เห้อ รู้สึกเบื่อจังกับงานที่ทำ ไม่อยากทำแล้ว !เพื่อน ๆ เคยมีความคิดหรือความรู้สึกแบบนี้กันบ้างมั้ยคะถ้ากำลังอยู่ในวัยทำงานแล้วละก็ แน่นอนว่าแทบจะทุกคนต้องเคยเป็นหรือผ่านอารมณ์เบื่องานกันมาบ้างล่ะนะ เพราะแม้แต่ตัวดอลลี่เองก็ยังมีความรู้สึกนี้อยู่บ่อย ๆ ถ้าหากเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ไม่มีผลกระทบต่องานที่เราต้องทำ ก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าหนักถึงขั้นส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานแล้วละก็ แบบนี้น่าห่วงมาก ๆ เลยล่ะค่ะ วันนี้ดอลลี่เลยอยากจะพาทุกคนมาทำความรู้จักและเฝ้าสังเกตตัวเองกันกับ พาทำความรู้จักBurnout VS Boreoutคืออะไร แตกต่างกันยังไงถ้าพร้อมแล้วตามไปทำความรู้จักกันเลย

• • • • • • • • • • • • • • • • • • • • •

Burnout คืออะไร ?

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/e5/53/4f/e5534fbccb1f759be182696a391c491f.jpg

ชื่อแบบเต็ม ๆ ของภาวะนี้ก็คือ

BURNOUT SYNDROME หรือ ภาวะหมดไฟ

นั่นเองค่ะ โดยความหมายของการ

Burnout คือ


ภาวะหนึ่งที่เกิดจากการเจอเรื่องเครียดในที่ทำงานเป็นระยะเวลายาวนาน และไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ขาดแรงจูงใจ ไม่มีสมาธิในการทำงาน ลามไปจนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

ซึ่งอาการเหล่านี้จัดเป็นกลุ่มอาการแต่ยังไม่รุนแรงเท่ากับโรคซึมเศร้า แต่หากปล่อยไว้และอยู่ในสภาพแวดล้อม และสภาพอารมณ์ลักษณะนี้เดิม ๆ อาจส่งผลต่อการทำงาน เช่น อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด หรือนานวันเข้าก็อาจเกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout)

เกิดอารมณ์หดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิด โมโหง่าย และอารมณ์แปรปรวน

มีความรู้สึกไม่พอใจในงานที่ทำมองคนอื่นในแง่ลบแง่ร้าย และโทษคนอื่นเสมอหนีปัญหา ไม่จัดการปัญหา

สงสัยและไม่เชื่อในศักยภาพของตนเองผัดวันประกันพรุ่ง และขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน

บริหารจัดการเวลาไม่ได้

ไม่อยากตื่นไปทำงาน

ไม่มีสมาธิในการทำงาน

ไม่มีความสุขในการทำงาน

Boreout คืออะไร ?

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/29/f6/7f/29f67f0d9d37d99119b70128c41f9ebe.jpg

Boreout


ก็คืออาการเบื่องานนั่นเองค่ะ

หลาย ๆ คนคงคิดว่าการทำงานหนักเกินไปจะเป็นข้อเสียจากการทำงานอย่างเดียวที่ส่งผลกระทบจนทำให้ไม่อยากทำงานแล้ว แต่เชื่อมั้ยคะว่า

การทำงานน้อยเกินไปก็ทำให้รู้สึกหมดแรงบันดาลใจในการทำงานได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเราเรียกอาการนี้ว่า Bore out นั่นเอง

เป็นภาวะของการเบื่องาน เนื่องจากภาระงานที่น้อยเกินไป งานซ้ำซากจำเจ ไม่น่าสนใจและไม่มีความท้าทายใหม่ ๆ เข้ามา ทำให้เราไม่ได้ดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ เป็นการทำงานแบบวนลูปซ้ำไปซ้ำมา ทำงานให้เสร็จไปวัน ๆ จนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายงานขึ้นมานั่นเองค่ะ

Burnout VS Boreout คืออะไร แตกต่างกันไหม เรากำลังอยู่ในภาวะนี้หรือเปล่า ?

