
- ที่มารูป:
i.pinimg.com
จะเรียกว่าโรคระบาด ก็คงไม่ผิด เพราะ "โรคซึมเศร้า" จัดว่าเป็นโรคยอดฮิต ที่กำลังมาแรงให้หมู่วัยรุ่นวัยทำงานเลย ถ้าเพื่อนๆ ได้ดูข่าว ก็จะรู้ว่าหนึ่งในสาเหตุหลักๆ ที่คนส่วนใหญ่คิดสั้น เกิดจากการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยใช่มั้ยล่ะ และเราก็คงไม่อยากสูญเสียคนที่เรารักไปหรอกจริงมั้ย ฉะนั้นวันนี้ขอเข้าสู่โหมดจริง เราจะพาทุกๆ คนไปทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า พร้อมรู้วิธีรับมือกับคนใกล้ตัวที่มีอาการป่วยหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้กันค่ะ อาจจะคิดว่าการรับมือนั้นค่อนข้างยากใช่มั้ย แต่จริงๆ แล้วไม่ยากอย่างที่คิด วิธีง่ายๆ แค่เราเข้าใจและเอาใจใส่พวกเขา เท่านี้ก็ช่วยได้เยอะแล้ว จะมีวิธีแบบไหนบ้าง เราไปดูพร้อมๆ กันเลย!
" โรคซึมเศร้า "

- ที่มารูป:
i.pinimg.com
ในความรู้สึกของเรา โรคนี้เป็นอีกหนึ่งโรคที่น่ากลัวมากๆ คงไม่มีใครอยากตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าหรอก แต่บางครั้งสถานการณ์หรือความคิดความรู้สึกบางอย่าง มันก็นำพาเราให้เข้าไปอยู่ในโหมดนั้น
โรคซึมเศร้า เป็นโรคๆ นึงที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน คล้ายกับโรคทางกายทั่วไปนั่นแหละค่ะ หลายคนอาจจะเข้าใจว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ ต้องอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ ไม่ใช่นะ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของคนที่มักจะป่วยเป็นโรคนี้คือ การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง หรือบางคนก็มีอาการป่วยโดยที่หาสาเหตุไม่ได้ ถ้าถามว่าโรคนี้มีการรักษามั้ย จริงๆ แล้วก็มีนะคะ คือการรักษาด้วยยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นควรพาเพื่อนหรือคนในครอบครัวไปพบคุณหมอจะดีกว่าเนอะ
แต่วันนี้เรามีวิธีง่ายๆ สำหรับคนที่มีคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคนี้มาฝาก บางคนอาจจะกำลังหาคำตอบว่า เอ๊ะ! ฉันจะต้องรับมือกับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ยังไง ลองหยิบวิธีเหล่านี้ไปทำตามกันดู ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ!
โรคซึมเศร้า เป็นโรคๆ นึงที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน คล้ายกับโรคทางกายทั่วไปนั่นแหละค่ะ หลายคนอาจจะเข้าใจว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ ต้องอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ ไม่ใช่นะ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของคนที่มักจะป่วยเป็นโรคนี้คือ การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง หรือบางคนก็มีอาการป่วยโดยที่หาสาเหตุไม่ได้ ถ้าถามว่าโรคนี้มีการรักษามั้ย จริงๆ แล้วก็มีนะคะ คือการรักษาด้วยยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นควรพาเพื่อนหรือคนในครอบครัวไปพบคุณหมอจะดีกว่าเนอะ
แต่วันนี้เรามีวิธีง่ายๆ สำหรับคนที่มีคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคนี้มาฝาก บางคนอาจจะกำลังหาคำตอบว่า เอ๊ะ! ฉันจะต้องรับมือกับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ยังไง ลองหยิบวิธีเหล่านี้ไปทำตามกันดู ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ!
1. ประโยคที่ควร / ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

