ประเทศไทยเมืองแห่งเมืองร้อนและเต็มไปด้วยยุงในทุกๆ ที่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน และยุงนั้นยังเรียกได้ว่าเป็นสัตว์ตัวเล็กที่อันตรายตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่เลยทีเดียว เพราะยุงนั้นเป็นสัตว์ที่ดูดเลือดในการดำรงชีวิตไม่เพียงดูดเหลือคนเท่านั้น ยังดูดเลือกสัตว์ต่างๆ อีกด้วย และนี่คือสาเหตุที่อันตรายจนต้องหลีกเลี่ยงมากๆ เพราะปากของยุงนั้นเปรียบเสมือนเป็นเข็มฉีดยาที่ใช้ในการดูดเลือด เมื่อลองมาคิดเล่นๆ ว่าขนาดเข็มฉีดยาที่คุณหมอพยายาลใช้นั้นยังต้องเปลี่ยนเข็มตลอดไม่ใช้หัวเข็มอันเดียวกัน แต่ผิดกับยุงที่ใช้ปากเป็นเข็มฉีดนั้นดูดเลือดไปทั่วเลยทำให้พวกเชื้อโรคหรือพาหะต่างๆ แพร่สู่กันและกันได้ง่าย ดังนั้นผู้คนจึงคิดค้นการไล่ยุงออกมาอย่างเช่น"ยากันยุง"นั่นเอง แต่เมื่อการใช้ยากันยุงและได้รับสูดดมหรือสัมผัสมากเกินไปจะมีภัยเงียบอะไรไหม ต้องระวังตัวหรือใช้แบบไหนต้องไปติดตามกัน

ยากันยุงมีสารอะไรบ้าง ?

รูปภาพ:

ยากันยุงนั้นทำมาเพื่อไล่ยุง และไม่ได้มีคุณสมบัติในการฆ่ายุง โดยส่วนผสมที่นำมาประกอบนั้นมาจากทั้งสารเคมีและสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อให้ออกฤทธิ์ในการไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้หรือมาดูดเลือดคน โดยยากันยุงนั้นทำออกมาหลากหลายรูปแบบให้เหมาะสมต่อการใช้งานของแต่ละคน อย่างเช่น- ยากันยุงที่มีส่วนผสมของ DEET เอทิลบิวทิลอเซติลามิโนโพรพิโนเอต (IR3535) พิคาดิริน หรือสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันตะไคร้ที่มีการออกฤทธิ์ในการไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง ทำให้ยุงไม่ได้กลิ่นสารบางชนิดในร่างกายของเราที่เป็นตัวกระตุ้นให้ยุงบินมาดูดเลือด โดยสารพวกนี้นั้นมักจะอยู่ในพวกชนิดครีม โลชั่น หรือสเปรย์ เป็นต้น- ยากันยุงที่มีส่วนผสมจำพวกกลุ่มไพรีทอยด์ เช่น แอลเลอทรินที่สามารถออกฤทธิ์ในการไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทของยุง ทำให้ยุงเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว โดยมักจะเป็นสารอยู่ในยาจุดกันยุงที่ผู้คนนิยมใช้ตามบ้าน ที่ถูกปล่อยออกมาในรูปแบบควัน เป็นต้น

ประเภทของยากันยุง

1. ยากันยุงสำหรับใช้กับผิว

รูปภาพ:

เป็นสารป้องกันยุงมาในรูปแบบของครีม โลชั่น และสเปรย์ เพื่อนำมาทาหรือฉีดบริเวณตามร่างกายที่พ้นเนื้อผ้า ช่วยป้องกันยุงมาเกาะกินหรือดูดเลือด โดยสารสกัดส่วนมากทำมาจากสารเคมีสังเคราะห์เลยสามารถช่วยป้องกันได้นาน 2-5 ชั่วโมง หากหมดช่วงเวลานี้หรืออยู่ในที่ยุงชุมควรทาหรือฉีดเพิ่มอีกเพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพในการป้องกันอย่างดี นอกจากมีสารเคมีแล้วก็ยังมีพวกสารสกัดจากธรรมชาติอย่าง น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันแมงลัก และน้ำมันแมงกะแซง ที่อาจจะช่วยในการป้องกันยุงในระยะสั้นๆ ดังนั้นผลกระทบที่ต้องใช้พวกนี้คืออาจเกิดความระคายเคืองต่อผิวได้ เพราะมีการทาหรือฉีดใส่ผิวโดยตรง บางรายนั้นอาจจะเกิดการแพ้ เป็นผื่นแดงและรู้สึกคันตามมา หากมีอาการปวดแสบปวดร้อนมากผิดปกติควรหยุดใช้และพบแพทย์โดยด่วน

2. ยาจุดกันยุงแบบธูปหรือขดกลม

รูปภาพ:

ยาจุดกันยุงนั้นมีให้เลือกเป็นแบบแท่งที่เหมือนธูปหรือเป็นแบบขดกลม โดยการออกฤทธิ์คือการทำให้ยุงเป็นอัมพาตชั่วคราว ยาจุดกันยุงนั้นออกแบบมาในรูปแบบควันโดยสารสกัดคือมีทั้งที่เป็นสารเคมีและสารจากธรรมชาติผสมกัน ดังนั้นเมื่อออกแบบควันมาการสูดดมควันจากยาจุดกันยุงเป็นเวลานานอาจจะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ไอ หรือรู้สึกเจ็บคอ รวมไปถึงสามารถส่งผลถึงระบบทางเดินหายใจ ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติทั่วไปได้ แต่เกิดน้อยมากสำหรับเคสนี้ ดังนั้นควรที่จะจุดให้ห่างและเป็นพื้นที่ที่สามารถระบายอากาศได้ดี และล้างมือทุกครั้งเมื่อจับหรือสัมผัสยาจุดกันยุง

