1. SistaCafe
  2. เหนื่อยเกินไปรึเปล่า?! เช็ก 7 สัญญาณเตือนนิสัยบ้างาน (Workaholic) เสี่ยงเครียดหนัก สุขภาพพัง ไม่มีความสุข

ณ ตอนนี้ Work-Life ( ไม่ ) Balance เลยค่าา(ಥ⌣ಥ)สมัยที่ยังอยู่ในช่วงวัยเรียนทั้งช่วงมัธยมและมหาวิทยาลัย ก็อยากรีบก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เร็วๆ เพื่อที่จะได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานและสร้างอนาคตที่สดใสให้กับตัวเอง แต่โลกความจริงไม่ได้ง่ายและสวยงามเสมอไปหรอกนะคะเพราะบางคนพอเข้าสู่วัยทำงานเต็มตัว ก็ตั้งหน้าตั้งตาทุ่มเททำงานอย่างหนัก จนแทบจะไม่มีเวลาส่วนตัวหรือสร้างความสุขให้กับตัวเอง แล้วคนที่เสพติดการทำงานมากๆ เรียกง่ายๆ ว่าในพจนานุกรมไม่มีคำว่าอาจเข้าข่ายเป็นWorkaholicก็ได้นะเออวันนี้เราจึงลิสต์7 สัญญาณเตือนนิสัยบ้างาน ( Workaholic )มาให้ได้อ่านและลองเช็กกับตัวเองดูว่ามีเพื่อนๆ คนไหนที่กำลังทำงานหนักเกินไป จนเสี่ยงสุขภาพกายและสุขภาพจิตพังอยู่รึเปล่า???・・・・・・


☰ Workaholic คืออะไร? ☰

ก่อนอื่นแวะมาทำความรู้จักกับอาการ Workaholicให้มากขึ้นอีกสักนิดดีกว่าค่ะโดยWorkaholicเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่เสพติดการทำงานทุ่มเททำงานหนักอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพัก แล้วแม้ว่าอาการบ้างานจะไม่ใช่โรคหรือความผิดปกติทางจิตแต่ลักษณะนิสัยของคนที่มีอาการเหล่านี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับโรคย้ำคิดย้ำทำที่ทำให้ไม่สามารถหยุดคิดเกี่ยวกับเรื่องงานได้แล้วหากเสพติดการทำงานมากๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และทำลายความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับคนรอบตัวได้เลยนะแล้วถ้าชาวซิสอยากรู้ว่าตัวเองเป็น Workaholic รึเปล่า ก็รีบตามไปเช็กที่เราลิสต์มาฝากกันด่วนๆ เลยค่ะ


☰ เช็ก 7 สัญญาณเตือนนิสัยบ้างาน ( Workaholic ) ☰


➀ ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าเรื่องอื่นๆ

เริ่มต้นเช็กสัญญาณเตือนอาการบ้างานข้อแรกเลยดีกว่าค่ะ เพื่อนๆ ลองสังเกตดูสิว่าที่ผ่านมาให้ความสำคัญและทุ่มเทเวลาไปกับเรื่องงานมากกว่าเรื่องอื่นๆ ในชีวิตรึเปล่า? ถ้าคำตอบคือใช่… ก็มีโอกาสเป็น Workaholic ได้นะเพราะคนที่เสพติดการทำงานมักจะใช้เวลาเกือบทั้งหมดไปกับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นวันจันทร์ - ศุกร์ วันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ หรือแม้แต่วันหยุดเนื่องในโอกาสพิเศษ / วันสำคัญต่างๆ แล้วให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นๆ น้อยกว่าเสมอโดยเลือกที่จะทำงานแทนการพักผ่อน ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ออกไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมคลายเครียด เพราะชีวิตมีแต่คำว่างานอย่างเดียวเท่านั้นค่ะ


