1. SistaCafe
  2. แน่ใจนะว่าไม่ได้เป็น? 6 อาการ ของคนเป็น "โรควิตกกังวล" #ดูให้ชัวร์เพื่อความปลอดภัย

อาการประหม่า และตื่นเต้นเกินปกติ เป็นรีแอคชั่นธรรมชาติของร่างกาย เมื่อต้องอยู่ในเหตุการณ์ที่ตึงเครียด

ไม่ว่าใครก็น่าจะเคยมีอาการแปลกๆ มวนท้อง เมื่อต้องทำข้อสอบ หรือทำอะไรยากๆ หรือแม้กระทั่งมีอาการมือสั่นเมื่อต้องไปพูดต่อหน้าคนเยอะๆ บางคนห้ามอาการมือสั่นไม่ได้ด้วยซ้ำ



อาการประหม่า ตื่นเต้น หรือวิตกกังวลนั้น สามารถเกิดได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่

เมืออยู่ในเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกประหม่า

แต่สำหรับบางคน อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ วัน ในกิจวัตรประจำวัน

และหากใครมีอาการแบบนี้ คุณหมอเรียกว่าอาการของ "

โรควิตกกังวล

" โดยในโรคเดียวกันนี้ก็ยัง

แบ่งออกเป็นหลายประเภทอีกต่างหาก เช่น โรคตื่นตระหนก โรควิตกกังวลทั่วไป หรืออาการโฟเบีย เป็นต้น



โดยปกติแล้ว ร่างกายเราจะหลั่งสารอะดรีนาลีนออกมา เมื่อต้องเผชิญกับภาวะความเครียดทางอารมณ์ หรือร่างกายและระดับสารอะดรีนาลีนจะลดลงเอง หลังพ้นจากสภาวะเครียดไปแล้ว

ซึ่งจะมีช่วงระยะสั้นๆ

แต่สำหรับผู้ป่วยโรควิตกกังวล

จะไม่ใช่ อาการป่วยทางจิต หรือทางร่างกาย หรือแม้กระทั่งสารจากยา และพันธุกรรม

จะทำให้ระดับอะดรีนาลีนสูง และมีระยะยาวนานกว่าปกติ



ซึ่งระดับอะดรีนาลีนที่สูง และยาวนานผิดปกติอันเกิดจากโรควิตกกังวลนั้น

จะก่อให้เกิดอาการทางร่างกายอะไรบ้าง ลองไปเช็คด้านล่างกันได้เลย!


6 อาการทางร่างกาย ของคนเป็น "โรควิตกกังวล"


1. กระวนกระวายใจ และตื่นตระหนกผิดปกติ

ในกรณีของผู้ที่เป็น

โรควิตกกังวลทั่วไป หรือ GAD

(


Generalized anxiety disorder) เป็นภาวะของผู้ที่

มีอาการวิตกกังวลมากๆ แม้กระทั่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนมากแล้วสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน และอาจจะเป็นติดต่อกันหลายเดือน

อาจจะมากกว่า 6 เดือนด้วยซ้ำ โดยอาการวิตกกังวลอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายๆ เรื่องพร้อมกัน



ส่วนใหญ่มักจะเป็นมีอาการ

วิตกกังวลเกินกว่าเหตุ จนเป็นผลเสียต่อกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน

และมักจะ

เกิดร่วมกับอาการทางร่างกายอย่างเช่นอาการปวดหัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ



2. มีปัญหาในการใช้สมาธิ

ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล มักจะกระวนกระวาย และกังวลอะไรไปหลายๆ เรื่อง

ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อสมาธิโดยตรง

จึงทำให้ส่งผลต่อการทำงาน การเรียน การอ่านหนังสือ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน

อย่างการคุยกับคนอื่นด้วย



ภาวะเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วย

ไม่สามารถสงบจิตใจได้ และมักจะไม่คิดอะไร นอกจากเหตุผลที่ทำให้ตัวเองมีสภาวะตื่นตระหนก หรือคิดอะไรที่ยิ่งทำให้ตัวเองรู้สึกกังวลเข้าไปใหญ่



3. นอนไม่หลับ

อาการหลักของๆ คนที่มีสภาวะเครียด หรือกังวลอะไรสักอย่าง ก็มักจะลงเอยด้วยการนอนไม่หลับ