3. ยากันยุงชนิดไฟฟ้า

รูปภาพ:

มีทั้งชนิดที่เป็นของเหลวและแผ่นแมท ส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีในการประกอบเป็นส่วนมาก แต่บางผลิตภัณฑ์นั้นก็ยังมีส่วนของสารสกัดจากธรรมชาติผสมอยู่ หรือเดี่ยวๆ เลยก็มี โดยการใช้งานและกลไกในการป้องกันยุงนั้นทำงานโดยการเสียบกับไฟฟ้าให้เกิดของเหลวหรือแผ่นแมทเป็นไอออกมา เพื่อให้ป้องกันยุงเข้ามาใกล้ในบริเวณนั้น โดยยากันยุงชนิดนี้นั้นมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ก่อให้เกิดอาการแพ้หรือสามารถทำให้รู้สึกระคายเคืองต่อตาได้ ดังนั้นควรเลือกผลิตภัณฑ์ดีๆ จากการได้รับการรับรองจาก อย. และเมื่อต้องการใช้งานไม่ควรที่จะเสียบยากันยุงไว้ภายในห้อง หากต้องการที่จะไล่ยุงเพียงแค่เสียบคาไว้สักพักแล้วค่อยดึงออกก็เพียงพอ

ยากันยุง อันตรายมากน้อยแค่ไหน

รูปภาพ:

> ทำให้หายใจติดขัด หายใจไม่สะดวก หรือหายใจไม่เต็มปอด โดยเฉพาะยาจุดกันยุง และยากันยุงชนิดไฟฟ้า> หากมีการสัมผัสทางผิวหนังอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองเกิดขึ้นต่อผิว บางเคสนั้นอาจจะเกิดอาการรุนแรงและเกิดอาการแพ้ทางผิวหนังได้ เพราะสารเคมีที่ตรงเข้าสู่ผิวโดยตรง> หากสารจากยากันยุงเข้าตา ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตา ทำให้อาจเกิดตาแดงและรู้สึกแสบร้อนได้> เมื่อสูดดมควันจากยาจุดกันยุงเป็นเวลานานจะเกิดการสะสมในร่างกาย สารระเหยจากยากันยุงจะเข้าไปทำลายเยื่อบุเมือกของทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้หลอดลมและกล่องเสียงอักเสบ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ รวมไปถึงอาเจียนได้> หากได้รับสารระเหยจากยากันยุงมาก จะมีอาการพิษกำเริบเฉียบพลัน ส่งผลให้รู้สึกมึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย จนถึงชักได้> สตรีที่กำลังตั้งครรภ์นั้นอันตรายมาก เพราะสารระเหยจากยากันยุงเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ ดังนั้นไม่ควรจุดยากันยุงในบ้าน

อย. เตือนระวังจากการใช้ยาจุดกันยุง

รูปภาพ:

มีเคสกรณีที่ทาง อย. นั้นได้ออกมาเตือนประชาชนสำหรับยาจุดกันยุงบางผลิตภัณฑ์นั้นได้มีสารผสมของเมเพอร์ฟลูทรินที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกายหากเกิดสูดดมเข้าไปเป็นระยะเวลานาน โดยเมเพอร์ฟลูทริน (Meperfluthrin) นั้นเป็นสารในผลิตภัณฑ์ที่ไม่เคยได้รับการขึ้นทะเบียนและยังไม่ผ่าน อย. ด้านการประเมินด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ รวมไปถึงอันตรายที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ด้วย ซึ่งเมื่อได้รับสารนี้แล้วนั้นเรียกได้ว่าอันตรายมาก และรองเลขาธิการฯ กล่าวว่าการนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนมีความผิดทางกฎหมาย นอกจากนี้หากผู้ที่ต้องกานใช้ยาจุดกันยุงจึงจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของเลขที่จดทะเบียน และเครื่องหมาย อย. ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับการตรวจสอบจาก อย. และปลอดภัยใช้แล้วไม่เกิดอันตราย

ภับเงียบและอันตรายจริงๆ สำหรับยากันยุงนั้น แต่ไม่ใช่ว่าจะใช้ไม่ได้เลยเพียงแต่ต้องหลีกเลี่ยงหรือใช้ให้ถูก หากรู้สึกบางอย่างที่ไม่ดีให้รีบหยุดใช้ทันที นอกจากการใช้พวกยากันยุงแล้วเราควรที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันยุงด้วย อย่างการหลีกเลี่ยงในสถานที่ที่มีน้ำขังหรือยุงชุมปิดประตูหน้าต่างให้สนิทเพื่อป้องกันยุงลักลอบเข้ามา สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่มีสีอ่อไม่ควรใส่สีทึบหรือฉูดฉาดเกินไป และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอมหรือเสปรย์ฉีดผมเพราะกลิ่นเหล่านี้สามารถดึงดูดการรับกลิ่นของยุงเข้ามาได้นั่นเอง


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

https://sistacafe.com/summaries/95736

https://sistacafe.com/summaries/95878

https://sistacafe.com/summaries/96105

https://sistacafe.com/summaries/96043

https://sistacafe.com/summaries/95665