วันนี้นำเรื่องใกล้ตัวของเรามาแนะนำให้ได้อ่านกัน ซึ่งคือเรื่องฮอร์โมน ที่เป็นเรื่องในร่างกายที่สามารถส่งผลออกไปได้หลายอย่างโดยจะเห็นได้เลยว่าเมื่อร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีฮอร์โมนเข้ามาเป็นส่วนในการเปลี่ยนแปลงเสมอ ซึ่งแต่ละฮอร์โมนนั้นก็เกิดจากภาวะต่างๆในร่างกายนั่นเอง ซึ่งหากเราพร้อมที่จะเข้าใจและทำความรู้จักของฮอร์โมนนั้นก็จะสามารถทำให้เราต้องรับมือเรื่องฮอร์โมนได้ ดังนั้นแล้วมาทำความรู้จักกับ 8 ฮอร์โมนในร่างกาย ของเรากันเลย >>
" (≧◇≦) (≧▽≦) (≧ 3 ≦) ●
รู้จักกับ 8 ฮอร์โมนในร่างกาย และรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ฮอร์โมนในร่างกาย กลุ่มฮอร์โมนแห่งความสุข
1. เอ็นโดรฟิน (Endorphin)
เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากใต้สมองที่รู้จักกันในชื่อ “สารสุข” เปรียบเหมือนมอร์ฟีนธรรมชาติที่ร่างกายหลั่งขึ้นมา โดยจะหลั่งก็ต่อเมื่อมีความสุข ความพึงพอใจ หรือผ่อนคลาย และหลั่งเพื่อกระตุ้นความรู้สึกในแง่บวก แต่เมื่ออยู่ในภาวะเครียดฮอร์โมนนี้จะลดลงทันที
วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน
- ทำสิ่งที่ตัวเองชอบหรือให้ความสนใจ
- ออกกำลังกายประมาณ 20 นาทีขึ้นไป เพื่อกระตุ้นการหลั่งของเอ็นโดฟิน
- ทำสมาธิ เดินจงกลม ทำให้จิตใจสงบ
- การมีเพศสัมพันธ์ที่ถึงจุดสุดยอด
2. โดพามีน (Dopamine)
เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ รักใคร่ และยินดี ซึ่งเป็นสารที่หลังออกจากสมองกับเซลล์ประสาทในร่างกาย โดยโดพามีนจะเกี่ยวเนื่องกับระบบประสาทหลายหลายส่วนเช่น การทำงานของระบบประสาทสมองการเคลื่อนไหว ความจำ และการเรียนรู้ ถ้าโดพามีนในร่างกายของเรานั้นต่ำเกินไปจะทำให้รู้สึกหดหู่และเกิดการซึมเศร้าได้ ซึ่งนับว่าเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง โดยยาที่ใช้รักษาโรคทางจิตเวชในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาเอาโดพามีนมาใช้ในการรักษา นอกจากนี้ยังพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโดพามีนต่ำเกินไป จนทำให้เป็นโรคพาร์กินสันได้เพราะฮอร์โมนที่ลดลงทำให้ระบบของการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กันจนทำให้มีอาการสั่น และก้าวขาไม่ออก
วิธีเพิ่มระดับฮอร์โมน
- ออกกำลังกาย
- รับประทานอาหารที่มีกรดอะมิโนและโปรตีนอย่างเพียงพอ เพราะโดพามีนสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อว่า Tyrosin ซึ่งจะได้จากอาหารประเภทโปรตีนที่เรารับประทานอยู่ทุกวันเช่น เนื้อสัตว์ นม ถั่ว ไข่ เป็นต้น
3. เซโรโทนีน (Serotonin)
เป็นสารต้านความเครียดที่หลั่งจากสมองและหลั่งจากทางเดินอาหาร ที่มีผลกับการทำงานของกล้ามเนื้ออารมณ์ พฤติกรรม และการนอนหลับ ถ้าระดับฮอร์โมนต่ำเกินไปจะทำให้เราหงุดหงิด นอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีสมาธิ มีภาวะปวดศีรษะ เป็นไมเกรน หรืออาจจะการเป็นภาวะซึมเศร้าได้
วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมน
- กินอาหารที่มีโปรตีน เพราะเซโรโทนินสร้างมาจากทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนเอซิตตัวหนึ่งที่สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนได
Hormones กลุ่มฮอร์โมนความเครียด
1. คอร์ติซอล (Cortisol)
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไตและที่เป็นสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดเมื่อมีภาวะเครียด มีเหตุการณ์คับขัน มีเรื่องวิตกกังวล หรือมีความป่วยไข้ของร่างกาย ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมต่อการฟื้นฟูร่างกาย คอร์ติซอลจะกระตุ้นการตอบสนองของเซลล์ในร่างกายต่อภาวะการอักเสบ ความเจ็บปวด ภาวะติดเชื้อ และกระตุ้นให้ตับสร้างน้ำตาลมากขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงานมากกว่าปกติในภาวะเครียดทำให้กินเยอะทั้งขึ้นหิวบ่อยขึ้น จนทำให้น้ำหนักขึ้นเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและเกลือแร่ในร่างกาย เพื่อที่จะรักษาระดับความดันให้ทำงานได้อย่างปกติ
วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน
การพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการคอร์ติซอลจะหลั่งออกสูงในช่วงเช้าและลดลงในช่วงบ่าย ถ้าเรานอนเป็นเวลาระดับการทำงานของคอร์ติซอลจะเพิ่มและลดตามปกติแต่สำหรับคนที่นอนไม่พอหรือนอนไม่เป็นเวลา จะมีการหลังฮอร์โมนที่ผิดปกติและผิดช่วงเวลาทำให้ร่างกายไม่สดชื่นและนอนไม่หลับ
2. อะดรีนาลีน (Adrenaline)
อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรืออิพิเนฟริน (Epinephrine) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไตเป็นสารแห่งความโกรธและเกี่ยวเนื่องกับการป้องกันตัว เพื่อให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนนี้เพื่อให้มีภาวะเตรียมพร้อมเข้าสู่การตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน และใช้พลังงานทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานอย่างเต็มที่ หัวใจจะบีบตัวมากขึ้น และอัตราการเต้นของหัวใจก็จะสูง ความดันเลือดสูงขึ้น แต่หากหลั่งมากผิดปกติอาจเกิดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ซึ่งทำให้มีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงเรื้อรังจนควบคุมได้ยาก
ฮอร์โมนสำคัญในร่างกาย กลุ่มฮอร์โมนเพศ
1. เทสโทสเตอโรน (Testosterone)
ฮอร์โมนเพศชายที่หลั่งมาจากอัณฑะ ต้องใช้คอเลสเตอรอลในการสังเคราะห์ ฉะนั้นร่างกายจึงต้องมีไขมันเพื่อสังเคราะห์เป็นฮอร์โมนเพศได้ ฮอร์โมนเพศชายจะทำให้ร่างกายเปลี่ยนไปตั้งแต่เด็กจนโต ซึ่งหากการทำงานปกติร่างกายก็จะไม่มีปัญหาและมีการพัฒนาไปตามวัย แต่ถ้าหากมีฮอร์โมนเพศชายต่ำเด็กจะมีการพัฒนาเป็นเพศชายที่ไม่สมบูรณ์ แต่หากลดลงตามวัยเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป หากเกิดลดลงก่อนวัยอันควรจะมีผลกับกล้ามเนื้อมวลกระดูก มีความเสี่ยงที่กล้ามเนื้อจะลีบเล็กลง และกระดูกบางง่ายมีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของอวัยวะเพศ และการมีเพศสัมพันธ์
วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน
- ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
- กินอาหารที่มีประโยชน์ และกินอาหารกลุ่มที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย เช่น Zinc หรือแร่สังกะสี เช่น หอยนางรม
2. เอสโตรเจน (Estrogen)
คือฮอร์โมนเพศหญิงผลิตจากรังไข่ และทำให้ลักษณะร่างกายของผู้หญิงมีการเติบโตขึ้น มีความเป็นผู้หญิงมาก เช่น มีเต้านม สะโพกผาย และมีประจำเดือน เป็นต้น ซึ่งช่วยในเรื่องการทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูก ถ้าหากเอสโตรเจนลดลงโดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วจะมีความเสี่ยงที่กระดูกจะบางมากขึ้น เพราะมวลกล้ามเนื้อลดลง กล้ามเนื้อไม่ค่อยแข็งแรง และมีภาวะของการหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบตามตัว
วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน
กินอาหารที่มีเอสโตรเจนสูง เช่น น้ำมะพร้าว ถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง แต่ก็ไม่สามารถกินในปริมาณมากเพื่อทดแทนฮอร์โมนได้
3. โปรเจสเตอโรน (Progesterone)
เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะสูงขึ้นในช่วงที่ตั้งครรภ์หรือมีรอบเดือนเพื่อเตรียมพร้อมที่จะให้ไข่ที่ได้รับสเปิร์มแล้วมาฝั่งตัว โปรเจสเตอโรนสามารถหลั่งได้จากรังไข่และต่อมหมวกไต ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะกระตุ้นให้โพรงมดลูกหนาตัวในช่วงที่มีรอบเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาเตรียมพร้อมการฝังตัวของตัวอ่อนในการตั้งครรภ์ ถ้าไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อนระดับโปรเจสเตอโรนจะลดลง เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดออกมาเป็นประจำเดือน ถ้ามีการตั้งครรภ์โปรเจ็คเต้อโรนจะยังคงระดับสูง รักษาไม่ให้มดลูกบีบตัวและยังสูงตลอดการตั้งครรภ์
" (≧◇≦) (≧▽≦) (≧ 3 ≦) ●
ฮอร์โมนในร่างกาย ที่กล่าวมานั้นเป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายของเราสังเคราะห์ขึ้นมาเอง เพื่อเป็นการไปกระตุ้นและเพื่อรักษาสมดุลให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง อย่างเช่น การพักผ่อนให้เพียงพอ หรือการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่นั่นเอง เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนใดๆ ก็ ให้ศึกษาข้อมูลทำความเข้าใจและพยายามปรับตัวรับมือกันนะคะ หรือแนะนำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะเป็นทางที่ดีที่สุดนั่นเองค่ะ
Attention Required! | Cloudflare
https://www.phyathai.com/th/article/2561-8__essential_hormones_that_you_have_to_handle___branchpyt2
บทความแนะนำ ที่ซิสไม่ควรพลาด
มัดรวม “ ฮอร์โมนอารมณ์ดี ” ต้องกินอะไรให้ฮอร์โมนเหล่านี้ทำงาน นอนหลับดี ผิวจะได้สวยจากภายใน 🤗 | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/91417
ไม่อยากลงพุงควรระวัง! ส่อง ' 5 ฮอร์โมน ' ถ้าทำงานผิดปกติ เสี่ยงทำน้ำหนักขึ้น พร้อมวิธีควบคุมฮอร์โมนยังไงให้ดีขึ้น | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/82263
ทำไมสาวๆ ถึงควรรู้จักฮอร์โมน ‘estrogens’ | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%86-%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%99-estrogens-id-37718