1. SistaCafe
  2. VKH โรคม่านตาอักเสบรุนแรง โรคลึกลับที่ยังไม่ทราบสาเหตุ

Vost-Koyanagi-Harada disease (VKH) โรคใหม่แต่จริงๆ มีมานานแล้วนะโดยโรคนี้ถูกเรียกสั้นๆ ว่า โรค VKH  คือโรคม่านตาอักเสบรุนแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อดวงตา ผิวหนัง และระบบประสาทส่วนกลาง โดยโรคนี้พบมากในกลุ่มคนเอเชีย อายุ 30 – 40 ปี หลายงานวิจัยระบุว่าโรคนี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองทำงานผิดปกติ และอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้เช่นกัน

Vost-Koyanagi-Harada disease (VKH)

นำชื่อจักษุแพทย์มาตั้งเป็นชื่อโรค

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202670%2FDznZAJav0gxblyKvGOdNCt1YVb5SLgZBc5L4agc1.jpg?v=1727065966

ที่มาที่ไปของชื่อโรค Vost-Koyanagi-Harada disease  สงสัยกันไหมคะว่าทำไมชื่อของโรคนี้มี 3 ชื่อคนอยู่ในนี้ ก็เพราะเป็นโรคที่ตั้งตามชื่อของจักษุแพทย์ในศตวรรษ 20 จำนวน 3 คน ที่ทำการศึกษาและหาคำอธิบายของโรคนี้ออกมานั่นเอง โดยคนแรกชื่อว่า คุณ Alfred Vogt อธิบายถึงโรคม่านตาอักเสบ แล้วคุณ Yoshizo Koyanagi ก็อธิบายถึงความสัมพันธ์ของน้ำบริเวณไขสันหลัง ต่อมาคุณ Einosuke Harada ระบุอาการทางผิวหนังของอาการของโรคนี้คือจะมีอาการสูญเสียความทนทานต่อภูมิคุ้มกันภายในเยื่อหุ้มสมอง ตา ผิวหนัง ผม และหู ร่วมด้วย

อาการของโรค VKH เป็นอย่างไรกัน

คอยสังเกตดูนะว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202670%2Fz5GH9LowwoNym1VTRpBsba7LSoHaV3iYVS2DNDGD.jpg?v=1727066502

โดยอาการส่วนใหญ่ที่พบคือปวดศีรษะรุนแรง หูอื้อ เหมือนคนเป็นไข้ และอาการของคนติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรีย คลื่นไส้  ง่วงนอน สูญเสียการได้ยิน ผมร่วง หูอื้อ ซึ่งต่อมาจะมีอาการอักเสบที่ดวงตา พบจุดสีดำเห็นภาพเป็นวงกลม บางคนเห็นเป็นภาพซ้อน ส่งผลให้ตามัวทั้งสองข้าง เป็นต้อหิน ต้อกระจก และเสี่ยงให้ตาบอดชั่วคราวหรือถาวรตามมาได้ 

วิธีการรักษาโรค VKH

ต้องมีการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดให้มากที่สุด

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202670%2Fjc1f79YXW0vdR1rxOTympZOLKKUSZdOO7xVoCXna.jpg?v=1727066435

 เนื่องจากโรค VKH มีความคล้ายกับอาการบางโรคด้วย จึงต้องทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ทั้งจากประวัติการเจ็บป่วย อาการที่พบ และผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการ แพทย์ส่วนใหญจะใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบใช้รักษาโรคได้หลากหลายโรค ยาเมโธเทรกเซท เป็นยาที่ออกฤทธิ์แทรกแซงการเจริญเติบของเซลล์ เป็นหลักในผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการรักษาตามอาการที่เป็น หรือที่เด่นชัดที่สุดเพื่อทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ส่วนในบางรายที่มีอาการรุนแรง ต้องทำการรักษาด้วยวิธีอื่นร่วมด้วยเช่น การฉายแสง หรือการผ่าตัดดวงตา เพื่อลดการอักเสบ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนตามมา


กำลังเสี่ยงเป็นโรค VKH แล้ว

ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202670%2FjkkYQtOVcEr3HXY71dQBHdYb2SLDsF1D1PkHkAKu.jpg?v=1727066486

  ปวดตาทั้ง 2 ข้าง ตาขาวเริ่มมีสีแดงแบบผิดสังเกต แถมยังปวดดวงตาทั้ง 2 ข้าง  มองเห็นภาพเบลอหรือภาพซ้อน และมีจุดสีดำลอยอยู่ตรงกลางของภาพด้วยนอกจากนั้นยังรู้สึกแสบตาเมื่อถูกแสงสว่าง ส่งผลให้อาจสูญเสียการมองเห็นแบบชั่วคราวหรือถาวรได้


ป้องกันไว้ก่อน

รู้ก่อนรักษาก่อนป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202670%2FEurq2L7LmRpjxToSMNPLbmSgsRMp98CJjcadtnNX.jpg?v=1727066520

โรค VKH เป็นโรคที่ควรทำการรักษา และการตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะจะช่วยลดผลกระทบที่รุนแรงตามมาได้ นอกจากนั้นควรดูแลสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอและไปพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น การมองเห็นผิดปกติ ตามัว ในขณะที่มีอาการปวดศีรษะแบบไม่มีสาเหตุมาก่อน ดังนั้นเมื่อมีอาการน่าสงสัย ให้เฝ้าสังเกตอาการและพบแพทย์ทันทีเพื่อลดอาการแทรกซ้อนที่จะตามมาได้

บทความแนะนำ





เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้