รูปภาพ:https://media3.giphy.com/media/26FmPQwBrSTXSQRW0/giphy.gif

ฮัลโหลค่าา สาวๆSistaCafeที่อยากโบยบิน ตามหาฝันที่เมืองนอกทุกคน!ช่วงนี้ความตั้งใจของวัยเรียนและวัยทำงานที่อยาก' ย้ายประเทศ 'ลุกโชติช่วงเป็นพิเศษ เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองและเศรษฐกิจในช่วงนี้ โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษาที่อยากหาอนาคตที่ดีให้ตัวเอง ก็เริ่มซุ่มหาข้อมูลกันอย่างเนืองแน่นนอกจากประเทศยอดฮิตอย่างอเมริกา, อังกฤษและออสเตรเลียแล้ว รองลงมาก็เป็นประเทศในแถบยุโรปที่น่าสนใจ ค่าเทอมพอรับได้ คุณภาพการศึกษาก็มีดีไม่แพ้กันค่ะหนึ่งในโลเคชั่นแถบยุโรปที่ว่าที่นักศึกษาหมายตาเป็นพิเศษ หนึ่งในนั้นต้องมี' ประเทศสวีเดน 'อย่างแน่นอน เพราะขึ้นชื่อสุดๆ ทั้งในเรื่องอาหาร ภูมิประเทศที่สวยงาม ต้นกำเนิดของแบรนด์ระดับโลกมากมาย เช่น H&M, ikea และ Electrolux อัตราอาชญากรรมต่ำ ปลอดภัย การศึกษาติดอันดับท็อปของโลก และภาษีถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อประชาชนอย่างชัดเจนสาวๆ คนไหนที่กำลังเตรียมจะยื่นเกรด ยื่นพอร์ตสอบเข้าเพื่อโบยบินสู่ประเทศนี้ เราอยากให้ได้อ่าน' 7 สิ่งควรเตรียมตัว หากคิดวางแผนศึกษาต่อที่ประเทศสวีเดน 'เพื่อให้ซิสใช้ชีวิตนักศึกษาที่นี่ได้อย่างคุ้มค่าที่สุดนะคะ (≧◡≦)

1. ระบบ โครงสร้างการศึกษาของ 'ประเทศสวีเดน' ต่างจากที่อื่น

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/c7nH35504.jpg

ไม่ว่าเธอจะเป็นเด็กม.6 ที่ต้องการเรียนต่อชั้นปริญญาตรีหรือปริญญาโท ประเทศสวีเดนเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่น่าสนใจมาก เพราะมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่นี่ติดแรงก์อันดับโลก เช่นKarolinska Instituteที่ติดอันดับ 50 ของโลก เป็นต้น

หลังจากหาข้อมูล ทำความเข้าใจสาขาวิชาและหลักสูตรที่เธออยากเรียนในสวีเดนแล้ว เธอก็ควรรู้โครงสร้างการเรียนของสาขานั้นๆ ด้วย การที่เราเป็นคนประเทศไหน จะส่งผลต่อระยะเวลาในการเรียนต่อภาคการศึกษา และเวลาที่เธอต้องใช้ในคลาสต่อสัปดาห์ เป็นต้นค่ะ

ตารางเรียนของเธออาจจะเป็นได้ตั้งแต่มีคาบเรียนอัดแน่น 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือเบาว่างโหวง มีแค่คาบเรียนเดียวต่อสัปดาห์ตลอดทั้งภาคการศึกษาก็เป็นได้ ถ้าเป็นคนที่มาต่อโท แล้วเคยเรียนปริญญาตรีแบบชิลล์ๆ มา ก็อาจจะต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่เลยละ

และบางคณะสามารถเรียนทางไกล ( เรียนออนไลน์ ) ได้เนื่องจากสถานการณ์โลกในตอนนี้ ลองศึกษาหลักสูตร โปรแกรมที่เหมาะกับสไตล์การเรียนและเป้าหมายในอนาคตของเธอให้มากที่สุดนะคะซิส

2. เลือกสไตล์ของ ' มหาวิทยาลัย ' ที่ชอบ เพราะแต่ละที่ให้ประสบการณ์ต่างกัน

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/Up3u35509.jpg

นอกจากสาวๆ ต้องเลือกประเภทมหาวิทยาลัยที่อยากเรียนแล้ว หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เธอควรรู้ก่อนสมัครมหาวิทยาลัยใดๆ ก็ตามคือ ' คาแรกเตอร์ส่วนตัวของมหาลัยนั้นๆ ' แต่ละที่ก็จะมีสไตล์ของตัวเอง

เช่น เธออยากเรียนในวิทยาเขตใหญ่ๆ ที่โด่งดังระดับนานาชาติด้านไอที เน็ตเวิร์กอย่างMalmö, อยากมีฟีลเรียนในมหาลัยเก่าแก่ สูงส่ง เหมือนปราสาทสวยๆ อย่างUppsala, อยากเข้าเมืองหลวงไปเรียนชิคๆ ที่สตอล์กโฮล์ม หรืออยากได้ประสบการณ์นักศึกษาเต็มตัว มีกิจกรรม สังคมเพื่อนๆ ก็ควรสมัครเข้าLund// ชอบสไตล์ไหน จิ้มเลือกสไตล์นั้น ถามใจตัวเองดีๆ ค่ะ

มาถึงที่นี่ทั้งที เราก็แนะนำให้เธอสนุกกับชีวิต พยายามเข้าสังคม ไปชมรม ทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่ เพราะประสบการณ์ในรั้วมหาลัยจะมีแค่ช่วง 3-4 ปีในวัยยี่สิบต้นๆ และจะไม่หวนคืนกลับมาอีกแล้ว ควรใช้ชีวิตช่วงนี้ให้คุ้มค่ากับสไตล์ของมหาวิทยาลัยที่เธอเลือกเองทำรีเซิร์ช อ่านรีวิวของรุ่นพี่ที่เคยเรียนสถานศึกษานั้นๆ มาก่อนจะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นมาก ถ้ามหาลัยนั้นคนไทยไม่เคยไปเรียน ลองเซิร์ชเป็นภาษาอังกฤษแทน หรือถ้ามีสกิลภาษาสวีดิช ก็เซิร์ชสวีดิชไปเลยค่ะ อาจจะได้ข้อมูลอินไซต์กว่าที่คิด!

3. ศึกษาว่าเมืองไหนในสวีเดน มีวัฒนธรรมที่เราชอบ หรือปรับตัวได้ง่ายที่สุด

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/XDS335507.jpg

ยังคงอยู่กันที่การรีเซิร์ช! สวีเดนก็เหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่เป็น' พหุวัฒนธรรม 'หรือมีวัฒนธรรมหลากหลายในประเทศเดียว อยู่ที่ว่าเราอยู่ย่านไหน เมืองไหน แต่ละย่านก็จะมี Culture ของเขาที่แตกต่างกันออกไป


แม้มหาวิทยาลัยที่เธอเลือกจะมีหลักสูตรที่เจ๋งมากแค่ไหน แต่ถ้าอยู่ในเมืองที่เธอไม่ชอบก็อาจจะสนุกกับชีวิตนักศึกษาได้ไม่สุด ดังนั้น' สถานที่ตั้งมหาลัย 'จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ต้องพิจารณาค่ะ

ตัวอย่างเช่น เธอชอบบรรยากาศคนเมือง วุ่นวายๆ จอแจ คนเดินกันพลุกพล่านไหม ถ้าใช่ก็ควรจำกัดสโคปการเลือกมหาลัยให้เหลือแค่ในเมืองหลวงอย่างสตอล์กโฮล์ม, ถ้าอยากเรียนแบบชีวิตสงบๆ อากาศดี ก็เลือกมหาลัยในเมือง Halmstad, อยากเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ หลากหลายก็ไปที่เมือง Gothenburg และ Malmö เป็นต้น


ซึ่งภูมิภาคที่อยู่ก็จะสัมพันธ์กับสภาพอากาศและ' แสงแดด 'ด้วย ชีวิตในสวีเดนของเธอจะเจอแสงแดดมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกเรียนที่ทางเหนือหรือทางใต้ของสวีเดนนั่นเองค่ะ

4. เตรียมใจไว้ว่า ช่วงหน้าหนาว แสงแดดจะกลายเป็น ' ของหายาก ' ทันที

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/0S1235506.jpg

หนึ่งในสิ่งที่ต้องปรับตัวเมื่อย้ายมาเรียนที่สวีเดน โดยเฉพาะสาวไทยอย่างเราๆ ที่แทบจะเรียกว่ามีฤดูร้อนตลอดทั้งปีนั้น คือ' แสงแดด ( sunlight ) 'ค่ะ เพราะประเทศนี้แสงแดดไม่ได้มีตลอดเวลา ยิ่งถ้าย้ายไปช่วงหน้าหนาว เตรียมใจกับบรรยากาศมืดๆ อึมครึมๆ ยิงยาวหลายเดือนได้เลย

เช่น ถ้าเธอตัดสินใจจะไปเรียนที่ Luleå University of Technology ทางตอนเหนือของสวีเดน ในหน้าหนาวเธอจะเจอแสงแดดแค่วันละ 2-3 ชั่วโมง ในขณะที่ Blekinge Institute of Technology ทางตอนใต้จะเจอแสงแดดแค่วันละ 5 ชั่วโมงค่ะ

ในทางกลับกัน ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนอาจจะมีแสงแดดยาวนานกว่าที่เธอคิด ยาวนานขนาดที่ว่า ทางตอนเหนือในหน้าร้อน แม้จะช่วงกลางคืนแล้วก็ยังมีแสงแดดอยู่ เพราะดวงอาทิตย์ไม่ตก ยังเห็นอยู่บางส่วน ( ช่วงแรกๆ สาวไทยคงตื่นตาตื่นใจน่าดู ) จะมีกลางคืนที่มืดจริงๆ เพียง 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น หากเธออยู่ในสตอล์กโฮล์มตอนตี 3 เธออาจจะเห็นทั้งดวงจันทร์และพระอาทิตย์ตกดินในเวลาเดียวกัน!

เนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างไปสุดในทุกฤดู ก่อนจะมาก็ควรศึกษามาดีๆ ว่าฤดูไหนเป็นแบบไหน จะได้ปรับตัวทัน เช่น หน้าหนาวก็ต้องวางแผนว่าจะไปช้อปปิ้งกี่โมง มีกิจกรรมต้องใช้แสงกี่โมง เพราะมืดเร็วและแดดน้อย เป็นต้น

5. คนสวีเดนส่วนใหญ่พูด ' ภาษาอังกฤษ ' ได้ แต่ภาษาสวีดิช ก็ยังสำคัญอยู่!

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/ypTL35513.jpg

อาจจะฟังดูน่าแปลกใจ แต่คนสวีดิชส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ค่ะ พูดได้ในระดับที่ดีด้วย เพราะประเทศสวีเดนถูกบันทึกไว้ในปี 2018 ว่าเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่ 2 ได้ดีที่สุดในโลก แต่ในบางสถานที่โดยเฉพาะนอกเมืองใหญ่ คนแถบชนบทจะอยากพูดภาษาสวีดิชมากกว่า

เพราะในชีวิตของพวกเขาไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษบ่อยเท่าในเมืองหลวง หากเธอไปเรียนมหาวิทยาลัยที่อยู่นอกเมือง มันจะส่งผลกับสังคมเพื่อนๆ อาจารย์ และชีวิตวัยทำงานของเธอในอนาคต ( ถ้าเธอจะทำงานที่เมืองเดิม ) แน่นอน

อยากใช้ชีวิตในสวีเดนให้ราบรื่น 100% เที่ยวได้สบายใจแม้ออกไปนอกเมือง คุยกับคนสวีดิชได้อย่างออกรส ไม่ติดกำแพงภาษาใดๆ ก็จำเป็นต้องเรียน' ภาษาสวีดิช 'ไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างน้อยก็เพื่อคุยกับคนสูงอายุ คุณปู่คุณย่าในเมืองชนบทคงไม่อยากพูดอังกฤษกับเราสักเท่าไหร่

แต่ไม่จำเป็นต้องเรียนถึงระดับเท่าเนทีฟก็ได้ เพราะในมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ แค่ตอนยื่นใบสมัครเช็กให้ดีๆ ว่าเป็น' English Course 'ก็พอ ไม่ใช่กดมั่วแล้วดันยื่นหลักสูตรสอนเป็นภาษาสวีดิชไป จะพลาดโอกาสยื่นใบสมัครฟรีๆ ในปีนั้นเลยเด้อ

6. ' การหาทุน ' ไปเรียนสวีเดนอาจจะง่าย แต่ ' การหาที่อยู่ ' ก็หืดขึ้นคออยู่นะ!

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/hpZl35512.jpg

ต้องบอกก่อนว่า แม้จะไม่ใช่ลูกคนรวยมหาเศรษฐีมาจากไหน แต่ถ้าอยากต่อนอก ประเทศสวีเดนก็ไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินเอื้อม เพราะประเทศนี้มีทุนการศึกษาเรียนฟรีให้นักศึกษาต่างชาติมากมาย


สาวๆ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัย ติดต่อแผนกช่วยเหลือด้านการเงิน ( financial aid ) เพื่อปรึกษาเรื่องค่าเทอมได้ ก็จะเซฟเงินได้ส่วนนึง เพราะเธอก็ต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นอยู่ดี เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่พัก เป็นต้น