➁ หอบงานกลับมาทำที่บ้านประจำ

ปกติแล้วพอถึงเวลาเลิกงาน มนุษย์ออฟฟิศก็ควรจะเก็บของกลับบ้าน เพื่อรีบไปพักผ่อนจากความเหนื่อยล้า หรือใช้เวลาส่วนตัวทำสิ่งต่างๆ ตามใจต้องการ แต่เหล่าคนบ้างานมักจะหอบงานกลับมาทำต่อที่บ้านเป็นประจำแทบทุกวันโดยบอกกับตัวเองว่า“ ขอทำงานต่อให้เสร็จอีกแค่นิดเดียว ”/“ ขอเช็กอีเมลสักหน่อย ”/“ ขอเพิ่มสไลด์งานแป๊บเดียว ”ฯลฯแต่พอเอาเข้าจริงงานเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้นกลับกินเวลาไปหลายชั่วโมง จนทำให้นอนดึกและพักผ่อนไม่เต็มที่ แล้วต้องรีบตื่นเช้าไปทำงานต่อในวันถัดไปแบบเหนื่อยๆ เพลียๆซึ่งนิสัยบ้างานนี้อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพได้นะเออ


➂ เวลาไม่ได้ทำงานแล้วรู้สึกเครียด

คิดเหมือนกันมั้ยว่า“ ความเครียด ”กับ“ ชีวิตการทำงาน ”เป็นของคู่กันเลยนะ สำหรับคนทำงานคนอื่นๆ อาจรู้สึกเครียดเวลาที่มีงานกองอยู่บนโต๊ะเยอะๆ ได้รับมอบหมายให้ทำโปรเจกต์ใหญ่ หรือใกล้ช่วงเดดไลน์ที่ต้องส่งงาน แล้วรู้สึกโล่งใจหลังจากที่สะสางงานต่างๆ เหล่านั้นเสร็จแล้ว และหาเวลาพักผ่อนเพื่อชาร์จพลังให้กับตัวเองอีกครั้งแต่เหล่า Workaholic กลับรู้สึกเครียดและกระวนกระวายใจทุกครั้งที่ไม่ได้ทำงานไม่มีงานให้ทำ หรือมีเวลาว่างเหลือๆ หลังจากทำงานทุกอย่างเสร็จแล้วค่ะ เพราะคนที่เสพติดการทำงานมักจะจดจ่ออยู่แต่กับเรื่องงานจึงรู้สึกผิดเวลานั่งว่างจนต้องหางานมาทำเรื่อยๆ นั่นเอง


➃ ถึงเวลาพักก็ยังคงนั่งทำงานต่อ

วิธีเช็กง่ายๆ ถ้าอยากรู้ว่าตัวเราเองหรือคนใกล้ตัวเสพติดการทำงานรึเปล่า… ก็สังเกตดูได้จากช่วงเวลาพักนี่แหละค่ะ หากใครนั่งทำงานไปด้วยกินข้าวกลางวันไปด้วย หรือแอบหยิบมือถือขึ้นมาเช็กอีเมล / แชทคุยเรื่องงานเวลาพักก็ฟันธงได้เลยว่าคนนั้นๆ เข้าข่ายเป็นคนบ้างานชัวร์ๆเพราะเหล่าคนบ้างานมักจะแยกเวลาส่วนตัวออกจากการทำงานไม่ได้ สะกดคำว่า“ พัก ”ไม่เป็น คิดว่าการทำงานอยู่ตลอดเวลาจะช่วยให้งานเสร็จเร็ว และเริ่มต้นทำงานชิ้นอื่นๆ ต่อได้ไวขึ้นซึ่งพฤติกรรมการโหมทำงานหนักโดยไม่พักแบบนี้ จะทำให้รู้สึกเหนื่อยหนักจากการทำงาน แล้วยังกระทบต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานด้วยนะ