- ที่มารูป:
i.pinimg.com
การให้กำลังใจพื้นฐานของคนเรา เริ่มมาจากคำพูดดีๆ แต่ไม่ใช่คำพูดอะไรก็ได้ที่สามารถพูดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า ปกติเวลาเราท้อแท้ แค่เพื่อนบอกให้สู้ๆ เราก็มีแรงฮึดแล้วใช่ป่ะ แต่กับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ คำๆ นี้ถือว่าต้องห้ามเลยนะคะ คำบางคำฟังแล้วมีกำลังใจ ได้ความรู้สึกที่ดี แต่คำอีกหลายๆ คำก็สามารถทิ่มแทงจิตใจให้เราน้ำตาตกได้ ฉะนั้นเราลองมาดูกันหน่อยซิว่า คำพูดแบบไหนที่ควรพูด / ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบ้าง

- ที่มารูป:
i.pinimg.com
คำพูดที่ควร
– อยากให้ฉันกอดไหม
– เธอไม่ได้อยู่คนเดียวนะ
– เธอสำคัญสำหรับเสมอนะ
– ฉันจะอยู่ข้างๆ เธอนะ
– ฉันอาจไม่เข้าใจ แต่เข้าใจเธอนะ
– ฉันรักเธอนะ
คำพูดที่ไม่ควร
– ลืมๆ มันไปซะเถอะ
– ไม่อยากรู้สึกแบบนี้ ก็เลิกคิดสิ
– ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็ผ่านไป
– จะเศร้าไปถึงไหนกัน
– เข้าใจว่ารู้สึกอย่างไร ฉันก็เคยเป็น
– เลิกเศร้าได้แล้ว
2. ไม่ต้องเอาใจ แค่เข้าใจกันก็พอแล้ว

- ที่มารูป:
i.pinimg.com
เรารู้สึกว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ เค้าไม่ได้ต้องการให้ใครมาเอาอกเอาใจนะ แต่สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการคือความเข้าใจและการเอาใจใส่มากกว่า บางครั้งคุณอาจจะมองว่าสิ่งที่เค้าเจอมันเล็กน้อยมากๆ แต่รู้มั้ยว่าสำหรับเค้าอะ มันไม่ได้เล็กเลย แม้คุณจะไม่อินหรือไม่ได้รู้สึกร่วมไปกับสิ่งที่เพื่อนของคุณรู้สึก แต่การเปิดใจและพยายามเข้าใจความรู้สึกของพวกเขาถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ อาจจะไม่ต้องถึงขั้นโอ๋ เอาอกเอาใจ หรือทำอะไรที่เป็นพิเศษให้ เพียงแค่รับฟัง เปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูด ได้ระบายออกมา อย่าพยายามเลี่ยงหรือมองว่าไม่เป็นไรหรอก แค่คุณอยู่ตรงนั้นและคอยรับฟังสิ่งที่พวกเขาอยากระบายในเวลาที่เขาพร้อมที่จะพูดออกมา ก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
3. อย่ามองว่าเค้าเป็นคนป่วย

- ที่มารูป:
i.pinimg.com
สิ่งที่ดีที่สุด คืออย่าทำเหมือนเค้าเป็นคนป่วย เพราะนั่นจะยิ่งทำให้เพื่อนหรือคนใกล้ตัวของคุณรู้สึกแย่ อ่อนแอและเป็นภาระ แม้คนที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะชอบเก็บตัวเงียบ อยู่ห่างไกลผู้คน แต่ถ้าคุณอยากจะช่วยเค้าให้รู้สึกดี อย่ากดดันเค้าหรือพยายามบ่งการชีวิตเค้าให้ทำนั้นทำนี่ เอะอะก็ไล่ให้ไปหาจิตแพทย์ ไล่ให้ไปคุยกับครอบครัว แบบนี้จะยิ่งทำให้เค้าเครียดและรู้สึกไม่ดีกับตัวเองมากขึ้น ฉะนั้นแนะนำว่าให้ลองชวนพวกเขาออกจากบ้านดู อาจจะไปดูหนัง ไปเที่ยวต่างจังหวัด ไปช้อปปิ้ง หรือหาเกมสนุกๆ มาเล่นกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกันก็ได้ อย่างที่เราบอกนั่นแหละ ความเข้าใจ การดูแลเอาใจ คือสิ่งที่เค้าต้องการ บางทีถ้านึกไม่ออกว่าควรจะทำอะไรยังไงดี ลองนั่งข้างๆ เค้า แล้วกอดเค้าสักหน่อย อยู่เป็นเพื่อนเค้าในเวลาที่อ่อนแอแค่นี้ก็พอแล้ว
4. อย่าใช้คำพูดแรงๆ

