รูปภาพ:https://i.pinimg.com/originals/aa/e9/1f/aae91f24f2948a4e9ffa6c14aa1ae9ca.gif

เลือกตั้งครั้งแรกควรเตรียมตัวยังไงดี ตื่นเต้นอะ!เชื่อว่าชาวซิสหลาย ๆ คนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกในปีนี้หรือปี 2566คงจะตื่นเต้นน่าดูเลยใช่ไหมละคะ เพราะเป็นครั้งแรกที่จะได้ใช้สิทธิ์เลือก ส.ส.เขตที่ใช่ เลือกพรรคที่ชอบสักทีนึง แต่... ก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่เลยว่าควรเตรียมตัวยังไง!? ควรรู้อะไรบ้าง!? แล้วขั้นตอนการเลือกมันต้องทำยังไง? เดินไปทางไหน ใช้อะไรบ้างบทความนี้เราจะมาบอกทุกคนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกให้กระจ่างเลยค่ะ รับรองว่าอ่านจบปุ๊บไปคูหากาได้เลย ไม่มีมึนถ้าพร้อมจะรู้แล้วว่าต้องเตรียมอะไร ต้องทำอะไรบ้างก็ขอชวนมามุงดูกันเลยจ้า



คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับมือใหม่เริ่มเลือกตั้ง

รูปภาพ:https://lifestyle.campus-star.com/app/uploads/2019/03/Kaew.jpg

คำแนะนำเพิ่มเติมที่อยากจะบอกทุกคนก็คือ...

1. ดูนโยบายหรือการดีเบต: การเลือกตั้งมีพรรคและส.ส.เยอะมากนะคะ การศึกษานโยบายหรือการดูดีเบตของแต่ละพรรคจะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น แถมยังได้เห็นวิสัยทัศน์ของแต่ละพรรคและ ส.ส.อีกด้วย

2. เตรียมปากกาไปเอง: ช่วงนี้โรคระบาดกำลังกลับมานะคะ ถ้าใครไม่สบายใจหรือกลัวว่าปากกาจะเขียนไม่ออก สามารถเตรียมปากกาไปได้เลยค่ะ แนะนำว่าเป็นปากกาลูกลื่นจะดีที่สุดนะคะ

3. เผื่อเวลาในการออกไปเลือกตั้ง: หน่วยเลือกตั้งจะเปิดและปิดหีบเวลา 08:00 - 17:00 น. ถ้าอยากไปถึงหน่วยเลือกตั้งเวลาไหนก็อย่าลืมเผื่อเวลานะคะ4. ห้ามถ่ายบัตรเลือกตั้งเป็นอันขาด: เชื่อว่าสายติดโซเชียลชอบอัปเดตว่าไปไหนทำอะไรก็อยากจะโพสต์ใช่ไหมละคะ แต่การถ่ายบัตรเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ผิดนะคะ บัตรนั้นจะเป็นโมฆะหรือไม่ถูกนับคะแนนไปเลย ดังนั้นแนะนำว่าให้ถ่ายแค่หน่วยเลือกตั้งก็พอน้า


เช็ก 7 ขั้นตอน " การเลือกตั้ง " ต้องทำยังไงบ้างนะ?


1. ตรวจสอบรายละเอียดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

รูปภาพ:

อย่างที่ทุกคนรู้กันนะคะว่าเราจะมีสิทธิ์เลือกตั้งได้ก็ต่อเมื่อเรามีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่เลือกตั้งเช่น ปี 2566 วันเลือกตั้งคือ 14 พฤษภาคม เราเกิดวันนี้และมีอายุ 18 ปีพอดีก็สามารถเลือกตั้งได้นั่นเองค่า แต่เพื่อจะให้เรามั่นใจว่ามันจะไม่ผิดพลาด ก็สามารตรวจสอบได้ด้วยการเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการปกครอง( แปะลิงก์ไว้ด้านล่าง )ได้เลยค่ะ ซึ่งวิธีการตรวจสอบก็ง่ายมาก ๆ นะคะ ในเว็บไซต์จะให้เรากรอกเลขบัตรประชาชน กรอกเสร็จปุ๊บก็จะมีรายละเอียดข้อมูลขึ้นมาให้ทั้งวันที่เลือกตั้ง ชื่อ เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และลำดับที่บัญชีรายชื่อทุกคนสามารถแคปเจอร์หน้าจอเก็บไว้ตรวจสอบได้นะคะ แต่ไม่แนะนำให้โพสต์ลงโซเชียลน้า แต่ถ้าใครอยากจะโพสต์จริง ๆ ก็อย่าลืมปิดข้อมูลต่าง ๆ ให้เหลือแค่ชื่อกับวันที่ด้วยนะคะ :-Dตรวจสอบรายละเอียดผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)

เว็บไซต์ :https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/[ สามารถคลิกหรือใช้นิ้วจิ้มไปที่ลิงก์ได้เลยนะคะ มันจะเชื่อมไปที่หน้าเว็บไซต์ให้เลยค่า ]


2. ตรวจสอบรายชื่อหน้าหน่วยเลือกตั้ง

รูปภาพ:https://pbs.twimg.com/media/D2aI2-eUgAA5j6E.jpg

ตรวจสอบรายละเอียดก่อนการเลือกตั้งไปแล้ว เมื่อถึงวันเลือกตั้งจริงแม้ว่าการเช็กในเว็บไซต์จะขึ้นลำดับบัญชีรายชื่อให้ชัดเจน แต่เพื่อให้มั่นใจก็แนะนำให้ทุกคนเดินไปตรวจสอบชื่อหน้าหน่วยเลือกตั้งอีกครั้งได้เลยนะคะ โดยสังเกตบอร์ดหรือกระดานที่เขาแปะกระดาษหลาย ๆ แผ่นไว้ ตรงนั้นจะมีรายละเอียดให้อ่านเพิ่มเติมมากมาย รวมไปถึงการเช็คลำดับที่ของชื่อด้วยนะคะให้เราหาชื่อตัวเองและดูลำดับ หลังจากนั้นตรวจสอบว่าข้อมูลถูกต้องไหม เมื่อถูกต้องก็สามารถเดินไปหาเจ้าหน้าที่ได้เลยค่ะเจ้าหน้าที่จะทำการจัดการให้เราเอง


3. แสดงบัตรประจำตัวประชาชนให้กับเจ้าหน้าที่

รูปภาพ:https://image.sistacafe.com/images/uploads/content_image/image/891239/1554781171-53382046_205938313699005_5818106011634417496_n.jpg

เดินไปหาเจ้าหน้าปุ๊บเราก็ต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ( บัตรหมดอายุก็ใช้ได้ ) พาสปอร์ต หรือบัตรที่ทางราชการออกให้โดยต้องมีรูปถ่ายและเลขประจำตัวประชาชนอันนี้แนะนำว่าให้เลือกอันที่รูปชัดด้วยนะคะ อย่างบัตรประชาชนของบางคนอาจจะโดนขูดขีดมาเยอะจนทำให้บริเวณรูปภาพมันเลือนรางจนเจ้าหน้าที่ดูไม่ออก ถ้ามีพาสปอร์ตหรือบัตรอื่น ๆ ของทางราชการ เตรียมไว้เผื่อก็จะได้ไม่ต้องไปกลับบ้านกับหน่วยเลือกตั้งให้เสียเวลานะคะ หรือไม่ก็เช็กบัตรก่อนวันไปเลือกตั้งเลยก็ดีนะคะ เตรียมพร้อมให้เป๊ะจะได้ไม่ต้องกังวลเนอะ ♥