➄ คาดหวังว่างานทุกชิ้นต้องเพอร์เฟกต์

อีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกอาการคนบ้างานก็คือความเป็น Perfectionist หรือรักความสมบูรณ์แบบค่ะด้วยความที่คนที่เสพติดการทำงานใช้เวลาไปกับเรื่องงานมากกว่าเรื่องอื่นๆ และทุ่มเทสุดตัวให้กับการทำงานแบบไม่หยุดพัก จึงทำให้ความคาดหวังในผลงานสูงขึ้นเรื่อยๆ และต้องการให้งานทุกชิ้นที่ทำออกมาสมบูรณ์แบบไร้ที่ติแล้วเมื่อไหร่ที่เกิดความผิดพลาดขึ้นก็มักจะโทษตัวเอง หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า เพราะเอาชีวิตไปผูกติดไว้กับการทำงานมากจนเกินไปนั่นเองค่ะ


➅ ทุ่มเททำงานเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี

บางคนที่เสพติดการทำงานอาจไม่ได้ทำเพราะรักงานมากๆ แต่ทุ่มเททำงานหนักเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกดีต่างหากค่ะ เพราะคิดว่าหากคนอื่นๆ เห็นว่าเรานั่งทำโอทีจนดึกจนดื่น กลับบ้านคนสุดท้ายเสมอ หรือทำงานเสร็จเร็วเหมือนเสกได้ ก็จะได้รับคำชื่นชนว่าเป็นคนขยันหรือเป็นคนสำคัญของทีมพอได้รับคำชมมากๆ แล้วรู้สึกดีและรู้สึกเหมือนได้การยอมรับ ก็อาจทำให้เสพติดคำชมจนอยากทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม โดยไม่สนใจว่าการทุ่มเททำงานสุดตัวจนเกิดเหตุ มันอาจจะทำลายสุขภาพหรือกระทบเวลาส่วนตัวค่ะ


➆ ทำงานหนักจนส่งผลต่อกระทบต่อสุขภาพ

และแล้วก็มาถึงสัญญาณเตือนอาการบ้างานข้อสุดท้าย ที่ถือเป็นเรื่องที่อันตรายต่อตัวเองมากๆ นั่นก็คือการทำงานหนักจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพค่ะเพราะคนที่เสพติดการทำงานอาจโฟกัสไปกับงานที่อยู่ตรงหน้า จนเผลอมองข้ามเรื่องสุขภาพร่างกายของตัวเองไปซะสนิท พอทำงานหนักและใช้สมองแบบไม่หยุดพักเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาหลายอย่าง เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ หลงๆ ลืมๆ อาการออฟฟิศซินโดรม ฯลฯแล้วเวลาที่ตัวเองเกิดปัญหาสุขภาพหรือเจ็บป่วยไม่สบาย แต่ยังฝืนทำงานต่อเพราะไม่อยากลาป่วย ก็เข้าข่ายอาการ Workaholic ขั้นรุนแรงแล้วละ


・・・・・・


หลังจากที่ได้อ่านสัญญาณเตือนนิสัยบ้างานไปจนครบทุกข้อและลองเช็กกับตัวเองดูแล้ว สรุปว่ามีเพื่อนๆ คนไหนที่มีแนวโน้มเป็น Workaholic บ้างรึเปล่าเอ่ย? ซึ่งการทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่เพื่อให้ผลงานมีประสิทธิภาพ และได้ผลลัพธ์ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีนะคะแต่หากชาวซิสทำงานหนักแบบไม่หยุดพักจนเกินขีดความสามารถของตัวเอง หรือให้ความสำคัญกับเรื่องงานเป็นอันดับหนึ่งจนมองข้ามเรื่องอื่นๆ ในชีวิตไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เกิดความเครียดสะสม แล้วยังทำลายความสัมพันธ์กับคนรอบตัวให้ต้องห่างเหินกันไปด้วยนะทางที่ดีควรจัดการเวลาให้ดีๆ แบ่งเวลางานและเวลาส่วนตัวให้เหมาะสม แล้วต้องไม่ลืมหาเวลาพักผ่อนเพื่อชาร์จพลังให้กับตัวเอง จะได้มีแรงกายและแรงใจกลับมาทำงานต่ออย่างมีความสุขยังไงล่ะคะ ♥̩͙


เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้