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/21/b3/09/21b309bb984209a8b66c53a4ea5be6c0.jpg

ถ้าหากนำภาวะทั้ง 2 อย่างนี้มาเปรียบเทียบทั้งความเหมือนและความต่างแล้วละก็ ขอบอกว่าทั้งเหมือนและต่างกันแบบสุดขั้วเลยล่ะค่ะ โดยในแง่ของความหมายจะเห็นได้ว่า

ภาวะหมดไฟ (Burnout)


จะเน้นไปที่การทำงานที่หนักเกินไปจนเกิดความเครียดสะสมขึ้นมานั่นเอง

แต่

ภาวะเบื่องาน (Boreout)


จะตรงกันข้ามตรงที่งานที่ทำนั้นมีความซ้ำซากจำเจ หรือน้อยเกินไป จนเราไม่ได้แสดงประสิทธิภาพออกมาได้อย่างเต็มที่

กล่าวโดยสรุปก็คือ

งานมาก ปะทะ งานน้อย

นั่นเอง

และหากถามว่าทั้ง

2 ภาวะนี้เหมือนกันอย่างไร ก็คงตอบได้อย่างเต็มปากว่าส่งผลกระทบต่องานที่ทำอยู่อย่างแน่นอนค่ะ

ไม่ว่าจะเกิดภาวะไหนก็ล้วนแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและหน้าที่การงานที่เราทำอยู่ อันเป็นข้อเสียที่ใหญ่มากเวอร์

Burnout VS Boreout รวมวิธีรับมือเมื่อยังต้องทำงานอยู่

รูปภาพ:

Burnout -

เบื้องต้นควรที่จะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน

และวางแผน จัดระเบียบการใช้ชีวิต จัดลำดับความสำคัญของเวลาและงานใหม่ หากเกินกว่าจะรับมือไหวควรปรึกษาหัวหน้างานเพื่อหาวิธีการแก้ไขร่วมกัน เมื่อรับมือกับงานล้นมือได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการผ่อนคลายความเครียด แบ่งเวลาไปทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น การไปเที่ยว นัดกินข้าวกับเพื่อน พูดคุย ทำกิจกรรมกับครอบครัว หรือออกกำลังกาย เป็นต้น

Boreout -

ถ้าหากงานที่เพื่อน ๆ ทำอยู่น่าเบื่อ

ก็ให้ลองหันมาวิเคราะห์ดูว่าจุดประสงค์ของงานที่ทำคืออะไร

บางทีอาจจะเป็นเพราะเราไม่รู้ว่าต้องทำไปเพื่ออะไร เพื่อใคร ทำให้ไม่มีเป้าหมายและขาดแรงจูงใจในการทำงาน จากนั้นลองตั้งเป้าหมายและวางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำงานก็จะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้น สามารถพบคุณค่าและความหมายของงานมากขึ้น นอกจากนี้การจัดโต๊ะทำงาน เปลี่ยนมุม เปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ก็จะช่วยให้ไม่จำเจ ไม่น่าเบื่อ จัดในสไตล์ที่ชอบจะได้สนุก สร้างสีสันให้ตัวเอง นอกจากนี้การลองทำอะไรใหม่ ๆ ยังช่วยให้เกิดทักษะใหม่ ความตื่นเต้น และท้าทายมากขึ้น เช่น การหาอาชีพเสริม งานอดิเรกอย่างอื่น หรือจะเป็นการให้เงินทำงานด้วยการสร้างอิสระทางการเงิน จะได้ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ แถมยังสร้างความภาคภูมิใจให้ตัวเองเพิ่มขี้นอีกด้วย

☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆

เป็นยังไงกันบ้างคะกับ

การพาทุกคนไปทำความรู้จักกับภาวะ Burnout และ Bore out

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ วัยทำงานไม่มากก็น้อยนะคะ ดอลลี่อยากให้ทุกคนหมั่นสังเกตตัวเองกันอยู่เสมอ เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของตัวเราเอง หรือหากเพื่อน ๆ รู้สึกว่าคนใกล้ตัวกำลังตกอยู่ในภาวะนี้แล้วละก็ หากช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำที่ดีได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวเราเองและคนที่เรารักแน่นอนค่ะ สำหรับวันนี้ดอลลี่ก็ต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่ในครั้งหน้านะค้า

บ๊าย บาย~


บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด