ประเภทอาหารที่สามารถกินดิบได้เลยนั้นมีอยู่หลายประเภท ที่คนชื่นชอบรสชาติและเนื้อสัมผัสในการลิ้มลอง แต่ก็ยังมีบางประเภทที่ไม่ควรเลือกที่จะทานดิบหรือเป็นแบบสุกๆ ดิบๆ ด้วยเช่นกัน เพราะอย่างประเทศญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อการกินอาหารดิบอย่างอาหารประเภทปลาเป็นหลัก เพราะด้วยเนื้อสัมผัสที่เข้าถึงมากกว่าการนำไปผ่านความร้อน อีกทั้งด้วยการเลือกประเภทปลาที่นำมาทานนั้นเป็นปลาที่อยู่ในน้ำลึกจนทำให้เชื้อต่างๆ ที่จะติดมากับเนื้อปลานั้นน้อยมาก คนส่วนใหญ่จึงมักที่จะนิยมกินปลาดิบกันจนทำให้วัฒนธรรมในประเทศแพร่มาสู่คนนอกประเทศจนเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆ คนในตอนนี้ ซึ่งในไทยเราไม่ใช่ว่าจะไม่กินของประเภทดิบเลยตั้งแต่แรก เนื่องด้วยอาหารพื้นเมืองของแต่ละถิ่นฐานนั้นต่างกันทำให้บางพื้นที่นั้นมีการเลือกการกินดิบอยู่
ยกตัวอย่างเช่น ภาคอีสานที่จะเห็นได้จากหลากหลายเมนูที่จะมีเมนูที่เกี่ยวกับอาหารดิบมาเป็นตัวเลือก เช่น ก้อยเนื้อ ซ๊อยจุ เป็นต้น แต่แน่นอนว่าทุกอาหารดิบจะทำจากเนื้อวัวไม่ทำจากเนื้อหมูเพราะด้วยเนื้อวัวนั้นจะมีการติดเชื้อได้ยากมากกว่าเนื้อหมู จึงทำให้เราเห็นในปัจจุบันด้วยว่าอาหารที่มีการทำแบบกึ่งสุกกึ่งดิบ หรือดิบไปเลยนั้นจะทำมาจากเนื้อวัวส่วนใหญ่ ส่วนเนื้อหมูนั้นเรียกได้ว่าแถบจะกินดิบหรือกึ่งๆ ไม่ได้เลยเพราะมีความเสี่ยงที่เราจะติดเชื้อสุดๆ หรือเชื้อที่เราต้องเคยได้ยินเลยคือ ' ไข้หูดับ ' ซึ่งเรามาดูถึงสาเหตุของการเกิดและหาข้อหลีกเลี่ยงในความเสี่ยงนี้กัน
สาเหตุของการเกิดไข้หูดับ
โรคไข้หูดับคือ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนชนิดหนึ่ง (Zoonotic infectious disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า “สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) ที่อาศัยอยู่ในหัวหมูเกือบทุกตัวเป็นเชื้อโรคที่สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ ซึ่งเดิมทีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคแต่หากหมูเกิดมีอาการป่วยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะค่อยๆ เพิ่มจำนวนจนทำให้หมูป่วยและตาย ซึ่งหากมนุษย์ได้รับเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายก็จะเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตด้วยเช่นกันเชื้อแบคทีเรียสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ 2 ทางเลย คือ
- การกินเนื้อหรือเลือดของหมูดิบหรือกึ่งสุกดิบ เช่น ลาบหมูดิบ หรือ เนื้อหมูที่ย่างไม่สุก
- เชื้อผ่านเข้ามาทางบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา จากการสัมผัสกับเชื้อโดยตรงหรือหมูที่ติดเชื้อ
ไข้หูดับ โรคนี้มีอาการอะไรบ้าง?
