ในยุคที่โซเชียลครองเมืองแบบนี้ ต้องยอมรับว่า

‘ สื่อออนไลน์ ’

กลายเป็นช่องทางหลักในการเสพข่าวสาร เพราะง่ายและเร็ว มีแหล่งข้อมูลมากมายทางอินเตอร์เน็ตให้เข้าไปดูได้ฟรีๆ แต่เวลาผ่านไป กลับกลายเป็นว่า เมื่อมีความรู้ให้เลือกเยอะจน ‘ ล้น ‘ ทำให้บางคนเกิดอาการหลงทาง ไม่รู้ควรเริ่มจากจุดไหน หาตัวเองไม่เจอ ทั้งสภาพสังคมปัจจุบัน เริ่มมีคนประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จึงเป็นการ ‘ กดดัน ’ กลายๆ ให้ชีวิตต้องประสบความสำเร็จ ต้องเป็น ‘ สาวเพอร์เฟกต์ ’ โดยไม่รู้ตัว

รูปภาพ:

การแพร่หลายของสื่อ Self Improvement ในปัจจุบัน

คงไม่แปลกหากเราเดินเข้าไปในร้านหนังสือ จะเห็นหนังสือประเภท

‘ Self Improvement/ Self-Help/ Self Development ’ ( หรือเรียกง่ายๆ คือจิตวิทยาพัฒนาตัวเอง )

ทั้งแบบคนไทยเขียนเอง และแปลจากต้นฉบับภาษาต่างประเทศวางเรียงรายเต็มไปหมด

https://www.wongnai.com/articles/recommended-podcast-program


ซึ่งแบ่งหมวดหมู่ย่อยออกมาทั้งหมด ก็แทบจะครอบคลุมทุกด้านในชีวิตของผู้หญิงแล้ว


ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักตัวเอง ปรับบุคลิกภาพ สร้างวินัยทางการเงิน การจัดบ้าน การจัดการเวลา ลดความอ้วน เพิ่มความมั่นใจในชีวิต จิตวิทยาทั่วไป หรือการปรับ mindset ให้มีความสุขกับชีวิต เป็นต้น

https://www.themilliondollarmama.com/best-personal-development-books-for-mompreneurs/

รูปภาพ:

คอนเทนต์แนว Self Improvement ที่ค่อนข้างมีกระแสในไทย ที่เราค่อนข้าง ‘ อิน ‘ และจะยกมากล่าวถึงในบทความ มี 3 สื่อ ( เน้นผู้หญิง 2 ได้ทุกเพศ 1 ) ดังนี้

1. Marie Condo ( มาริเอะ คนโดะ )แม่บ้านชาวญี่ปุ่นจากหนังสือ‘ ชีวิตดีขึ้นทุกๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว ’และยังมีซีรีส์ของตัวเองด้วย

2. ถ้าใครเป็นสาวกเว็บดูหนังสตรีมมิ่งออนไลน์อย่าง Netflix ก็ต้องรู้จักกลุ่มเควียร์Fab Five จาก ‘ Queer Eye ’ รายการเรียลลิตี้ที่ช่วยแก้ปัญหา ปรับรูปลักษณ์ และทัศนคติของผู้คนทั้งชายและหญิงที่คนดูนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาตัวเองได้ ซึ่งผลตอบรับดีมากๆ จนตอนนี้มีถึง 4 ซีซั่นแล้ว

3. รายการใน Youtube สำหรับสาวไทย

‘ สตรีมีคลาส ’ ที่มีสองพิธีกรสาว โมเม-นภัสสร และจ๋า-ยศสินี

ที่ให้คำแนะนำสาวๆ ในการปรับปรุงบุคลิกภาพ และมารยาทสังคมในสถานการณ์ต่างๆ โดยมียอดกดติดตามถึง 80.9K subscribers และมีแฮชแท็กของตัวเองในทวิตเตอร์ ที่มีคนพูดถึงเป็นระยะๆ

แต่ใจลึกๆ เราก็แอบคิดว่า อืม คอนเทนต์เหล่านี้จำเป็นกับชีวิตขนาดนั้นไหม ถ้าเราดูแล้วจะรู้สึก ‘ เติมเต็ม ' จริงหรือเปล่า หรือถ้าเราไม่ทำตาม เราจะยังมีชีวิตที่ดีได้หรือไม่?**************************************

รีวิว : จงนำไป ‘ประยุกต์ใช้’ อย่าเอาไปทำตามทั้งดุ้น!

Tidying Up with Marie Kondo

เริ่มจากคุณ

Marie Kondo

จากที่เราเคยอ่านหนังสือ และดูซีรีส์ของเธอใน Netflix และมีความสนใจอยากทำตาม ( เพราะกฎคมมาริของเธอ มันช่างดูมินิมอลเสียจริงๆ เก็บไว้แค่ของที่ทำให้คุณมีความสุข ใครล่ะจะไม่อยาก spark joy! ) แต่เมื่อลองทำจริง

ปรากฎว่าเราไม่สามารถตัดใจ ‘ทิ้ง’ ของต่างๆ ในชีวิตได้ง่ายขนาดนั้น บางสิ่งอาจได้ใช้ในวันหน้า บางสิ่งก็จำเป็นต้องเก็บแม้จะไม่ได้ทำให้มีความสุข ซึ่งเมื่อเห็นรีวิวของเพื่อนๆ ในโซเชียล ก็มีทั้งกลุ่มที่รักความมินิมอลของมาริเอะ และกลุ่มที่มองว่าบ้านรกๆ ตอบโจทย์พวกเขามากกว่า


ซึ่งล่าสุดมาริเอะก็เพิ่งให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Parents ว่าเมื่อมีลูกเข้ามาในชีวิต เธอก็ไม่สามารถควบคุมการจัดบ้านให้มีระเบียบได้อีก แต่โฟกัสที่ความสุขของลูกแทน

เราจึงคิดว่าทฤษฎีของเธอต้องนำไปปรับใช้ และไม่จำเป็นต้องเชื่อทุกอย่าง ต้องดูความจำเป็นและสถานการณ์ของเราด้วย

Queer Eye (We're in Japan)

ต่อมา

รายการ Queer Eye

แม้บทความรีวิวในไทยทั้งในเว็บ minimore และ the standard จะเป็นไปในทางบวก

แต่สำหรับเราคิดว่า อาจเป็นไปได้ด้วยดีถ้าเป็นคนชาติเดียวกัน แต่เมื่อข้ามประเทศไป ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ก็จะเริ่มมีปัญหาที่ fab five เข้าไปช่วยไม่ได้ 100%

เช่น มี ep. นึงในซีซัน We’re in Japan สาวนักเขียนการ์ตูนอยากปรับความเข้าใจกับแม่ เพราะแม่ของเธอปล่อยปละละเลยปัญหาการโดนบุลลี่สมัยเด็ก ทำให้ทั้งคู่ไม่สนิทกันเท่าไหร่ ในเคสนี้ หากฝ่ายแม่ไม่ยอมรับ ไม่เปิดใจ fab five ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ได้เหมือนกัน

เราจึงคิดว่า เรื่องทัศนคติของคนรอบข้างก็สำคัญ ถึงมีหลักพัฒนาตัวเองที่ดีแค่ไหน ถ้าคนรอบข้างไม่สนับสนุนเรา ก็ยากที่จะรู้สึกมั่นใจ หรือเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ การรู้หลักการพัฒนาตัวเอง ใช่ว่าจะทำตามได้เสมอไป มันยังมีปัจจัยเกี่ยวข้องอีกมาก( ยังไม่นับว่า ประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างมีวัฒนธรรมที่ซับซ้อนและมีกำแพงแน่นหนา ทำให้ fab five ซึ่งเป็นคนต่างชาติทลายได้ยากอีกด้วย )

รายการ 'สตรีมีคลาส'

สุดท้าย

รายการ ‘ สตรีมีคลาส ’

เราดูแล้วได้ความรู้เกี่ยวกับมารยาทสังคม และข้อคิดอยู่พอสมควรทีเดียว แต่สำหรับเรา

บางตอนยังรู้สึกว่าค่อนข้างล้าสมัย ตีกรอบ ‘ผู้หญิง’ ค่อนข้างมาก ยังคงมีบางหัวข้อที่ปนทัศนคติเก่าๆ ของคนรุ่นก่อนอยู่

ผู้หญิงห้ามทำแบบนี้ดูไม่สวย ไม่แพง เป็นต้น

ในยุคที่สิทธิความเท่าเทียมและการเป็นตัวของตัวเองไม่แบ่งแยกเพศอีกต่อไป จึงทำให้ดูแล้วอึดอัดหน่อยๆ เพราะผู้หญิงควรมีสิทธิ์ที่จะทำอะไรก็ได้ ตราบใดที่ไม่ผิดกฎหมายและระรานคนอื่น

เราจึงรู้สึกว่ารายการค่อนข้าง ‘จำกัดวง’ ไปนิด และที่สำคัญ ไม่มีตอนไหนที่แขกรับเชิญเป็นวัยรุ่นเลย จึงทำให้เกิดข้อกังขาว่า สิ่งที่เขาสอน คนเจน Z เอาไปใช้ได้จริงๆ หรือเปล่า เชื่อถือได้แค่ไหน

------------------------------------------

นอกจากสามสื่อที่เรายกตัวอย่างมารีวิว เราก็เคยอ่านหนังสือประเภทพัฒนาตัวเองที่แปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น อังกฤษและเกาหลีมาบ้าง เช่น

‘คิดแบบยิว ทำแบบญี่ปุ่น’ -ฮอนดะ เคน ( บริหารการเงิน ) , ‘เคล็ดลับใช้ชีวิตอย่างมีสไตล์ ที่ฉันได้เรียนรู้มาจากปารีส’ - Jennifer L Scott ( ผู้หญิงพัฒนาตัวเอง ), การ์ตูนชุด ‘ไม่ยาก ถ้าอยากพัฒนาตัวเอง- Cho Young Kyung (ซีรีส์พัฒนาตัวเองในเรื่องต่างๆ )