4. รับบัตรเลือกตั้ง

รูปภาพ:https://pbs.twimg.com/media/Ft03MopaIAEbq5b?format=jpg&name=large

เมื่อเรายื่นบัตรประชาชนหรือบัตรที่ทางราชการออกให้เรียบร้อยแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ก็จะทำการกรอกรายละเอียดเล็กน้อย แล้วก็จะมีการพับกระดาษให้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อเจ้าหน้าที่พับเสร็จแล้วเขาก็จะยื่นบัตรเลือกตั้งให้เราค่ะ เราก็แค่รับบัตรเพื่อไปต่อที่คูหา แต่!ปีนี้บัตรเลือกตั้งไม่เหมือนปีก่อน ๆนะคะ ปีนี้จะมีบัตรเลือกตั้ง 2 สี คือสีม่วง ( เลือกส.ส.แบบแบ่งเขต )และสีเขียว ( เลือกส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ )หลายคนได้ยินแบบนี้อาจจะงง ๆ ว่าส.ส.แบ่งเขตกับส.ส.บัญชีรายชื่อคืออะไร เราจะอธิบายให้ฟังง่าย ๆ แบบนี้ค่า• ส.ส.แบบแบ่งเขต: คือการเลือกตัวแทนของคนในเขตนั้น ๆ เข้าไปในสภา เช่น ส.ส.ซิสต้า ชนะการเลือกตั้งเขตคาเฟ่ ก็จะได้เป็นตัวแทนของเขตคาเฟ่ เพื่อไปเสนอปัญหาและนโยบาย ออกเสียงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในสภานั่นเองค่า• ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ( ปาร์ตีลิสต์ ): คือการเลือกพรรคที่ชอบ แล้วทาง กกต.จะนำไปคำนวณตามสูตร เพื่อให้ได้จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อออกมาค่ะ โดย ส.ส. ที่เป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อจะไม่ได้เป็นส.ส.เขตน้า แยกกันไปเลยแต่จะมีลำดับอยู่ว่าใครคือลำดับ 1 2 3 ถ้าพรรคไหนได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อเยอะ ก็สามารถแปลได้ว่าพรรคนั้นมีคะแนนความนิยมเยอะนั่นเองค่า


5. เข้าคูหากากบาทเลือก ส.ส. ที่ชอบ พรรคที่ใช่ได้เลย

รูปภาพ:https://image.posttoday.com/media/content/2019/03/22/CE26E4EE842B4459A3438F0A1AA8D7DE.jpg

รู้เรื่องรายละเอียดบัตรเลือกตั้งแล้ว ก่อนเราจะเข้าไปเลือกเราต้องจำเบอร์ส.ส.เขตและเบอร์ของพรรคที่เราจะเลือกด้วยนะคะ ซึ่งตัวเลขอาจจะไม่เหมือนกัน เช่นส.ส. ซิสต้า พรรคคาเฟ่ เขต 1 เบอร์ 1 กับพรรคคาเฟ่ เบอร์ 11เป็นต้น จำเลขให้ดีนะคะ เมื่อจำได้แม่นยำแล้วเราก็เข้าไปกากากบาทเลือกผู้สมัครส.ส.เขตและพรรคที่ชอบได้เลยค่า หรือใครจะโหวตไม่ออกเสียง ( Vote NO ) ก็ได้นะคะ โดยการกาเครื่องหมายกากบาทจะต้องกาแบบในภาพด้านซ้ายเท่านั้น กาแบบฝั่งขวาบัตรจะเสียและไม่ถูกนับเป็นคะแนนค่ะ ชอบพรรคไหน ส.ส. คนไหนอย่าไปวาดหัวใจเน้อ ช่วยกันกากบาทให้บัตรถูกนับจะดีกว่านะคะ :-)


6. พับตามรอยที่เจ้าหน้าที่พับไว้ให้

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/70/7d/c8/707dc87be399b0e51dff948855091a87.jpg

