผสมกับตกขาว การตรวจพบนี้สามารถเป็นสัญญาณของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใช้การคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน สัญญาณของวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้หากคุณมีความเครียด เล่นกีฬาหนัก หรือมีน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดก็จะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้ หากมีประจำเดือนสีชมพูเกิดบ่อยเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการของโรคกระดูกพรุน และทำให้มีผิวพรรณไม่สดใสได้ ทางที่ดีควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป



ส่วนประจำเดือน

สีแดงเข้มหรือน้ำตาล

เป็นประจำเดือนที่มักจะมาในช่วงวันแรก ๆ ที่มีประจำเดือน หรือ

ช่วงที่ประจำเดือนกำลังจะหมด บ่งบอกว่ามดลูกและช่องคลอดถูกทำความสะอาด

และเตรียมพร้อมสำหรับประจำเดือนรอบถัดไป ส่วนประจำเดือน

สีแดงเข้ม ที่มาในช่วงวันมามาก อาจจะมีสาเหตุจากสภาพอากาศหรือความร้อน ที่ทำให้มดลูกทำงานหนักมากกว่าปกติค่า



ส่วนประจำเดือน

สีแดงอมน้ำตาล

เป็นสีปกติแต่ไม่ควรเป็นเกิน 3 วัน ถ้าหากเกินอาจจะเป็นสัญญาณว่ามีพังผืด หรือเนื้องอกภายในมดลูกหรือช่องคลอด





ประจำเดือนสีน้ำตาลดำหรือสีดำ

ประจำเดือนสีส้ม: เกิดจากเลือดผสมกับตกขาว เช่นเดียวกับสีชมพู หากพ่วงด้วยอาการอย่างกลิ่นไม่ปกติ หรือลักษณะของประจำเดือนที่ต่างไปจากเดิม อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อทั่วไปและการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การรักษาจะขึ้นอยู่กับเชื้อที่คุณมี แต่เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาติดเชื้ออีก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม

ประจำเดือนสีส้ม ถ้าหากใครมีประจำเดือนสีส้มควรระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจมีความเสี่ยงติดเชื้อภายในช่องคลอด เชื้อ STD/STI หรือกลุ่มโรคที่สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ จนทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับ และอาการปวดท้องร่วมด้วย แนะนำให้พบคุณหมอด่วน ๆ เลยค่ะ 




สำหรับประจำเดือน

สีน้ำตาลดำ หรือประจำเดือนสีดำ

ยังถือว่าเป็นประจำเดือนปกติทั่วไป เป็นสีประจำเดือนที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเป็นเวลานาน

และยังถือว่าเป็นสัญญาณสุขภาพที่ดี ถ้ามีประจำเดือนสีน้ำตาลดำหรือสีดำแสดงว่า

มดลูกขับเลือดเก่าที่ค้างอยู่ออกมา มักจะมาในช่วงก่อนการมีประจำเดือน หรือในช่วงวันท้ายของการมีประจำเดือน

ค่า



ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F91793%2Ffed7f616-caeb-426f-977d-faf50c063153.jpeg?v=20240313163334&ratio=0.998

ประจำเดือนสีชมพู

ประจำเดือนสีเทา: เป็นสีของประจำเดือนที่ประสบปัญหาภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดที่มีมากเกินไป ทั้งนี้สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาความสะอาดจุดซ่อนเร้นไม่ให้อับชื้น ด้วยยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์เท่านั้น และในกรณีที่คุณมีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์อยู่ ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากเพราะมันมีโอกาสอย่างมากที่คุณจะแท้งได้ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เห็นว่าประจำเดือนมีสีเทา ควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด



ประจำเดือนสีชมพู

เป็นสีที่ออกจะแปลกจากสีประจำเดือนปกติเล็กน้อย เกิดมาจากเลือดผสมกับตกขาว ซึ่งมันบ่งบอกได้ทั้งช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น และปัญหาสุขภาพของซิสด้วยเหมือนกัน เมื่อมีประจำเดือนสีชมพู

เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ

และเกิดได้จากหลายสาเหตุ



อย่างการใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน หรืออาจจะเป็นสัญญาณของวัยหมดประจำเดือน บางทีอาจจะมีสาเหตุมาจากความเครียด เล่นกีฬาหนัก ๆ ได้ด้วย

