สวัสดีค่า สาว ๆ ทุกคนวันนี้เรามาพร้อมกับหัวข้อที่เอาใจคนหมดไฟกันหน่อย เป็นไหมช่วงนี้เหนื่อย ๆ จิตใจไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว งานการก็ไม่ค่อยอยากจะทำ แพสชันที่เคยมีก็มอดจนหมดใครก็ได้ช่วยมาจุดไฟให้ฉันที !!ถ้ายังจำกันได้ก่อนหน้านี้เราอาจจะเคยแนะนำhttps://sistacafe.com/summaries/95129ไปแล้ว แต่วันนี้เราได้รวมเอาวิธีในการช่วยจุดไฟในตัวเองกลับมาฝากทุกคนฉบับที่เรียกว่าสั้น ! ง่าย ! ได้ใจความ !เอาแบบที่อ่านแล้วนำไปใช้ได้เลยไม่ต้องสับสน ส่วนจะมีอะไรกันบ้างนั้น เราไปเริ่มกันเลยค่ะ

หมดไฟ ทำยังไงดี ? ในวันที่เหนื่อยล้า แวะพักเติมใจกันหน่อยดีไหม

รูปภาพ:

หมดไฟ คืออะไร ? มาลองสำรวจจิตใจของตัวเองกันดูไหม

รูปภาพ:

ก่อนอื่นเรามาเริ่มสำรวจตัวเองกันก่อน ว่าตอนนี้เรากำลังเผชิญกับภาวะหมดไฟอยู่จริง ๆ หรือเปล่าลองเช็กลิสต์ตามนี้ดูนะคะ

• นอนไม่ค่อยหลับ

รู้สึกเหนื่อย และอ่อนแรง มีอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ภูมิคุ้มกันร่างกายตก ลืมอะไรได้ง่าย ๆ และไม่มีสมาธิในการจดจ่องานที่กำลังทำ

• รู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว

เบื่อ และสิ้นหวัง ขาดแรงจูงใจในการทำงาน มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อคนอื่น หรือจะเรียกว่าเริ่มที่จะเหวี่ยงคนอื่นได้ง่าย ๆ มองโลกในแง่ร้ายผิดไปจากปกติ พูดจาดูถูกคนอื่น เริ่มที่จะขัดแย้งกับคนอื่น

• เริ่มพูดคุยกับคนอื่นน้อยลง

มีพฤติกรรมแยกตัว และไม่อยากสุงสิงกับใคร ผลัดวันประกันพรุ่ง หรือกระตือรือร้นจนผิดสังเกต ทำงานเหมือนคนที่ไม่มีชีวิตจิตใจ ขาดไอเดียดี ๆ และเริ่มที่จะหันไปพึ่งสิ่งเสพติดมากขึ้น เช่นการดื่มแอลกอฮอล์บ่อยจนเกินไป

หมดไฟ กับระยะต่าง ๆ ของการทำงาน

รูปภาพ:

1. ระยะฮันนีมูน (the honeymoon)ก็ตามชื่อเลยค่ะ เป็นระยะแรก ๆ ของการเข้าทำงาน ซึ่งก็คือช่วงที่เรารู้สึกกระตือรือร้น มี Passion ในการทำงานมีไอเดียในหัวเต็มไปหมด อยากให้มีงานเข้ามาเยอะ ๆ อยากที่จะแสดงความสามารถของเรา แล้วก็อาจจะเป็นช่วงที่เรากำลังปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานเช่นกันค่ะ

2. ระยะรู้สึกตัว (the awakening)เป็นระยะที่เราเริ่มรู้สึกว่าสิ่งที่เราคาดหวังในตัวองค์กรหรือในตัวงานหรือในเพื่อนร่วมงานไม่ตรงกับความเป็นจริงเราเริ่มรู้สึกว่างานไม่ตอบโจทย์ หรือรายได้ผลที่ได้รับตอบแทนมาไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่เราลงทุนไป ซึ่งเราก็จะเริ่มรู้สึกว่าเราไม่สามารถที่จะจัดการกับมันได้เราก็อาจจะต้องพบเจอกับความเหนื่อยล้าที่มากขึ้นในทุก ๆ วัน

