ไม่ใช่เพียงแค่ดารา นักร้อง เซเลบเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อสังคม เดี๋ยวนี้คนที่มียอดฟอลโลวเยอะๆ อย่างเช่น บิวตี้บล็อกเกอร์ ผู้เสียสละรีวิวเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ความงามต่างๆ ก็ถือว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลได้เช่นกัน เพราะความสวยความงามเป็นเรื่องยอดฮิตมากๆ ในสังคมเรา ทั้งโลกโซเชียลและโลกนอกจอ

เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเราไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการตลาดไปมากกว่านี้ สิ่งที่สาวๆ เราควรมีในการอ่านรีวิวต่างๆ คือวิจารณญาณส่วนบุคคลค่ะ อย่าเพิ่งเชื่อทุกอย่างที่เหล่านางผู้ใดก็ตามรีวิว ฟังหูไว้หู เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้น เหล่านางบางคนก็มีสิทธิอ้างได้ว่า' นี่มันความเห็นส่วนตัวของฉัน คนอื่นมาเชื่อเองก็ช่วยไม่ได้ ไม่ได้เอาปืนจ่อหัวให้เชื่อซะหน่อย '

มาคิดรู้เท่าทันเหล่านางๆ กันว่ามีอะไรบ้างที่บางทีก็ไม่ได้บอก/บอกไม่หมด หรือโกหกเราไปเลย ( เพราะบิวตี้ บล็อกเกอร์บ้านเรามีเกลื่อนเมืองมาก เราไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่ามีอะไรบ้างที่เขาไม่บอกเรา/บอกเราไม่หมด หรือโกหกเราไปเลย เพื่อผลประโยชน์ตัวเอง )

หมายเหตุบทความนี้เราไม่อนุญาตให้นำไปคัดลอกใส่เว็บไซต์อื่นนะคะ ถ้าต้องการเผยแพร่เราอนุญาตเพียงอย่างเดียวคือการกดปุ่มแชร์โพสต์นี้ออกไปค่ะ ^^

1. ส่วนประกอบ/สารเคมีที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้น

รูปภาพ:http://www.enrichsalon.com/blog/wp-content/uploads/2014/05/Cosmetic-Allergies.jpg

ภูมิคุ้มกันร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราจึงต้องมีความรู้หรือขยันกันนิดนึงที่จะเสิร์ชว่า ผลิตภัณฑ์แต่ละตัวที่เขารีวิวนั้นมีสารประกอบอะไรบ้าง เพื่อคัดกรองว่ามีสารที่ร่างกายเรา ผิวหนังเราแพ้รึเปล่า ( เช่น โลชันตัวนั้นผสมน้ำมันรึเปล่า? ครีมตัวนั้นผสมน้ำหอมรึเปล่า? ) เน็ตมี google มี สกิลง่ายๆ แค่นี้ไม่ไกลเกินเอื้อมหรอกค่ะ ถ้าบล็อกเกอร์กั๊กที่จะไม่บอกส่วนประกอบกับเรา เราก็เสิร์ชเองเลย


2. คำเตือน/ข้อระวัง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น

รูปภาพ:http://www.hindustanlink.com/health-care-blog/wp-content/uploads/2011/10/Precaution-before-using-any-cosmetics-to-avoid-allergies.jpg

บิวตี้ บล็อกเกอร์บางคนก็โฟกัสแค่การรีวิวแต่งสวย จนมองข้ามไปว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคำเตือน/ข้อระวังในการใช้อย่างไรบ้าง หรือไม่ก็ใช้แล้วถูกโฉลกคนเดียวถึงได้กล้ามารีวิว แต่ลืมนึกถึงว่าคนอื่นอาจจะแพ้หรือไม่ได้ผลซะเลย 

ในเคสนี้อย่างน้อยในฐานะผู้เสพสื่อ เราควรคิดตามความเป็นจริงทั่วไป ( ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบพื้นๆ ) เช่น ในขณะที่บิวตี้ บล็อกเกอร์บอกว่าน้ำมะนาวพอกหน้าได้ เราก็ควรเอะใจสักนิดว่า น้ำมะนาวมีฤทธิ์เป็นกรด อาจทำให้หน้าพังได้ และบางทีเราก็อาจจะแพ้ขั้นรุนแรงก็ได้

นอกเหนือไปกว่านั้นก็เสิร์ช google เลยค่ะว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีคนอื่นๆ รีวิวว่าอย่างไร มีผู้มีความรู้ที่น่าเชื่อถือ ( เช่น หมอ นักวิทยาศาสตร์ เภสัชกร ฯลฯ ) กล่าวไว้ว่าอย่างไร อย่าปักใจเชื่อในคนๆ เดียวค่ะ


3. ไม่เอ่ยชื่อยี่ห้อโดยตรง

รูปภาพ:http://www.beautyinmymind.com/wp-content/uploads/2013/09/The-Beauty-Blogger-Tag.jpg

อาจจะเพราะกลัวข้อพิพาททางกฎหมาย หรือไม่ได้มีเจตนาจะให้เข้าใจผิดว่าต้องการทำให้แบรนด์นั้นเสื่อมเสียแบบจะๆ บรรดาติ่งบิวตี้บล็อกเกอร์จึงไม่ควรซื่อใส ทู่ซี้โพสต์ถามอยู่นั่นว่ายี่ห้ออะไรๆๆ ควรมีสกิลในการประติดประต่อสิ่งที่เขาเล่า มีความรู้คร่าวๆ ถึงเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ตัวนั้น ( ใช้ทักษะการเผือกให้เป็นประโยชน์หน่อย ) ถ้าข้องใจมากๆ ก็หลังไมค์ไปถามเลย ( แต่เขาจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้นะ เพราะบางคนก็ป้องกันตัวเองมากๆ ไม่ให้ใครมาล้วงความลับเอาถ้าไม่สนิทกันจริง )

4. ราคาและช่วงโปรโมชั่นที่แท้จริง

รูปภาพ:http://www.weekendnotes.com/im/005/08/cosmetics-sale.jpg

ถ้าไม่อยากผิดหวังที่ไปหาซื้อแล้วทำไมไม่ลดจริงทำไมหมดเขตไม่เหมือนที่บิวตี้ บล็อกเกอร์มาป่าวประกาศ ทางที่ดีเช็คกับช่องทางของแต่ละแบรนด์อย่างเป็นทางการ เช่น เพจร้าน, เว็บไซต์, IG ว่ามีสาขาไหน, ราคาใด, เงื่อนไขอะไรอีกบ้าง( ในจุดนี้ก็โทษบิวตี้บล็อกเกอร์ไม่ได้ เพราะเหล่านางก็ตอบอะไรไม่ได้มากเท่าฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของแต่ละแบรนด์ที่มีหน้าที่ทางนี้โดยตรง )


5. ผลิตภัณฑ์ที่โนเนม มีความเชื่อถือตรวจสอบได้มากเพียงใด

รูปภาพ:https://media.licdn.com/mpr/mpr/p/4/005/09c/0a5/1e42688.jpg

เดี๋ยวนี้มีผลิตภัณฑ์แฮนด์เมดเยอะมาก ยี่ห้อที่เราไม่คุ้นหูก็เยอะ และถ้าพูดกันตามตรงประสาโลกของธุรกิจ บิวตี้ บล็อกเกอร์บางคนก็รีวิวไปงั้นๆ แต่ไม่ทดลองใช้เองก็มีตั้งมาก ( รับจ้างรีวิว แล้วรับเงินจ้างจากแต่ละยี่ห้อที่ส่งผลิตภัณฑ์มา ) ผู้อ่านอย่างเราๆ ทั้งหลายจึงควรมีวิจารณญาณกันเอาเองว่าอย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่เขารีวิว และก็อย่าเพิ่งซื้อมาใช้เอง จนกว่าจะแน่ใจได้ว่า ของโนเนมนั้นผ่านการรับรองมาตรฐานอะไรบ้าง ( ถ้าไม่อยากเสี่ยง กลับไปใช้ยี่ห้อที่คุ้นหูที่วางขายตามท้องตลาด ห้างสรรพสินค้า หรือเคาน์เตอร์แบรนด์จะดีกว่า )

อะไรบ้างที่พอจะคัดกรองได้ว่าน่าเชื่อถือเพียงใด

- เลข อย. ก็แค่รับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัยแค่' เซตตัวอย่างที่ส่งไปตรวจ 'บางยี่ห้อส่งตัวอย่างที่ไม่มีสารอันตรายเพื่อทดสอบให้ผ่าน แต่เมื่อจะขายก็ใส่สารเคมีที่เป็นอันตรายลงไป บางยี่ห้อปลอมเลข อย. แล้วอ้างว่าปลอดภัย มีเลข อย. ( ความจริงที่น่าเศร้าไปกว่านั้นคือ อย. ไม่จริงจังกับการเอาผิดให้สิ้นซาก ผลิตภัณฑ์โนเนมจึงผุดขึ้นเรื่อยๆ จนปราบไม่อยู่ )

- ถ้ามีเงินจริงๆ ลองซื้อผลิตภัณฑ์มา' แต่อย่าเพิ่งใช้ 'ลองหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ตรวจสอบได้ เช่น ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ/นักวิทยาศาสตร์/นักเทคนิคการแพทย์/เกสัชกร เกี่ยวกับสินค้าที่ได้มาว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง พอจะทดสอบอะไรได้บ้าง? หากเป็นครีมทาผิว ให้ซื้อชุดทดสอบสารปรอทและสารฟอกขาว ของคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ( มีขายในเน็ตค่ะ ชุดละไม่กี่ร้อย ซื้อมาเถอะ คุ้มมากสำหรับความปลอดภัยของตัวเรา )

- อย่าเพิ่งเชื่อดารา/เซเลบ/เน็ตไอดอลที่ถือสินค้า เพราะพวกเขาก็ถูกจ้างให้โปรโมทเช่นกัน

6. ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ( ไม่ว่าจะพื้นฐานหรือเชิงลึกก็ตาม )

รูปภาพ:http://www.adpak.co.uk/wp-content/uploads/2015/06/Cosmetics-Chemical.jpg

ยืนยันอีกทีค่ะว่า ในฐานะผู้บริโภคทั้งหลาย เพื่อรักษาผลประโยชน์ตัวเอง ไม่ควรมีความรู้ว่าจะสั่งซื้อได้ทางไหน คอมเพลนตรงไหน โปรโมชันมีอะไรบ้าง แต่ควรมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นภูมิคุ้มกันอย่างดี เพื่อป้องกันการถูกหลอกจากบิวตี้ บล็อกเกอร์และผลิตภัณฑ์ทั้งหลาย เพราะบางคนก็โม้ไปงั้นแหละให้ของดี น่าซื้อ น่าใช้ แต่ความจริงเป็นไงว่ากันอีกเรื่อง

เพจ/เฟซบุ๊ก ที่สาวๆ เราควรมีไว้เพื่อสุขภาพของเรา

เราจะสวยเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องมีความฉลาดในการเลือกสิ่งดีๆ ให้ตัวเองด้วย ความรู้ที่ถูกต้อง มีเหตุผล ตรวจสอบได้เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้หญิงเราควรมีติดตัวเสมอ เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อคนอื่นได้ง่าย เพื่อชีวิตที่ปลอดภัย สุขอนามัยเป็นสุขที่สุด ^^

บทความที่เกี่ยวข้อง