และถ้าเกิดมีประจำเดือนสีชมพูบ่อย ๆ

มักจะทำให้ผิวหมอง ไม่ค่อยสดใส และควรระวังอาการโรคกระดูกพรุนด้วยค่ะ




5 วิธีใช้ผ้าอนามัยให้ถูกสุขลักษณะ

ควรล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนผ้าอนามัย โดยฟอกสบู่และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากภายนอกเข้าไปยังจุดซ้อนเร้น และไม่ให้เชื้อโรคจากผ้าอนามัยกระจายปนเปื้อนไปยังที่ต่างๆควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 3-4 ชั่วโมงจะดีที่สุด ส่วนผ้าอนามัยแบบสอดสามารถใส่ได้นานสุด 4-6 ชั่วโมง การใส่ผ้าอนามัยแผ่นเดิมนานเกินไป นอกจากจะทำให้จุดซ่อนเร้นอับชื้นแล้ว ผ้าอนามัยจะกลายเป็นแหล่งรวมเชื้อโรค จนอาจเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง ในช่องคลอด และในทางเดินปัสสาวะได้หลังจากเปลี่ยนผ้าอนามัยแผ่นเก่า ควรม้วนและห่อกระดาษให้มิดชิดก่อนทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เลอะเทอะเปรอะเปื้อนหรือมีเชื้อโรคกระจายสู่สิ่งแวดล้อม และไม่ให้เป็นที่รังเกียจของผู้พบเห็นไม่ลืมที่จะอ่านวันหมดอายุก่อนใช้ ผลสำรวจบอกว่ามีผู้หญิงไม่ถึง 1% ที่จะสังเกตวันหมดอายุของผ้าอนามัย ทั้งๆ ที่มันก็เหมือนกับสินค้าอื่นๆ ที่ยิ่งใกล้วันหมดอายุเท่าไรคุณภาพก็จะยิ่งลดลงเท่านั้นสาวๆ หลายคนเลือกใช้ผ้าอนามัยแบบที่ซึมซับได้มากๆ เพื่อที่จะไม่ต้องเปลี่ยนเลยตลอดวัน ขอบอกว่านี่เป็นความคิดที่ผิด เพราะเลือดเป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรีย ไม่ว่าจะมีเลือดประจำเดือนมากหรือน้อย ก็ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เพื่อให้จุดซ่อนเร้นสะอาด ไม่อับชื้น วิธีนี้ช่วยลดโอกาสการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้อีกทางหนึ่งด้วย

ประจำเดือนสีส้ม



ส่วน

ประจำเดือนสีส้ม

เป็นประเดือนที่เกิดจากเลือดผสมกับตกขาวเหมือนกัน แต่ถ้า

ประจำเดือนส้มมาพร้อมกับกลิ่นแปลก ๆ ไม่ปกติ มีกลิ่นเหม็นอับ

หรือลักษณะของประจำเดิมต่างไปจากเดิม

อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของแบคทีเรีย การติดเชื้อภายในช่องคลอด

ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ อย่างการติดเชื้อทั่วไป และการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ถ้าหากมีประจำเดือนสีส้ม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลรักษาจะดีที่สุดค่า





ประจำเดือนสีเทา



ประจำเดือนสีเทา

ก็เป็นอีกหนึ่งสีประจำเดือนที่ควรระวัง เพราะ

ประจำเดือนสีเทาบ่งบอกถึงปัญหาภาวะช่องคลอดอักเสบ สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดมีมากเกินไป

แต่สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาจุดซ่อนเร้นให้สะอาด ไม่ให้เกิดการอับชื้น

และต้องใช้ยารักษาจากแพทย์สั่งเท่านั้น สำหรับคนที่มีแนวโน้มการตั้งครรภ์ ควรระวังมาก ๆ เพราะมีโอกาสเกิดการแท้งได้

ถ้าเกิดพบประจำเดือนสีเทา ควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดค่า



ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F91793%2Ff3f5b092-95f3-4e7d-b542-7304cddb9c52.jpeg?v=20240313163334&ratio=0.667

3 วิธีใช้ผ้าอนามัยให้ถูกหลักสุขอนามัย


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F91793%2F41a8a6ca-d252-4b3b-937c-d6d4cb1be807.jpeg?v=20240313163334&ratio=1.000

1. ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ  3 - 4 ชั่วโมง

ส่วนผ้าอนามัยแบบสอด ควรใส่ประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง

เพราะการใส่ผ้าอนามัยนานเกินไป จะทำให้จุดซ่อนเร้นอับชิ้น และกลายเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค

อาจจะทำให้เกิดโรคติดเชื้อในช่องคลอดและทางเดินปัสสาวะได้



2. ควรล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนและหลังเปลี่ยนผ้าอนามัย


เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากภายนอกเข้าไปยังจุดซ่อนเร้น

และไม่ให้เชื้อโรคจากผ้าอนามัยกระจายปนเปื้อนไปยังส่วนต่าง ๆ



3. ควรดูวันหมดอายุก่อนใช้

ผ้าอนามัยถึงแม้ไม่ได้เปิดห่อมาใช้ก็สามารถหมดอายุได้เหมือนกัน และแน่นอน

ผ้าอนามัยที่หมดอายุไปแล้ว คุณภาพในการใช้งานก็จะลดลงตามไปด้วย ส่วนใหญ่ผ้าอนามัยจะสามารถใช้งานได้ดี ในระยะเวลาประมาณ 1 - 2 ปี

หลังจากวันผลิตค่า





ตามไปทำความรู้จักกับประจำเดือนที่เราเคยชินมาแล้ว

บอกได้เลยว่าบางอย่างก็เป็นความรู้ใหม่ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนเหมือนกันนะเนี่ย

อย่างเรื่องของสีประจำเดือนที่สามารถบอกถึงโรคหรือภาวะสุขภาพของเราด้วย หลังจากนี้ในช่วงที่เป็นประจำเดือนคงต้องเช็กให้ดียิ่งขึ้นแล้ว

และหวังว่าข้อมูลเกี่ยวกับประจำเดือนที่เราเอามาฝากเพื่อน ๆ ในบทความนี้จะพอเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อน ๆ ได้อยู่บ้างน้า

ส่วนวันนี้ขอตัวลาไปก่อนแล้วค่า บายค่าซิสส



ลิ้งก์รูปบทความ

https://drive.google.com/drive/folders/157ctz2_O7-Z0gebmjNd7yNhZB-qBj5kU?usp=sharing

namoodongWriter :chollychon



เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้