1. SistaCafe
  2. #โตเป็นผู้ใหญ่ไม่ง่ายเลย 7 เส้นทางเดินหน้าต่อของเด็กจบใหม่ ทางออกไหนที่ใช่ตัวเธอ🎓❓

#โตเป็นผู้ใหญ่ไม่ง่ายเลย เรียนจบแล้ว ไม่รู้จะไปทางไหนดี... ☹



เคยคิดเหมือนกันไหมคะ?

เวลาที่เรามองรุ่นพี่มหาวิทยาลัยที่เรียนจบแล้ว เรามักจะคิดว่า


" โห พี่เขาดูโตจังเนอะ "


แต่กลับกัน

เมื่อถึงเวลาของเราบ้าง เรากลับคิดว่า" นี่เราจะเรียนจบแล้วจริง ๆ เหรอ ยังไม่รู้สึกว่าตัวเองโตขึ้นเลย "



ก็แหม...พอถึงเวลาเข้าจริง ใจมันก็หวิวเหมือนนะเธอ T__T

ไม่รู้ว่าหลังจากนี้ควรจะทำอะไรหรือจะพาตัวเองไปทางไหนต่อดี

เรื่องของอนาคต ( อันใกล้ ) นี่มันแสนปวดหัว! ดังนั้นวันนี้แฟงเลยมี

7 เส้นทาง เดินหน้าต่อของ' เด็กจบใหม่ '

มา

ฝาก เผื่อว่าพอเพื่อน ๆอ่านแล้วอาจจะร้อง อ๋อ! เจอทางออกที่ใช่ก็ได้นะ งั้นอย่ามัวชักช้า เราลองไปดูกันเลยดีกว่าว่าจะมีเส้นทางไหนให้เด็กจบใหม่แบบเรา ๆ เลือกไปบ้าง

ถ้าพร้อมแล้ว... GO!!



เส้นทางที่ ❶ : เพราะการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ใจมันเรียกร้องขอเรียนต่อ


เส้นทางแรก




ถือว่าเป็นหนึ่งในเส้นทางยอดฮิตของเด็กจบใหม่เลยก็ว่าได้ บางคนอาจจะเลือกเรียนต่อที่คณะเดิมในระดับที่สูงขึ้น บางคนก็อาจเลือกเรียนในคณะ หรือสาขาอื่นที่คาดว่าจะนำไปต่อยอดได้ หรือกับบางคนที่เลือกลงเรียนคอร์สระยะสั้นก็ตาม




❥ ถามว่าเส้นทางนี้เหมาะกับใคร?


- เหมาะกับคนที่อยากเรียนในทางนั้นให้รู้ลึกรู้จริง!


- เหมาะกับคนที่ต้องการพัฒนา และฝึกฝนตัวเองในเชิงการคิดวิเคราะห์


- เหมาะกับคนที่ต้องการอัพวุฒิการศึกษาให้สูงขึ้น


- เหมาะกับคนที่ ( ทางบ้าน ) อยาก ( ให้ ) เรียน


- เหมาะกับคนที่ยังไม่อยากเข้าสู่ชีวิตการทำงาน




❥ ข้อดีของการเลือกเรียนต่อ:


- เป็นการอัพความรู้ และสกิลของตัวเองให้สูงมากขึ้น


- ได้ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ รวมถึงได้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น


- ได้ฝึกความอดทน และการจัดสรรเวลา


- เป็นโอกาสดีที่จะได้เจอกับสังคมใหม่ ๆ ที่เป็นการรวมผู้คนจากหลาย ๆ อาชีพมาเรียนในคลาสเดียวกัน


- เป็นใบเบิกทางนำไปสู่ความก้าวหน้าในอนาคต



❥ งานหินสำหรับคนเลือกเรียนต่อ:


อย่างที่รู้กันว่า

การเรียนในระดับปริญญาโท/เอกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

ดังนั้นถ้าเราไม่ได้สนใจในด้านนั้นจริง ๆ อาจเป็นการเสียทั้งเงินและเวลาไปเปล่า ๆ ได้ รวมถึงอาจเป็นการเพิ่มภาระ จนบั่นทอนจิตใจตัวเองได้จ้า



เส้นทางที่ ❷ : อนาคตเถ้าแก่น้อย สืบทอดธุรกิจต่อจากคนในครอบครัว


เส้นทางที่สอง


เส้นทางที่เป็นทางเลือกอันดับ ๆ ต้นของเหล่าลูกหลาน ซึ่งเป็นทายาทของธุรกิจ มันต้องเคยมีบ้างแหละที่มีคำถามเกิดขึ้นกับตัวเองว่า " เราจะมารับงานต่อจากคุณพ่อคุณแม่ดีไหม? "



❥ ถามว่าเส้นทางนี้เหมาะกับใคร?


- เหมาะกับคนที่ทางบ้านประกอบธุรกิจอยู่แล้ว และอยากจะสืบทอดต่อ


- เหมาะกับคนที่อยากนำสิ่งที่เรียนไปพัฒนาธุรกิจที่มี


- เหมาะกับคนที่คนที่ไม่อยากเป็นพนักงานประจำ


- เหมาะกับคนที่ชื่นชอบงานด้านธุรกิจ


- เหมาะกับคนที่มีหัวด้านการบริหาร และการจัดการที่ดี




❥ ข้อดีของการเลือกสืบทอดธุรกิจครอบครัว:


- ย่นเวลาได้พบความสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการทำธุรกิจโดยที่ไม่ต้องเริ่มจาก 0


- ได้นำความรู้และเทคนิคใหม่ ๆ มาพัฒนาธุรกิจของที่บ้านให้ดียิ่งขึ้น


- ในอนาคตได้สานต่อกิจการครอบครัว


- ไม่ต้องใช้ชีวิตอย่างพนักงานประจำ ได้ทำงานกับคนในครอบครัว



❥ งานหินสำหรับคนเลือกสืบทอดธุรกิจครอบครัว:


ปฎิเสธไม่ได้ว่าหากเราเลือกที่จะเข้าไปช่วยกิจการของทางบ้าน สิ่งที่จะตามมานั่นก็คือ '

การแบกรับความหวังของครอบครัว '

รวมไปถึงผลตอบแทนที่ได้มักไม่ชัดเจน อาจส่งผลให้วางแผนชีวิตในอนาคตยาก นอกจากนี้ก็ต้องยอมรับให้ได้ว่ากิจการที่สืบต่อมานั้น อาจไม่ใช่กิจการในฝันของเรา



เส้นทางที่ ❸ : มุ่งมั่นในทางที่เลือก ทำงานตรงกับสายที่ตัวเองเรียนมา



เส้นทางที่สาม


เส้นทางที่เป็นทางออกที่เบสิคที่สุด! คือ ' เรียนอะไรมาก็เลือกทำงานในสายนั้น ' ถือเป็นการได้นำความรู้ และทักษะที่ตนเรียนมานำไปต่อยอดกลายเป็นอาชีพ



❥ ถามว่าเส้นทางนี้เหมาะกับใคร?


- เหมาะกับคนที่มีความถนัดในด้านที่เรียนมา


- เหมาะกับคนที่ชื่นชอบงานในด้านที่ตนเรียนมา


- เหมาะกับคนมุ่งมั่นที่อยากประสบความสำเร็จในสายงานนี้


- เหมาะกับคนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร




❥ ข้อดีของการเลือกทำงานตรงสาย:


- ได้นำความรู้และทักษะที่ได้เรียนมาใช้ในการทำงาน


- ไม่ต้องเริ่มต้นศึกษางานใหม่จาก 0 สามารถต่อยอดไปได้เลย


- ได้รู้แนวทางของงานมาบ้างจากประสบการณ์ตอนเรียน


- มี connection จากตอนเรียน ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ วิทยากร หรือแม้แต่เพื่อน ๆ ในคณะเดียวกัน