จะมีระยะฟักตัวในร่างกายก่อนที่จะแสดงอาการไม่เกิน 3-5 วัน แต่จากการสำรวจมักพบว่าเชื้อแบคทีเรียสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส นั้นมักจะพบอาการผิดปกติโดยจะเริ่มแสดงอาการหลังจากการรับเชื้อไม่เกิน 3 วัน โดยอาหารที่สามารถพบเห็นและสังเกตได้ ดังนี้
- มีไข้สูงเฉียบพลัน
- ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวและข้อ
- ปวดและเวียนศีรษะ รู้สึกอยากอาเจียน
- มีจ้ำเลือดตามตัวและผิวหนัง
- มีอาการซึม คอแข็ง อาจรุนแรงถึงขั้นชักซึ่งหากพบว่ามีอาการแล้วไม่ได้ทำการรักษาจะทำให้เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่เยื่อหุ้มสมองประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง และกระแสเลือดจนทำให้เกิดอาการรุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองหัวใจ ข้อ และม่านตาเกิดการอักเสบ
- เกิดหนองบริเวณปลายประสาทรับเสียง และปลายประสาททรงตัว
- เกิดอาการหูตึงหรือหูดับจนกระทั่งกลายเป็นโรคหูหนวกหากยังปล่อยให้เชื้อลุกลามจะทำให้อาการค่อยๆ ทวีความรุนแรงจนนำไปสู่การเสียชีวิตจากภาวะ toxic shock syndrome หรือภาวะช็อกจากการได้รับพิษจากเชื้อแบคทีเรียและการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อบางรายที่ไม่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็มักจะพบความพิการตามมา เช่น หูหนวก สูญเสียการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์อัมพาต ตาบอด เป็นต้น
แนวทางการรักษาโรคไข้หูดับ
รักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะผ่านทางหลอดเลือดดำอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ และรักษาแบบประคับประคองอาการของผู้ป่วยติดเชื้อไม่ให้เกิดอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น การลดไข้ ลดอาการปวด ลดอาการเวียนศีรษะ ร่วมกับการให้สารอาหารหรือเกลือแร่ต่างๆ ให้กับผู้ป่วยติดเชื้อ
แนะนำการกินอาหารปิ้งย่างอย่างปลอดภัย ป้องกันโรคไข้หูดับ
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ได้แนะนำวิธีการกินหมูกระทะหรืออาหารปิ้ง-ย่าง อย่างปลอดภัยจากกรมอนามัยดังนี้
- สุกทั่วถึงการนำไปผ่านความร้อนให้สุกอย่างทั่วถึงโดยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 นาที การนำเนื้อสัตว์จุ่มลงไปเพียงไม่กี่วินาทีอาจจะทำให้เนื้อได้รับความร้อนไม่ทั่วถึงและเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคได้
- แยกใช้อุปกรณ์อุปกรณ์และภาชนะต้องควรแยกระหว่างเนื้อที่สุกและกับเนื้อดิบ โดยเฉพาะเขียง ที่คีบ และตะเกียบ เพราะการใช้อุปกรณ์ร่วมกันจะทำให้เชื้อโรคจากเนื้อดิบมาปนเปื้อนในเนื้อที่สุกได้ และระวังการนำตะเกียบที่ใช้คีบเนื้อดิบไปคีบเนื้อสุกเข้าปากด้วย
- เลือกเนื้อสัตว์เลือกซื้อเนื้อสัตว์จากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้หรือมีการรับรองความปลอดภัยจากหน่วยงานทางราชการ
- ใบตองอาจจะใช้ใบตองห่ออาหารก่อนทำการปิ้งย่างซึ่งนอกจากจะลดปริมาณไขมันจากอาหารที่หยดลงไปบนถ่านแล้วยังทำให้อาหารมีกินหอมใบตองด้วย
- เลือกร้านอาหารควรเลือกร้านที่ใช้อุปกรณ์และภาชนะในการปิ้งย่างแยกกันอย่างชัดเจนและใช้เตาที่สามารถลดหรือป้องกันน้ำมันหยดลงบนเตาไฟได้ เช่น เตาไฟฟ้าหรือเตาไร้ควัน ซึ่งจะสามารถควบคุมระดับความร้อนได้มากกว่าการใช้เตาถ่าน
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
สรุป
ไข้หูดับ ภัยเงียบที่ทุกคนอาจละเลยหรือรับเชื้อมาโดยไม่รู้ตัว เพราะหากเผลอไปสัมผัสกับเนื้อหมูที่ติดเชื้อหรือรับเข้ามาโดยไม่ผ่านความร้อนก็สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเนื้อหมูที่เป็นจานโปรดของใครหลายๆ คนหรือสายปิ้งย่างต้องควรระวังโดยเฉพาะการแยกอุปกรณ์ในการคีบเนื้อดิบและเนื้อสุกเพราะนี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายๆ นอกจากการสัมผัสเชื้อโดยตรงผ่านบาดแผล ฉะนั้นแล้วก่อนทำอาหารทุกครั้งต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการทำความสะอาดเนื้อสัตว์ ที่จะต้องผ่านการปรุงสุกเพื่อช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรีย และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนของโรค และควรสำรวจอวัยวะอย่างเช่น มือ ที่ไปสัมผัสกับเนื้อหมูว่ามีบาดแผลหรือไม่ที่จะทำให้เชื้อแทรกเข้ามาด้วย
ขอบคุณรูปภาพจาก : Freepik
รู้หรือไม่!?! โรคไข้หูดับ แค่จับเนื้อหมูก็อาจตายได้! ลองอ่านบทความนี้เลย
https://allwellhealthcare.com/streptococcus-suis/
กรมอนามัย แนะ 5 วิธี กินหมูกะทะ-ปิ้ง-ย่าง ให้ปลอดภัย จาก “ไข้หูดับ” และ “มะเร็ง” - อนามัยมีเดีย
https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/28122565/
บทความอื่นๆ ที่แนะนำ
'อาหารปิ้งย่าง' กินอย่างไรห่างไกลมะเร็ง | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/41717
Good Eating 👍 ด้วย 5 วิธีการกิน 'บุฟเฟ่ต์-ปิ้งย่าง' ยังไงไม่ให้อ้วน อร่อยไม่พอ ขอสุขภาพดีด้วย ! | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/44569
ผักสด อันตราย ? ข้อควรระวังสำหรับคนชอบกินผักดิบ กินยังไงให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/95665