3. ระยะไฟตก (Brownout)เป็นระยะที่เราเริ่มรู้สึกเหนื่อยมาก ๆเป็นความเหนื่อยที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ วันและดูเหมือนจะไม่ลดลงแล้ว ทำให้เรารู้สึกหงุดหงิดง่ายในชีวิตประจำวัน มีอาการโกรธจนคนรอบตัวสังเกตได้ เริ่มที่จะประสานงานกับคนอื่นได้ยากขึ้นและเริ่มที่จะปลีกตัวออกมา ซึ่งในหลายกรณีก็ได้มีการหันไปพึ่งสารเสพติด อย่างเช่น การดื่มสุรา หรือว่าการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อที่จะกำจัดความเครียด และในบางคนก็จะเริ่มมีทัศนคติที่ไม่ดีกับคนอื่นหรือเริ่มวิจารณ์องค์กรที่ตัวเองทำงานอยู่ในด้านลบ

4. ระยะหมดไฟเต็มที่ (Full scale of burnout)ระยะนี้คือระยะของคนไฟตกที่ไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้พวกเขาเริ่มรู้สึกว่าตัวเองหมดหวังหรือว่าสิ้นหวังในการทำงาน ในการใช้ชีวิตเพราะว่าไม่มีใครหรืออะไรจะเข้ามาช่วยได้เลย รู้สึกว่าตัวเองมีความล้มเหลวหรือรู้สึกว่าไม่มั่นใจในการใช้ชีวิต ซึ่งก็คือระยะของการหมดไฟแบบเต็มที่เลย

5. ระยะฟื้นตัว (The phoenix phenomenon)เป็นระยะที่คนหมดไฟได้รับการดูแลและรักษา อาจจะเป็นการได้พักผ่อน ได้มีโอกาสที่จะผ่อนคลายในสถานที่หรือว่าในกิจกรรมบางอย่างแล้วสามารถที่จะกลับมาทำงานได้อีกครั้งกลับมามีความหวัง กลับมามีความมั่นใจ แล้วก็กลับมามีแรงบันดาลใจในการทำงาน มีเป้าหมายที่จะไปข้างหน้าอย่างชัดเจน

หมดไฟ ทำยังไงดี ? มัดรวมวิธีที่จะทำให้คนไฟตกโอเคขึ้น

รูปภาพ:

วิธีในการแก้ไข้นั้นหลัก ๆ นั้นคือการพยายามที่จะเพิ่มการพักผ่อนและการเรียนรู้ที่จะมีwork life balanceที่ดีนั่นเองค่ะ บางทีการทำงานหรือว่าสภาพในที่ทำงาน ความกดดันจากคนอื่น ก็เป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สะสมในทุก ๆ วันทำให้เราต้องประสบพบเจอกับภาวะการหมดไฟ เพราะฉะนั้นในการที่จะแก้ปัญหาตรงนี้ก็คือการที่เราต้องให้เวลาตัวเองมากขึ้น

วิธีเติมไฟ ข้อที่ 1 รู้ถึงสัญญาณของ Burnout

แน่นอนแหละว่าอย่างแรกที่เราควรจะทำคือการสังเกตตัวเองว่าตอนนี้เรากำลัง Burnout อยู่หรือเปล่าเรามีอาการทางกายไหม รู้สึกเหนื่อยแปลก ๆ เริ่มมองโลกในแง่ร้ายหรือเปล่า เริ่มรู้สึกว่าประสิทธิภาพในการทำงานของตัวเองลดลงไหม ลองเช็คลิสต์อาการได้จากข้างบนนะคะ

วิธีเติมไฟ ข้อที่ 2 หยุดพักและพักผ่อน

หาเวลาให้กับตัวเองในการพักผ่อน หยุดทำงานแล้วหันมาทำกิจกรรมที่เราทำแล้วมีความสุขเช่น การอ่านหนังสือ การออกกำลังกาย การผจญภัย หรือกิจกรรมที่ช่วยให้เราผ่อนคลาย จริง ๆ จะเป็นการดูการ์ตูนก็ได้นะคะ หรือสำหรับบางคน การพักผ่อนอาจจะเป็นการท่องเที่ยว ลองดูวันหยุดแล้วกดจองตั๋วไปเที่ยว หรือถ้ายังไม่อยากไปไกล ลองดูการเที่ยวแบบ Staycation ไว้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกนะคะ

วิธีเติมไฟ ข้อที่ 3 สร้าง Work life balance

จัดเวลาให้ตัวเองสามารถทำกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน เช่น เล่นกีฬา, ศิลปะ, หรือกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อให้เรามีความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวลองไม่คุยงานในพื้นที่ส่วนตัว แล้วก็ไม่เอางานกลับมาทำที่บ้าน เวลาที่ทำงานเสร็จแล้ว ความคิดหรือไอเดียในการทำงานควรจะหยุดอยู่ที่ออฟฟิศ ไม่ควรที่จะเอากลับมาคิดที่บ้านต่อ มีขอบเขตให้ทั้งงานที่ทำและคนที่ร่วมงานด้วย

วิธีเติมไฟ ข้อที่ 4 ฝึกฝนทักษะการจัดการกับความเครียดเรียนรู้เทคนิคและกลยุทธ์ในการจัดการความเครียด เช่น การหายใจลึก ๆ การนั่งสมาธิ หรือการฝึกโยคะ ซึ่งสามารถช่วยให้เราผ่อนคลายและสบายใจมากขึ้น หรืออีกในกรณีการฟังพอดแคสต์ดี ๆ ก็อาจจะช่วยเราได้ค่ะ

รูปภาพ:

วิธีเติมไฟ ข้อที่ 5 หา Passion ตัวเองให้เจอ

สำหรับใครที่รู้สึกว่าหมดไฟในการที่จะทำงานหรือว่าทำอะไร สิ่งสำคัญนั้นคือการตามหามันกลับมาลองถามตัวเองว่า Passion เราคืออะไรเราเคยมีความสุขกับการทำอะไรมาก่อน อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่ามีแรงบันดาลใจ อะไรคือสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกอยากตื่นขึ้นมาในทุก ๆ เช้า

วิธีเติมไฟ ข้อที่ 6 หันมาออกกำลังกาย

หลายคนคงไม่รู้ว่าการออกกำลังกายนั้นมีอิทธิพลอย่างมากกับสุขภาพจิตของเรา อย่างที่หลายคนอาจจะรู้กันก็คือหลังจากที่ออกกำลังกายนั้นร่างกายเราจะหลั่งสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เรามีความสุขและรู้สึกดีกับตัวเอง

วิธีเติมไฟ ข้อที่ 7 เรียนรู้ที่จะมีความยืดหยุ่น

หลายคนที่ต้องประสบพบเจอกับภาวะการหมดไฟในการทำงานก็จะเป็นเพราะว่าเราเป็น Perfectionist ด้วยหรือเปล่า เราอาจจะไม่มีความยืดหยุ่นให้กับอะไรเลย ทุกอย่างก็ต้องเป็นไปตามแผน ทำให้เวลาที่มันเกิดการออกนอกลู่นอกทาง หรือว่าสิ่งที่ไม่คาดฝันในแผนที่เราวางไว้ ก็จะทำให้เรารู้สึกหงุดหงิดแล้วก็ผิดหวังในตัวของเราเอง หรือในตัวของคนอื่น ซึ่งก็อย่างที่ทุกคนรู้ว่าอะไรที่มันตึงเกินไปมันก็ไม่ดี

วิธีเติมไฟ ข้อที่ 8 มองหาคนช่วยเหลือ

หากทุกคนรู้สึกว่าสภาวะ Burnout มันเริ่มรุนแรงมากขึ้นลองมองหาคนที่จะรับฟังเราดูค่ะ เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือคนที่น่าจะให้คำปรึกษาเราได้ดี และถ้าหากใครรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะจัดการกับมันได้เลย สิ่งที่ทุกคนควรที่จำทำคือการพบจิตแพทย์ค่ะ ลองนัด ๆ ไปดูก่อนก็ได้

҉  ҉  ҉  ҉ ✼✼  ҉  ҉  ҉  ҉ ✼✼  ҉  ҉  ҉  ҉ ✼✼

บทส่ง

รูปภาพ:

จบกันไปแล้วกลับทริคคร่าว ๆ ในการจัดการกับการหมดไฟนะคะ ซึ่งตัวของเราเองก็เคยประสบพบเจอกับช่วงเวลานั้นเช่นกันแล้วก็ได้ลองทำตามสิ่งที่แนะนำทุกคนมาในวันนี้ซึ่งเราก็รู้สึกว่ามันค่อนข้างที่จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นอย่างไรก็แล้วแต่ทุกคนอย่าพึ่งยอมแพ้นะคะ เราเชื่อว่าทุกคนจะต้องจัดการกับมันได้อย่างแน่นอน 100% แล้วบทความต่อไปที่https://sistacafe.com/จะเป็นเรื่องอะไรก็กลับมาพบกันใหม่นะคะ บ๊ายบาย

บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด