สวัสดีค่ะทุกคน

เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดในช่วงนี้ส่งผลกระทบให้สถานพยาบาลโรงพยาบาล และ สภากาชาดไทยเลือดลดลงเป็นจำนวนมากจึงอยากจะขอเชิญชวนมาร่วมกันบริจาคโรหิตเพื่อให้เลือดเพียงพอต่อการรักษาผู้ป่วยเราได้นำสถานที่รับบริจาคโลหิตและคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิตมาฝากกันค่ะ

❤..........❤..........❤..........❤..........❤

สถานที่รับบริจาคโลหิต

สภากาชาดไทย

รูปภาพ:

สามารถบริจาคโลหิตได้ที่

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

ศูนย์รับบริจาคโลหิตและพลาสมา

สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม บางแค

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร02 256 4300

โรงพยาบาลราชวิถี

รูปภาพ:

นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังมีหน่วยรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่จึงขอเชิญชวนองค์กร หน่วยงาน หรือบริษัทที่มีจำนวนผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปติดต่อขอให้ทางโรงพยาบาลออกหน่วยเคลื่อนที่ไปรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่ได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02 354 8108 ต่อ 3026

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

รูปภาพ:

โรงพยาบาลศิริราช

รูปภาพ:

โรงพยาบาลรามาธิบดี

รูปภาพ:https://med.mahidol.ac.th/patient_care/sites/default/files/public/img/news/announce/6977_inter_0.jpg

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ห้องบริจาคโลหิต โรงพยาบาลรามาธิบดี

ชั้น 2 อาคารหลัก (อาคาร 1)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร

02 201 1229 ต่อ 202

ชั้น 3 อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร

02 200 4208

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต

1.อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ผู้ที่มีอายุ 17 ปี

ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง

2.

ผู้บริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก ถ้าอายุเกิน 55 ปี – 60 ปี

และให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ และ พยาบาล

4.

น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัม ขึ้นไป

5.

สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมที่จะบริจาคโลหิต

6.

นอนหลับพักผ่อนเพียงพอในเวลาปกติของตนเอง

ในคืนก่อนวันที่มาบริจาคโลหิต

7.

ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคตับโรคปอดโรคเลือด

โรคมะเร็งหรือมีภาวะโลหิตออกง่ายและหยุดยาก

8.

ไม่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ใน 7 วันที่ผ่านมา

9.

สตรีไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา

10.

น้ำหนักต้องไม่ลดผิดปกติในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมาโดยไม่ทราบสาเหตุ

11.หากรับประทานยาแอสไพรินยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดอื่น ๆต้องหยุดยามาแล้ว 3 วันถ้าเป็นยาแก้อักเสบหรือยาอื่น ๆต้องหยุดยามาแล้ว 7 วัน

12.ไม่เป็นโรคหอบหืด, ผิวหนังเรื้อรังวัณโรค หรือภูมิแพ้อื่น ๆ

13.

ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวานหัวใจ, ตับ, ไต, มะเร็ง,

ไทรอยด์โลหิตออกง่าย-หยุดยาก หรือโรคประจำตัวอื่น ๆ

14.

หากถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนหรือรักษารากฟัน

ต้องทิ้งระยะอย่างน้อย 3 วัน กรณีผ่าฟันคุด

ให้เว้นอย่างน้อย 7 วันจนกว่าแผลจะหายสนิทไม่มีอาการอักเสบ

15.

หากเคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ต้องเกิน 6 เดือนผ่าตัดเล็ก ต้องเกิน 7 วัน

16.ท่านหรือคู่ครองของท่านต้องไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์

17.

ต้องไม่มีประวัติยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษต้องเกิน 3 ปี และมีสุขภาพดี

18.

หากเจาะหู, สัก, ลบรอยสักหรือฝังเข็มในการรักษาโดยใช้เครื่อมือร่วมกันหรือในสถานที่ที่มีคุณภาพความสะอาดต่ำอาจติดเชื้อโรคทางกระแสโลหิตจึงควรงดบริจาคอย่างน้อย 1 ปี

แต่หากกระทำด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่สะอาดปราศจากเชื้อ โดยผู้ชำนาญและเป็นวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวเฉพาะตัวเว้นระยะเวลาให้แผลอักเสบหายสนิทอย่างน้อย 7 วัน

19.หากมีประวัติเจ็บป่วยและได้รับโลหิตของผู้อื่นต้องเกิน 1 ปี

20.หากมีประวัติเป็นมาลาเรียถ้าเคยเป็นต้องหายมาแล้วเกิน 3 ปีหากเคยเข้าไปในพื้นที่ ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุมต้องทิ้งระยะอย่างน้อยเกิน 1 ปี จึงบริจาคโลหิตได้

22.

หากเคยพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษรวมระยะเวลา 3 เดือน

ในระหว่างปี พ.ศ.2523-2539หรือ เคยพำนักในยุโรปรวมระยะเวลา 5 ปี

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523-ปัจจุบัน งดรับบริจาคโลหิตถาวร

23.

หากเคยได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันโรค หรือเคยรับเซรุ่ม

ระยะเวลาที่งดรับบริจาคโลหิตขึ้นกับชนิดขอบวัคซีนหรือ เซรุ่ม

24.

สตรีอยู่ระหว่างมีรอบเดือนไม่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต

ถ้าขณะนั้นสุขภาพแข็งแรงมีโลหิตประจำเดือนไม่มากกว่าปกติ

ไม่มีอาการอ่อนเพลียใด ๆ

ตรวจความเข้มข้นโลหิตผ่านก็สามารถบริจาคโลหิตได้

25.

ก่อนบริจาคโลหิต ควรงดอาหารไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่

ข้าวข้าวหมู ของทอด ของหวาน แกงกะทิต่าง ๆ เป็นต้น

❤..........❤..........❤..........❤..........❤