ซึ่งทั้งหมดขอรีวิวสั้นๆ ว่า 70% ใช้ได้จริง มีประโยชน์มาก แต่เนื้อหาบางส่วนจะยังติด culture จากประเทศต้นทาง ซึ่งคนไทยทำตามไม่ได้ทั้งหมด เช่น การกินอาหารฝรั่งเศสจะทำให้หุ่นดี หรือสอนบริหารเงินด้วยการไล่ไปขายของให้ได้ xxx ดอลลาร์ใน 2 วัน ซึ่งในบริบทคนทั่วไป ก็ได้แค่อ่านเป็นประสบการณ์เฉยๆ มากกว่า

------------------------------------------

รูปภาพ:

การพัฒนาตน คือการเปลี่ยน ‘ มุมมองชีวิต ’ ที่เหลือต้องลงมือทำเอง

https://medium.com/thrive-global/three-ugly-truths-about-life-coaching-3cc0dc1603fe

ก็มีความเห็นไปในทางเดียวกันกับเรา เช่น การที่ผู้แนะนำหรือ Life Coach อ้างว่าเป็นกูรูเรื่องนั้นๆ แต่หลายคนก็ undertrained หรือไม่ได้รู้รอบด้านมากพอ เพราะบางครั้งการพูดมันง่ายกว่าการกระทำ คนเราต่างกัน ไม่ใช่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จได้ทุกอย่าง ดังประโยคในบทความที่ว่า

People are different, and nobody can achieve anything.’


https://medium.com/swlh/self-help-can-it-really-work-for-personal-development-5d24c1818aff

ในเว็บไซต์ medium ผู้เขียนก็ยอมรับว่าเธออ่านหนังสือหมวดหมู่นี้ต่อเนื่องมาเป็นสิบๆ ปี แต่บริบทของแต่ละเล่ม ก็เหมาะกับคนที่แตกต่างกัน ทำตามทุกอย่างไม่ได้ และต้องระวังว่าการแวบไปทำเทคนิคจากหนังสือเล่มนั้นบ้าง เล่มนี้บ้าง ก็อาจทำให้ไม่ได้พัฒนาตัวเองได้จริงๆ เพราะแต่ละเล่มก็มาจากฐานความคิดที่ต่างกัน การรวบรวมวิธีพัฒนาตัวเองน่ะง่าย แต่จะ ' พัฒนา ' ได้จริงๆ มันยาก

https://www.huffpost.com/entry/does-life-coach-really-wo_b_9687776


ก็ทิ้งประโยคนึงไว้ว่า

‘ The book can change your perspective, but you must change your life.’

( การแนะนำก็เป็นแค่การเปลี่ยนมุมมอง แต่เราต้องเป็นคนเปลี่ยนชีวิตของเราด้วยตัวเอง

https://www.huffpost.com/entry/why-self-help-books-rarel_b_9517224

) ก็เสนอถึงวิธีทำแพลน จดโน้ตเพื่อกำหนดขั้นตอนบรรลุเป้าหมายด้วยตัวเอง และจะยิ่งดีขึ้นถ้าแชร์ความรู้นี้กับคนอื่นๆ ทั้งได้ทบทวนตัวเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นทำตามด้วย ซึ่งเราก็เห็นด้วยในจุดนี้เช่นกัน

ส่งท้าย : ช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ทำตามก็ไม่ตาย!

รูปภาพ:

สุดท้ายแล้ว คำแนะนำแนว Self Improvement หรือหลักจิตวิทยาพัฒนาตัวเอง สำหรับเราคือช่วยให้ชีวิต ' ดีขึ้น ' ระดับหนึ่ง ไม่ใช่กระแสที่ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่ก็ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้นถึงไม่ทำตามทั้งหมดก็ไม่เป็นไร เพราะในที่สุดแล้วเราก็ต้องคิด วิเคราะห์ เลือกมาปรับใช้ให้เข้ากับตัวเองและสถานการณ์เฉพาะตัวอยู่ดีซึ่งบางอย่างเราอาจเรียนรู้ได้เองในการใช้ชีวิตประจำวันด้วยซ้ำ ถ้าใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ไม่ต้องวิ่งแข่งกับใคร ไม่ดูสื่อเหล่านี้ก็ไม่ได้รู้สึกขาดอะไร เหมือนเป็นขนมกินเล่น กินก็ดี ไม่กินก็ไม่เป็นไรแต่ทั้งนี้ก็เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของเราเท่านั้น อย่างไรสาวๆ ก็ควรไปสัมผัสประสบการณ์ด้วยตัวเอง ถึงจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องที่สุด

แล้วสำหรับสาวๆ ล่ะคะ Self Improvement เป็นอาหาร ขนมหวาน หรือน้ำเปล่าที่ขาดไม่ได้ในชีวิต :)

Mollacake