ซึ่งการหาที่พักที่ดี ราคาโอเคและปลอดภัยเนี่ย พูดกันตรงๆ คืองานหินของเด็กต่างชาติเลย หายากมาก! สาวๆ ต้องทำการบ้านหนักหน่อย หาข้อมูลเกี่ยวกับบ้านพักสำหรับนักศึกษาไว้หลายๆ ที่ ติดต่อไปที่ทางมหาลัยด้วย หาทางออนไลน์ไปด้วยควบคู่กัน ซึ่งเมืองใหญ่อย่าง Stockholm และ Gothenburg ที่พักอาจจะหายากเป็นพิเศษ


ถ้าไปเมืองเล็ก ก็จะมีหอพักและหอนอกที่หาง่ายขึ้น ควรนึกสภาพที่พักและราคาที่อยากได้เป็นอย่างไร ไม่ควรหัวโล่งๆ แล้วมาตายเอาดาบหน้า หรือถ้าสอบติดแล้ว หากรุ๊ปนักศึกษารุ่นเดียวกันในโซเชียลที่โพสต์หารูมเมท ก็เป็นอีกทางที่ช่วยเซฟค่าที่พักได้ครึ่งนึงเลยละค่ะ

7. เผื่อเวลาทำวีซ่า และส่งใบสมัครเรียนต่อให้ทันเดตไลน์ของมหาลัย!

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/hUX735496.jpg

ถ้าเธอตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้วว่า' ฉันจะไปเรียนต่อที่สวีเดน! 'สิ่งแรกที่ซิสควรรู้คือเส้นตาย ( deadline ) ในการยื่นใบสมัครเข้ามหาวิทยาลัยที่เลือก แม้หลักฐานจะพร้อมแค่ไหน เกรดสวย พอร์ตดียังไง

ถ้าส่งไม่ทันเดตไลน์เธอก็เสียโอกาสไปเลยหนึ่งปีเต็ม เมืองนอกเขาไม่มีมาหยวนๆ เหมือนไทยเด้อบอกไว้ก่อน ซึ่งมหาวิทยาลัยหลายแห่งในสวีเดนก็จะมีเดตไลน์ยื่นใบสมัครวันเดียวกันด้วยค่ะ

สิ่งที่เธอต้องพิจารณาคือ จะเริ่มเข้าเรียนในภาคการศึกษาไหน, ค่าสมัคร ค่าดำเนินการต่างๆ มีราคาเท่าไหร่, มีเงื่อนไข เอกสารอะไรบ้างในการสมัคร และควรเตรียมเอกสารให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อยื่นส่งให้ทันเวลา มีเวลารีเช็กเอกสาร แก้ไขสิ่งที่อาจผิดพลาด ไม่เครียดหรือรีบร้อนส่งจนเกินไป


ที่สำคัญมากๆ อีกอย่างคือเผื่อเวลาเตรียมเอกสาร ' ขอวีซ่านักเรียน ' เมื่อได้รับใบตอบรับจากทางมหาวิทยาลัย หลังจากวีซ่าผ่าน ใบสมัครผ่าน ก็ควรเผื่อเวลาสักพักในการไปปรับตัวให้คุ้นชินกับสถานที่ใหม่ เช่น บินไปก่อนเข้าเรียนสัก 2-3 สัปดาห์ค่ะ

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/originals/ca/a4/ee/caa4ee86e7a4fd7c0d5a61df5f43098c.gif

------------------------------------

เข้าใจนะ ว่าอยากโบยบินให้เร็วที่สุด แต่การทำการบ้าน หาข้อมูลให้เป๊ะก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันนะ!ขนาดจะเข้ามหาลัยในไทย ยังต้องมาเลือก กางข้อเปรียบเทียบว่าจะเข้ามหาลัยไหนที่หลักสูตรดีกับเราที่สุด จะไปต่างบ้านต่างเมืองก็ต้องรีเซิร์ช หาสิ่งที่จะต่อยอดให้เราได้ในอนาคตเช่นกัน โดยเฉพาะวัยเรียนที่หวังจะหาทุน ใช้วุฒิการศึกษายกโอกาสตัวเองให้เจอสิ่งที่ดีขึ้น ประเทศนี้จะไม่ทำให้เธอผิดหวังอย่างแน่นอนต้องยอมรับว่า ซิสจะได้ประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดี เพื่อนๆ ความรู้ที่หาไม่ได้จากเมืองไทย ได้ลองก้าวออกมาจาก comfort zone เพื่อค้นหาตัวเองถ้าสุดท้ายแล้วสวีเดนไม่ใช่ประเทศที่เธออยากอยู่ถาวร ก็จะมีภูมิคุ้มกันกับโลกภายนอกมากกว่าอยู่ไทยอย่างเดียวทั้งชีวิตแน่นอน สู้ๆ กับการตามหาอนาคตของตัวเองกันนะคะ อย่าเพิ่งท้อนะ เราเป็นกำลังใจให้

\(≧▽≦)/