❥ งานหินสำหรับคนเลือกทำงานตรงสาย:


ขึ้นชื่อว่า

' จบตรงสาย '

ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน

ใคร ๆ ก็ล้วนคาดหวัง

เพราะคิดว่าเราจบมาตรงสายแสดงว่าต้องเชี่ยวชาญในด้านนี้มาก ขนาดที่ว่าให้ทำอะไรก็ต้องทำได้แน่ ๆ ทั้งที่ความจริงแล้วอาจไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้ ก็แหม...คนเราไม่ได้รู้ไปซะทุกเรื่องซักหน่อย



เส้นทางที่ ❹ : #ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ เลือกทำงานในสายที่ไม่ตรงกับที่เรียนมา



เส้นทางที่สี่


ทางออกของเหล่าคนนอกกรอบ ก็ในเมื่อรู้ตัวเองแล้วว่าไม่ได้ชอบ หรืออยากทำงานในสายงานที่ตัวเองเรียนมา หลังจากนี้แหละจะได้ไปเต็มที่กับสิ่งที่เป็นตัวเองเสียที!



❥ ถามว่าเส้นทางนี้เหมาะกับใคร?


- เหมาะกับคนที่ไม่ได้ถนัดงานในสายที่ตนเรียนมา


- เหมาะกับคนที่ค้นพบตัวเองแล้วว่าไม่ได้ชอบสิ่งที่ตนเรียนมา


- เหมาะกับคนที่มีทักษะอื่นนอกเหนือจากที่เรียนมา และคาดว่าจะสามารถทำงานในด้านนั้นได้ดี


- เหมาะกับคนที่รู้แล้วว่าตัวเองอยากทำงานในสายงานใด





❥ ข้อดีของการทำงานไม่ตรงสายเรียน:


- ได้ทำงานตามความถนัดและความชอบของตนเอง


- มีโอกาสก้าวหน้ามากกว่างานที่ต้องฝืนใจทำ


- ตัวเราเองจะมีความรู้สึกอยากขวนขวายและพัฒนาตัวเอง


- ได้เป็นตัวของตัวเอง งานจะยากซักแค่ไหน แต่อย่างน้อยอาชีพนี้เราก็เลือกเอง



❥ งานหินสำหรับคนเลือกทำงานไม่ตรงสายเรียน:


สำคัญมากคือ

' ความขยันและความพยายาม '

ในเมื่อเราเริ่มช้ากว่าคนที่เรียนในทางสายนั้นโดยตรง เราก็ต้องเร่งฝีมือเพื่อจะได้สู้กับเขาได้ ทั้งยังต้องหมั่นขวนขวาย อัปเดตข่าวสารอยู่เสมอ จะได้ตามเขาทันยังไงล่ะ!



หากใครที่รู้สึกว่าเอ๊ะ...เส้นทางนี้จะสามารถไปได้จริงเหรอ? แน่ใจเหรอว่าไม่ใช่แค่เรื่องมโนเพ้อฝันไปเอง? เอาล่ะ งั้นแฟงมีหลักฐานมายืนยันเจ้าค่ะว่า

จบมาทำงานไม่ตรงสาย เป็นเรื่องธรรมดา

นี่เลย!

' รายการพี่คะ อู้ววงาน EP1 '


เปิดพอร์ตคนในออฟฟิศดูหน่อยซิ!


ว่าจบอะไรกันมาบ้าง

แฟงดูแล้วขอกระซิบบอกเลยว่าพีคมาก ถ้าอยากรู้ว่าพีคยังไง งานนี้ต้องกดดูเองแล้วแหละ! ;)




เส้นทางที่ ❺ : ได้เวลาลงมือทำ ก่อร่างสร้างธุรกิจส่วนตัว



เส้นทางที่ห้า


ทางเลือกในฝันของเด็กจบใหม่หลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่เริ่มทำธุรกิจตั้งแต่อายุยังน้อย มีตั้งแต่เปิดเพจหรือแอคเคาท์เพื่อขายของออนไลน์ ไปจนถึงตั้งเป็นธุรกิจขนาดย่อมอย่าง startup



❥ ถามว่าเส้นทางนี้เหมาะกับใคร?