อย่างในคนปกติทั่วไป ขนาดมีเรื่องที่สงสัย อยากรู้ เรื่องน่าตื่นเต้น หรือเครียดอะไรสักอย่าง ก็มักจะเก็บเอาไปคิดในช่วงก่อนนอน จนทำให้บางวันนอนไม่หลับไปเลยก็มีบ่อยๆ



แต่สำหรับ

คนที่มีอาการวิตกกังวล จะหลับยากมากๆ กว่าปกติ เพราะจิตใจไม่สามารถผ่อนคลายได้ ซึ่งเกิดจากความตื่นตระหนก กระวนกระวายในหลายๆ เรื่อง ทำให้จิตใจไม่สงบ

ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีอาการนอนไม่หลับแถมมาด้วย

บางวันอาจจะใช้เวลาในการหลับนานมากกว่าคนทั่วไป และบางวันอาจจะไม่ได้นอนเลยก็มี


4. เสียวแปลบปลาบที่มือ หรือ เท้า

สำหรับผู้ป่วยที่เป็น

โรคแพนิค เกิดจากการที่ระบบประสาททำงานผิดปกติ

จึงทำให้เกิดอาการทางกายขึ้นมาหลายอย่าง อย่างเช่นเกิด

อาการแน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก คล้ายๆ หัวใจจะวาย

โดยส่วนใหญ่แล้วจะอาการ

อาจจะเกิดขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย จึงจะทำให้ผู้ป่วยยิ่งวิตกกังวลหนักกว่าเก่า



ด้วยอาการแพนิคที่เกิดขึ้น จะมีอาการที่ทำให้ไม่สบายตัวหลายๆ อย่าง

ไม่ว่าจะหายใจไม่เต็มอิ่ม หรือใจเต้นรัว

ซึ่งทำให้บางครั้งเราก็คิดว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ

สำหรับใครทีมีอาการเหล่านี้ลองให้หมอไปตรวจดู

ถ้าไม่พบอาการผิดปกติทางหัวใจ ก็น่าจะเป็นอาการแพนิค ซึ่งบางทีอาจจะเกิดร่วมกับโรคซึมเศร้าด้วยก็เป็นได้



5. อาหารไม่ย่อย

อาการเครียด และความวิตกกังวล สามารถก่อให้เกิดอาการป่วยทางร่างกายของเราหลายๆ อย่าง

ไม่ว่าจะเป็นในระบบทางเดินอาหาร และระบบขับถ่ายก็ตาม

อย่างบางคนเมื่อเครียด อาจจะเกิดอาการท้องผูก อาการคลื่นไส้ และอาหารไม่ย่อย



แต่ใครที่มีปัญหาเหล่านี้ ต้องระวังให้ดีว่า

อาจจะเป็นโรควิตกกังวล เพราะความกังวลก็ก่อให้เกิดความผิดปกติเรื้อรังกับระบบย่อยของเราได้เช่นกัน



6. วิงเวียนศีรษะ จะเป็นลม

เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะตึงเครียด หรืออยู่ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกกลัว

และตื่นตระหนก ผู้ป่วยอาจจะ

เกิดอาการวิตกกังวลกำเริบขึ้นมาอย่างฉับพลัน

โดยบางครั้งอาจจะเป็นโดยไม่มีสัญญาณเตือน ซึ่่งอาการที่ร่วมด้วยคือการ

วิงเวียนศีรษะ บางครั้งก็อาจรู้สึกเหมือนจะเป็นลม คลื่นไส้ และบางทีอาจเกิดอาการชาที่มือหรือเท้า



นอกจากนี้ก็จะมีอาการใจสั่น ตัวสั่น เหงื่อออก กลัวความตาย หากคุณมีอาการเหล่านี้อาจอยู่ในข่ายโรคหวาดระแวงก็เป็นได้


อาการวิตกกังวลเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากสารเคมีในร่างกายที่หลั่ง และทำงานผิดปกติ

โดยมีผลมาจากจิตใจของเราเอง

ถึงแม้อาจจะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่อาการต่างๆ ก็อาจเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจทำให้เสี่ยงอันตรายได้ อย่างการเป็นลม วิงเวียนอย่างฉับพลัน

ถ้าพบว่าตัวเองเข้าข่าย

ต้องรีบไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อทำการรักษานะคะ


เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้

🔮 ดูดวงกับ SistaCafe ผ่าน Line Official !
รูปภาพสำหรับป๊อปอัพลอย:1