สวัสดีค่ะชาวซิสสสสส!มีใครกำลังประสบปัญหาตื่นเเล้วไม่อยากลุกจากเตียงเหมือนกันบ้างไหมคะเเม้จะรู้ว่ามีงานการรออยู่เเต่มันลุกไม่ไหวจริง ๆ ค่ะเลื่อนนาฬิกาเเล้วเลื่อนนาฬิกาอีก ขอนอนทำใจก่อนสัก 1-2 ชั่วโมงสักนิดหากเพื่อน ๆ คนไหนกำลังมีพฤติกรรมเเบบนี้ ขอกระซิบเลยว่าซิสอาจกำลังเข้าสู่“ ภาวะ Dysania ”หรือ“ โรคเตียงดูด ”โดยไม่รู้ตัว!ครั้งนี้ทางเราจึงอยากพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้ “ ภาวะ Dysania ” หรือ “ โรคเตียงดูด ” กันค่ะ
“ภาวะ Dysania” หรือ “โรคเตียงดูด” คืออะไร ?
คำพูดที่ว่า เตียงดูด อาจจะไม่ใช่เรื่องขำอีกต่อไปเเล้วค่ะเพราะปัจจุบันในทางการเเพทย์ได้ออกมาเปิดเผยถึง “ภาวะ Dysania” หรือ “โรคเตียงดูด”อีกหนึ่งอาการของการเสพติดการนอน โดยคนที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวมักจะรู้สึกอ่อนเพลีย เเละง่วงนอนมากจนไม่อยากลุกจากเตียงเเละต้องใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง หรือหลายชั่วโมงกว่าที่จะลุกขึ้นจากเตียงได้
เเน่นอนว่า “ภาวะ Dysania” หรือ “โรคเตียงดูด” ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างเเน่นอนแค่ตื่นสายตารางชีวิตก็รวนไปหมด เเถมยังส่งผลทำให้คนรอบข้างเดือดร้อนอีกด้วยทั้งเพื่อน ครอบครัว เเละโดยเฉพาะเพื่อนร่วมงานเพราะใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจเเละรู้จักภาวะ Dysania
ความอันตรายของ “ภาวะ Dysania” มีอะไรบ้าง ?
เเม้จะฟังดูเป็นปัญหาสุขภาพธรรมดาทั่ว ๆ ไป เเต่เพื่อน ๆ รู้ไหมคะว่าอาการดังกล่าวเป็นสาเหตุของหลายโรคเลยค่ะได้เเก่ โรคซึมเศร้า, อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (CFS), โรคไฟโบรมัย อัลเจีย (Fibromyalgia ), ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, โรคโลหิตจาง,ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์, โรคเบาหวาน, โรคขาอยู่ไม่สุข, โรคหัวใจ, ความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากการสูญเสีย และความผิดปกติของการนอน
เช็กสัญญาณเตือน “ภาวะ Dysania”
อย่างที่กล่าวไปตอนน้นค่ะว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนมากจนไม่อยากลุกจากเตียงเเละขอเพิ่มเติมอีกนิดว่าอาจมีอาการง่วงนอนมากเป็นพิเศษในช่วงกลางวัน โดยจะเป็นอาการไหนก็ขึ้นอยู่กับเเต่ละบุคคลซึ่งเเพทย์ได้กล่าวว่าโรคนี้มีลักษณะอาการคล้ายกับ ภาวะ Clinophilia ที่ชอบใช้เวลาอยู่บนเตียงนานกว่าปกติทั้งกลางวัน เเละกลางคืนเเต่เเม้ว่าจะเสพติดก็ไม่ได้หมายความว่าจะนอนหลับอย่างเพียงพอ เผลอ ๆ อาจจะนอนน้อยด้วยซ้ำ
ปรับพฤติกรรมป้องกัน “ภาวะ Dysania”
ใครที่เริ่มมีอาการเบื้อต้นคล้าย ๆ กับที่กล่าวมาต้องรีบป้องกันด่วน ๆ เเล้วค่ะเพื่อน ๆ
อย่าปล่อยให้อาการเรื้อรังจนต้องเข้าพบเเพทย์เลยดีกว่า
โดยวิธีที่การเเก้ก็เริ่มจากการปรับพฤติกรรมการนอนของเราเนี่ยเเหละค่ะไม่ได้ไปทำอะไรอื่นใคร โดยทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- พยายามสร้างสภาพเเวดล้อมในห้องนอนให้น่านอน
- ไม่จัดเเสงไฟในห้องนอนให้จ้าเกิดไป ควรอยู่ในระดับพอดีเหมาะกับการนอนหลับ
- เลี่ยงการใช้โทรศัพท์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนอกส์ก่อนเข้านอน
- พยายามทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดก่อนเข้านอน เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อาบน้ำอุ่น เป็นต้น
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อลดความเครียด ทำให้นอนหลับได้มีประสิทธิภาพได้ดีมากยิ่งขึ้น
รู้เเล้วเป็นไงบ้างคะเพื่อน ๆใครที่กำลังมีอาการดังกล่าวก็ไม่ต้องวิตกกังวลกันไปนะคะ ลองปรับพฤติกรรมการนอนตามที่เราเเนะนำก่อนในขั้นเบื้องต้นก่อนเเต่หากยังไม่ดีขึ้น เเละรู้สึกว่าอาการดังกล่าวเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตก็รีบเข้าพบเเพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดเลยดีกว่าค่ะ อย่าปล่อยทิ้งเอาไว้ให้เรื้อรังดีกว่าน้า