- เหมาะกับคนที่อยากเดินตามความฝัน อยากมีอะไรที่เป็นของตัวเอง


- เหมาะกับคนที่ชื่นชอบงานด้านธุรกิจ


- เหมาะกับคนที่มั่นใจในตัวเอง และมีความกล้าที่จะริ่เริ่มอะไรใหม่ ๆ


- เหมาะกับคนที่มีต้นทุนเพียงพอต่อการทำธุรกิจ


- เหมาะกับคนที่ค่อนข้างมี connection กับผู้อื่นเป็นจำนวนมาก





❥ ข้อดีของการเลือกทำธุรกิจส่วนตัว:


- ได้ทำงานตามความถนัดและความชอบของตนเอง


- มีโอกาสก้าวหน้ามากกว่างานที่ต้องฝืนใจทำ


- ตัวเราเองจะมีความรู้สึกอยากขวนขวายและพัฒนาตัวเอง


- ได้เป็นตัวของตัวเอง งานจะยากซักแค่ไหน แต่อย่างน้อยอาชีพนี้เราก็เลือกเอง



❥ งานหินสำหรับคนเลือกทำธุรกิจส่วนตัว:


แน่นอนว่า การจะทำธุรกิจให้ปังนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หลายครั้งอยู่ที่จังหวะและโอกาส ต้องอาศัยวินัย ความอดทน และความรอบคอบเป็นอย่างมาก ทั้งต้องแบกรับความเสี่ยงไว้หลายด้าน นอกจากนี้ถ้าอยากให้แบรนด์ของเราตอบโจทย์ผู้คน สิ่งที่สำคัญคือ

ไอเดียที่แตกต่างและใช้ได้จริง



เส้นทางที่ ❻ : ไปให้สุด! เต็มที่กับ Passion จนเป็นอาชีพ


เส้นทางที่หก



ในยุคดิจิตอลที่มีช่องทางสร้างรายได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการเป็นยูทูปเบอร์, บล็อกเกอร์ หรืออินฟลูเอนเซอร์ เชื่อว่าจุดนี้ต้องมีซักคนแหละที่เคยคิดอยากทำอาชีพเหล่านี้บ้าง



❥ ถามว่าเส้นทางนี้เหมาะกับใคร?


- เหมาะกับคนที่มีความชื่นชอบ และสนใจในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ


- เหมาะกับคนที่มีเอกลักษณ์ มีสไตล์เป็นของตัวเอง


- เหมาะกับคนที่มั่นใจในตัวเอง กล้าคิดกล้าแสดงออก


- เหมาะกับคนที่อยากหารายได้เพิ่มเติมจากงานประจำ


- เหมาะกับคนที่มีความรู้และทักษะพื้นฐานด้านโปรดักชั่น





❥ ข้อดีของการเอา Passion มาสร้างเป็นอาชีพ:


- ได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับความชอบของตัวเอง


- เป็นการเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ เข้าสู่ชีวิต


- ได้แสดงตัวตนของตัวเองอย่างเต็มที่


- ทำงานได้ที่บ้าน ไม่ต้องปวดหัวปัญหาจราจรตอนเช้า


- มีเวลาการทำงานค่อนข้างยืดหยุ่น อยู่ที่เราเป็นคนจัดการ



❥ งานหินสำหรับคนเลือกเอา Passion มาสร้างเป็นอาชีพ:


ความยากของเส้นทางนี้คือ การทำผลลัพธ์ให้ได้ตามที่คาดหวังไว้ เช่น จะทำอย่างไรให้มียอด Subscribe ถึง 1 แสน? เป็นต้น รวมไปถึงการจะทำอย่างไรให้มีรายได้มั่นคงพอ ที่จะยึดเป็นอาชีพหลักอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเจอสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจตัวเองได้ง่าย

ยิ่งเดี๋ยวนี้โลกโซเชียลมันโหดร้าย ใจเธอต้องแข็งแกร่ง!