- ที่มารูป:
i.pinimg.com
เวลาเพื่อนอกหัก เรามักจะชอบใช้คำพูดแรกๆ เพื่อเตือนสติให้เพื่อนคิดได้ ซึ่งมันก็ได้ผลทุกครั้ง แต่กับคนที่มีอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อย่าแม้แต่จะพูดอะไรแรงๆ ออกมาเด็ดขาด พูดไปก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรมันดีขึ้น เพราะงั้นถ้าคุณมีคนใกล้ตัวที่ป่วยเป็นโรคนี้ โปรดหลีกเลี่ยงคำพูดประชดประชัน คำด่าหรือคำพูดแรงๆ ทั้งหลาย เพราะคำพูดเหล่านั้นมันเหมือนยิ่งเป็นการตอกย้ำให้พวกเค้ารู้สึกแย่มากขึ้น บางคนฟังแล้วอาจจะถึงขั้นจิตตก เก็บไปคิดมาก จนอาจจะทำร้ายตัวเองได้เลยก็มี ฉะนั้นคำพูดอะไรที่ควรเลี่ยงก็ควรเลี่ยง ลองแว๊บไปดูข้อ 1 อะไรควรพูดไม่ควรพูด ตามนั้นเลยค่ะ โยนคำพูดแย่ๆ ทิ้ง เปลี่ยนเป็นคำพูดที่ทำให้เค้ารู้สึกว่าเราเข้าใจเค้าดีกว่าเนอะ
5. อย่าพยายามตัดสินใจอะไรแทนเค้า

- ที่มารูป:
i.pinimg.com
หน้าที่ของเราคือเข้าใจ รับฟังและดูแลเอาใจใส่เค้า ไม่ใช่ไปคิดแทนเค้านะคะ อย่าพยายามยัดเยียดความคิดของเราไปให้เขาหรือตัดสินใจแทนเขาว่าควรทำอะไรไม่ควระทำอะไร คำพูดที่บอกว่า ฉันเข้าใจแกนะ มันไม่ใช่ค่ะ คุณจะพูดแบบนี้กับเค้าไม่ได้นะ เพราะคุณไม่มีวันเข้าใจในสิ่งที่เค้ากำลังพบเจอ ก็นี่มันคุณไม่ใช่เค้าไง จะเข้าใจความรู้สึกของเค้าได้ยังไงล่ะ จริงมั้ย สิ่งที่คุณคิดกับสิ่งที่คนเป็นโรคซึมเศร้าคิด มันต่างกัน ฉะนั้นอย่าเอาตัวเองไปตัดสินปัญหาแทนใคร อย่าพยายามยัดเยียดให้เค้าต้องทำแบบนั้นแบบนี้ เพียงเพราะคุณคิดว่ามันจะทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น เราแนะนำว่าให้คุณอยู่ข้างๆ เค้าและคอยรับฟังเขา ตบไหล่เบาๆ กอดเค้าสักหน่อย เท่านี้ก็เป็นการให้กำลังใจที่เวิร์คมากๆ แล้ว เพราะการพูดคุยให้คำปรึกษาเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องการค่ะ
6. อย่าพยายามแกล้งทำเป็นไม่เห็น

