สวัสดีเพื่อน ๆ ชาวซิสค่าา

ขอทักทายเพื่อน ๆ ทุกคนโดนเฉพาะสาว ๆ ที่กำลังอ่านบทความนี้กันอยู่ค่ะ เพราะว่าบทความนี้เราจะ

ชวนเพื่อน ๆ ไปเมาท์มอยเกี่ยวกับเรื่องภายในของสาว ๆ กัน และยังมาพูดถึงเรื่องของโรคเกี่ยวกับผู้หญิงที่มักพบบ่อย


อย่าง

" โรคมะเร็งปากมดลูก "

บทความนี้เราจะ

ชวนเพื่อน ๆ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากขึ้นอีก

นิด เพื่อป้องกันลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกกันค่ะ

ทำความเข้าใจ " โรคมะเร็งปากมดลูก " สาเหตุเกิดจากอะไร?

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/1f/63/44/1f6344a27ca240db8e15785fcf08977c.jpg

มะเร็งปากมดลูกเกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูก อยู่บริเวณช่วงล่างของมดลูกเชื่อมต่อกับช่องคลอด

ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิด Human Papillomavirus หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า HPV ในระยะแรกโรคนี้มักจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ แต่จะแสดงอาการในภายในหลังเมื่อเริ่มเป็นหนักแล้ว

เพราะฉะนั้น

ถ้าได้รับการตรวจคัดกรอง หรือฉีดวัคซีนป้องกันก่อนแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกลงไปได้ด้วย

เช็กสัญญาณเตือนโรคมะเร็งปากมดลูก


สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูก

ส่วนใหญ่มักจะพบในช่วงอายุ 35 - 50 ปี แต่อายุก่อน 30 ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้เหมือนกัน

แล้วอาการแบบไหนคือสัญญาณเตือนถึงมะเร็งปากมดลูก? ตามมาสังเกตอาการพร้อมกันเลย

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/07/cf/7c/07cf7c0fe945f58ccf82abf4c40710f7.jpg

อาการมะเร็งปากมดลูก

มีการตกขาวมากกว่าปกติ ตกขาวมีกลิ่นเหม็นเน่า หรือตกขาวมีเลือดปนมาด้วย

เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ

ประจำเดือนมาไม่ปกติ

ปวดท้องน้อย ปวดบริเวณหัวหน่าว

ปัสสาวะและอุจจาระปนเลือด

ปัสสาวะไม่ค่อยออก และมีอาการปวดบวม

เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ


วิธีตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรเริ่มตรวจตั้งแต่ช่วงอายุเท่าไหร่?


ตามมาดูในเรื่องของวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกกันบ้าง

สำหรับการตรวจภายในก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ซีสต์ หรือเนื้องอก แต่การตรวจภายในจะไม่สามารถพบก้อนมะเร็งชัดเจน

และนอกจากการตรวจภายใน ยังมีการ

ตรวจคัดกรองเพื่อหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกอยู่อีกหลายแบบ

อย่างเช่น

การตรวจแพปสเมียร์ ( Pep Smear ) การตรวจด้วยวิธี ThinPrep Pap Test การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ตรวจด้วยกล้องขยาย ( Colposcope ) การตรวจอื่น ๆ ที่อาจจะช่วยวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก อย่างการขูดภายใน การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า และการตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/28/c9/a7/28c9a7fcbdd47e0bccf219d000af0e51.jpg

ควรเริ่มตรวจตั้งแต่เมื่อไร?

สำหรับสาว ๆ

อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกหลังจากนั้น 3 ปี ก็สามารถเข้าไปตรวจภายในและตรวจมะเร็งปากมดลูกได้

และช่วงเวลาที่เหมาะในการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่สุด คือช่วง 10 - 20 วันหลังจากเป็นประจำเดือน เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายสะอาดที่สุด แนะนำว่าควรเริ่มจากการตรวจแพปสเมียร์ ( Pep Smear ) ก่อน


วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก ด้วยวัคซีน HPV


อย่างที่ได้บอกไปว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการวัคซีน HPV แต่เนิ่น ๆ ช่วยลดความเสี่ยงในการมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งการ

ฉีดวัคซีน HPV ก็เป็นหนึ่งในวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุดด้วย

บทความนี้เลยจะชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับวัคซีน HPV วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ( Human Papilloma Virus ) กันอีกสักนิด

ช่วงอายุไหนเหมาะสำหรับการฉีดวัคซีน HPV? คนที่มีเพศสัมพันธ์แล้วฉีดได้อยู่มั้ย? ต้องฉีดทั้งหมดกี่เข็ม และป้องกันได้ถึงเมื่อไร?