เส้นทางที่ ❼ : Gap Year ซักปี ขอเวลาค้นหาตัวเอง



เส้นทางที่เจ็ด


ทางเลือกที่เด็กจบใหม่อยากกดบวก แต่ผู้ปกครองไม่เข้าใจ Gap Year คือช่วงเวลา 1 ปีหลังจบการศึกษาที่เด็กวัยทีนฝั่งตะวันตกมีไว้ เพื่อค้นหาตัวเอง หรืออาจใช้เป็นเวลาพักเพื่อไปทำในสิ่งที่อยากทำ เช่น การออกไปท่องเที่ยว หรือสมัครเป็นอาสาสมัคร เป็นต้น



❥ ถามว่าเส้นทางนี้เหมาะกับใคร?


- เหมาะกับคนที่กำลังค้นหาตัวเอง ยังไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหนดี


- เหมาะกับคนที่อยากหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ


- เหมาะกับคนที่อยากพักสมอง พักร่างกายหลังจากเรียนมาอย่างหนัก


- เหมาะกับคนที่อยากใช้ชีวิตให้สุดเหวี่ยง ก่อนเข้าสู่ชีวิตทำงาน





❥ ข้อดีของการเลือก Gap Year:


- มีเวลาได้ค้นหาตัวเองอย่างแท้จริง เอาให้รู้ชัด ๆ กันไปเลยว่า เสียงข้างในของเราบอกว่า อะไรคือสิ่งที่ใช่?


- มีเวลาให้ตัวเองได้หยุดพักก่อนจะเข้าสู่ชีวิตทำงาน


- ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการทำสิ่งที่ไม่เคยทำ


- ทำให้ตัวเราโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น รู้จักคุณค่าของเวลา



❥ งานหินสำหรับคนเลือก Gap Year:


คงจะหนีไม่พ้นที่ต้องเจอกับคำถามที่ว่า " เมื่อไหร่จะหางาน " เพราะ

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจวัตถุประสงค์ของ Gap Year

คนที่ไม่เข้าใจก็มักจะเกิดคำถามเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นหากใครจะเลือกเส้นทางนี้ก็อาจต้อง

เตรียมใจเตรียมตอบคำถามจากคนรอบข้าง

ด้วยนะจ๊ะ นอกจากนี้ถ้า Gap Year นานเกินไปก็อาจทำให้เสียโอกาสในการทำงานได้อีกด้วย



เป็นอย่างไรกันบ้าง? หลังจากได้รู้จักกับทั้ง

7 ทางออกหลังเรียนจบ

ไปแล้ว มีเพื่อน ๆ เด็กจบใหม่คนไหนที่เจอเส้นทางที่โดนใจแล้วบ้าง~ แฟงก็

หวังว่าบทความนี้จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถตอบคำถามที่อยู่ในใจของใครหลายคนได้น้า

แต่อย่างไรก็ตาม

การจะเลือกเดินหน้าไปในเส้นทางใดก็ล้วนขึ้นอยู่กับความสะดวก และมุมมองของแต่ละคน

ด้วยเนอะ

ยังไงแฟงก็จะเป็นกำลังใจให้ทุกคนเลย!♥

สำหรับวันนี้แฟงต้องขอตัวบ๊ายบายไปก่อน ไว้มาเจอกันในบทความหน้า สวัสดีครับผม :)




เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้

🔮 ดูดวงกับ SistaCafe ผ่าน Line Official !
รูปภาพสำหรับป๊อปอัพลอย:1