กากบาทเสร็จปุ๊บก็ให้พับบัตรตามรอยที่เจ้าหน้าที่พับไว้ได้เลยค่าพับในคูหาที่มีฉากกั้นนะคะ อย่าเอาไปพับด้านนอกเพราะอาจจะมีคนเห็นว่าเรากาพรรคไหนในบัตร ซึ่งการทำแบบนี้เป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยว่าจะไม่มีใครเห็น แล้วก็พยายามอย่าพับตามใจตัวเองน้าเวลาเจ้าหน้าที่นับคะแนนจะได้แกะง่าย ๆ แล้วกระดาษก็จะไม่เกิดรอยยับมากขึ้นด้วย ที่สำคัญคือมันจะได้เรียบเสมอกันในทุก ๆ ใบหยิบจับง่ายและไม่เห็นข้อมูลที่เรากาในบัตรนะคะ แล้วการพับก็คือพับแยกชิ้นกันเน้อ อย่าพับรวมกันแล้วหย่อนลงไปเด็ดขาดไม่งั้นเราจะเสียสิทธิ์ในบัตรอีกใบทันทีเพราะหีบเปิดก่อนเวลาไม่ได้นั่นเองค่ะ


7. หย่อนบัตรด้วยตัวเองและหย่อนให้ถูกต้อง

รูปภาพ:https://s.isanook.com/ns/0/ui/1544/7722242/2187c2770d28f74a51c8914bb1119d3e_1553413291.jpg

ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการหย่อนบัตรลงกล่องนั่นเองจ้า วิธีการนี้ง่ายมาก แต่ต้องสังเกตดี ๆ นะคะ ว่ากล่องไหนคืออะไร ย้ำว่าต้องเช็กและดูให้ดี ถี่ถ้วนที่สุดเพราะถ้าหย่อนผิดฝั่งจะไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากหีบจะไม่ถูกเปิดก่อนเวลาเปิดจริง แต่โดยปกติจะมีเจ้าหน้าที่คอยยืนบอกอยู่แล้วนะคะว่ากล่องไหนหย่อนบัตรอะไรก็หย่อนลงไปตามปกติได้เลยค่ะ แต่ถ้าใครไม่ชัวร์จะยืนดูกล่องให้ชัด ๆ ก็ได้น้า เท่านี้เราก็ได้เลือกตั้งครั้งแรกแบบเสร็จสมบูรณ์ไม่มีอะไรผิดพลาดแล้วค่า :-D



ได้รู้ทั้งคำแนะนำและวิธีการเข้าคูหาไปกา ส.ส. ที่ชอบ พรรคที่ใช่กันแล้ว เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย? ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ เพียงแค่ขั้นตอนอาจจะดูเยอะไปนิด แต่ตอนทำจริง ๆ คือแป๊บเดียวเสร็จค่ะ ถ้าเราไม่ได้ไปช่วงที่คนออกมาใช้สิทธิ์ใช้เสียงกันอะนะคะ แต่เลือกตั้งใช้เวลาไม่นานจริง ๆ ค่ะแป๊บเดียวก็เสร็จแล้วอยากให้ทุกคนออกมาใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตัวเองน้าแม้ว่าจะไม่มีพรรคไหนที่ชอบ ส.ส. เขตคนไหนที่ใช่เลยก็มาโหวต NO ได้นะคะ อย่างน้อยก็ไม่นอนหลับทับสิทธิ์กันนะคะ และถ้าใครอยากจะเข้าใจการเลือกตั้งให้มากขึ้นก็แนะนำให้ดูการสรุปในคลิปของสำนักข่าวทูเดย์ด้านล่างได้เลยค่ะ รับรองว่าดูจบแล้วเข้าใจแน่นอน ส่วนทางเราก็ขอไปเตรียมตัวเพื่อใช้สิทธิ์ออกเสียงบ้างดีกว่า ยังไงก็ฝากอนาคตประเทศไทยในการเลือกตั้ง 2566 ด้วยนะคะทุกคนบ๊ายบาย ♥