ตามไปไขข้อสงสัยกันต่อเลย

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/6c/5b/f1/6c5bf104c7214ef9481ae80417907c53.jpg

➤ วัคซีน HPV มีกี่ประเภท และป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้กี่เปอร์เซ็น?

วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก มีให้เลือกฉีดอยู่ 2 แบบด้วยกัน

คือแบบ 4 สายพันธุ์ และแบบ 9 สายพันธุ์ โดยจะฉีดจำนวน 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 6 เดือน

วัคซีนจะเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV ที่มีอยู่ในวัคซีนขึ้นมา

และวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกไปได้ถึง 70 - 90%

วัคซีน HPV ที่ผลิตได้สำเร็จเป็นตัวแรก และได้การรับรองใช้กว่า 80 ประเทศทั่วโลก สามารถป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค

มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด ประมาณ 70%

และยังสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ซึ่งเป็นสาเหตุของการ

เกิดโรคหูดบริเวณอวัยวะเพศประมาณ 90%

➤ วัคซีน HPV สามารถป้องกันได้นานแค่ไหน?

วัคซีน HPV จะฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 6 เดือน วัคซีนตัวนี้สามารถ

ป้องกันโรคได้นานกว่า 10 ปี

เลยยังไม่มีการแนะนำให้ฉีดกระตุ้นซ้ำ และจากข้อมูลทางการแพทย์ในปัจจุบันพบว่า

หลังจาก 10 ปี วัคซีนยังมีประสิทธิภาพป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 90%

➤ ฉีดวัคซีนช่วงอายุไหนเหมาะสมที่สุด เลย 26 ปีไปแล้วฉีดได้อยู่มั้ย?

คณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา ได้รับรองเอาไว้ว่าสามารถใช้ได้ในเด็กผู้หญิงและหญิงสาวอายุ

9 - 26 ปีที่ไม่เคยได้สัมผัสเชื่อ HPV มาก่อน ในช่วงอายุนี้วัคซีนจะสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด


และถ้าอายุ

เกิน 26 ปีไปแล้วก็ยังสามารถรับวัคซีนได้ ถ้าเกิดว่าเป็นการฉีดก่อนสัมผัสเชื้อ หรือก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก

➤ คนที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว สามารถฉีดวัคซีน HPV ได้อยู่มั้ย?

สำหรับวัคซีน HPV จะออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อไม่เคยสัมผัสกับเชื้อ หรือยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ แต่

คนที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ก็ยังสามารถฉีดได้อยู่ แต่อาจจะไม่ได้รับประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันวัคซีน

แต่วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้หลายสายพันธุ์

ถึงแม้ว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อเชื้อ HPV ไปแล้ว ก็ยังได้รับประโยชน์จากการป้องกันเชื้อบางสายพันธุ์ได้อยู่

➤ หลังจากฉีดวัคซีนแล้วมีผลข้างเคียงอะไรมั้ย?

สำหรับวัคซีน HPV เป็นวัคซีนสังเคราะห์เลียนแบบโครงสร้างของเชื้อ HPV ไม่ได้นำส่วนใดส่วนหนึ่งของสายพันธุกรรมเชื้อไวรัสมาใช้ผลิต

วัคซีนนี้เลยมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายน้อยมาก อาการหลังจากได้รับวัคซีนจะคล้ายกับอาการตอนได้วัคซันอื่น ๆ

อย่างปวดบวมเล็กน้อยในบริเวณที่ฉีด หรือในบางคนอาจจะมีไข้ต่ำ ๆ


ตามไป

ทำความเข้าใจกับโรคมะเร็งปากมดลูก

มาแล้ว หวังข้อมูลจากบทความนี้น่าจะพอเป็นประโยชน์ให้เพื่อน ๆ ได้บ้างนะคะ และ

ถึงแม้ว่าโรคมะเร็งปากมดลูกจะฟังดูน่ากลัว แต่ถ้าเกิดตวรจคัดกรอง หรือฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกไปได้เยอะเลย

ส่วนตัวเราก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจอยากฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูกอยู่เหมือนกัน

ยังไงก็แนะนำวัคซีน HPV เอาไว้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพของเพื่อน ๆ ในระยะยาวนะคะ