- ที่มารูป:
i.pinimg.com
มีหลายครั้งที่เรามักจะเมินเฉยคนที่เครียดหรือมีอาการซึมเศร้า เพราะเรามักจะคิดว่า คงไม่มีอะไร แต่ภายใต้ความไม่มีอะไรนี่แหละ ที่ทำให้เราต้องหันกลับมามองเค้าอีกสักครั้งและใส่ใจความรู้สึกของเค้าให้มากขึ้น รู้มั้ยว่าการแกล้งทำเป็นไม่เห็น ไม่รับรู้ ไม่สนใจในโรคนี้นั่น ยิ่งเป็นการตอกย้ำกับผู้ป่วย หรือคนที่กำลังเครียดว่า นี่มันไม่ใช่เรื่องใหญ่ บางคนมองว่าคนเหล่านี้คิดมากไปเองรึเปล่า การแสดงออกแบบนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายขึ้น ยังทำให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้ารู้สึกดำดิ่งหนักกว่าเดิมอีก เพราะฉะนั้นวันนี้เปลี่ยนความคิดใหม่เนอะ ถ้าคุณมีคนใกล้ตัวที่ป่วยเป็นโรคนี้ ช่วยยอมรับและเข้าใจในความเจ็บปวดและอาการป่วยทางจิตใจของเค้าคนนั้นสักหน่อยเถอะ แม้คุณจะช่วยอะไรไม่ได้มากก็ตาม แต่แค่รับฟังและอยู่ข้างๆ เท่านี้ก็เกินพอแล้ว
7. โรคนี้รักษาได้ แต่ต้องให้เวลาเค้าสักหน่อย

- ที่มารูป:
i.pinimg.com
อย่างที่เราบอกข้างต้นว่าโรคนี้มีทางรักษาหาย ไม่ว่าจะทานยาหรือพูดคุยกับจิตแพทย์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ควรให้เวลาคนที่เป็นโรคซึมเศร้าสักหน่อย ไม่ใช่ว่าปุ๊บปั๊บจะให้เค้าไปหาหมอเลย เร่งให้เค้ารีบรักษา สั่งให้เค้ากินยาหรือบังคับให้เค้าทำอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ไม่ใช่ป่ะ! ของแบบนี้มันต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปนะคะ วันนี้ถ้าคุณตัดสินใจว่าจะสู้ไปพร้อมๆ กับเค้าแล้ว จับมือกันไปให้ถึงเส้นชัยค่ะ เมื่อถึงวันที่กำลังใจเค้ามีมากพอ วันนั้นคุณค่อยพาเค้าไปพบแพทย์ก็ได้ แต่ก็ต้องเลือกใช้คำพูดที่ไม่ทำให้เค้ารู้สึกแย่หรือรู้สึกว่ากำลังถูกผลักไสนะ เราเชื่อว่าอะไรๆ มันจะต้องดีขึ้น ฉะนั้นเป็นกำลังใจให้นะคะ

- ที่มารูป:
i.pinimg.com
สำหรับคนที่ป่วยเองหรือมีคนใกล้ตัวที่ป่วยเป็นโรคนี้ เราคงพูดอะไรมากไม่ได้ นอกจากเป็นกำลังใจให้นะคะ แม้ว่ามันจะยากสักหน่อยกว่าเราจะข้ามช่วงเวลาที่แสนเจ็บป่วยไปได้ แต่เราเชื่อว่าถ้าเรามีแรงและพยายามมากพอ สักวันนึงเราจะต้องมีความสุขค่ะ สำหรับคนที่ต้องคอยดูแลคนที่เป็นโรคซึมเศร้า อย่าลืมดูแลตัวเองด้วยนะ อย่าจมดิ่งลงไปตามผู้ป่วย ไม่งั้นจะแย่กันหมด
ก็หวังว่าบทความในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ หลายๆ คนนะคะ สวัสดีค่ะ
Comments