1. SistaCafe
  2. โรคดองหนังสือ Bibliomania อาการคลั่งรักหนังสือ จนซื้อมากองเต็มบ้าน

นี่มันอะไรกันเนี่ย มาเมาท์มอยเก็บตกช่วงของงานหนังสือกัน เพราะนี่มันคือสวรรค์ของคนรักการอ่านชัด ๆ ซื้อเสร็จ จ่ายจบ แต่คนไม่จบที่มีอยู่ก็ยังอ่านไม่หมดเลย นี่ซื้อมากองไว้อีกแล้วหรอหรือว่าตอนนี้เพื่อน ๆ อาจจะกำลังมีอาการ " Bibliomania " กันนะ! แต่เดี๋ยวก่อนนะ นี่คืออะไรอีกเนี่ย! แล้วอาการที่ว่านี้ มันคืออะไร วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปไข้ข้องใจกันค่ะ มาทำความรู้จักกับ โรคดองหนังสือ มันคืออะไราการเป็นยังไง สาเหตุมาจากไหน ตอบหมดเปลือกไปเลยใครที่เป็นสายรักการอ่าน ขยันอ่าน ขยันซื้อ ขยันดองหนังสือ ต้องรู้!ไปอ่านดูพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

Bibliomaniaคืออะไร ? ยังอ่านไม่หมดเลย ซื้อใหม่อีกแล้ว !?

อาการBibliomania หรือถ้าเรียกง่ายกว่านั้น ก็คือโรคซื้อหนังสือมาดอง อ่านจบมั้ยไม่รู้ แต่ขอซื้อมาเก็บไว้ก่อน เป็นพฤติกรรมคลั่งหนังสือ ชอบเก็บรวบรวมหนังสือ ซึ่งในญี่ปุ่นจะมีชื่อเรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า ซึนโดคุ (tsundoku) ที่หมายถึงคนที่ชอบซื้อหนังสือเอามาไว้มาก ๆ แล้วไม่ได้อ่าน ว่ากันว่า การมีคำเรียกเหล่านี้ขึ้นมา อาจจะแปลว่าได้ว่า ไม่ใช่แค่เราหรอก ที่ชอบดองหนังสือ แต่ยังมีคนอีกหลายคน ที่ก็มีพฤติกรรมแบบนี้เช่นกัน

Bibliomania กับ Tsundoku ต่างกันยังไง ?

แม้จะมีความหมายที่คล้าย ๆ กัน แต่รู้มั้ยว่า Bibliomania และ Tsundoku สองคำนี้มีความแตกต่างกันนะ

Bibliomania: เป็นพฤติกรรมชื่นชอบการซื้อหนังสือ คลั่งการซื้อหนังสือมาเก็บเอาไว้เยอะ ๆ อาจจะไม่ได้ตั้งใจจะอ่านแต่แรกอยู่แล้ว แต่แค่อยากซื้อมาเก็บเอาไว้เฉย ๆ แล้วคนที่เป็นโรคนี้ จะมีความรู้สึกเครียด และกดดันมาก ๆ เวลาจะต้องตามหาหนังสื้อที่อยากได้ รวมทั้งยังรู้สึกแย่ทุกครั้งที่ต้องตัดใจทิ้งหนังสื้อเล่นใดเล่มหนึ่งไป บางคนอาจจะมีพฤติกรรมรุนแรงถึงขั้นคิดจะขโมยหนังสือเลยก็ว่าได้!

Tsundoku: จะแตกต่างกับ Bibliomania อันนี้จะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความตั้งใจ ไม่ใช่แค่ซื้อมาเก็บ แต่ตั้งใจะอ่านจริง ๆ ชอบจริง ๆ อยากอ่านจริง ๆ ถึงได้ซื้อหนังสือเล่มนี้มา แต่สุดท้ายแล้ว อาจจะไม่ได้อ่าน หรืออ่านไม่จบ เพราะมีการซื้อใหม่อยู่เรื่อย ๆ และกลายเป็นเก็บมากองไว้เหมือนสะสมอย่างไม่ตั้งใจนั่นเองค่ะ

โรคดองหนังสือ เกิดจากอะไร ?

โรคดองหนังสือ หรือ Bibliomania เป็นพฤติกรรมชื่นชอบการซื้อหนังสือ คลั่งการซื้อหนังสือมาเก็บเอาไว้เยอะ ๆ อาจจะไม่ได้ตั้งใจจะอ่านแต่แรกอยู่แล้ว แต่แค่อยากซื้อมาเก็บเอาไว้เฉย ๆ จนเกิดความรู้สึกเครียด และกดดันมาก ๆ เวลาจะต้องตามหาหนังสื้อที่อยากได้ บางคนอาจจะมีพฤติกรรมรุนแรงถึงขั้นคิดจะขโมยหนังสือเลยก็ว่าได้ ถือเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง

ซึ่งจากการสำรวจผู้ป่วยที่มีอาการนี้ ว่ากันว่า มีรากฐานมาจากชีวิตวัยเด็กที่เป็นเด็กติดหนังสือ หรือไม่มีเพื่อนในชีวิตจริง จนอุปทานไปเองว่า หนังสือเป็นเพื่อนรักของพวกเขา การมีหนังสือเหล่านี้เอาไว้ จะทำให้รู้สึกไม่เหงา ไม่โดดเดี่ยว จึงไม่แปลกเลย ถ้าหากพวกเขาจะรู้สึกแย่ หวาดกลัว และกังวลทุกครั้ง ที่จะต้องทิ้งหนังสือ หรือหนังสือเหล่านั้นหายไป

และโรคนี้ยังถูกจัดให้อยู่ในประเภทของโรคย้ำคิดย้ำทำหรือ OCD ด้วยเหมือนกัน สาเหตุที่โรคนี้ถูกจัดให้อยู่ในหมวดของโรคย้ำคิดย้ำทำ เพราะว่าคนที่เป็นโรคนี้มักจะมีอาการหมกมุ่น ต้องซื้อหนังสือให้ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยากอ่านหนังสือ หรือจะมีหนังสือซ้ำอยู่แล้ว แต่ก็ยังอยากที่จะได้หนังสือมาครอบครองไว้อยู่

อาการของโรคดองหนังสือ มีอะไรบ้าง ?

จากสาเหตุของการเกิดโรค Bibliomania ที่มีความเกี่ยวข้องกับปมเบื้องหลังในวัยเด็ก รวมไปถึงมีอาการ OCD หรือโรคย้ำคิดย้ำทำอยู่ด้วย โรคBibliomania จึงมีความรุนแรงกว่าการซื้อหนังสือมากองดองเอาไว้อยู่มาก ซึ่งมีอาการที่แตกต่างจากการดองหนังสือทั่วไปด้วย ซึ่งสามารถเช็กอาการเสี่ยงโรคBibliomania ได้จากสัญญาณเหล่านี้

  • ซื้อหนังสือเล่มเดิม เพียงขอแค่ได้สะสม
  • ซื้อหนังสือเล่มเดียวกัน ซ้ำกันหลายเล่ม
  • ไม่สนใจเนื้อหาข้างในว่าจะดีหรือไม่ แต่ขอแค่เป็นหนังสือ
  • ชอบซื้อหนังสือแต่ไม่ชอบอ่าน อยากได้เล่มไหนต้องได้
  • รู้สึกทุกข์มาก ถ้าหากไม่ได้เป็นเจ้าของ
  • รู้สึกไม่ดีถ้าต้องทิ้งหนังสือแม้จะไม่เคยเปิดอ่าน
  • ซื้อแล้วชอบมาวางกอง ๆ ไว้
  • เริ่มออกห่างจากสังคม หันมาซื้อและเก็บหนังสือแทน
  • มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลเรื่องการเก็บสะสมอยู่ตลอดเวลา
  • เก็บหนังสือเอาไว้ทุกที่ที่เป็นไปได้ หนังสือไม่ได้ถูกเก็บอย่างดี

โรคแทรกซ้อนที่มาพร้อมโรคดองหนังสือ

สำหรับโรค Bibliomania พฤติกรรมชื่นชอบการซื้อหนังสือ คลั่งการซื้อหนังสือมาเก็บเอาไว้เยอะ ๆ อาจจะไม่ได้ตั้งใจจะอ่านแต่แรกอยู่แล้ว แต่แค่อยากซื้อมาเก็บเอาไว้เฉย ๆ จนเกิดความรู้สึกเครียด และกดดันมาก ๆ เวลาจะต้องตามหาหนังสื้อที่อยากได้ ถือเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง

และด้วยอาการครั่งรักหนังสือจนหมกมุ่น มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลเรื่องการเก็บสะสมอยู่ตลอดเวลา ซื้อหนังสือเล่มเดียวกัน ซ้ำกันหลายเล่ม มีความย้ำคิดย้ำทำ ต้องเก็บหนังสือเล่มนี้ให้ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยากอ่านเล่มนั้น โรค Bibliomania เลยมักจะมีอาการโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD ร่วมด้วย

นอกจากนั้นถ้าหากมีพฤติกรรมของโรค Bibliomania ค่อนข้างรุนแรง อาจจะส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีแนวโน้มที่จะเป็น " Bibliokleptomania " พฤติกรรมการลักขโมยหนังสือขึ้นได้ พฤติกรรมลักขโมยหนังสือเพื่อเก็บไว้ในคอลเลกชันตัวเอง ส่วนใหญ่มักจะพบในห้องสมุด เพราะมีโอกาสถูกจับได้น้อยกว่าในร้านหนังสือ

วิธีรักษาอาการชอบดองหนังสือ

แม้ว่าจะเป็นอาการหรือโรคที่ดูเหมือนไม่ได้น่ากลัว แต่ก็ไม่ควรปล่อยไว้เฉย ๆ เพราะถ้ามองในแง่ที่ร้ายที่สุด โรคที่เราเห็นว่าธรรมดา ๆ ไม่น่าหวั่นใจแบบนี้ อาจจะส่งผลที่ร้ายแรงต่อทั้งสังคมและสุขภาพได้ ฉะนั้นถ้ารักษาได้ ก็ควรที่จะได้รับการรักษานะคะ วิธีการรักษาโรค Bibliomania ที่ใช้บ่อยๆ จะมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่

  1. การบำบัดด้วยความรู้ความเข้าใจ เป็นการไปพบจิตแพทย์ เพื่อทำการปรึกษาพูดคุย จัดการกับความกระหายหนังสือนี้ได้อย่างถูกวิธี ค่อย ๆ บำบัดกันไปทีละขั้นตอนจนกว่าจะหายเป็นปกติ
  2. การใช้ยา จะเหมาะกับคนที่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อย่างเช่นอาการของโรคซึมเศร้า หรือมีภาวะที่ค่อนข้างรุนแรงกว่าปกติ บางครั้งการให้คำปรึกษาอาจจะช่วยไม่ได้มาก ฉะนั้นการใช้ยาในกลุ่มของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าเข้ามาช่วย ก็ถือว่าช่วยได้เยอะเลยค่ะ

สรุป

หากเราพบว่าคนใกล้ตัว หรือคนในครอบครัว เพื่อน แฟน มีอาการของ โรคดองหนังสือ BIBLOMANIA อย่านิ่งเฉย แม้มันจะเป็นโรคที่ไม่ได้ร้ายแรงอะไรแต่ถ้าอาการหนักถึงขั้นที่เรียกว่ารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันปล่อยทิ้งเอาไว้ก็ไม่ดีเช่นกัน ฉะนั้นคนใกล้ตัวจึงจำเป็นที่จะต้องคอยดูแล สอดส่อง หากพบว่าเริ่มร้ายแรงขึ้น ก็ควรรีบพาไปพบจิตแพทย์ เพื่อที่จะได้รับการบำบัดรักษาต่อไป

จริง ๆ ถ้าดูจากอาการที่ว่ามาข้างต้น มันก็ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรงอะไร แต่ว่าบางครั้งการที่เราชอบทำอะไรมาก ๆ แบบเกินพอดี จนกลายเป็นการเสพติดสิ่งนั้น กระทบกระเทือนต่อการใช้ชีวิตมันก็ไม่ดีเท่าไหร่นะ ลองหันไปให้ความสนใจกับสิ่งอื่นบ้าง  แล้วเพื่อนๆ จะรู้เลยว่า บนโลกนี้มีอะไรอีกเยอะเลยค่ะ ที่น่าสนใจ ไม่ได้บอกให้เลิกทำสิ่งที่ชอบ แค่ลองทำอะไรใหม่ ๆ ดู บางทีเพื่อน ๆ อาจจะชอบก็ได้นะสำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนแล้ว บ๊ายบาย~

ขอบคุณภาพประกอบจาก istock และข้อมูลอ้างอิงจาก Med INDIA, Brandthink, mTHAI


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้

🔮 ดูดวงกับ SistaCafe ผ่าน Line Official !
รูปภาพสำหรับป๊อปอัพลอย:1